1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
น้ำนมดิบ : เกษตรกรขอปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบ เนื่องจากต้นทุน
การผลิตสูงขึ้น
ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ทำให้รัฐบาล
ตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินบาทไทย จากระบบการกำหนดอัตรา
แลกเปลี่ยนคงที่มาเป็นระบบลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมานั้น ซึ่งทำให้อัตราแลก
เปลี่ยนเพิ่มจาก 26 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ ไปเป็น 28 - 41 บาท เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้ประ
สบปัญหาต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ต้องนำเข้าพันธุ์โคนม อาหารสัตว์ ยา
ป้องกันรักษาโรคสัตว์ และเครื่องมือทุ่นแรงจากต่างประเทศในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์เปรียบ
เทียบต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ ในปี 2539 กับปี 2540 ปรากฎว่าได้เพิ่มขึ้นจากต้นทุนเฉลี่ยกิโลกรัมละ
7.36 บาท เป็นกิโลกรัมละ 8.46 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 โดยต้นทุนค่าอาหารข้นเพิ่มขึ้น
สูงสุดถึงร้อยละ 25 ในขณะที่ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าว การกำหนดราคากลางในการรับซื้อ
น้ำนมดิบจากเกษตรกรยังทรงตัวอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 8.75 บาทเช่นเดิม ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยง
โคนมประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย
จากปัญหาดังกล่าว (เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540) ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จึง
ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอให้พิจารณาปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมดิบในอัตราร้อยละ
25 ตามราคาอาหารข้น โดยขอปรับราคาขายน้ำนมดิบที่ศูนย์รวบรวมนมจากกิโลกรัมละ 9.25 บาท
เป็นกิโลกรัมละ 11.56 บาท และราคาหน้าโรงงานจากกิโลกรัมละ 10.50 บาท เป็น 13.12 บาท
คณะอนุกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นม ได้ประชุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2540 เพื่อ
พิจารณาข้อเรียกร้องของเกษตรกรดังกล่าวแล้ว แต่เนื่องจากในที่ประชุมยังหาข้อยุติไม่ได้ จึงได้
ขอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาปรับราคาน้ำนมดิบ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนภาครัฐบาล
ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้ประกอบการ ผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยจะพิจารณาจากการ
ปรับราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นจากเดิมในอัตราร้อยละ 10, 15, 20 และ 25 เพื่อศึกษาถึงความ
เหมาะสมและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับราคาในครั้งนี้ แล้วเลือกใช้แนวทางที่ดีที่สุด และ
จะนัดประชุมโดยเร็ว เพื่อจะได้นำผลการประชุมของคณะทำงานชุดนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ
นโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติพิจารณาตัดสินใจต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาปรับราคาน้ำนมดิบให้สูงขึ้นนั้น มีสิ่งที่ควรพิจารณา คือ
1) ผู้บริโภคอาจจะลดปริมาณความต้องการลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำนมดิบในการผลิต
นมพร้อมดื่มลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเกษตรกรในการจำหน่ายน้ำนมดิบด้วย
2) ต้นทุนการผลิตนมคืนรูป เมื่อเทียบกับราคาน้ำนมดิบหน้าโรงงาน ถ้าราคาน้ำนมดิบหน้า
โรงงานสูงกว่าต้นทุนนมคืนรูปมาก ย่อมส่งผลให้โรงงานหันไปใช้นมผงขาดมันเนยในการผลิตนมพร้อมดื่ม
มากขึ้น การจำหน่ายน้ำนมดิบของเกษตรกรก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
3. ราคาน้ำนมดิบที่เพิ่มควรเป็นระดับราคาที่ทำให้เกษตรกรสามารถดำเนินธุรกิจการเลี้ยง
โคนมได้อย่างต่อเนื่องและมีรายได้พอเพียงต่อการใช้จ่ายในครอบครัว ไม่เช่นนั้นจะทำให้แผนส่งเสริม
การเลี้ยงโคนมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย เพราะเกษตรกรอาจยุติ
ธุรกิจการเลี้ยงโคนม หรือไม่เข้าร่วมโครงการ
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ข้าวโพด : สินค้าเกษตรที่จำเป็นต้องเร่งรัดการผลิต
ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2540/41 คาดว่ามี 4.152 ล้านตัน ลดลงจาก
4.533 ล้านตันของผลผลิตปีก่อนร้อยละ 8.41 เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งทำให้ข้าวโพดได้รับความ
เสียหาย ขณะที่ความต้องการภายในมีประมาณ 4.70 ล้านตัน จึงทำให้อุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวโพดเป็น
วัตถุดิบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมอาหารสัตว์จำเป็นต้องนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศ โดย
คาดว่าจะต้องนำเข้าประมาณ 4-5 ล้านตัน
แต่จากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ทำให้ไทยต้องประกาศใช้ระบบการแลกเปลี่ยน
เงินตราแบบลอยตัวตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทย
กับเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้นจาก 25-26 บาท/ดอลลาร์ เป็น 39 - 41 บาท/ดอลลาร์ใน
ปัจจุบัน ซึ่งได้ส่งผลให้การนำเข้าข้าวโพดปัจจุบันมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 6.70 บาท
ซึ่งสูงกว่าราคาภายในประเทศที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อประมาณกิโลกรัมละ 4.70 - 5.00 บาท
ผู้เลี้ยงสัตว์จะหันมาใช้ข้าวโพดในประเทศมากขึ้น แต่ผลผลิตในปีนี้มีปริมาณไม่เพียงพอดังกล่าวแล้ว
ส่งผลให้ราคาในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว กล่าวคือ ราคาข้าวโพด ปี 2540
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน มีราคากิโลกรัมละ 4.26, 4.45, 4.36 และ 4.17 บาท ซึ่งสูง
กว่าราคาในช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้วที่มีราคากิโลกรัมละ 3.82, 3.97, 4.05 และ 3.96 บาท
ตามลำดับ
สำหรับการเพาะปลูกข้าวโพดในปีหน้า คาดว่าจะประสบปัญหาเรื่องภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น และ
หากปล่อยให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพดไปตามปกติ ปัญหาการขาดแคลนข้าวโพดที่จะใช้ภายในประเทศ
มีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น จึงควรที่กระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ จะได้มอบหมายให้กรม
ส่งเสริมการเกษตร เตรียมแผนงานการเร่งรัดการผลิตข้าวโพดในปีหน้าให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพียง
พอที่จะสนองความต้องการภายในประเทศ โดยไม่ต้องนำเข้า ซึ่งจะเป็นผลดีทั้งต่อเกษตรกรชาว
ไร่ข้าวโพด และเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมด้วย
ราคาข้าวโพด ปี 2539-2540
หน่วย : บาท/กก.
ปี/เดือน ราคาที่เกษตรกร ราคาขายส่งในตลาด กทม. ราคานำเข้า
ขายได้ ที่อาหารสัตว์รับซื้อ ณ ตลาด กทม.
ปี 2539
มกราคม 4.44 5.00 5.00
กุมภาพันธ์ 4.54 5.02 5.10
มีนาคม 4.78 5.39 5.30
เมษายน 4.96 5.54 5.93
พฤษภาคม 5.16 5.71 6.34
มิถุนายน 5.20 5.45 6.11
กรกฎาคม 4.33 4.93 6.07
สิงหาคม 3.82 4.34 5.02
กันยายน 3.97 4.35 4.86
ตุลาคม 4.05 4.54 4.24
พฤศจิกายน 3.96 4.30 4.08
ธันวาคม 3.85 4.25 3.75
เฉลี่ย 4.06 4.90 5.15
ปี 2540
มกราคม 3.85 4.21 4.11
กุมภาพันธ์ 3.76 4.21 4.28
มีนาคม 3.83 4.21 4.35
เมษายน 4.01 4.55 4.48
พฤษภาคม 4.01 4.77 4.27
มิถุนายน 3.89 4.63 4.11
กรกฎาคม 3.96 5.04 4.55
สิงหาคม 4.26 5.26 5.09
กันยายน 4.45 5.14 5.70
ตุลาคม 4.36 4.96 6.13
พฤศจิกายน 4.17 4.79 6.70
เฉลี่ย 4.05 4.71 4.89
2.2 ถั่วเหลือง : ควรเร่งรัดการผลิตอย่างจริงจัง
ในอดีต ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า ต่อมาความต้อง
การใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่าอัตราเพิ่มของผลผลิต ทำให้รัฐต้องอนุมัติให้นำเข้าเสรีทั้งเมล็ดถั่ว
เหลือง และกากถั่วเหลือง เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากรา
คาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าต่ำกว่าราคาภายในประเทศ รัฐจึงมีมาตรการคุ้มครองเกษตรกรผู้
ผลิตภายในด้วยการกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตภายในประเทศทั้งหมดในราคาที่กำหนด
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ไปเป็นระบบลอยตัว ทำให้ค่าของเงินบาทต่ำลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้
ราคาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าสูงกว่าราคาภายในประเทศ ส่งผลกระทบต่อโรงงานสกัด
น้ำมันพืชและอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ และดึงให้ราคาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองภายในประเทศขยับ
ตัวสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรชาวไร่ถั่วเหลือง
ดังนั้น จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ความต้องการใช้ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองยัง
คงมากกว่าผลผลิตภายในประเทศถึง 2 - 3 เท่าตัว และราคาภายในประเทศโน้มสูงขึ้นหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องจึงควรประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทน
การนำเข้า และลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศไปในเวลาเดียวกันด้วย
หน่วย : บาท/กก.
