กรุงเทพ--23 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (21 กรกฏาคม 2542) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (Senior Officials Meeting-SOM) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2542 ที่สิงคโปร์ ซึ่งได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ โดยสรุป ดังนี้
1. การเตรียมการการประชุม AMM Retreat ในวันที่ 23 กรกฏาคม 2542
การประชุม AMM Retreat จะจัดขึ้นนอกเขตของใจกลางนครสิงคโปร์ โดยจะเน้นเรื่องอนาคตของอาเซียน การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (Post Ministerial Conferences —PMC) และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum-ARF) โดยในแต่ละหัวข้อจะมีแต่ละรัฐมนตรีเป็นผู้กล่าวนำ
ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าการประชุม AMM Retreat จะเป็นโอกาสที่ อาเซียนจะประสานท่าทีกันว่าจะปฏิบัติอย่างไรที่จะทำให้อาเซียนมีคุณค่ายืนยาวต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะการเข้าสู่สหัสวรรษหน้า (next millennium) และปฏิบัติอย่างไรที่จะทำให้ความสนใจของประเทศคู่เจรจาใน กระบวนการ PMC มีมากขึ้น และระบุว่ามีความเห็นร่วมกันว่าประเด็นข้อเสนอเรื่อง Social Safety Nets ไม่เพียงแต่จะเป็นผลกระทบต่อสังคมของอาเซียน หรือเกื้อกูลประโยชน์ทางด้านสังคมของอาเซียน แต่ยังเป็นเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายประเทศตะวันตกให้ความสนใจด้วย เพราะฉะนั้นประเด็นนี้จะเป็นจุดร่วมที่ดีที่ทั้งสองฝ่ายจะหารือกันได้อย่างมีคุณค่าในการประชุม PMC และสืบต่อไปสู่สหัสวรรษหน้า
1.1 Social Safety Nets
นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงข้อเสนอของไทยในเรื่อง Social Safety Nets ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
1. ระยะสั้น
- การประเมินผลกระทบด้านสังคมของวิกฤตเศรษฐกิจ
- การพัฒนาและนำปฏิบัติโครงการ Social Safety Nets
- การติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพของการให้บริการด้านเศรษฐกิจและสังคม
- การส่งเสริมความตระหนักถึงผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อความยากจนหรือผู้ยากไร้
2. ระยะยาว - จะมีการพิจารณาเรื่องการจัดตั้งกองทุนทรัพยากรมนุษย์ หรือจะเป็นกองทุนด้านการพัฒนาสังคมก็อาจเป็นได้ อย่างไรก็ดี จะต้องมีการหารือในเรื่องนี้ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างละเอียด และหารือร่วมกับประเทศคู่เจรจาด้วย
1.2 อนาคตของ PMC
ที่ประชุม SOM สรุปว่าเป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งที่ประชุม AMM Retreat ควรจะมีท่าทีออกมาอย่างชัดเจน
2. การเตรียมการการประชุม PMC 10+1
เป็นการแบ่งหัวข้อว่าประเทศสมาชิกอาเซียนใดจะเป็นฝ่ายนำในแง่ของการประชุมและหากมีการยกแต่ละหัวข้อขึ้นมาแล้ว จะตอบในลักษณะใด
3. การเตรียมการการประชุม ARF
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้รับมอบหมายให้กล่าวนำเรื่อง “FutureDirection of ARF ” สิงคโปร์จะกล่าวนำในเรื่อง “การแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ในขณะที่อินโดนีเซียจะกล่าวนำ ในเรื่อง “การจัดการความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้” ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวตอบข้อซักถามผู้สื่อข่าวว่าประเด็นหารืออาจครอบคลุมในหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องในทะเลจีนใต้ ความสัมพันธ์จีน-ไต้หวัน ปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี กรณีโคโซโว และกรณีแคชเมียร์
4. การเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
เป็นการแบ่งหัวข้อว่าประเทศสมาชิกอาเซียนใดจะรับผิดชอบในส่วนใด และจะมีการประชุมเตรียมการในระดับ SOM ของอาเซียน + 3 ในเดือนตุลาคม ศกนี้ ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นการประชุมต่อเนื่องกับ การประชุมอาเซียน SOM ในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกัน นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำในภูมิภาคเอเชียกับลาตินอเมริกาด้วย
5. การเตรียมการการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำรัฐบาลอาเซียน ที่ฟิลิปปินส์
การประชุมดังกล่าวจะมีกำหนดการเสริมคือการพบหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล ระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำอาเซียนด้านเทคโนโลยีข่าวสาร ในการนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ในช่วงการประชุมซึ่งจะมีขึ้นประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ จะเป็นช่วงที่ใกล้การสิ้นสุดศตวรรษและ กำลังขึ้นสู่สหัสวรรษใหม่ ซึ่งปัญหา Y2K จะเป็นประเด็นสำคัญในการหารือ
6. เรื่องอื่นๆ
