ความต้องการใช้
ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,601 ล้านลิตร
เฉลี่ยวันละ 120 ล้านลิตร ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 4.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 3.5 โดย ปตท.มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (รวมปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตา
ให้ กฟผ. 477 ล้านลิตร) รองลงมาได้แก่ เอสโซ่ เชลล์ และ คาลเท็กซ์ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาด
ร้อยละ 37.9 15.7 14.8 และ 8.9 ตามลำดับ
การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และก๊าซแอลพีจี มีปริมาณทั้งสิ้น 3,913 ล้านลิตร เฉลี่ย
วันละ 130 ล้านลิตร ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 10.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 2.0 โดยการจัดหาดังกล่าวได้มาจากการผลิตภายในประเทศ 3,552 ล้านลิตรและจากการ
นำเข้าจากต่างประเทศอีก 361 ล้านลิตร ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจากเกาหลีร้อยละ 48.8 รอง
ลงมาคือ จากฟิลิปปินส์ร้อยละ 41.9 และ อื่น ๆ อีกร้อยละ 9.3
สำหรับน้ำมันดิบนำเข้าจากต่างประเทศปริมาณ 3,798 ล้านลิตร (23.9 ล้านบาเรล)
เฉลี่ยวันละ 127 ล้านลิตร มูลค่า 12,003 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศแถบตะวันออก
กลาง ร้อยละ 75.8 และ ตะวันออกไกลอีกร้อยละ 24.2
ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจีของเดือนนี้มีปริมาณ
รวมทั้งสิ้น 3,601 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120 ล้านลิตร หรือ 754,999 บาเรลต่อวัน ซึ่งลดลงจาก
เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 4.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.5
ปตท.จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ให้ กฟผ.เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการ
ผลิตกระแสไฟฟ้าปริมาณ 86 และ 477 ล้านลิตร และจำหน่ายก๊าซแอลพีจีให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปริมาณ 12,129 เมตริกตัน
สำหรับส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จะเห็นได้ว่า ปตท. มีส่วน
แบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งคือร้อยละ 37.9 (รวมปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตาให้ กฟผ. คิดเป็น
อัตราร้อยละ 55.8 ของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตารวมทั้งประเทศ) รองลงมา ได้แก่ เอสโซ่
เชลล์ และคาลเท็กซ์ ร้อยละ 15.7 14.8 และ 8.9 ตามลำดับ
2. ส่งออกไปต่างประเทศ การส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 421
ล้านลิตร โดยเป็นน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี 334 ล้านลิตร โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศ
สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน
นอกจากนี้ยังมีการส่งออก มิกซ์โซลีน คอนเดนเสท ไอโซเมอร์เรต และก๊าซโซลีน
ธรรมชาติไปยังประเทศสิงคโปร์ และเกาหลี 87 ล้านลิตร
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้มาจากการผลิตจากโรงกลั่น และ โรงแยกก๊าซฯ
ภายในประเทศร้อยละ 90.8 และจากการนำเข้าอีกร้อยละ 9.2 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต
การผลิตภายในประเทศมีปริมาณ 3,552 ล้านลิตร (รวมปริมาณ MTBE ฝางเรสิดิว
องค์ประกอบน้ำมันเตาและน้ำมันปนเปื้อนที่นำมาผสมจำนวน 49 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ 118 ล้านลิตร
หรือ 744,723 บาเรลต่อวัน โดยปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 7.3 แต่เพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.1 ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตได้ในเดือนนี้แยกเป็น
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,281 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 109 ล้านลิตร หรือ
687,948 บาเรลต่อวัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 8.9 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 16.4 โดยนำน้ำมันเข้าขบวนการกลั่น 3,576 ล้านลิตร หรือวันละ 749,780 บาเรล
ในเดือนนี้ โรงกลั่นน้ำมันมีการหยุดซ่อมแซม โดยโรงกลั่นน้ำมันระยอง (หน่วย HYDRO-
CRACKER และ PLATFORMER) หยุดซ่อมแซมเพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักร ประจำปีระหว่างวันที่ 12-
26 และโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ (หน่วยกลั่นที่ 1) หยุดการกลั่นระหว่างวันที่ 16-23 เนื่องจากปัญหา
เกี่ยวกับระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในโรงกลั่น
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 109,402 เมตริกตัน (203 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ
