ช่างคิดช่างทำ
พยนต์ กาญจนพิบูลย์
กะลาประกอบเงิน เครื่องประดับแนวใหม่
มะพร้าว ผลไม้ของไทยที่พบเห็นได้ทั่วไป มีมากมายหลายพันธุ์ เนื้อมะพร้าวนำไปประกอบอาหารได้ทั้งคาว และหวาน ส่วนกะลามะพร้าวที่เหลือหลายคนมองเห็นคุณค่า นำมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อ คุณมนตรี จารุสันติกาญจน์ นำเงินมาประกอบลงบนกะลา ทำให้กะลาธรรมดาๆ ดูโดดเด่น เพิ่มค่า เพิ่มราคา
เศรษฐกิจยุบ
งานที่ทำก็ทรุดด้วย
"เมื่อก่อนผมทำธุรกิจด้านจิวเวลรี่ มาประมาณ 10-12 ปี พอช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจของผมก็ทรุดไปด้วย เพราะส่วนใหญ่งานของผมที่ทำจะส่งงานก่อนแล้วจึงเก็บเงิน บางครั้งก็เก็บเงินไม่ได้ก็ต้องเอาเงินทุนมาหมุนเวียน จึงต้องไปกู้เงินมาเพื่อลงทุน พอนานเข้าแบกภาระดอกเบี้ยไม่ไหว ต้องขายที่ดินบางส่วนเพื่อปลดหนี้ เมื่อหนี้สินหมดก็หยุดทำจิวเวลรี่ ตอนนั้นผมมีเงินเหลืออยู่ประมาณ 6-7 หมื่นบาท"
เห็นกะลามีอยู่มาก
จึงคิดสร้างงานจากกะลา
หลังจากที่หยุดทำจิวเวลรี่ ก็คิดที่จะหาอาชีพใหม่ เดิม คุณมนตรี เป็นคนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นมะพร้าว เห็นกะลามีอยู่มากมาย จึงคิดนำกะลามาทำเป็นเครื่องประดับ เพราะตนเองมีความรู้ทางด้านการทำจิวเวลรี่ และเครื่องประดับมาก่อน นำมาประยุกต์กับงานกะลา นำเงินมาประกอบ ประดับ เปรียบว่ากะลาเป็นเพชร และเงินก็เปรียบเหมือนทองที่หุ้ม
พอหลังจากนั้น ก็นำผลงานกะลาประกอบเงินเข้าไปที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทางกรมก็สนับสนุนให้ผลิตงานออกจำหน่าย และในปี พ.ศ. 2532 จึงนำผลงานไปออกบู๊ธแสดงสินค้าในงานจิวเวลรี่แฟร์ ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีร้านของคุณมนตรีเพียงร้านเดียวที่ขายเครื่องประดับกะลาประกอบเงิน ทำให้ผลิตภัณฑ์เริ่มเป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์โดดเด่น ไม่เหมือนใคร
จึงเป็นที่ต้องการของตลาด
เครื่องประดับกะลาประกอบเงิน รูปแบบส่วนใหญ่แล้วคุณมนตรีจะเป็นคนคิด และออกแบบเอง ซึ่งก็มีการพัฒนารูปแบบอยู่ตลอด เครื่องประดับส่วนใหญ่ที่ผลิตก็จะมีสร้อยคอ ต่างหู กำไร เข็มกลัด ซึ่งก็มีแยกจำหน่ายเป็นชิ้น และจำหน่ายเป็นชุด ราคาก็มีตั้งแต่ 30-40 บาท ไปจนถึง 1,000 บาทขึ้นไป
ด้วยผลิตภัณฑ์กะลาประกอบเงินมีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่เหมือนใคร จึงเป็นที่ต้องการของลูกค้าเป็นอย่างมาก สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นออร์เดอร์ที่สั่งจากต่างประเทศ ลูกค้าหลักก็จะเป็นลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะออกแบบมาให้ บางครั้งออร์เดอร์จากประเทศอื่นก็จะสั่งตามแบบที่มีอยู่ หรือบางทีแบบก็ต้องปรับให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าด้วยเช่นกัน
