สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ สัมภาษณ์เรื่อง "การตั้งคณะกรรมการสอบสวน SDH"
จากกรณีที่มีการออกมาวิพากวิจารณ์กล่าวหา รมว.ของพรรคประชาธิปัตย์ คือคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยคนใน พรรคเองก็คือคุณทวี ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี เกี่ยวกับเรื่องโครงการสื่อสัญญาณความเร็วสูง หรือ เอสดีเอช ผมคิดว่าขณะ นี้คงสร้างความสับสนให้กับสมาชิกพรรคและก็พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ว่าในพรร คประชาธิปัตย์เกิดอะไรขึ้น ทำ ไมสมาชิกถึงออกมากล่าวหาทางรัฐมนตรีของพรรค แล้วก็หลายคนก็อาจจะสงสัยไปถึงว่า ถ้าเรื่องนี้ไม่มีมูลสมาชิก พรรคก็คงไม่ออกมาพูดจาแบบนี้ เมื่อเกิดเรื่องขึ้นมามีการวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมานี้ผมคิดว่า การกล่าว หาของคุณทวี ไกรคุปต์ ทำให้พี่น้องประชาชนโดยทั่วไปมีความเข้าใจว่าท่านรมว.สุเทพ ซึ่งเป็นคนของพรรคเองคงจะ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของโครงการนี้ในลักษณะที่ไม่ชอบมาพากลด้วย ดังนั้นเมื่อเกิดความสับสนอย่างนี้ เป็นความจำ เป็นที่พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นพรรคต้นสังกัดของทั้ง 2 คนจำเป็นที่จะต้องออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ให้ชัดเจน ดังนั้นก็จะถือโอกาสนี้ได้ชี้แจงผ่านเครือข่ายของพรรคว่า ในเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช้เรื่องของการขัดแย้งภายในพรรค แต่เป็นเรื่องระหว่างบุคคลต่อบุคคลเป็นเรื่องของความเข้าใจของ คุณทวี ไกรคุปต์ ที่มีต่อท่านรมว.สุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะที่เป็นรมว.กระทรวงคมนาคม เมื่อมีความเข้าใจผิดเกิดขึ้นก็จะมีการกล่าวหากัน พรรคเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจใน เรื่องนี้ ตั้งแต่มีการกล่าวหาตั้งแต่วันที่ 7 ที่ผ่านมาพรรคโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนก็ได้มีการติดตามข้อมูลข่าว สารเรื่องนี้ ดังนั้นเมื่อติดตามข่าวสารโดยละเอียดแล้วในที่สุดก็มีการประชุมพรรคเมื่อว ันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา ในการ ประชุมในวันนั้นต้องถือว่าเป็นประวัติศาตร์ของพรรคในรอบ 52 ปีที่มีการเปิดให้สื่อมวลชนได้เข้าไปรับฟังการ ประชุมด้วย ซึ่งการประชุมในวันนั้นก็ได้เปิดโอกาสให้คุณทวี ไดรคุปต์ ในฐานะผู้กล่าวหาได้แจงข้อกล่าวหาในที่ ประชุม แล้วให้ทางรมว.สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ตอบ รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกของพรรคได้ร่วมกันพิจารณา และแสดงความคิดเห็น โดยสื่อมวลชนบางสื่อก็มีการถ่ายทอดสดในการประชุมวันนั้น ผมคิดว่าหลังจากประชุมแล้ว ข้อสรุปที่เกิดขึ้นซึ่งอยากจะชี้แจงพี่น้องประชาชนก็คือว่าอันที่ 1 ในเรื่องการกล่าวหาเรื่องโครงการสื่อสัญญาญความ เร็วสูง หรือ เอสดีเอช พรรคได้แยกการพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ
1. กรณีตัวโครงการเอสดีเอช ว่ามีความโป่รงใสหรือไม่ มีการสมยอมในการประมูลราคากันหรือไม่ มีการทุจริต
หรือไม่ ข้อเท็จจริงเท่าที่คุณทวี ได้ชี้แจงรวมทั้งท่านรมว.สุเทพ ได้ชี้แจงก็ฟังได้ว่า โครงการเอสดีเอชนี้ไม่มีใคร
คัดค้านถึงความจำเป็นทุกคนเห็นด้วยหมด เพียงแต่ความเห็นที่ไม่ตรงกันก็คือว่า ในการประมูลเรื่องเอสดีเอชที่
