โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งแรกปี 2548 ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน จากอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นขณะที่เศรษฐกิจ สหภาพยุโรปชะลอตัวลง สำหรับประเทศในเอเซียนั้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2548 จากสิงคโปร์ที่ขยายตัวได้ดีขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน แต่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัวลง สำหรับภาคการผลิตนั้นยังชะลอตัวลงจากอุปสงค์ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวลง ด้านการส่งออกของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเซียยังชะลอตัวลง ยกเว้นประเทศจีนที่ยังขยายตัวในระดับสูง สำหรับอัตราเงินเฟ้อนั้นแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อได้เริ่มลดลงในหลายประเทศ ทำให้หลายประเทศยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังทรงตัวในระดับสูงอาจสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาและเศรษฐกิจในที่สุด
เศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากต้องประสบกับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง และผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่น Tsunami เป็นต้น ซึ่งทำให้หลายฝ่ายออกมาปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศปี 2548 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 — 5.5 สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ยังมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2547 แต่ในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยยังคงต้องประสบกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยตามมาอีก
สำหรับภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่มีการประกาศออกมาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ส่วนใหญ่ยังมีการขยายตัวบ้าง แม้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก มีการลดลงมาเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 4.9 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตก็ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 เช่นกัน นอกจากนี้เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พบว่ามีการปรับตัวลดลงทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2548 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 58,451.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 26,630.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 31,821.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.68 และการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.00 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.27 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.17 ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 โดยมีมูลค่าขาดดุล -5,190.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2548ร้อยละ -75.18
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 8,932 ล้านบาท โดยในเดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 8,080 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 852 ล้านบาทและสำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 577 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 333,800 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 183 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 55,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 200 โครงการ เป็นเงินลงทุน 121,900 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.6 โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 14.0 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0
สำหรับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นการลดลงของสินค้าทั้ง 2 กลุ่มโดยสินค้ากลุ่มไฟฟ้าลดลงร้อยละ 1.19 สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.77 แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศในไตรมาส 3 ของปี 2548 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวเป็นผลจากการขึ้นราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อในประเทศหดตัวลง แต่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ได้อีกเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีการขยายตัวและมีการย้ายฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมาให้ไทยผลิตแทน ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่านอกจากจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลเนื่องจากเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออกเพื่อเตรียมผลิตสินค้าสำเร็จรูปในช่วงสิ้นปีแล้วยังสามารถขยายตัวได้ตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลก
เคมีภัณฑ์
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2548 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปุ๋ย และเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 34.07 และ 31.06 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2548 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปุ๋ยมีอัตราการขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 47.35
ปิโตรเคมี
การผลิตในช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 ลดลง เนื่องจาก ผู้ผลิตบางรายปิดซ่อมบำรุง บางรายลดปริมาณการผลิตในบางช่วง เนื่องจากราคาที่ลดลง และไตรมาส 2 ปี 2548 เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออก เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อีกทั้งปริมาณความต้องการน้ำในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ผลิตปิโตรเคมีในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเกิดความกังวลว่า ปริมาณน้ำที่มีอยู่จะไม่เพียงพอต่อขบวนการผลิตปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้วางมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยการทำฝนเทียม การสร้างอ่างเก็บน้ำ การวางท่อเชื่อมแหล่งน้ำต่างๆ อีกทั้ง ภาคเอกชนได้ร่วมมือในการประหยัดการใช้น้ำและการติดตั้งระบบ Recycle น้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้รับการแก้ไขลุล่วง ผู้ผลิตปิโตรเคมีจึงสามารถเดินเครื่องผลิตได้ตามปกติ