สำหรับกะลามะพร้าวที่นำมาใช้ต้องคัดเลือกมะพร้าวสุก สีกะลาเข้มและหนา ส่วนใหญ่จะใช้มะพร้าวทุยมาทำภาชนะและเครื่องใช้ต่างๆ ส่วนกะลามะพร้าวที่นำมาทำเครื่องประดับสามารถใช้มะพร้าวได้ทุกพันธุ์ แต่ต้องเลือกที่สีเข้ม ดำ หรือสีน้ำตาล หลังจากนั้นก็นำมาตัดและฉลุตามแบบที่ต้องการ และนำไปขัดเงา ที่สำคัญกะลาทุกชิ้นไม่ได้เคลือบน้ำยาใดๆ ทั้งสิ้น จากนั้นก็นำเงินแท้มาประกอบลงบนกะลา ตามแต่แบบที่ต้องการซึ่งต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมือเป็นพิเศษ เพราะเป็นงานประณีต ละเอียดอ่อน จึงเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผลิตภัณฑ์กะลาประกอบเงิน ได้รับรางวัลมากมาย เช่น ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ประเภทใช้กับอาหารและประเภทที่ใช้เป็นเครื่องประดับ ปี 2546 และได้รับ 4 ดาว จากการคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ของเขตธนบุรี ในปีเดียวกัน
หากใครสนใจกะลาประกอบเงิน ต้องซื้อหาตามบู๊ธในงานต่างๆ หรือตามห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายสินค้า OTOP หรือใครจะรับสินค้าไปจำหน่ายต่อก็ต้องติดต่อกับ คุณมนตรี จารุสันติกาญจน์ โทร. (02) 438-7743 ที่มา: เส้นทางเศรษฐี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
พยนต์ กาญจนพิบูลย์
กะลาประกอบเงิน เครื่องประดับแนวใหม่
มะพร้าว ผลไม้ของไทยที่พบเห็นได้ทั่วไป มีมากมายหลายพันธุ์ เนื้อมะพร้าวนำไปประกอบอาหารได้ทั้งคาว และหวาน ส่วนกะลามะพร้าวที่เหลือหลายคนมองเห็นคุณค่า นำมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อ คุณมนตรี จารุสันติกาญจน์ นำเงินมาประกอบลงบนกะลา ทำให้กะลาธรรมดาๆ ดูโดดเด่น เพิ่มค่า เพิ่มราคา
เศรษฐกิจยุบ
งานที่ทำก็ทรุดด้วย
"เมื่อก่อนผมทำธุรกิจด้านจิวเวลรี่ มาประมาณ 10-12 ปี พอช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจของผมก็ทรุดไปด้วย เพราะส่วนใหญ่งานของผมที่ทำจะส่งงานก่อนแล้วจึงเก็บเงิน บางครั้งก็เก็บเงินไม่ได้ก็ต้องเอาเงินทุนมาหมุนเวียน จึงต้องไปกู้เงินมาเพื่อลงทุน พอนานเข้าแบกภาระดอกเบี้ยไม่ไหว ต้องขายที่ดินบางส่วนเพื่อปลดหนี้ เมื่อหนี้สินหมดก็หยุดทำจิวเวลรี่ ตอนนั้นผมมีเงินเหลืออยู่ประมาณ 6-7 หมื่นบาท"
เห็นกะลามีอยู่มาก
จึงคิดสร้างงานจากกะลา
หลังจากที่หยุดทำจิวเวลรี่ ก็คิดที่จะหาอาชีพใหม่ เดิม คุณมนตรี เป็นคนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นมะพร้าว เห็นกะลามีอยู่มากมาย จึงคิดนำกะลามาทำเป็นเครื่องประดับ เพราะตนเองมีความรู้ทางด้านการทำจิวเวลรี่ และเครื่องประดับมาก่อน นำมาประยุกต์กับงานกะลา นำเงินมาประกอบ ประดับ เปรียบว่ากะลาเป็นเพชร และเงินก็เปรียบเหมือนทองที่หุ้ม