- การเตรียมการการประชุมสุดยอดอาเซียน SOM กับกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่ม Working Group on ASEAN Human Rights กลุ่มอาเซียน SOM กับอาเซียน ISIS ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าประเด็นนี้เป็นการแสวงหาช่องทางที่จะมีการแลกเปลี่ยนของอาเซียน SOM และกลุ่มเหล่านี้ เพื่อขยายขอบเขตการปฏิบัติงานของ SOM
ฝ่ายไทยได้แจ้งสรุปต่อที่ประชุมเรื่องการสรรหาผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก หรือ WTO ซึ่งสืบเนื่องจากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่งมีข้อสังเกต โดยแสดงความกังวลว่าหากใน 3 ปี ข้างหน้าผู้สมัครของไทยคือ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีเหตุผลด้าน สุขภาพหรือการเมือง ไม่สามารถเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO ได้ จะดำเนินการในลักษณะใด และเสนอให้เรียกร้องให้มีการเขียนชัดเจนในร่างข้อตัดสินใจสำหรับการสรรหาดังกล่าวของคณะมนตรีใหญ่ WTO ให้บุคคลสัญชาติไทยผู้ใดผู้หนึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนได้ ซึ่งฝ่ายไทยได้แสดงความขอบคุณต่อการแสดงความกังวล ดังกล่าว แต่เห็นว่าหากฝ่ายไทยเรียกร้องในประเด็นดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะมนตรีใหญ่ฯ กระบวนการสรรหา ผู้อำนวยการใหญ่ WTO คงจะยืดเยื้อและไม่สามารถสิ้นสุดลงได้ในเวลาอันใกล้
นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับความคืบหน้าการพิจารณาร่างการตัดสินใจของคณะมนตรีใหญ่ WTO เรื่องการสรรหาผู้อำนวยการใหญ่ WTO ว่าขณะนี้ร่างดังกล่าวได้ผ่านแล้ว และระบุชัดว่านาย Mike Moore ผู้สมัครของนิวซีแลนด์ จะเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) - วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) และ ฯพณฯ ดร. ศุภชัยฯ ผู้สมัครของไทยจะเข้ารับตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2002 — วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) และตกลงต่อไปว่าผู้สมัครทั้งสองคนจะไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับการแต่งตั้งผู้อำนวยการใหญ่ดังกล่าวอีก หรือจะไม่ได้รับการขยายเวลาในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว และถ้าหากในกรณีที่ผู้สมัครของนิวซีแลนด์ต้องพ้นจากตำแหน่งก่อนช่วงเวลา 3 ปีที่กำหนดไว้ ผู้สมัครของไทยจะเข้ารับตำแหน่งแทนในทันทีเป็นเวลา 3 ปี--จบ--
วันนี้ (21 กรกฏาคม 2542) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (Senior Officials Meeting-SOM) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2542 ที่สิงคโปร์ ซึ่งได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ โดยสรุป ดังนี้
1. การเตรียมการการประชุม AMM Retreat ในวันที่ 23 กรกฏาคม 2542
การประชุม AMM Retreat จะจัดขึ้นนอกเขตของใจกลางนครสิงคโปร์ โดยจะเน้นเรื่องอนาคตของอาเซียน การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (Post Ministerial Conferences —PMC) และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum-ARF) โดยในแต่ละหัวข้อจะมีแต่ละรัฐมนตรีเป็นผู้กล่าวนำ
ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าการประชุม AMM Retreat จะเป็นโอกาสที่ อาเซียนจะประสานท่าทีกันว่าจะปฏิบัติอย่างไรที่จะทำให้อาเซียนมีคุณค่ายืนยาวต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะการเข้าสู่สหัสวรรษหน้า (next millennium) และปฏิบัติอย่างไรที่จะทำให้ความสนใจของประเทศคู่เจรจาใน กระบวนการ PMC มีมากขึ้น และระบุว่ามีความเห็นร่วมกันว่าประเด็นข้อเสนอเรื่อง Social Safety Nets ไม่เพียงแต่จะเป็นผลกระทบต่อสังคมของอาเซียน หรือเกื้อกูลประโยชน์ทางด้านสังคมของอาเซียน แต่ยังเป็นเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายประเทศตะวันตกให้ความสนใจด้วย เพราะฉะนั้นประเด็นนี้จะเป็นจุดร่วมที่ดีที่ทั้งสองฝ่ายจะหารือกันได้อย่างมีคุณค่าในการประชุม PMC และสืบต่อไปสู่สหัสวรรษหน้า
1.1 Social Safety Nets
นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงข้อเสนอของไทยในเรื่อง Social Safety Nets ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
1. ระยะสั้น
- การประเมินผลกระทบด้านสังคมของวิกฤตเศรษฐกิจ
- การพัฒนาและนำปฏิบัติโครงการ Social Safety Nets
- การติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพของการให้บริการด้านเศรษฐกิจและสังคม
- การส่งเสริมความตระหนักถึงผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อความยากจนหรือผู้ยากไร้
2. ระยะยาว - จะมีการพิจารณาเรื่องการจัดตั้งกองทุนทรัพยากรมนุษย์ หรือจะเป็นกองทุนด้านการพัฒนาสังคมก็อาจเป็นได้ อย่างไรก็ดี จะต้องมีการหารือในเรื่องนี้ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างละเอียด และหารือร่วมกับประเทศคู่เจรจาด้วย
