1.สถานการณ์การผลิต
ธ.ก.ส. เปลี่ยนระบบการปล่อยสินเชื่อสำหรับเลี้ยงกุ้งใหม่
ข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แจ้งว่าหลังจากที่รัฐบาลมีคำสั่งตาม ม.9 ห้ามเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดโดยเด็ดขาด ธ.ก.ส.จำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบการปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งบางส่วนประสบความล้วเหลวในการบริหารธุรกิจจนไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้คืนแก่ ธ.ก.ส.ได้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเมื่อเกษตรกรรับเงินจาก ธ.ก.ส. ครบจำนวนที่ขอกู้แล้ว ได้นำเงินไปใช้ผิดประเภท หรือนำเงินไปขุดบ่อเพิ่ม ทำให้ไม่มีเงินพอสำหรับเป็นค่าอาหารกุ้งตลอด 4 เดือนต่อมา และเกษตรกรต้องไปขอกู้เงินนอกระบบ กลายเป็นภาระหนี้สินเพิ่มพูนมากขึ้นอีก
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ธ.ก.ส.จึงจัดระบบการปล่อยสินเชื่อแก่นากุ้งใหม่กล่าวคือ แทนที่จะจ่ายเงินกู้ครั้งเดียวเต็มตามจำนวนเงินกู้ จะแบ่งระยะเวลาการให้กู้แก่เกษตรกรเป็น 4 ช่วง คือ ระยะที่ 1 การปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ เป็นช่วงที่ต้องใช้ไรแดงเป็นอาหารมาก จึงต้องปล่อยกู้ให้ร้อยละ 15 ของวงเงินกู้ทั้งหมด ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งกำลังเจริญเติบโต จัดสรรสินเชื่อให้ร้อยละ 15 กับร้อยละ 30 ส่วนระยะที่ 4 เป็นงวดสุดท้ายของการอนุมัติ ช่วงก่อนการจับกุ้งขายจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าปกติ จะอนุมัติเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดร้อยละ 40 และทุกครั้งที่มีการขอรับเงินงวดใหม่ ธ.ก.ส. จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปดูแลการดำเนินงานของเกษตรกรด้วยทุกครั้ง
ส่วนหนี้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดที่มีการกู้กับ ธ.ก.ส. ไปแล้วนั้นคงไม่จะมีผลกระทบต่อหนี้เงินกู้เพราะรัฐได้ยืดระยะเวลาการเลี้ยงกุ้งในบ่อสุดท้ายออกไปอีก 4 เดือนเพียงพอต่อการที่เกษตรกรนำกลับมาใช้หนี้ให้กับ ธ.ก.ส.ได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1-7 ส.ค. 41) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,772.49 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,078.33 ตัน สัตว์น้ำจืด 694.16 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.45 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.56 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 110.27 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 317.14 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 58.43 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจาก 34.00 บาท ของกับสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท สูงขึ้นจาก 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 315.00 บาท ลดลงจาก 320.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 585.00 บาท ลดลงจาก 500.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.85 บาท ลดลงจาก 18.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.72 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจาก 31.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท สูงขึ้นจาก 44.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.66 บาท สูงขึ้นจาก 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 10-16 ส.ค. 2541--
ธ.ก.ส. เปลี่ยนระบบการปล่อยสินเชื่อสำหรับเลี้ยงกุ้งใหม่
ข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แจ้งว่าหลังจากที่รัฐบาลมีคำสั่งตาม ม.9 ห้ามเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดโดยเด็ดขาด ธ.ก.ส.จำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบการปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งบางส่วนประสบความล้วเหลวในการบริหารธุรกิจจนไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้คืนแก่ ธ.ก.ส.ได้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเมื่อเกษตรกรรับเงินจาก ธ.ก.ส. ครบจำนวนที่ขอกู้แล้ว ได้นำเงินไปใช้ผิดประเภท หรือนำเงินไปขุดบ่อเพิ่ม ทำให้ไม่มีเงินพอสำหรับเป็นค่าอาหารกุ้งตลอด 4 เดือนต่อมา และเกษตรกรต้องไปขอกู้เงินนอกระบบ กลายเป็นภาระหนี้สินเพิ่มพูนมากขึ้นอีก
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ธ.ก.ส.จึงจัดระบบการปล่อยสินเชื่อแก่นากุ้งใหม่กล่าวคือ แทนที่จะจ่ายเงินกู้ครั้งเดียวเต็มตามจำนวนเงินกู้ จะแบ่งระยะเวลาการให้กู้แก่เกษตรกรเป็น 4 ช่วง คือ ระยะที่ 1 การปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ เป็นช่วงที่ต้องใช้ไรแดงเป็นอาหารมาก จึงต้องปล่อยกู้ให้ร้อยละ 15 ของวงเงินกู้ทั้งหมด ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งกำลังเจริญเติบโต จัดสรรสินเชื่อให้ร้อยละ 15 กับร้อยละ 30 ส่วนระยะที่ 4 เป็นงวดสุดท้ายของการอนุมัติ ช่วงก่อนการจับกุ้งขายจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าปกติ จะอนุมัติเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดร้อยละ 40 และทุกครั้งที่มีการขอรับเงินงวดใหม่ ธ.ก.ส. จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปดูแลการดำเนินงานของเกษตรกรด้วยทุกครั้ง
ส่วนหนี้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดที่มีการกู้กับ ธ.ก.ส. ไปแล้วนั้นคงไม่จะมีผลกระทบต่อหนี้เงินกู้เพราะรัฐได้ยืดระยะเวลาการเลี้ยงกุ้งในบ่อสุดท้ายออกไปอีก 4 เดือนเพียงพอต่อการที่เกษตรกรนำกลับมาใช้หนี้ให้กับ ธ.ก.ส.ได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1-7 ส.ค. 41) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,772.49 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,078.33 ตัน สัตว์น้ำจืด 694.16 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.45 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.56 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 110.27 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 317.14 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 58.43 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจาก 34.00 บาท ของกับสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท สูงขึ้นจาก 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 315.00 บาท ลดลงจาก 320.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 585.00 บาท ลดลงจาก 500.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.85 บาท ลดลงจาก 18.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.72 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจาก 31.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท สูงขึ้นจาก 44.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.66 บาท สูงขึ้นจาก 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 10-16 ส.ค. 2541--