เดือน ถั่วเหลืองคละที่ ถั่วเหลืองสกัด ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง
เกษตรกรขายได้ น้ำมันขายส่ง นำเขัา ในขายส่ง นำเข้าขายส่ง นำเข้า
มกราคม 8.78 9.22 7.75 9.42 9.40 8.10
กุมภาพันธ์ - 9.00 7.92 9.57 9.27 8.24
มีนาคม 8.56 9.00 9.40 9.62 9.52 8.09
เมษายน 8.38 9.33 8.40 10.00 9.70 9.14
พฤษภาคม 8.61 9.23 8.92 10.00 - 8.42
มิถุนายน 7.85 9.17 8.73 9.89 - 8.60
กรกฎาคม* - 9.20 10.49 9.83 - 8.74
สิงหาคม 7.63 9.45 10.58 10.35 - 10.47
กันยายน 8.89 9.73 11.25 11.82 - 10.45
ตุลาคม 9.85 10.64 n.a. 12.46 - n.a.
พฤศจิกายน 9.92 11.47 n.a. 12.14 11.50 n.a.
2.3 การส่งออกไก่สดแช่แข็ง : ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้
ปริมาณการส่งออกไก่สดแช่แข็งไปเกาหลีใต้
รายการ 2538 2539 2539 2540 เปลี่ยนแปลง
(มค.-กย.) (มค.-กย.) (%)
ปริมาณ (ตัน) 154 433 422 1,033 + 145
มูลค่า (ล้านบาท) 6.82 28.69 27.48 60.89 + 122
โควตานำเข้าของเกาหลีใต้ (ตัน)
7,700 10,350 - 6,500 (มค.-มิย.)
เกาหลีใต้เป็นตลาดใหม่ของไก่สดแช่แข็งของไทย ตามข้อตกลงของ WTO เกาหลี
ใต้จะต้องเปิดตลาดไก่สดแช่แข็ง ตั้งแต่ปี 2538 - 2540 ในรูปแบบของโควตานำเข้า ในอัตราภาษี
นำเข้าร้อยละ 20 และตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป จะเปิดตลาดให้มีการนำเข้าเสรี
โดยมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 30.5
ในปี 2538 เกาหลีใต้นำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทย ปริมาณ 154 ตัน หรือ
ร้อยละ 2 ของโควตานำเข้า และเพิ่มเป็น 433 ตันในปี 2539 หรือร้อยละ 4 ของโควตานำเข้า
คู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดเกาหลี คือ จีนและสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งออกไก่สดในราคาที่ถูกกว่าของไทย
และในปี 2540 (มค.-กย.) เกาหลีใต้นำเข้าไก่สดจากไทย 1,033 ตัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ที่แล้วที่นำเข้าเพียง 422 ตัน ปรากฎว่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
ในเดือนที่ผ่านมา เกาหลีใต้ประสบวิกฤตการณ์ค่าเงินวอนที่อ่อนตัวลงมาก
ซึ่งโดยทั่วไปจะมีผลทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น แต่จากการติดตามสถานการณ์ คาดว่า วิกฤตการณ์
ค่าเงินวอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทยในระยะสั้น เพราะผู้นำเข้าได้สั่งซื้อ
ล่วงหน้าไว้แล้ว แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าในปีหน้า เพราะหากสถานการณ์ค่าเงินวอนไม่ปรับ
ตัวในทางที่ดีขึ้น จะส่งผลให้ราคานำเข้าไก่สดแช่แข็งสูงขึ้น และเกาหลีใต้อาจต้องปรับลดปริมาณการ
นำเข้าให้น้อยลง ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามสถานการณ์อย่าง
ใกล้ชิด เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการผลิตให้เหมาะสมต่อไป
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม 2540--
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
น้ำนมดิบ : เกษตรกรขอปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบ เนื่องจากต้นทุน
การผลิตสูงขึ้น
ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ทำให้รัฐบาล
ตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินบาทไทย จากระบบการกำหนดอัตรา
แลกเปลี่ยนคงที่มาเป็นระบบลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมานั้น ซึ่งทำให้อัตราแลก
เปลี่ยนเพิ่มจาก 26 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ ไปเป็น 28 - 41 บาท เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้ประ
สบปัญหาต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ต้องนำเข้าพันธุ์โคนม อาหารสัตว์ ยา
ป้องกันรักษาโรคสัตว์ และเครื่องมือทุ่นแรงจากต่างประเทศในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์เปรียบ
เทียบต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ ในปี 2539 กับปี 2540 ปรากฎว่าได้เพิ่มขึ้นจากต้นทุนเฉลี่ยกิโลกรัมละ
7.36 บาท เป็นกิโลกรัมละ 8.46 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 โดยต้นทุนค่าอาหารข้นเพิ่มขึ้น