เกิดขึ้นนี้มีข้อส่งสัยว่าจะมีการสมยอมยอมเกิดขึ้นแต่ไม่สามา รถมีใครนำข้อมูลหลักฐานการสมยอมกันมายืนยัน
ได้ เมื่อยืนยันไม่ได้ก็แปลว่าการเลิกการประมูลก็ไม่มีเหตุผลที่จะไปทำเช่นนั้ นในขณะเดียวกัน การทุจริตที่เกิด
ขึ้นต่อโครงการเอสดีเอชก็ไม่สามารถที่จะมีข้อมูลหลักฐานไปยืน ยันได้ ในเรื่องนี้นั้นสมาชิกของพรรครวมทั้ง
คณะรัฐมนตรีได้ซักถามบอร์ดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศและประธา นกรรมการบริหารโทรศัพท์แห่งประ
เทศไทย และก็ทางกรรมการบริการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์อย่างละเอียด โดย
ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตุถึงขนาดว่าถ้าพบว่ามีการสมยอมในการ ประมูลกันก่อนหน้าที่จะนำไปสู่การทบทวน
โครงการเสียด้วยซ้ำ ซึ่งทางท่านประธานบอร์ดขององค์การโทรศัพท์ก็ได้ชี้แจงให้ทราบชัดแจนว่าควา มจริงแล้ว
แต่การสรุปการทำงานคณะทำงานนั้นพึ่งจะมาสรุปกันในช่วงนี้โดยข ้อสรุปนั้นได้เสนอให้บอร์ดทราบว่า
1. ควรมีการต่อรองกันใหม่
2. ถ้าต่อรองกันไม่ได้ก็ให้องค์การโทรศัพท์จัดซื้ออุปกรณ์เสียเองเป็นรายเดีย ว เพื่อให้ถูกลง เพียงแต่เมื่อโครง การองค์การโทรศัพท์ออกมาชี้ทางออกว่าจะมีการต่อรอง หรือ ซื้อนั้นคนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเพราะคุณ ทวี ไปเรียกร้อง เป็นเพราะพรรคฝ่ายค้านเรียกร้องซึ่งความจริงไม่ใช่ คณะทำงานของบอร์ดองค์การโทรศัพท์ทำงานมาก่อนมีการเรียก ร้องนั้นแสดงให้เห็นว่าเรื่องโครงการนี้มีความเป็นห่วงจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีมาตั้งแต่ต้น นี้เป็นประเด็น แรกที่พรรคอยากจะชี้แจงว่าเราแยกแยะประเด็นเรื่องโครงการความไม่โปร่งใสออ กมาชัดเจน ขณะเดียวกันเรื่องของ โครงการนี้นอกเหนือจากที่เราตั้งประเด็นว่าสมยอมกันหรือไม่ ยังตั้งข้อสงสัยต่อไปว่า ในตัวโครงการรมว.สุเทพมีส่วน เกี่ยวข้องในเชิงทุจริตหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้คนทั่วไปมีความเป็นห่วงมาก เพราะโครงการนี้มีการประมูลในเวลาที่พรรค ประชาธิปัตย์ยังไม่ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ที่สำคัญคนที่จัดการประมูลก็คือบอร์ดขององค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทย และองค์การโทรศัพท์ซึ่งมีการประมูลกันไปถูกต้องตามขั้นตอนทุกประการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลบอร์ดองค์การโทรศัพท์ ได้นำเสนอผลการพิจารณาผ่านมายังท่านรมว.สุเทพ ท่านยังมีข้อสังเกตุผ่านไปถึงบอร์ด ด้วยซ้ำไปว่าราคาสูงเกินปกติ หรือไม่ ราคาอุปกรณ์ผิดปกติหรือไม่ และยังย้ำว่าต้องใช้ของที่ผลิตในประเทศไทยด้วยซ้ำ ไป ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า รมว.สุเทพนั้นก็ได้เป็นห่วงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ฉะนั้นประเด็นเรื่องความโปร่งใส หรือไม่ของโครงการ เป็นประเด็นที่พรรคแยกแยะเป็นประเด็นที่ 1 ในประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ
ประเด็นที่ 2 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการที่สมาชิกพรรคกล่าวหาสมาชิกของพรรคอีกคนหน ึ่ง ที่เป็นรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องภายในพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคการเมืองที่เก่าแก่มีระเบียบวินัย มีข้อบังคับ ที่ชัดเจนก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาเรื่องนี้ แต่เราพิจารณาเรื่องนี้โดยแยกกับข้อเท็จจริงในโครงการ คนโดยทั่วไปมัก จะเอาสองเรื่องนี้มาปนกันแล้วก็วิพากวิจารณ์ในทำนองว่าพรรคปกป้องคุณสุเทพ แล้วก็เหยียบย่ำ หรือว่าไปทำลาย คุณทวี ซึ่งไม่ใช่ พรรคแยกประเด็นเรื่องโครงการโปร่งใสหรือไม่เป็นหนึ่งประเด็น อีกประเด็นหนึ่งเมื่อคนในพรรค กล่าวหาคนในพรรค ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. แล้วก็พูดจาให้คนทั่วไปเข้าใจว่าท่าน รมว.สุเทพทุจริต ซึ่งเกิดความเสียหายต่อ พรรคเกิดความเสียหายต่อสมาชิกพรรคทั่วประเทศ แล้วสมาชิกพรรคทั่วประเทศก็เรียกร้องให้พรรคดำเนินการอย่าง ใดอย่างหนึ่ง พรรคถือว่าเรามีกระบวนการในพรรคที่ชัดเจน ถ้าสมาชิกท่านใดสงสัยว่าท่านรมว.ทุจริต ท่านมีสิทธิอยู่ แล้วที่จะเสนอญัตติต่อพรรคให้พิจารณา ที่ผ่านมาก็มีการพิจารณากันไปแล้ว รวมทั้งเคยมีคนร้องเรียนเรื่องพฤติกรรม รัฐมนตรี ผ่านไปยังท่านนายกฯ ท่านได้ตรวจสอบแล้วท่านรัฐมนตรีไม่ผิดก็เคยมีมาแล้ว กระบวนการของพรรคหมาย ความว่าจะซุกเรื่องทุกอย่างไว้ในพรรคแล้วเก็บรู้กันแต่คนของพรรคไม่ใช่ แต่กระบวนการในพรรคจะต้องมีกระบวน การพิสูจน์ให้เห็นว่าพรรคปกป้องความถูกต้อง ดังนั้นกรณีคุณทวี ออกมากล่าวหานั้นวันที่ 7-13 ท่านพูดเหมือนว่ารมว. สุเทพทุจริต แต่พอวันที่ 17เมื่อทุกคนซักในกระบวนการของพรรค คือการประชุมพรรคนั้นท่านชี้แจงไม่ได้ว่าท่านมี หลักฐานหรือไม่อย่างไรที่สุดท่านก็หาทางออกโดยการบอกว่าไม่ได้กล่าวหารมว. สุเทพ แต่สงสัยเรื่องของโครงการ คำถามที่เกิดขึ้นก็คือว่า แล้ว 7 วันที่ผ่านมาคำพูดที่ทำให้พรรคเสียหายต้องมีคนรับผิดชอบหรือไม่ เพราะสมาชิก ถูกกล่าวหาไปแล้ว ชื่อเสียงพรรคถูกกระทบ ดังนั้นกระบวนการต่อไปของพรรคก็คือว่าโดยมติที่ประชุมวันที่ 14 ก.ค. ก็ให้ส่งเรื่องนี้ให้คณะผู้บริหารของพรรคจำนวน 15 คนไปประชุมพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง โดย คณะกรรมการชุดที่แต่งตั้งขึ้นมานี้จะทำหน้าที่ ในการที่จะหาข้อเท็จจริงว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลหรือไม่และใครผิดใคร ถูก ในที่สุดแล้วคณะผู้บริหารนั้นก็ได้ประชุมกันในตอนบ่าย 3 โมง ของวันที่ 16 ก.ค. เลือกคณะกรรมการขึ้นมาทำ หน้าที่ในการหาข้อเท็จจริงนี้จำนวน 5 ท่านประกอบไปด้วยท่านสุทัศน์ เงินหมื่น สมาชิกจากจ.อำนาจเจริญ ของ พรรคประชาธิปัตย์ 2. ท่าน ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค ส.ส. กรุงเทพฯ 3. ดร.ปรีชา สุวรรณทัต ส.ส. กทม. 4. คุณนพดล ปัทมะ ส.ส. กรุงเทพฯ 5. คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส. กรุงเทพฯ ซึ่งทั้ง 5 คนนี้มีภาระกิจก็คือ จะต้องมีการกำหนดประเด็น เจาะหาข้อเท็จจริง ในข้อกล่าวหาของคุณทวีที่มีต่อคุณสุเทพ และต้องทำงานให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ หลายคนตั้ง ข้อสังเกตุว่า การตั้งคณะทำงาน จะนำไปสู่การขับคุณทวีออกจากพรรคหรือไม่ ก็ต้องเรียนให้ทราบกระบวนการของ พรรคนั้น เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่นำไปสู่การลงโทษ แต่กระบวนการต้องนำไปสู่เรื่อง 2 เรื่องคือ 1. การเสาะหา ข้อเท็จจริง ในข้อกล่าวหาก็ดี ในเรื่องของคนที่ถูกกล่าวหาก็ดี 2. ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้กล่าวหาและ ผู้ถูกกล่าวหา ส่วนผลการพิจารณาคณะกรรมการออกมาอย่างไรนั้นก็แล้วแต่คณะกรรมการทั้ง 5 คนจะได้พิจารณา แต่เมื่อพิจารณาแล้ว คณะกรรมการก็ต้องรายงานต่อคณะผู้บริหารอีกครั้งหนึ่ง เพราะคณะผู้บริหารเป็นผู้ตั้งกรรมการ ข้อขี้ขาดของกรรมการคงไม่ใช่ข้อยุติ แต่ข้อยุตินี้ก็คงอยู่ในคณะผู้บริหารจำนวน 15 คน ที่ทำหน้าที่บริหารพรรค ว่าจะ ดำเนินการอย่างไร เพราะฉะนั้นวันนี้เป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าใครผิดใครถูก เป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าใคร จะต้องออกจากพรรคบ้าง ดังนั้นโดยสรุปก็คือปัจจุบันพรรคก็แยกแยะ 2 ประเด็นนี้ชัดเจน พรรคขอให้ความมั่นใจกับ พี่น้องประชาชนว่า พรรคไม่เคยปกป้องคนผิด และพรรคก็ไม่ควรจะไปทำลายคนบริสุทธิ์ เหมือนที่ท่านหัวหน้าพรรค ได้พูดต่อสาธารณะชนซึ่งกรณีเรื่อง SDH ที่เกิดขึ้นนั้น อยากจะให้สมาชิกพรรคและผู้ติดตามข่าว อย่าเกิดความสับสน ระหว่างเรื่องในพรรคกับเรื่องโครงการ อย่าเอาเรื่อง 2 เรื่องนี้มาปนกัน มิฉะนั้นแล้วจะเกิดอัคติต่อการทำงานในพรรค ซึ่งจะเป็นเรื่องที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
คือจริง ๆ แล้วทุกคนมีสิทธิ์ตั้งข้อสงสัย แต่เฉพาะเพียงแต่การตั้งข้อสงสัย โดยไม่มีหลักฐานใด ๆ จะไปสู่การเลิก ล้มสิ่งที่ทำมาถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่างนั้น ออกขาดเหตุผล คุณสุเทพก็พูดชัดว่า เพียงแต่มีความรู้สึกว่า ไม่โปร่งใส แต่ไม่มีหลักฐาน เราจะไปเลิกล้มสิ่งที่มีกระบวนการในการตัดสินใจหลายขั้นตอนได้อย่างไร กระบวนการโครงการ SDH ไม่ใช่พึ่งเกิดขึ้นในปี 2541 มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2538 โดยรัฐบาลชุดนั้นที่มีการออกเป็นมติ ครม. กำหนดโซน ออกมา และหลังจากนั้นก็มีการกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ผ่านสภาพัฒน์ก็ดี ผ่านครม.ก็ดี ผ่านบอร์ดองค์การโทรศัพท์ก็ดี ผ่านขั้นตอนของการประมูล การดูแลรายละเอียดทุกขั้นตอนก็ดี มาทุกขั้นกว่าจะมาถึงวันนี้ ซึ่งเพียงแต่รู้สึกจะไม่มีหลัก ฐาน ถ้าไปล้มโครงการใหญ่ ๆ ต่อไปจะเกิดยากเพราะเพียงแต่รู้สึกก็นำไปสู่การล้มได้ มันไม่มีเหตุผลอธิบาย ทุกคนก็ มีสิทธิ์ตั้งข้อสังเกตุประเด็นนี้ เกิดขึ้นก็คือว่าถ้าสงสัยว่ามีการสมยอมพิสูจน์ได้ไหมว่าสมยอมนั้นคือประกา รที่หนึ่ง ถ้า พิสูจน์ไม่ได้ประการที่สองคือว่าโครงการนี้ได้กำหนด งบประมาณในการดำเนินการไว้อย่างไร กำหนดคุณสมบัติไว้ อย่างไร การดำเนินการที่มีการประมูลเป็นไปตามคุณสมบัติทุกประการทุกขั้นตอน ประโยชน์ของประเทศชาติไม่เสีย ประโยชน์ของประเทศชาติได้กับประเทศชาติก็น่าจะมีการดำเนินการต่อ แต่ขณะเดียวกันถ้าพบหลักฐานชี้ให้เห็นชัด ว่าสมยอม ก็ควรจะเลิก แต่อย่างไรก็ตามผมเรียนว่าต่อไปนี้จากกรณีอย่างนี้ที่เกิดขึ้น SDH เป็นประสบการณ์สำหรับรัฐ ในการที่จะทำโครงการขนาดใหญ่ก็ต้องมีความโปร่งใสชัดเจน และพี่น้องประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน รัฐบาลเองกำลังเร่งรัดที่ออกพรบ.ป้องกันการสมยอมหลังจากที่แก้ไขระเบียบสำ นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุไป แล้ว เพื่อป้องกันการสมยอม ก็ให้ความมั่นใจได้ ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นข้อสงสัยที่นำไปสู่การพิสูจน์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บอร์ดขององค์การโทรศัพท์ก็พยายามที่จะหาทางออกอยู่แล้ว
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Homepage พรรคประชาธิปัตย์ www.democrat.or.th-- จบ--