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ในประเทศขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวค่อนข้างทรงตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างโรงงาน อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียมและโครงการภาครัฐที่ขยายตัว แต่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านที่อยู่อาศัยกลับชะลอตัว สำหรับสภาวะเหล็กทรงแบนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการผลิต ความต้องการใช้ในประเทศ ปริมาณการนำเข้าและส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
แนวโน้มสถานการณ์การผลิตเหล็กในประเทศของไตรมาส 3 คาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ลดลง จึงทำให้ผู้ใช้ชะลอในการสั่งซื้อเพื่อรอการนิ่งของราคา ขณะเดียวกันผู้ผลิตเองก็มีต้นทุนสต๊อกวัตถุดิบ สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กน่าจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาเศษเหล็กในตลาดโลกได้มีการปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับพ่อค้าคนกลางได้เริ่มมีคำสั่งซื้อมากขึ้นหลังจากระบายสต๊อกออกไปแล้วเมื่อไตรมาสที่สอง อย่างไรก็ตาม ได้มีการคาดการณ์ว่าราคาเหล็กน่าจะปรับตัวขึ้นในเดือนกันยายน เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น
ยานยนต์
ในไตรมาสที่สองของ ปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.16 และ 18.76 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.70 และ 14.85 ตามลำดับ แต่รถยนต์นั่งมีการผลิตลดลงร้อยละ 11.26
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2548 ยังคงมีการขยายตัว แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลังปี 2548 จะยังคงมีการขยายตัว แม้ว่าราคาน้ำมันยังคงสูง อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะมีผลบ้างในการชะลอการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค แต่จากภาพรวมของเศรษฐกิจของช่วงครึ่งปีหลังที่คาดว่าจะยังคงขยายตัว
พลาสติก
ผู้ผลิตรายใหญ่ ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ยังคงสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตได้จากทั่วโลก เนื่องจากมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในขณะที่รายเล็กรายย่อย ถ้าจะแข่งขันก็ต้องปรับวิธีการผลิต โดยยึดการพัฒนามาตรฐานเป็นสำคัญ สิ่งสำคัญที่สุดในระยะเวลาอันสั้นนี้ที่ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญคือเรื่องของต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเนื่องจากแนวโน้มของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะส่งผลถึงเรื่องของต้นทุนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากน้ำมันเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเม็ดพลาสติก ดังนั้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจะต้องหามาตรการในระยะสั้นที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด เนื่องจากในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกมีการแข่งขันสูงทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลักภาระไปที่ผู้บริโภคได้ง่ายนัก
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีภาวะการผลิตหนังฟอกเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนอาจเป็นผลมาจากการนำเข้าหนังดิบและหนังฟอกที่เพิ่มขึ้น การผลิตกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องการส่งออกเพิ่มขึ้น และสินค้าสำเร็จรูปคงคลังที่ลดลง การผลิตรองเท้าลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกลดลง
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยน่าจะกระเตื่องขึ้นบ้างเล็กน้อยเนื่องจากตลาดหลักที่นำเข้าอย่างสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปเริ่มมีข้อกีดกันสินค้าจากจีนจึงน่าจะส่งผลให้ผู้นำเข้าหันมานำเข้าสินค้าจากไทย การนำเข้าของไทยในกลุ่มสินค้าสำเร็จรูปยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น (รองเท้าและกระเป๋า) แหล่งนำเข้าที่สำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คือจีน จึงควรที่จะต้องมีมาตรการเพื่อมารองรับการนำเข้าสินค้าคุณภาพต่ำที่จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค
อาหาร
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่รัฐประกาศลอยตัวราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงอื่นๆ แต่ก็ได้รับการชดเชยจากระดับราคาส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2548 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิตและส่งออกที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประมงและปศุสัตว์ ที่มีปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง และการที่ทางการจีนประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น การลดความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตของประเทศคู่ค้า การทบทวนการประกาศการเลื่อนการคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่สินค้ากุ้งไทยของสหภาพยุโรป (EU) ให้เร็วขึ้นจากที่ได้ประกาศจะเริ่มปี 2549 และความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะยกเลิกการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งของไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อชดเชยความเสียหายจากภัยสึนามิ ซึ่งจะมีการประกาศผลในเดือนสิงหาคม-กันยายน รวมถึงการให้การรับรองโรงงานแปรรูปไก่ของไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากประเทศญี่ปุ่น และรัสเซีย
ไม้และเครื่องเรือน