สูงสุดถึงร้อยละ 25 ในขณะที่ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าว การกำหนดราคากลางในการรับซื้อ
น้ำนมดิบจากเกษตรกรยังทรงตัวอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 8.75 บาทเช่นเดิม ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยง
โคนมประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย
จากปัญหาดังกล่าว (เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540) ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จึง
ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอให้พิจารณาปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมดิบในอัตราร้อยละ
25 ตามราคาอาหารข้น โดยขอปรับราคาขายน้ำนมดิบที่ศูนย์รวบรวมนมจากกิโลกรัมละ 9.25 บาท
เป็นกิโลกรัมละ 11.56 บาท และราคาหน้าโรงงานจากกิโลกรัมละ 10.50 บาท เป็น 13.12 บาท
คณะอนุกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นม ได้ประชุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2540 เพื่อ
พิจารณาข้อเรียกร้องของเกษตรกรดังกล่าวแล้ว แต่เนื่องจากในที่ประชุมยังหาข้อยุติไม่ได้ จึงได้
ขอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาปรับราคาน้ำนมดิบ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนภาครัฐบาล
ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้ประกอบการ ผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยจะพิจารณาจากการ
ปรับราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นจากเดิมในอัตราร้อยละ 10, 15, 20 และ 25 เพื่อศึกษาถึงความ
เหมาะสมและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับราคาในครั้งนี้ แล้วเลือกใช้แนวทางที่ดีที่สุด และ
จะนัดประชุมโดยเร็ว เพื่อจะได้นำผลการประชุมของคณะทำงานชุดนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ
นโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติพิจารณาตัดสินใจต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาปรับราคาน้ำนมดิบให้สูงขึ้นนั้น มีสิ่งที่ควรพิจารณา คือ
1) ผู้บริโภคอาจจะลดปริมาณความต้องการลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำนมดิบในการผลิต
นมพร้อมดื่มลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเกษตรกรในการจำหน่ายน้ำนมดิบด้วย
2) ต้นทุนการผลิตนมคืนรูป เมื่อเทียบกับราคาน้ำนมดิบหน้าโรงงาน ถ้าราคาน้ำนมดิบหน้า
โรงงานสูงกว่าต้นทุนนมคืนรูปมาก ย่อมส่งผลให้โรงงานหันไปใช้นมผงขาดมันเนยในการผลิตนมพร้อมดื่ม
มากขึ้น การจำหน่ายน้ำนมดิบของเกษตรกรก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
3. ราคาน้ำนมดิบที่เพิ่มควรเป็นระดับราคาที่ทำให้เกษตรกรสามารถดำเนินธุรกิจการเลี้ยง
โคนมได้อย่างต่อเนื่องและมีรายได้พอเพียงต่อการใช้จ่ายในครอบครัว ไม่เช่นนั้นจะทำให้แผนส่งเสริม
การเลี้ยงโคนมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย เพราะเกษตรกรอาจยุติ
ธุรกิจการเลี้ยงโคนม หรือไม่เข้าร่วมโครงการ
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ข้าวโพด : สินค้าเกษตรที่จำเป็นต้องเร่งรัดการผลิต
ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2540/41 คาดว่ามี 4.152 ล้านตัน ลดลงจาก
4.533 ล้านตันของผลผลิตปีก่อนร้อยละ 8.41 เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งทำให้ข้าวโพดได้รับความ
เสียหาย ขณะที่ความต้องการภายในมีประมาณ 4.70 ล้านตัน จึงทำให้อุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวโพดเป็น
วัตถุดิบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมอาหารสัตว์จำเป็นต้องนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศ โดย
คาดว่าจะต้องนำเข้าประมาณ 4-5 ล้านตัน
แต่จากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ทำให้ไทยต้องประกาศใช้ระบบการแลกเปลี่ยน
เงินตราแบบลอยตัวตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทย
กับเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้นจาก 25-26 บาท/ดอลลาร์ เป็น 39 - 41 บาท/ดอลลาร์ใน
