นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ฉบับที่ 2 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. สัญญาความตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน +3 ภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative; CMI) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประเทศสมาชิกในกรณีประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่อง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถทำความตกลงทวิภาคีภายใต้โครงการดังกล่าวกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐ เกาหลี ตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญาและเงื่อนไขพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการร่างสัญญาความตกลงฯ กับประเทศญี่ปุ่น และต่อมาธนาคารกลางของสองประเทศได้ร่วมลงนามในสัญญาความตกลงดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 วงเงินจำนวน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอายุ 3 ปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในหนังสือค้ำประกัน สัญญาดังกล่าวได้หมดอายุลงในวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนการจัดทำความตกลงดังกล่าว เนื่องจากสมาชิกอาเซียน+3 กำลังพิจารณาทบทวนหลักการสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่
3. กระทรวงการคลังและธนาคารกลางของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 กำลังพิจารณาทบทวนหลักการสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการช่วยเหลือกันเองระหว่างสมาชิกในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น โดยการทบทวนหลักการสำคัญดังกล่าวจะรวมถึงความเป็นไปได้ในการเพิ่มขนาดของเงินทุน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การลดเงื่อนไขผูกพันกับ IMF การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในสัญญาความตกลงฯ เป็นต้น
4. กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารกลางญี่ปุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาการทบทวนฯ โดยสองทั้งฝ่ายเห็นพ้องว่าควรจัดทำความตกลง ทวิภาคีฯ ฉบับที่ 2 เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีความแตกต่างจากสัญญาความตกลงฯ ฉบับที่หมดอายุไปแล้ว กล่าวคือ เป็นลักษณะ Two-Way (เดิมเป็นลักษณะ One- Way) แสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่เท่าเทียมกัน และการเบิก-ถอนหรือการต่ออายุสัญญาจะต้องดำเนินการภายใน 2 ปี ส่วนเงื่อนไขอื่นภายใต้สัญญายังมีลักษณะคงเดิม ซึ่งความตกลงดังกล่าวมีความสำคัญ ดังนี้
1) การทำสัญญาความตกลงดังกล่าวจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยในตลาด
การเงินระหว่างประเทศขึ้นมาเท่าเทียมกับญี่ปุ่น และถือเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นทำสัญญาลักษณะ Two-Way กับประเทศสมาชิกอาเซียน
2) ความตกลงฉบับที่ 2 นี้ ยังสะท้อนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปและมีความแข็งแกร่งขึ้นของทั้งสองประเทศ จากเดิมที่ทำสัญญาฉบับแรกในปี 2544 และความตกลงดังกล่าวมีนัยสำคัญเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือในภูมิภาคมากกว่าจะมีการเบิกถอนจริง จึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะมีการเบิกถอนระหว่างกัน อีกทั้งเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ ที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประเทศสมาชิกอาเซียน+3
นอกจากนี้ ความตกลงนี้เป็นสัญญาฉบับชั่วคราว จะมีผลบังคับใช้ในระหว่างกระบวนการทบทวนมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2549 และภายหลังการพิจารณาทบทวนหลักการสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่เสร็จสิ้นลง ไทยกับญี่ปุ่นจะเริ่มเจรจาความตกลงฯ ฉบับใหม่ภายใต้หลักการสำคัญใหม่ต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2548 25 มกราคม 2548--
1. สัญญาความตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน +3 ภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative; CMI) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประเทศสมาชิกในกรณีประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่อง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถทำความตกลงทวิภาคีภายใต้โครงการดังกล่าวกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐ เกาหลี ตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญาและเงื่อนไขพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการร่างสัญญาความตกลงฯ กับประเทศญี่ปุ่น และต่อมาธนาคารกลางของสองประเทศได้ร่วมลงนามในสัญญาความตกลงดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 วงเงินจำนวน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอายุ 3 ปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในหนังสือค้ำประกัน สัญญาดังกล่าวได้หมดอายุลงในวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนการจัดทำความตกลงดังกล่าว เนื่องจากสมาชิกอาเซียน+3 กำลังพิจารณาทบทวนหลักการสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่
3. กระทรวงการคลังและธนาคารกลางของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 กำลังพิจารณาทบทวนหลักการสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการช่วยเหลือกันเองระหว่างสมาชิกในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น โดยการทบทวนหลักการสำคัญดังกล่าวจะรวมถึงความเป็นไปได้ในการเพิ่มขนาดของเงินทุน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การลดเงื่อนไขผูกพันกับ IMF การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในสัญญาความตกลงฯ เป็นต้น
4. กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารกลางญี่ปุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาการทบทวนฯ โดยสองทั้งฝ่ายเห็นพ้องว่าควรจัดทำความตกลง ทวิภาคีฯ ฉบับที่ 2 เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีความแตกต่างจากสัญญาความตกลงฯ ฉบับที่หมดอายุไปแล้ว กล่าวคือ เป็นลักษณะ Two-Way (เดิมเป็นลักษณะ One- Way) แสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่เท่าเทียมกัน และการเบิก-ถอนหรือการต่ออายุสัญญาจะต้องดำเนินการภายใน 2 ปี ส่วนเงื่อนไขอื่นภายใต้สัญญายังมีลักษณะคงเดิม ซึ่งความตกลงดังกล่าวมีความสำคัญ ดังนี้
1) การทำสัญญาความตกลงดังกล่าวจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยในตลาด
การเงินระหว่างประเทศขึ้นมาเท่าเทียมกับญี่ปุ่น และถือเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นทำสัญญาลักษณะ Two-Way กับประเทศสมาชิกอาเซียน
2) ความตกลงฉบับที่ 2 นี้ ยังสะท้อนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปและมีความแข็งแกร่งขึ้นของทั้งสองประเทศ จากเดิมที่ทำสัญญาฉบับแรกในปี 2544 และความตกลงดังกล่าวมีนัยสำคัญเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือในภูมิภาคมากกว่าจะมีการเบิกถอนจริง จึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะมีการเบิกถอนระหว่างกัน อีกทั้งเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ ที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประเทศสมาชิกอาเซียน+3
นอกจากนี้ ความตกลงนี้เป็นสัญญาฉบับชั่วคราว จะมีผลบังคับใช้ในระหว่างกระบวนการทบทวนมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2549 และภายหลังการพิจารณาทบทวนหลักการสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่เสร็จสิ้นลง ไทยกับญี่ปุ่นจะเริ่มเจรจาความตกลงฯ ฉบับใหม่ภายใต้หลักการสำคัญใหม่ต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2548 25 มกราคม 2548--