พอหลังจากนั้น ก็นำผลงานกะลาประกอบเงินเข้าไปที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทางกรมก็สนับสนุนให้ผลิตงานออกจำหน่าย และในปี พ.ศ. 2532 จึงนำผลงานไปออกบู๊ธแสดงสินค้าในงานจิวเวลรี่แฟร์ ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีร้านของคุณมนตรีเพียงร้านเดียวที่ขายเครื่องประดับกะลาประกอบเงิน ทำให้ผลิตภัณฑ์เริ่มเป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์โดดเด่น ไม่เหมือนใคร
จึงเป็นที่ต้องการของตลาด
เครื่องประดับกะลาประกอบเงิน รูปแบบส่วนใหญ่แล้วคุณมนตรีจะเป็นคนคิด และออกแบบเอง ซึ่งก็มีการพัฒนารูปแบบอยู่ตลอด เครื่องประดับส่วนใหญ่ที่ผลิตก็จะมีสร้อยคอ ต่างหู กำไร เข็มกลัด ซึ่งก็มีแยกจำหน่ายเป็นชิ้น และจำหน่ายเป็นชุด ราคาก็มีตั้งแต่ 30-40 บาท ไปจนถึง 1,000 บาทขึ้นไป
ด้วยผลิตภัณฑ์กะลาประกอบเงินมีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่เหมือนใคร จึงเป็นที่ต้องการของลูกค้าเป็นอย่างมาก สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นออร์เดอร์ที่สั่งจากต่างประเทศ ลูกค้าหลักก็จะเป็นลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะออกแบบมาให้ บางครั้งออร์เดอร์จากประเทศอื่นก็จะสั่งตามแบบที่มีอยู่ หรือบางทีแบบก็ต้องปรับให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าด้วยเช่นกัน
สำหรับกะลามะพร้าวที่นำมาใช้ต้องคัดเลือกมะพร้าวสุก สีกะลาเข้มและหนา ส่วนใหญ่จะใช้มะพร้าวทุยมาทำภาชนะและเครื่องใช้ต่างๆ ส่วนกะลามะพร้าวที่นำมาทำเครื่องประดับสามารถใช้มะพร้าวได้ทุกพันธุ์ แต่ต้องเลือกที่สีเข้ม ดำ หรือสีน้ำตาล หลังจากนั้นก็นำมาตัดและฉลุตามแบบที่ต้องการ และนำไปขัดเงา ที่สำคัญกะลาทุกชิ้นไม่ได้เคลือบน้ำยาใดๆ ทั้งสิ้น จากนั้นก็นำเงินแท้มาประกอบลงบนกะลา ตามแต่แบบที่ต้องการซึ่งต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมือเป็นพิเศษ เพราะเป็นงานประณีต ละเอียดอ่อน จึงเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผลิตภัณฑ์กะลาประกอบเงิน ได้รับรางวัลมากมาย เช่น ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ประเภทใช้กับอาหารและประเภทที่ใช้เป็นเครื่องประดับ ปี 2546 และได้รับ 4 ดาว จากการคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ของเขตธนบุรี ในปีเดียวกัน
หากใครสนใจกะลาประกอบเงิน ต้องซื้อหาตามบู๊ธในงานต่างๆ หรือตามห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายสินค้า OTOP หรือใครจะรับสินค้าไปจำหน่ายต่อก็ต้องติดต่อกับ คุณมนตรี จารุสันติกาญจน์ โทร. (02) 438-7743 ที่มา: เส้นทางเศรษฐี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-