ปัจจุบัน ซึ่งได้ส่งผลให้การนำเข้าข้าวโพดปัจจุบันมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 6.70 บาท
ซึ่งสูงกว่าราคาภายในประเทศที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อประมาณกิโลกรัมละ 4.70 - 5.00 บาท
ผู้เลี้ยงสัตว์จะหันมาใช้ข้าวโพดในประเทศมากขึ้น แต่ผลผลิตในปีนี้มีปริมาณไม่เพียงพอดังกล่าวแล้ว
ส่งผลให้ราคาในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว กล่าวคือ ราคาข้าวโพด ปี 2540
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน มีราคากิโลกรัมละ 4.26, 4.45, 4.36 และ 4.17 บาท ซึ่งสูง
กว่าราคาในช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้วที่มีราคากิโลกรัมละ 3.82, 3.97, 4.05 และ 3.96 บาท
ตามลำดับ
สำหรับการเพาะปลูกข้าวโพดในปีหน้า คาดว่าจะประสบปัญหาเรื่องภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น และ
หากปล่อยให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพดไปตามปกติ ปัญหาการขาดแคลนข้าวโพดที่จะใช้ภายในประเทศ
มีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น จึงควรที่กระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ จะได้มอบหมายให้กรม
ส่งเสริมการเกษตร เตรียมแผนงานการเร่งรัดการผลิตข้าวโพดในปีหน้าให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพียง
พอที่จะสนองความต้องการภายในประเทศ โดยไม่ต้องนำเข้า ซึ่งจะเป็นผลดีทั้งต่อเกษตรกรชาว
ไร่ข้าวโพด และเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมด้วย
ราคาข้าวโพด ปี 2539-2540
หน่วย : บาท/กก.
ปี/เดือน ราคาที่เกษตรกร ราคาขายส่งในตลาด กทม. ราคานำเข้า
ขายได้ ที่อาหารสัตว์รับซื้อ ณ ตลาด กทม.
ปี 2539
มกราคม 4.44 5.00 5.00
กุมภาพันธ์ 4.54 5.02 5.10
มีนาคม 4.78 5.39 5.30
เมษายน 4.96 5.54 5.93
พฤษภาคม 5.16 5.71 6.34
มิถุนายน 5.20 5.45 6.11
กรกฎาคม 4.33 4.93 6.07
สิงหาคม 3.82 4.34 5.02
กันยายน 3.97 4.35 4.86
ตุลาคม 4.05 4.54 4.24
พฤศจิกายน 3.96 4.30 4.08
ธันวาคม 3.85 4.25 3.75
เฉลี่ย 4.06 4.90 5.15
ปี 2540
มกราคม 3.85 4.21 4.11
กุมภาพันธ์ 3.76 4.21 4.28
มีนาคม 3.83 4.21 4.35
เมษายน 4.01 4.55 4.48
พฤษภาคม 4.01 4.77 4.27
มิถุนายน 3.89 4.63 4.11
กรกฎาคม 3.96 5.04 4.55
สิงหาคม 4.26 5.26 5.09
กันยายน 4.45 5.14 5.70
ตุลาคม 4.36 4.96 6.13
พฤศจิกายน 4.17 4.79 6.70
เฉลี่ย 4.05 4.71 4.89
2.2 ถั่วเหลือง : ควรเร่งรัดการผลิตอย่างจริงจัง
ในอดีต ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า ต่อมาความต้อง
การใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่าอัตราเพิ่มของผลผลิต ทำให้รัฐต้องอนุมัติให้นำเข้าเสรีทั้งเมล็ดถั่ว
เหลือง และกากถั่วเหลือง เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากรา
คาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าต่ำกว่าราคาภายในประเทศ รัฐจึงมีมาตรการคุ้มครองเกษตรกรผู้
ผลิตภายในด้วยการกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตภายในประเทศทั้งหมดในราคาที่กำหนด
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ไปเป็นระบบลอยตัว ทำให้ค่าของเงินบาทต่ำลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้
ราคาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าสูงกว่าราคาภายในประเทศ ส่งผลกระทบต่อโรงงานสกัด
น้ำมันพืชและอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ และดึงให้ราคาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองภายในประเทศขยับ
ตัวสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรชาวไร่ถั่วเหลือง
ดังนั้น จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ความต้องการใช้ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองยัง
คงมากกว่าผลผลิตภายในประเทศถึง 2 - 3 เท่าตัว และราคาภายในประเทศโน้มสูงขึ้นหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องจึงควรประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทน
การนำเข้า และลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศไปในเวลาเดียวกันด้วย
หน่วย : บาท/กก.