1.2 อนาคตของ PMC
ที่ประชุม SOM สรุปว่าเป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งที่ประชุม AMM Retreat ควรจะมีท่าทีออกมาอย่างชัดเจน
2. การเตรียมการการประชุม PMC 10+1
เป็นการแบ่งหัวข้อว่าประเทศสมาชิกอาเซียนใดจะเป็นฝ่ายนำในแง่ของการประชุมและหากมีการยกแต่ละหัวข้อขึ้นมาแล้ว จะตอบในลักษณะใด
3. การเตรียมการการประชุม ARF
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้รับมอบหมายให้กล่าวนำเรื่อง “FutureDirection of ARF ” สิงคโปร์จะกล่าวนำในเรื่อง “การแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ในขณะที่อินโดนีเซียจะกล่าวนำ ในเรื่อง “การจัดการความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้” ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวตอบข้อซักถามผู้สื่อข่าวว่าประเด็นหารืออาจครอบคลุมในหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องในทะเลจีนใต้ ความสัมพันธ์จีน-ไต้หวัน ปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี กรณีโคโซโว และกรณีแคชเมียร์
4. การเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
เป็นการแบ่งหัวข้อว่าประเทศสมาชิกอาเซียนใดจะรับผิดชอบในส่วนใด และจะมีการประชุมเตรียมการในระดับ SOM ของอาเซียน + 3 ในเดือนตุลาคม ศกนี้ ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นการประชุมต่อเนื่องกับ การประชุมอาเซียน SOM ในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกัน นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำในภูมิภาคเอเชียกับลาตินอเมริกาด้วย
5. การเตรียมการการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำรัฐบาลอาเซียน ที่ฟิลิปปินส์
การประชุมดังกล่าวจะมีกำหนดการเสริมคือการพบหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล ระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำอาเซียนด้านเทคโนโลยีข่าวสาร ในการนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ในช่วงการประชุมซึ่งจะมีขึ้นประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ จะเป็นช่วงที่ใกล้การสิ้นสุดศตวรรษและ กำลังขึ้นสู่สหัสวรรษใหม่ ซึ่งปัญหา Y2K จะเป็นประเด็นสำคัญในการหารือ
6. เรื่องอื่นๆ
- การเตรียมการการประชุมสุดยอดอาเซียน SOM กับกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่ม Working Group on ASEAN Human Rights กลุ่มอาเซียน SOM กับอาเซียน ISIS ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าประเด็นนี้เป็นการแสวงหาช่องทางที่จะมีการแลกเปลี่ยนของอาเซียน SOM และกลุ่มเหล่านี้ เพื่อขยายขอบเขตการปฏิบัติงานของ SOM
ฝ่ายไทยได้แจ้งสรุปต่อที่ประชุมเรื่องการสรรหาผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก หรือ WTO ซึ่งสืบเนื่องจากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่งมีข้อสังเกต โดยแสดงความกังวลว่าหากใน 3 ปี ข้างหน้าผู้สมัครของไทยคือ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีเหตุผลด้าน สุขภาพหรือการเมือง ไม่สามารถเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO ได้ จะดำเนินการในลักษณะใด และเสนอให้เรียกร้องให้มีการเขียนชัดเจนในร่างข้อตัดสินใจสำหรับการสรรหาดังกล่าวของคณะมนตรีใหญ่ WTO ให้บุคคลสัญชาติไทยผู้ใดผู้หนึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนได้ ซึ่งฝ่ายไทยได้แสดงความขอบคุณต่อการแสดงความกังวล ดังกล่าว แต่เห็นว่าหากฝ่ายไทยเรียกร้องในประเด็นดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะมนตรีใหญ่ฯ กระบวนการสรรหา ผู้อำนวยการใหญ่ WTO คงจะยืดเยื้อและไม่สามารถสิ้นสุดลงได้ในเวลาอันใกล้
นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับความคืบหน้าการพิจารณาร่างการตัดสินใจของคณะมนตรีใหญ่ WTO เรื่องการสรรหาผู้อำนวยการใหญ่ WTO ว่าขณะนี้ร่างดังกล่าวได้ผ่านแล้ว และระบุชัดว่านาย Mike Moore ผู้สมัครของนิวซีแลนด์ จะเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) - วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) และ ฯพณฯ ดร. ศุภชัยฯ ผู้สมัครของไทยจะเข้ารับตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2002 — วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) และตกลงต่อไปว่าผู้สมัครทั้งสองคนจะไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับการแต่งตั้งผู้อำนวยการใหญ่ดังกล่าวอีก หรือจะไม่ได้รับการขยายเวลาในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว และถ้าหากในกรณีที่ผู้สมัครของนิวซีแลนด์ต้องพ้นจากตำแหน่งก่อนช่วงเวลา 3 ปีที่กำหนดไว้ ผู้สมัครของไทยจะเข้ารับตำแหน่งแทนในทันทีเป็นเวลา 3 ปี--จบ--