3,647 เมตริกตัน (7 ล้านลิตร) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.9
และ 44.4
นอกจากนี้ มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากการประกอบอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอีก
ประมาณ 10,386 เมตริกตัน (19 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ 346 เมตริกตันเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา
และเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 42.9 และ 39.6
2. การนำเข้า
น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซแอลพีจีและน้ำมันดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น
4,160 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 139 ล้านลิตร หรือ 872,191 บาเรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 13,269
ล้านบาท (ไม่รวมปริมาณนำเข้า MTBE ที่นำเข้ามาจากสิงคโปร์ มาเลเซียและซาอุดิอารเบียอีก 30
ล้านลิตร มูลค่า 153 ล้านบาท) แยกรายละเอียดได้ดังนี้
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,798 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 127 ล้านลิตรหรือ 796,404
บาเรลต่อวัน ราคาเฉลี่ย 19.49 เหรียญสหรัฐ/บาเรล มูลค่าการนำเข้า 12,003 ล้านบาท
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 1.6 โดย
ราคานำเข้าเฉลี่ยลดลง 0.43 เหรียญสหรัฐ/บาเรล
- ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.7 และ 21.1 ตาม
ลำดับ โดยราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.28 เหรียญสหรัฐ/บาเรล
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(เหรียญสหรัฐ/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,879 19.25 75.8
ตะวันออกไกล 919 20.26 24.2
รวม 3,798 19.49 100.0
การนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลาง แหล่งนำเข้าใหญ่ที่สุดมาจากประเทศโอมานคิดเป็น
ร้อยละ 25.5 ยู เอ อี ร้อยละ 15.6 เยเมนร้อยละ 11.9 สำหรับจากแหล่งตะวันออกไกล มา
จากประเทศมาเลเซียร้อยละ 13.6 บรูไนร้อยละ 7.1 และอินโดนิเซียร้อยละ 3.5 ตามลำดับ
2.2 น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี ปริมาณรวมทั้งสิ้น 361 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ
12 ล้านลิตร หรือ 75,787 บาเรลต่อวัน มูลค่า 1,266 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือน
ที่ผ่านมาร้อยละ 31.9 และ 34.7 ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 55.0
และ 56.8 โดยปริมาณการนำเข้าในเดือนนี้เป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วสูงถึงร้อยละ 57.4
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี
แหล่งนำเข้า ปริมาณ(ล้านลิตร) ร้อยละ
เกาหลี 177 48.8
ฟิลิปปินส์ 151 41.9
อื่น ๆ 33 9.3
รวม 361 100.0
ปริมาณความต้องการใช้และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - มิถุนายน 2540
1. ความต้องการใช้
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 21,327 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 118 ล้านลิตรหรือ 741,147 บาเรล
เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 639 ล้านลิตร หรือวันละ 4 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 3.1
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 23,725 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 131
ล้านลิตร หรือ 824,476 บาเรล เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 1,369 ล้านลิตร หรือวันละ 8 ล้าน
ลิตร คิดเป็นร้อยละ 6.1 โดยแยกได้ดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ
ได้จากโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซฯ 21,760 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120 ล้านลิตร
หรือ 756,178 บาเรล โดยสามารถสนองความต้องการใช้ภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น
จากปี 2539 ปริมาณ 5,077 ล้านลิตร หรือวันละ 29 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 30.4
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,965 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 11 ล้านลิตร หรือ 68,298
บาเรล ลดลงจากปี 2539 ปริมาณ 3,708 ล้านลิตร หรือวันละ 20 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 65.4
สำหรับน้ำมันดิบมีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 21,750 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120
ล้านลิตร หรือ 755,837 บาเรล มูลค่าการนำเข้า 75,628 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ
4,646 ล้านลิตร หรือร้อยละ 27.2 โดยนำเข้ามาจากตะวันออกกลางร้อยละ 74.4 ตะวันออกไกล
ร้อยละ 21.9 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.8
