วันนี้ (21 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะนำร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ ส.ส. และ ส.ว. เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรว่า ได้คุยกับวิปฝ่ายค้านแล้ว และจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ส.ส.ในวันอังคารที่ 23 ส.ค.นี้ เพื่อให้เป็นแนวทางและจุดยืนของพรรคมากกว่าการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว แต่โดยพื้นฐานแล้วพรรคได้พูดกันมาตลอดว่าพวกเราเป็นอาสาสมัครเข้ามา ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักการเมืองที่อาวุโส และไม่ได้ทำงานการเมืองแล้วก็จะมีปัญหาบ้าง โดยเฉพาะคนดีๆ จะมีปัญหา เพราะอาจไม่ได้มีฐานะที่ดี โดยรูปแบบที่เหมาะสมคิดได้หลากหลาย เช่น การมีกองทุนเพื่อสงเคราะห์ดูแลนักการเมือง
'และสิ่งที่กระทบกระเทือนความรู้สึกประชาชนคือ ไปเทียบเคียงกับข้าราชการที่กว่าจะได้บำเหน็จบำนาญต้องรับใช้ทำงานราชการมายาวนาน และสภาพการเมืองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งในอดีตอาชีพการเมืองมีความไม่แน่นอนสูง แต่ในปัจจุบันมีความต่อเนื่องมากขึ้น ในปัจจุบันระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการการเมืองนั้นครอบคลุมเฉพาะผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร หรือข้าราชการการเมืองในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร เช่น เลขานุการประธานสภาฯ ซึ่งผมเคยคุยกับประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร ก็ยอมรับว่าเรื่องนี้ยังทบทวนได้ และฟังความคิดเห็นได้หลากหลายกว่านี้' นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ไม่อยากให้เรามองประเด็นนี้เป็นเพียงขาว หรือดำ คือบอกว่านักการเมืองทุกคนไม่ดี ไม่ควรได้ หรืออาชีพนักการเมืองไม่เหมาะสมกับการมีสวัสดิการ ขณะเดียวกันจะไปบอกว่าต้องมีบำเหน็จบำนาญเพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ก็ไม่ใช่ จึงคิดว่าเราต้องมาดูดีกว่าว่าเราต้องการแก้ปัญหาอะไร การมีหลักประกันสำหรับนักการเมืองที่รับใช้ประเทศชาติมายาวนานพอสมควร และได้รับการยอมรับ เพราะถ้าพูดกันจริงๆ นักการเมืองทุจริตไม่มีความต้องการตรงนี้เพราะเทียบไม่ได้เลยกับผลประโยชน์ที่เขาจะได้ แต่ต้องชัดเจนในแง่ของบทบาทนักการเมืองที่เป็นอาสาสมัครเข้ามา และน่าจะมีรูปแบบที่เหมาะสมกว่าที่เสนอในปัจจุบัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ส.ค. 2548--จบ--
'และสิ่งที่กระทบกระเทือนความรู้สึกประชาชนคือ ไปเทียบเคียงกับข้าราชการที่กว่าจะได้บำเหน็จบำนาญต้องรับใช้ทำงานราชการมายาวนาน และสภาพการเมืองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งในอดีตอาชีพการเมืองมีความไม่แน่นอนสูง แต่ในปัจจุบันมีความต่อเนื่องมากขึ้น ในปัจจุบันระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการการเมืองนั้นครอบคลุมเฉพาะผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร หรือข้าราชการการเมืองในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร เช่น เลขานุการประธานสภาฯ ซึ่งผมเคยคุยกับประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร ก็ยอมรับว่าเรื่องนี้ยังทบทวนได้ และฟังความคิดเห็นได้หลากหลายกว่านี้' นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ไม่อยากให้เรามองประเด็นนี้เป็นเพียงขาว หรือดำ คือบอกว่านักการเมืองทุกคนไม่ดี ไม่ควรได้ หรืออาชีพนักการเมืองไม่เหมาะสมกับการมีสวัสดิการ ขณะเดียวกันจะไปบอกว่าต้องมีบำเหน็จบำนาญเพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ก็ไม่ใช่ จึงคิดว่าเราต้องมาดูดีกว่าว่าเราต้องการแก้ปัญหาอะไร การมีหลักประกันสำหรับนักการเมืองที่รับใช้ประเทศชาติมายาวนานพอสมควร และได้รับการยอมรับ เพราะถ้าพูดกันจริงๆ นักการเมืองทุจริตไม่มีความต้องการตรงนี้เพราะเทียบไม่ได้เลยกับผลประโยชน์ที่เขาจะได้ แต่ต้องชัดเจนในแง่ของบทบาทนักการเมืองที่เป็นอาสาสมัครเข้ามา และน่าจะมีรูปแบบที่เหมาะสมกว่าที่เสนอในปัจจุบัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ส.ค. 2548--จบ--