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก แม้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะมีการปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รวมทั้งการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องในปี 2548 ทั้งในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2ส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับค่าอ่อนตัวลง ซึ่งเป็นผลดีกับอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเปิดเสรีทางการค้ากับหลายประเทศที่เป็นแหล่งตลาดหลักที่สำคัญของอุตสาหกรรมและเครื่องเรือนทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้แนวโน้มตลาดส่งออกค่อนข้างสดใส ส่วนประเทศคู่แข่งที่สำคัญอย่างจีนมีแนวดโน้มที่จะถูกแรงกดดันต้องปรับค่าเงินหยวนขึ้นอีก ทำให้อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 น่าจะมีแนวโน้มในตลาดโลกที่ดีขึ้น
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีการผลิตยางขั้นต้น ประเภทยางแท่ง และยางแผ่น ลดลงจากเดิม รวมทั้งมูลค่าการส่งออกยางขั้นต้นก็ลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางขั้นต้นอื่น ๆ ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางล้อรถกระบะ มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางมีการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2548 คาดว่าราคาน้ำยางจะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะความต้องการของตลาด แม้ว่าน้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนก็ตาม ประกอบกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ยางสังเคราะห์มีราคาสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคายางธรรมชาติสูงตามไปด้วย ราคายางขั้นต้นที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอย่างแน่นอน รวมทั้งอาจมีผลให้การส่งออกยางขั้นต้นมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคยางขั้นต้นรายใหญ่มีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาต่ำกว่าได้ สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทถุงมือยาง คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น
เยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากในไตรมาสก่อนมีปัจจัยเสริมหลายตัว แต่ในไตรมาสนี้มีเพียงปัจจัยเด่นคือ การผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับเปิดเทอมแรกของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ประกอบกับโรงงานชะลอการผลิตเพื่อรอดูราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่ง ส่วนภาวะการนำเข้าและการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ประกอบการแปรรูป ผู้บริโภค
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศที่นำเข้ายังคงมีความต้องการต่อเนื่อง อีกทั้งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาประเทศไทยมีการจัดงาน AsiaPack AsiaPrint 2005 ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่น ความสามารถในการผลิตของไทยในสายตานักลงทุน ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ประกอบกับภายในประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้น่าจะส่งผลให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ยา
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากยังมีปริมาณสินค้าคงคลังเหลืออยู่มาก ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตลง อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตในครึ่งแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิต สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ด้านมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายารักษาโรคที่มีสิทธิบัตร และส่งออกวิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงการส่งออกสมุนไพรบด
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายสาธารณสุขของรัฐบาล ผ่านโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีผลให้การเข้าถึงยาของประชาชนขยายวงกว้างขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การผลิตผ้าฯ และการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มครึ่งปีหลัง คาดว่าการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากคู่แข่งอย่างจีนกำลังถูกสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป กดดันให้ลดการส่งออกไปจนถึงปี 2549 โดยนำมาตรการฉุกเฉินเพื่อตอบโต้การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (safeguard) มาใช้กับสินค้าจีน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการปรับตัวให้แข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้
ปูนซีเมนต์
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน การก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับต้นปี ซึ่งถือว่าเป็นไปตามฤดูกาล แต่เมื่อพิจารณาในครึ่งแรก ปี 2548 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐ ส่วนในภาคเอกชนความต้องการของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับดี เนื่องจากขณะนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยมากกว่าที่จะซื้อเพื่อเก็งกำไร
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาส 2 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแนวโน้มการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า
เซรามิก
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดในประเทศ แต่เป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง เนื่องจากไตรมาส ที่ 2 และ 3 ของปี เป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับภาวะอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเริ่มได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ สำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากที่มีการขยายตัวลดลงมาตลอด
อัญมณีและเครื่องประดับ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีการผลิตการจำหน่ายและการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสก่อน การส่งออกเครื่องประดับอัญมณีเทียม ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมวดวัตถุดิบและเครื่องประดับ สำหรับการนำเข้าในครึ่งปีแรก 2548 มีการนำเข้าทองคำเพิ่มสูงสุด ประมาณร้อยละ 70.0 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2547