จากกรณีที่มีการออกมาวิพากวิจารณ์กล่าวหา รมว.ของพรรคประชาธิปัตย์ คือคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยคนใน พรรคเองก็คือคุณทวี ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี เกี่ยวกับเรื่องโครงการสื่อสัญญาณความเร็วสูง หรือ เอสดีเอช ผมคิดว่าขณะ นี้คงสร้างความสับสนให้กับสมาชิกพรรคและก็พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ว่าในพรร คประชาธิปัตย์เกิดอะไรขึ้น ทำ ไมสมาชิกถึงออกมากล่าวหาทางรัฐมนตรีของพรรค แล้วก็หลายคนก็อาจจะสงสัยไปถึงว่า ถ้าเรื่องนี้ไม่มีมูลสมาชิก พรรคก็คงไม่ออกมาพูดจาแบบนี้ เมื่อเกิดเรื่องขึ้นมามีการวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมานี้ผมคิดว่า การกล่าว หาของคุณทวี ไกรคุปต์ ทำให้พี่น้องประชาชนโดยทั่วไปมีความเข้าใจว่าท่านรมว.สุเทพ ซึ่งเป็นคนของพรรคเองคงจะ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของโครงการนี้ในลักษณะที่ไม่ชอบมาพากลด้วย ดังนั้นเมื่อเกิดความสับสนอย่างนี้ เป็นความจำ เป็นที่พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นพรรคต้นสังกัดของทั้ง 2 คนจำเป็นที่จะต้องออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ให้ชัดเจน ดังนั้นก็จะถือโอกาสนี้ได้ชี้แจงผ่านเครือข่ายของพรรคว่า ในเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช้เรื่องของการขัดแย้งภายในพรรค แต่เป็นเรื่องระหว่างบุคคลต่อบุคคลเป็นเรื่องของความเข้าใจของ คุณทวี ไกรคุปต์ ที่มีต่อท่านรมว.สุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะที่เป็นรมว.กระทรวงคมนาคม เมื่อมีความเข้าใจผิดเกิดขึ้นก็จะมีการกล่าวหากัน พรรคเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจใน เรื่องนี้ ตั้งแต่มีการกล่าวหาตั้งแต่วันที่ 7 ที่ผ่านมาพรรคโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนก็ได้มีการติดตามข้อมูลข่าว สารเรื่องนี้ ดังนั้นเมื่อติดตามข่าวสารโดยละเอียดแล้วในที่สุดก็มีการประชุมพรรคเมื่อว ันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา ในการ ประชุมในวันนั้นต้องถือว่าเป็นประวัติศาตร์ของพรรคในรอบ 52 ปีที่มีการเปิดให้สื่อมวลชนได้เข้าไปรับฟังการ ประชุมด้วย ซึ่งการประชุมในวันนั้นก็ได้เปิดโอกาสให้คุณทวี ไดรคุปต์ ในฐานะผู้กล่าวหาได้แจงข้อกล่าวหาในที่ ประชุม แล้วให้ทางรมว.สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ตอบ รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกของพรรคได้ร่วมกันพิจารณา และแสดงความคิดเห็น โดยสื่อมวลชนบางสื่อก็มีการถ่ายทอดสดในการประชุมวันนั้น ผมคิดว่าหลังจากประชุมแล้ว ข้อสรุปที่เกิดขึ้นซึ่งอยากจะชี้แจงพี่น้องประชาชนก็คือว่าอันที่ 1 ในเรื่องการกล่าวหาเรื่องโครงการสื่อสัญญาญความ เร็วสูง หรือ เอสดีเอช พรรคได้แยกการพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ
1. กรณีตัวโครงการเอสดีเอช ว่ามีความโป่รงใสหรือไม่ มีการสมยอมในการประมูลราคากันหรือไม่ มีการทุจริต
หรือไม่ ข้อเท็จจริงเท่าที่คุณทวี ได้ชี้แจงรวมทั้งท่านรมว.สุเทพ ได้ชี้แจงก็ฟังได้ว่า โครงการเอสดีเอชนี้ไม่มีใคร
คัดค้านถึงความจำเป็นทุกคนเห็นด้วยหมด เพียงแต่ความเห็นที่ไม่ตรงกันก็คือว่า ในการประมูลเรื่องเอสดีเอชที่