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,601 ล้านลิตร
เฉลี่ยวันละ 120 ล้านลิตร ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 4.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 3.5 โดย ปตท.มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (รวมปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตา
ให้ กฟผ. 477 ล้านลิตร) รองลงมาได้แก่ เอสโซ่ เชลล์ และ คาลเท็กซ์ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาด
ร้อยละ 37.9 15.7 14.8 และ 8.9 ตามลำดับ
การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และก๊าซแอลพีจี มีปริมาณทั้งสิ้น 3,913 ล้านลิตร เฉลี่ย
วันละ 130 ล้านลิตร ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 10.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 2.0 โดยการจัดหาดังกล่าวได้มาจากการผลิตภายในประเทศ 3,552 ล้านลิตรและจากการ
นำเข้าจากต่างประเทศอีก 361 ล้านลิตร ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจากเกาหลีร้อยละ 48.8 รอง
ลงมาคือ จากฟิลิปปินส์ร้อยละ 41.9 และ อื่น ๆ อีกร้อยละ 9.3
สำหรับน้ำมันดิบนำเข้าจากต่างประเทศปริมาณ 3,798 ล้านลิตร (23.9 ล้านบาเรล)
เฉลี่ยวันละ 127 ล้านลิตร มูลค่า 12,003 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศแถบตะวันออก
กลาง ร้อยละ 75.8 และ ตะวันออกไกลอีกร้อยละ 24.2
ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจีของเดือนนี้มีปริมาณ
รวมทั้งสิ้น 3,601 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120 ล้านลิตร หรือ 754,999 บาเรลต่อวัน ซึ่งลดลงจาก
เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 4.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.5
ปตท.จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ให้ กฟผ.เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการ
ผลิตกระแสไฟฟ้าปริมาณ 86 และ 477 ล้านลิตร และจำหน่ายก๊าซแอลพีจีให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปริมาณ 12,129 เมตริกตัน
สำหรับส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จะเห็นได้ว่า ปตท. มีส่วน
แบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งคือร้อยละ 37.9 (รวมปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตาให้ กฟผ. คิดเป็น
อัตราร้อยละ 55.8 ของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตารวมทั้งประเทศ) รองลงมา ได้แก่ เอสโซ่
เชลล์ และคาลเท็กซ์ ร้อยละ 15.7 14.8 และ 8.9 ตามลำดับ
2. ส่งออกไปต่างประเทศ การส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 421
ล้านลิตร โดยเป็นน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี 334 ล้านลิตร โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศ
สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน
นอกจากนี้ยังมีการส่งออก มิกซ์โซลีน คอนเดนเสท ไอโซเมอร์เรต และก๊าซโซลีน
ธรรมชาติไปยังประเทศสิงคโปร์ และเกาหลี 87 ล้านลิตร
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้มาจากการผลิตจากโรงกลั่น และ โรงแยกก๊าซฯ
ภายในประเทศร้อยละ 90.8 และจากการนำเข้าอีกร้อยละ 9.2 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต
การผลิตภายในประเทศมีปริมาณ 3,552 ล้านลิตร (รวมปริมาณ MTBE ฝางเรสิดิว
องค์ประกอบน้ำมันเตาและน้ำมันปนเปื้อนที่นำมาผสมจำนวน 49 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ 118 ล้านลิตร
หรือ 744,723 บาเรลต่อวัน โดยปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 7.3 แต่เพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.1 ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตได้ในเดือนนี้แยกเป็น
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,281 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 109 ล้านลิตร หรือ
687,948 บาเรลต่อวัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 8.9 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 16.4 โดยนำน้ำมันเข้าขบวนการกลั่น 3,576 ล้านลิตร หรือวันละ 749,780 บาเรล
ในเดือนนี้ โรงกลั่นน้ำมันมีการหยุดซ่อมแซม โดยโรงกลั่นน้ำมันระยอง (หน่วย HYDRO-
CRACKER และ PLATFORMER) หยุดซ่อมแซมเพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักร ประจำปีระหว่างวันที่ 12-
26 และโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ (หน่วยกลั่นที่ 1) หยุดการกลั่นระหว่างวันที่ 16-23 เนื่องจากปัญหา
เกี่ยวกับระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในโรงกลั่น
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 109,402 เมตริกตัน (203 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ
3,647 เมตริกตัน (7 ล้านลิตร) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.9