แนวโน้มการนำเข้าในครึ่งปีหลัง คาดว่าไม่น่าจะขยับสูงขึ้นมาก เนื่องจากราคาทองคำได้ขยับราคาตั้งแต่เดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา จากออนซ์ละ 420 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 430 เหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกับราคาทองคำในประเทศราคามีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในการเจรจาเปิดการค้าเสรี (FTA) ทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
เศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากต้องประสบกับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง และผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่น Tsunami เป็นต้น ซึ่งทำให้หลายฝ่ายออกมาปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศปี 2548 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 — 5.5 สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ยังมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2547 แต่ในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยยังคงต้องประสบกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยตามมาอีก
สำหรับภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่มีการประกาศออกมาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ส่วนใหญ่ยังมีการขยายตัวบ้าง แม้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก มีการลดลงมาเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 4.9 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตก็ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 เช่นกัน นอกจากนี้เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พบว่ามีการปรับตัวลดลงทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2548 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 58,451.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 26,630.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 31,821.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.68 และการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.00 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.27 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.17 ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 โดยมีมูลค่าขาดดุล -5,190.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2548ร้อยละ -75.18
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 8,932 ล้านบาท โดยในเดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 8,080 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 852 ล้านบาทและสำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 577 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 333,800 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 183 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 55,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 200 โครงการ เป็นเงินลงทุน 121,900 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.6 โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 14.0 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0
สำหรับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นการลดลงของสินค้าทั้ง 2 กลุ่มโดยสินค้ากลุ่มไฟฟ้าลดลงร้อยละ 1.19 สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.77 แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศในไตรมาส 3 ของปี 2548 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวเป็นผลจากการขึ้นราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อในประเทศหดตัวลง แต่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ได้อีกเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีการขยายตัวและมีการย้ายฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมาให้ไทยผลิตแทน ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่านอกจากจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลเนื่องจากเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออกเพื่อเตรียมผลิตสินค้าสำเร็จรูปในช่วงสิ้นปีแล้วยังสามารถขยายตัวได้ตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลก
เคมีภัณฑ์
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2548 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปุ๋ย และเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 34.07 และ 31.06 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2548 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปุ๋ยมีอัตราการขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 47.35
ปิโตรเคมี
การผลิตในช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 ลดลง เนื่องจาก ผู้ผลิตบางรายปิดซ่อมบำรุง บางรายลดปริมาณการผลิตในบางช่วง เนื่องจากราคาที่ลดลง และไตรมาส 2 ปี 2548 เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออก เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อีกทั้งปริมาณความต้องการน้ำในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ผลิตปิโตรเคมีในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเกิดความกังวลว่า ปริมาณน้ำที่มีอยู่จะไม่เพียงพอต่อขบวนการผลิตปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้วางมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยการทำฝนเทียม การสร้างอ่างเก็บน้ำ การวางท่อเชื่อมแหล่งน้ำต่างๆ อีกทั้ง ภาคเอกชนได้ร่วมมือในการประหยัดการใช้น้ำและการติดตั้งระบบ Recycle น้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้รับการแก้ไขลุล่วง ผู้ผลิตปิโตรเคมีจึงสามารถเดินเครื่องผลิตได้ตามปกติ