เกิดขึ้นนี้มีข้อส่งสัยว่าจะมีการสมยอมยอมเกิดขึ้นแต่ไม่สามา รถมีใครนำข้อมูลหลักฐานการสมยอมกันมายืนยัน
ได้ เมื่อยืนยันไม่ได้ก็แปลว่าการเลิกการประมูลก็ไม่มีเหตุผลที่จะไปทำเช่นนั้ นในขณะเดียวกัน การทุจริตที่เกิด
ขึ้นต่อโครงการเอสดีเอชก็ไม่สามารถที่จะมีข้อมูลหลักฐานไปยืน ยันได้ ในเรื่องนี้นั้นสมาชิกของพรรครวมทั้ง
คณะรัฐมนตรีได้ซักถามบอร์ดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศและประธา นกรรมการบริหารโทรศัพท์แห่งประ
เทศไทย และก็ทางกรรมการบริการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์อย่างละเอียด โดย
ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตุถึงขนาดว่าถ้าพบว่ามีการสมยอมในการ ประมูลกันก่อนหน้าที่จะนำไปสู่การทบทวน
โครงการเสียด้วยซ้ำ ซึ่งทางท่านประธานบอร์ดขององค์การโทรศัพท์ก็ได้ชี้แจงให้ทราบชัดแจนว่าควา มจริงแล้ว
แต่การสรุปการทำงานคณะทำงานนั้นพึ่งจะมาสรุปกันในช่วงนี้โดยข ้อสรุปนั้นได้เสนอให้บอร์ดทราบว่า
1. ควรมีการต่อรองกันใหม่
2. ถ้าต่อรองกันไม่ได้ก็ให้องค์การโทรศัพท์จัดซื้ออุปกรณ์เสียเองเป็นรายเดีย ว เพื่อให้ถูกลง เพียงแต่เมื่อโครง การองค์การโทรศัพท์ออกมาชี้ทางออกว่าจะมีการต่อรอง หรือ ซื้อนั้นคนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเพราะคุณ ทวี ไปเรียกร้อง เป็นเพราะพรรคฝ่ายค้านเรียกร้องซึ่งความจริงไม่ใช่ คณะทำงานของบอร์ดองค์การโทรศัพท์ทำงานมาก่อนมีการเรียก ร้องนั้นแสดงให้เห็นว่าเรื่องโครงการนี้มีความเป็นห่วงจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีมาตั้งแต่ต้น นี้เป็นประเด็น แรกที่พรรคอยากจะชี้แจงว่าเราแยกแยะประเด็นเรื่องโครงการความไม่โปร่งใสออ กมาชัดเจน ขณะเดียวกันเรื่องของ โครงการนี้นอกเหนือจากที่เราตั้งประเด็นว่าสมยอมกันหรือไม่ ยังตั้งข้อสงสัยต่อไปว่า ในตัวโครงการรมว.สุเทพมีส่วน เกี่ยวข้องในเชิงทุจริตหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้คนทั่วไปมีความเป็นห่วงมาก เพราะโครงการนี้มีการประมูลในเวลาที่พรรค ประชาธิปัตย์ยังไม่ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ที่สำคัญคนที่จัดการประมูลก็คือบอร์ดขององค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทย และองค์การโทรศัพท์ซึ่งมีการประมูลกันไปถูกต้องตามขั้นตอนทุกประการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลบอร์ดองค์การโทรศัพท์ ได้นำเสนอผลการพิจารณาผ่านมายังท่านรมว.สุเทพ ท่านยังมีข้อสังเกตุผ่านไปถึงบอร์ด ด้วยซ้ำไปว่าราคาสูงเกินปกติ หรือไม่ ราคาอุปกรณ์ผิดปกติหรือไม่ และยังย้ำว่าต้องใช้ของที่ผลิตในประเทศไทยด้วยซ้ำ ไป ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า รมว.สุเทพนั้นก็ได้เป็นห่วงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ฉะนั้นประเด็นเรื่องความโปร่งใส หรือไม่ของโครงการ เป็นประเด็นที่พรรคแยกแยะเป็นประเด็นที่ 1 ในประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ
ประเด็นที่ 2 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการที่สมาชิกพรรคกล่าวหาสมาชิกของพรรคอีกคนหน ึ่ง ที่เป็นรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องภายในพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคการเมืองที่เก่าแก่มีระเบียบวินัย มีข้อบังคับ ที่ชัดเจนก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาเรื่องนี้ แต่เราพิจารณาเรื่องนี้โดยแยกกับข้อเท็จจริงในโครงการ คนโดยทั่วไปมัก จะเอาสองเรื่องนี้มาปนกันแล้วก็วิพากวิจารณ์ในทำนองว่าพรรคปกป้องคุณสุเทพ แล้วก็เหยียบย่ำ หรือว่าไปทำลาย คุณทวี ซึ่งไม่ใช่ พรรคแยกประเด็นเรื่องโครงการโปร่งใสหรือไม่เป็นหนึ่งประเด็น อีกประเด็นหนึ่งเมื่อคนในพรรค กล่าวหาคนในพรรค ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. แล้วก็พูดจาให้คนทั่วไปเข้าใจว่าท่าน รมว.สุเทพทุจริต ซึ่งเกิดความเสียหายต่อ พรรคเกิดความเสียหายต่อสมาชิกพรรคทั่วประเทศ แล้วสมาชิกพรรคทั่วประเทศก็เรียกร้องให้พรรคดำเนินการอย่าง ใดอย่างหนึ่ง พรรคถือว่าเรามีกระบวนการในพรรคที่ชัดเจน ถ้าสมาชิกท่านใดสงสัยว่าท่านรมว.ทุจริต ท่านมีสิทธิอยู่ แล้วที่จะเสนอญัตติต่อพรรคให้พิจารณา ที่ผ่านมาก็มีการพิจารณากันไปแล้ว รวมทั้งเคยมีคนร้องเรียนเรื่องพฤติกรรม รัฐมนตรี ผ่านไปยังท่านนายกฯ ท่านได้ตรวจสอบแล้วท่านรัฐมนตรีไม่ผิดก็เคยมีมาแล้ว กระบวนการของพรรคหมาย ความว่าจะซุกเรื่องทุกอย่างไว้ในพรรคแล้วเก็บรู้กันแต่คนของพรรคไม่ใช่ แต่กระบวนการในพรรคจะต้องมีกระบวน การพิสูจน์ให้เห็นว่าพรรคปกป้องความถูกต้อง ดังนั้นกรณีคุณทวี ออกมากล่าวหานั้นวันที่ 7-13 ท่านพูดเหมือนว่ารมว. สุเทพทุจริต แต่พอวันที่ 17เมื่อทุกคนซักในกระบวนการของพรรค คือการประชุมพรรคนั้นท่านชี้แจงไม่ได้ว่าท่านมี หลักฐานหรือไม่อย่างไรที่สุดท่านก็หาทางออกโดยการบอกว่าไม่ได้กล่าวหารมว. สุเทพ แต่สงสัยเรื่องของโครงการ คำถามที่เกิดขึ้นก็คือว่า แล้ว 7 วันที่ผ่านมาคำพูดที่ทำให้พรรคเสียหายต้องมีคนรับผิดชอบหรือไม่ เพราะสมาชิก ถูกกล่าวหาไปแล้ว ชื่อเสียงพรรคถูกกระทบ ดังนั้นกระบวนการต่อไปของพรรคก็คือว่าโดยมติที่ประชุมวันที่ 14 ก.ค. ก็ให้ส่งเรื่องนี้ให้คณะผู้บริหารของพรรคจำนวน 15 คนไปประชุมพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง โดย คณะกรรมการชุดที่แต่งตั้งขึ้นมานี้จะทำหน้าที่ ในการที่จะหาข้อเท็จจริงว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลหรือไม่และใครผิดใคร ถูก ในที่สุดแล้วคณะผู้บริหารนั้นก็ได้ประชุมกันในตอนบ่าย 3 โมง ของวันที่ 16 ก.ค. เลือกคณะกรรมการขึ้นมาทำ หน้าที่ในการหาข้อเท็จจริงนี้จำนวน 5 ท่านประกอบไปด้วยท่านสุทัศน์ เงินหมื่น สมาชิกจากจ.อำนาจเจริญ ของ พรรคประชาธิปัตย์ 2. ท่าน ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค ส.ส. กรุงเทพฯ 3. ดร.ปรีชา สุวรรณทัต ส.ส. กทม. 4. คุณนพดล ปัทมะ ส.ส. กรุงเทพฯ 5. คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส. กรุงเทพฯ ซึ่งทั้ง 5 คนนี้มีภาระกิจก็คือ จะต้องมีการกำหนดประเด็น เจาะหาข้อเท็จจริง ในข้อกล่าวหาของคุณทวีที่มีต่อคุณสุเทพ และต้องทำงานให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ หลายคนตั้ง ข้อสังเกตุว่า การตั้งคณะทำงาน จะนำไปสู่การขับคุณทวีออกจากพรรคหรือไม่ ก็ต้องเรียนให้ทราบกระบวนการของ พรรคนั้น เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่นำไปสู่การลงโทษ แต่กระบวนการต้องนำไปสู่เรื่อง 2 เรื่องคือ 1. การเสาะหา ข้อเท็จจริง ในข้อกล่าวหาก็ดี ในเรื่องของคนที่ถูกกล่าวหาก็ดี 2. ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้กล่าวหาและ ผู้ถูกกล่าวหา ส่วนผลการพิจารณาคณะกรรมการออกมาอย่างไรนั้นก็แล้วแต่คณะกรรมการทั้ง 5 คนจะได้พิจารณา แต่เมื่อพิจารณาแล้ว คณะกรรมการก็ต้องรายงานต่อคณะผู้บริหารอีกครั้งหนึ่ง เพราะคณะผู้บริหารเป็นผู้ตั้งกรรมการ ข้อขี้ขาดของกรรมการคงไม่ใช่ข้อยุติ แต่ข้อยุตินี้ก็คงอยู่ในคณะผู้บริหารจำนวน 15 คน ที่ทำหน้าที่บริหารพรรค ว่าจะ ดำเนินการอย่างไร เพราะฉะนั้นวันนี้เป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าใครผิดใครถูก เป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าใคร จะต้องออกจากพรรคบ้าง ดังนั้นโดยสรุปก็คือปัจจุบันพรรคก็แยกแยะ 2 ประเด็นนี้ชัดเจน พรรคขอให้ความมั่นใจกับ พี่น้องประชาชนว่า พรรคไม่เคยปกป้องคนผิด และพรรคก็ไม่ควรจะไปทำลายคนบริสุทธิ์ เหมือนที่ท่านหัวหน้าพรรค ได้พูดต่อสาธารณะชนซึ่งกรณีเรื่อง SDH ที่เกิดขึ้นนั้น อยากจะให้สมาชิกพรรคและผู้ติดตามข่าว อย่าเกิดความสับสน ระหว่างเรื่องในพรรคกับเรื่องโครงการ อย่าเอาเรื่อง 2 เรื่องนี้มาปนกัน มิฉะนั้นแล้วจะเกิดอัคติต่อการทำงานในพรรค ซึ่งจะเป็นเรื่องที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
คือจริง ๆ แล้วทุกคนมีสิทธิ์ตั้งข้อสงสัย แต่เฉพาะเพียงแต่การตั้งข้อสงสัย โดยไม่มีหลักฐานใด ๆ จะไปสู่การเลิก ล้มสิ่งที่ทำมาถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่างนั้น ออกขาดเหตุผล คุณสุเทพก็พูดชัดว่า เพียงแต่มีความรู้สึกว่า ไม่โปร่งใส แต่ไม่มีหลักฐาน เราจะไปเลิกล้มสิ่งที่มีกระบวนการในการตัดสินใจหลายขั้นตอนได้อย่างไร กระบวนการโครงการ SDH ไม่ใช่พึ่งเกิดขึ้นในปี 2541 มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2538 โดยรัฐบาลชุดนั้นที่มีการออกเป็นมติ ครม. กำหนดโซน ออกมา และหลังจากนั้นก็มีการกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ผ่านสภาพัฒน์ก็ดี ผ่านครม.ก็ดี ผ่านบอร์ดองค์การโทรศัพท์ก็ดี ผ่านขั้นตอนของการประมูล การดูแลรายละเอียดทุกขั้นตอนก็ดี มาทุกขั้นกว่าจะมาถึงวันนี้ ซึ่งเพียงแต่รู้สึกจะไม่มีหลัก ฐาน ถ้าไปล้มโครงการใหญ่ ๆ ต่อไปจะเกิดยากเพราะเพียงแต่รู้สึกก็นำไปสู่การล้มได้ มันไม่มีเหตุผลอธิบาย ทุกคนก็ มีสิทธิ์ตั้งข้อสังเกตุประเด็นนี้ เกิดขึ้นก็คือว่าถ้าสงสัยว่ามีการสมยอมพิสูจน์ได้ไหมว่าสมยอมนั้นคือประกา รที่หนึ่ง ถ้า พิสูจน์ไม่ได้ประการที่สองคือว่าโครงการนี้ได้กำหนด งบประมาณในการดำเนินการไว้อย่างไร กำหนดคุณสมบัติไว้ อย่างไร การดำเนินการที่มีการประมูลเป็นไปตามคุณสมบัติทุกประการทุกขั้นตอน ประโยชน์ของประเทศชาติไม่เสีย ประโยชน์ของประเทศชาติได้กับประเทศชาติก็น่าจะมีการดำเนินการต่อ แต่ขณะเดียวกันถ้าพบหลักฐานชี้ให้เห็นชัด ว่าสมยอม ก็ควรจะเลิก แต่อย่างไรก็ตามผมเรียนว่าต่อไปนี้จากกรณีอย่างนี้ที่เกิดขึ้น SDH เป็นประสบการณ์สำหรับรัฐ ในการที่จะทำโครงการขนาดใหญ่ก็ต้องมีความโปร่งใสชัดเจน และพี่น้องประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน รัฐบาลเองกำลังเร่งรัดที่ออกพรบ.ป้องกันการสมยอมหลังจากที่แก้ไขระเบียบสำ นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุไป แล้ว เพื่อป้องกันการสมยอม ก็ให้ความมั่นใจได้ ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นข้อสงสัยที่นำไปสู่การพิสูจน์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บอร์ดขององค์การโทรศัพท์ก็พยายามที่จะหาทางออกอยู่แล้ว
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Homepage พรรคประชาธิปัตย์ www.democrat.or.th-- จบ--