เดือน ถั่วเหลืองคละที่ ถั่วเหลืองสกัด ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง
เกษตรกรขายได้ น้ำมันขายส่ง นำเขัา ในขายส่ง นำเข้าขายส่ง นำเข้า
มกราคม 8.78 9.22 7.75 9.42 9.40 8.10
กุมภาพันธ์ - 9.00 7.92 9.57 9.27 8.24
มีนาคม 8.56 9.00 9.40 9.62 9.52 8.09
เมษายน 8.38 9.33 8.40 10.00 9.70 9.14
พฤษภาคม 8.61 9.23 8.92 10.00 - 8.42
มิถุนายน 7.85 9.17 8.73 9.89 - 8.60
กรกฎาคม* - 9.20 10.49 9.83 - 8.74
สิงหาคม 7.63 9.45 10.58 10.35 - 10.47
กันยายน 8.89 9.73 11.25 11.82 - 10.45
ตุลาคม 9.85 10.64 n.a. 12.46 - n.a.
พฤศจิกายน 9.92 11.47 n.a. 12.14 11.50 n.a.
2.3 การส่งออกไก่สดแช่แข็ง : ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้
ปริมาณการส่งออกไก่สดแช่แข็งไปเกาหลีใต้
รายการ 2538 2539 2539 2540 เปลี่ยนแปลง
(มค.-กย.) (มค.-กย.) (%)
ปริมาณ (ตัน) 154 433 422 1,033 + 145
มูลค่า (ล้านบาท) 6.82 28.69 27.48 60.89 + 122
โควตานำเข้าของเกาหลีใต้ (ตัน)
7,700 10,350 - 6,500 (มค.-มิย.)
เกาหลีใต้เป็นตลาดใหม่ของไก่สดแช่แข็งของไทย ตามข้อตกลงของ WTO เกาหลี
ใต้จะต้องเปิดตลาดไก่สดแช่แข็ง ตั้งแต่ปี 2538 - 2540 ในรูปแบบของโควตานำเข้า ในอัตราภาษี
นำเข้าร้อยละ 20 และตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป จะเปิดตลาดให้มีการนำเข้าเสรี
โดยมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 30.5
ในปี 2538 เกาหลีใต้นำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทย ปริมาณ 154 ตัน หรือ
ร้อยละ 2 ของโควตานำเข้า และเพิ่มเป็น 433 ตันในปี 2539 หรือร้อยละ 4 ของโควตานำเข้า
คู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดเกาหลี คือ จีนและสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งออกไก่สดในราคาที่ถูกกว่าของไทย
และในปี 2540 (มค.-กย.) เกาหลีใต้นำเข้าไก่สดจากไทย 1,033 ตัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ที่แล้วที่นำเข้าเพียง 422 ตัน ปรากฎว่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
ในเดือนที่ผ่านมา เกาหลีใต้ประสบวิกฤตการณ์ค่าเงินวอนที่อ่อนตัวลงมาก
ซึ่งโดยทั่วไปจะมีผลทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น แต่จากการติดตามสถานการณ์ คาดว่า วิกฤตการณ์
ค่าเงินวอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทยในระยะสั้น เพราะผู้นำเข้าได้สั่งซื้อ
ล่วงหน้าไว้แล้ว แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าในปีหน้า เพราะหากสถานการณ์ค่าเงินวอนไม่ปรับ
ตัวในทางที่ดีขึ้น จะส่งผลให้ราคานำเข้าไก่สดแช่แข็งสูงขึ้น และเกาหลีใต้อาจต้องปรับลดปริมาณการ
นำเข้าให้น้อยลง ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามสถานการณ์อย่าง
ใกล้ชิด เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการผลิตให้เหมาะสมต่อไป
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม 2540--