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ในประเทศขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวค่อนข้างทรงตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างโรงงาน อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียมและโครงการภาครัฐที่ขยายตัว แต่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านที่อยู่อาศัยกลับชะลอตัว สำหรับสภาวะเหล็กทรงแบนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการผลิต ความต้องการใช้ในประเทศ ปริมาณการนำเข้าและส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
แนวโน้มสถานการณ์การผลิตเหล็กในประเทศของไตรมาส 3 คาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ลดลง จึงทำให้ผู้ใช้ชะลอในการสั่งซื้อเพื่อรอการนิ่งของราคา ขณะเดียวกันผู้ผลิตเองก็มีต้นทุนสต๊อกวัตถุดิบ สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กน่าจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาเศษเหล็กในตลาดโลกได้มีการปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับพ่อค้าคนกลางได้เริ่มมีคำสั่งซื้อมากขึ้นหลังจากระบายสต๊อกออกไปแล้วเมื่อไตรมาสที่สอง อย่างไรก็ตาม ได้มีการคาดการณ์ว่าราคาเหล็กน่าจะปรับตัวขึ้นในเดือนกันยายน เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น
ยานยนต์
ในไตรมาสที่สองของ ปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.16 และ 18.76 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.70 และ 14.85 ตามลำดับ แต่รถยนต์นั่งมีการผลิตลดลงร้อยละ 11.26
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2548 ยังคงมีการขยายตัว แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลังปี 2548 จะยังคงมีการขยายตัว แม้ว่าราคาน้ำมันยังคงสูง อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะมีผลบ้างในการชะลอการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค แต่จากภาพรวมของเศรษฐกิจของช่วงครึ่งปีหลังที่คาดว่าจะยังคงขยายตัว
พลาสติก
ผู้ผลิตรายใหญ่ ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ยังคงสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตได้จากทั่วโลก เนื่องจากมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในขณะที่รายเล็กรายย่อย ถ้าจะแข่งขันก็ต้องปรับวิธีการผลิต โดยยึดการพัฒนามาตรฐานเป็นสำคัญ สิ่งสำคัญที่สุดในระยะเวลาอันสั้นนี้ที่ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญคือเรื่องของต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเนื่องจากแนวโน้มของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะส่งผลถึงเรื่องของต้นทุนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากน้ำมันเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเม็ดพลาสติก ดังนั้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจะต้องหามาตรการในระยะสั้นที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด เนื่องจากในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกมีการแข่งขันสูงทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลักภาระไปที่ผู้บริโภคได้ง่ายนัก
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีภาวะการผลิตหนังฟอกเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนอาจเป็นผลมาจากการนำเข้าหนังดิบและหนังฟอกที่เพิ่มขึ้น การผลิตกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องการส่งออกเพิ่มขึ้น และสินค้าสำเร็จรูปคงคลังที่ลดลง การผลิตรองเท้าลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกลดลง
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยน่าจะกระเตื่องขึ้นบ้างเล็กน้อยเนื่องจากตลาดหลักที่นำเข้าอย่างสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปเริ่มมีข้อกีดกันสินค้าจากจีนจึงน่าจะส่งผลให้ผู้นำเข้าหันมานำเข้าสินค้าจากไทย การนำเข้าของไทยในกลุ่มสินค้าสำเร็จรูปยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น (รองเท้าและกระเป๋า) แหล่งนำเข้าที่สำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คือจีน จึงควรที่จะต้องมีมาตรการเพื่อมารองรับการนำเข้าสินค้าคุณภาพต่ำที่จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค
อาหาร
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่รัฐประกาศลอยตัวราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงอื่นๆ แต่ก็ได้รับการชดเชยจากระดับราคาส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2548 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิตและส่งออกที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประมงและปศุสัตว์ ที่มีปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง และการที่ทางการจีนประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น การลดความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตของประเทศคู่ค้า การทบทวนการประกาศการเลื่อนการคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่สินค้ากุ้งไทยของสหภาพยุโรป (EU) ให้เร็วขึ้นจากที่ได้ประกาศจะเริ่มปี 2549 และความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะยกเลิกการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งของไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อชดเชยความเสียหายจากภัยสึนามิ ซึ่งจะมีการประกาศผลในเดือนสิงหาคม-กันยายน รวมถึงการให้การรับรองโรงงานแปรรูปไก่ของไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากประเทศญี่ปุ่น และรัสเซีย
ไม้และเครื่องเรือน
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก แม้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะมีการปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รวมทั้งการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องในปี 2548 ทั้งในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2ส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับค่าอ่อนตัวลง ซึ่งเป็นผลดีกับอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเปิดเสรีทางการค้ากับหลายประเทศที่เป็นแหล่งตลาดหลักที่สำคัญของอุตสาหกรรมและเครื่องเรือนทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้แนวโน้มตลาดส่งออกค่อนข้างสดใส ส่วนประเทศคู่แข่งที่สำคัญอย่างจีนมีแนวดโน้มที่จะถูกแรงกดดันต้องปรับค่าเงินหยวนขึ้นอีก ทำให้อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 น่าจะมีแนวโน้มในตลาดโลกที่ดีขึ้น