และ 44.4
นอกจากนี้ มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากการประกอบอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอีก
ประมาณ 10,386 เมตริกตัน (19 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ 346 เมตริกตันเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา
และเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 42.9 และ 39.6
2. การนำเข้า
น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซแอลพีจีและน้ำมันดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น
4,160 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 139 ล้านลิตร หรือ 872,191 บาเรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 13,269
ล้านบาท (ไม่รวมปริมาณนำเข้า MTBE ที่นำเข้ามาจากสิงคโปร์ มาเลเซียและซาอุดิอารเบียอีก 30
ล้านลิตร มูลค่า 153 ล้านบาท) แยกรายละเอียดได้ดังนี้
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,798 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 127 ล้านลิตรหรือ 796,404
บาเรลต่อวัน ราคาเฉลี่ย 19.49 เหรียญสหรัฐ/บาเรล มูลค่าการนำเข้า 12,003 ล้านบาท
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 1.6 โดย
ราคานำเข้าเฉลี่ยลดลง 0.43 เหรียญสหรัฐ/บาเรล
- ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.7 และ 21.1 ตาม
ลำดับ โดยราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.28 เหรียญสหรัฐ/บาเรล
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(เหรียญสหรัฐ/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,879 19.25 75.8
ตะวันออกไกล 919 20.26 24.2
รวม 3,798 19.49 100.0
การนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลาง แหล่งนำเข้าใหญ่ที่สุดมาจากประเทศโอมานคิดเป็น
ร้อยละ 25.5 ยู เอ อี ร้อยละ 15.6 เยเมนร้อยละ 11.9 สำหรับจากแหล่งตะวันออกไกล มา
จากประเทศมาเลเซียร้อยละ 13.6 บรูไนร้อยละ 7.1 และอินโดนิเซียร้อยละ 3.5 ตามลำดับ
2.2 น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี ปริมาณรวมทั้งสิ้น 361 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ
12 ล้านลิตร หรือ 75,787 บาเรลต่อวัน มูลค่า 1,266 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือน
ที่ผ่านมาร้อยละ 31.9 และ 34.7 ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 55.0
และ 56.8 โดยปริมาณการนำเข้าในเดือนนี้เป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วสูงถึงร้อยละ 57.4
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี
แหล่งนำเข้า ปริมาณ(ล้านลิตร) ร้อยละ
เกาหลี 177 48.8
ฟิลิปปินส์ 151 41.9
อื่น ๆ 33 9.3
รวม 361 100.0
ปริมาณความต้องการใช้และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - มิถุนายน 2540
1. ความต้องการใช้
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 21,327 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 118 ล้านลิตรหรือ 741,147 บาเรล
เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 639 ล้านลิตร หรือวันละ 4 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 3.1
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 23,725 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 131
ล้านลิตร หรือ 824,476 บาเรล เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 1,369 ล้านลิตร หรือวันละ 8 ล้าน
ลิตร คิดเป็นร้อยละ 6.1 โดยแยกได้ดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ
ได้จากโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซฯ 21,760 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120 ล้านลิตร
หรือ 756,178 บาเรล โดยสามารถสนองความต้องการใช้ภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น
จากปี 2539 ปริมาณ 5,077 ล้านลิตร หรือวันละ 29 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 30.4
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,965 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 11 ล้านลิตร หรือ 68,298
บาเรล ลดลงจากปี 2539 ปริมาณ 3,708 ล้านลิตร หรือวันละ 20 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 65.4
สำหรับน้ำมันดิบมีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 21,750 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120
ล้านลิตร หรือ 755,837 บาเรล มูลค่าการนำเข้า 75,628 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ
4,646 ล้านลิตร หรือร้อยละ 27.2 โดยนำเข้ามาจากตะวันออกกลางร้อยละ 74.4 ตะวันออกไกล
ร้อยละ 21.9 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.8
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--