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีการผลิตยางขั้นต้น ประเภทยางแท่ง และยางแผ่น ลดลงจากเดิม รวมทั้งมูลค่าการส่งออกยางขั้นต้นก็ลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางขั้นต้นอื่น ๆ ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางล้อรถกระบะ มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางมีการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2548 คาดว่าราคาน้ำยางจะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะความต้องการของตลาด แม้ว่าน้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนก็ตาม ประกอบกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ยางสังเคราะห์มีราคาสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคายางธรรมชาติสูงตามไปด้วย ราคายางขั้นต้นที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอย่างแน่นอน รวมทั้งอาจมีผลให้การส่งออกยางขั้นต้นมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคยางขั้นต้นรายใหญ่มีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาต่ำกว่าได้ สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทถุงมือยาง คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น
เยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากในไตรมาสก่อนมีปัจจัยเสริมหลายตัว แต่ในไตรมาสนี้มีเพียงปัจจัยเด่นคือ การผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับเปิดเทอมแรกของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ประกอบกับโรงงานชะลอการผลิตเพื่อรอดูราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่ง ส่วนภาวะการนำเข้าและการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ประกอบการแปรรูป ผู้บริโภค
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศที่นำเข้ายังคงมีความต้องการต่อเนื่อง อีกทั้งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาประเทศไทยมีการจัดงาน AsiaPack AsiaPrint 2005 ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่น ความสามารถในการผลิตของไทยในสายตานักลงทุน ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ประกอบกับภายในประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้น่าจะส่งผลให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ยา
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากยังมีปริมาณสินค้าคงคลังเหลืออยู่มาก ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตลง อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตในครึ่งแรกของปี 2548 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิต สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ด้านมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายารักษาโรคที่มีสิทธิบัตร และส่งออกวิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงการส่งออกสมุนไพรบด
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายสาธารณสุขของรัฐบาล ผ่านโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีผลให้การเข้าถึงยาของประชาชนขยายวงกว้างขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การผลิตผ้าฯ และการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มครึ่งปีหลัง คาดว่าการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากคู่แข่งอย่างจีนกำลังถูกสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป กดดันให้ลดการส่งออกไปจนถึงปี 2549 โดยนำมาตรการฉุกเฉินเพื่อตอบโต้การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (safeguard) มาใช้กับสินค้าจีน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการปรับตัวให้แข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้
ปูนซีเมนต์
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน การก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับต้นปี ซึ่งถือว่าเป็นไปตามฤดูกาล แต่เมื่อพิจารณาในครึ่งแรก ปี 2548 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐ ส่วนในภาคเอกชนความต้องการของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับดี เนื่องจากขณะนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยมากกว่าที่จะซื้อเพื่อเก็งกำไร
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาส 2 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแนวโน้มการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า
เซรามิก
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดในประเทศ แต่เป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง เนื่องจากไตรมาส ที่ 2 และ 3 ของปี เป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับภาวะอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเริ่มได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ สำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากที่มีการขยายตัวลดลงมาตลอด
อัญมณีและเครื่องประดับ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีการผลิตการจำหน่ายและการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสก่อน การส่งออกเครื่องประดับอัญมณีเทียม ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมวดวัตถุดิบและเครื่องประดับ สำหรับการนำเข้าในครึ่งปีแรก 2548 มีการนำเข้าทองคำเพิ่มสูงสุด ประมาณร้อยละ 70.0 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2547
แนวโน้มการนำเข้าในครึ่งปีหลัง คาดว่าไม่น่าจะขยับสูงขึ้นมาก เนื่องจากราคาทองคำได้ขยับราคาตั้งแต่เดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา จากออนซ์ละ 420 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 430 เหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกับราคาทองคำในประเทศราคามีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในการเจรจาเปิดการค้าเสรี (FTA) ทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-