การฉายรังสีอาหาร (Food Irradiation) เป็นกรรมวิธีแปรรูปอาหารและถนอมอาหารรูปแบบหนึ่งเพื่อให้อาหารมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น โดยการทำลายเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุให้อาหารเน่าเสียและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะมีการเปลี่ยนแปลงของรสชาติ เนื้ออาหาร(texture) ส่วนประกอบทางเคมี และคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาด (Dose) ของรังสีที่ใช้ ปัจจุบันกว่า 40 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งออสเตรเลีย นำกรรมวิธีการฉายรังสีมาใช้ถนอมอาหารประเภทต่าง ๆ อาทิ ข้าวสาลี ผัก ผลไม้ เครื่องเทศและสมุนไพร เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อปลา เป็นต้น
การฉายรังสีมีความเหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและวิจัยถึงผลดีและผลเสียอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก ปัจจุบันการฉายรังสีอาหารได้รับการรับรองจาก 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ World Health Organization (WHO), Food and Agricultural Organization of the United Nations (FAO) และ International Atomic Energy Agency (IAEA) ว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคหากดำเนินการอย่างถูกต้อง
ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ทุกประการ
สำหรับประเทศออสเตรเลีย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบและดูแลเรื่องการฉายรังสีอาหาร คือ Food Standards Australia New Zealand (FSANZ) โดยผู้ประกอบการที่ต้องการฉายรังสีอาหารต้องขอใบอนุญาตต่อ FSANZ ซึ่งจะดำเนินการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เสนอต่อคณะกรรมการ (FSANZ Board) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาออกใบอนุญาตฉายรังสีอาหาร ทั้งนี้ หลักเกณฑ์สำคัญที่ FSANZ Board ใช้ในการพิจารณาออกใบอนุญาตฉายรังสีอาหารมี 5 ประการ คือ
* อาหารนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
* คุณค่าทางโภชนาการของอาหารต้องไม่ลดลงมาก
* ผู้ประกอบการต้องไม่ใช้การฉายรังสีเพื่อทดแทนขั้นตอนการรักษาสุขอนามัย
* มีการติดฉลากให้ผู้บริโภคทราบว่าเป็นอาหารฉายรังสี
* มีขั้นตอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ
สำหรับขั้นตอนของการฉายรังสีอาหารนั้น FSANZ อนุญาตให้ใช้รังสีอิเล็กตรอน (electron beams) และรังสีเอ็กซ์ (x-rays) โดยจำกัดขนาดของรังสีไว้ไม่เกิน 1 กิโลเกร (kilogray) และกำหนดให้กระบวนการฉายรังสีต้องทำตามมาตรฐาน Good Manufacturing Practice (GMP) และ Irradiation Practice ทุกประการ สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดที่ผ่านการฉายรังสี รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมซึ่งผ่านการฉายรังสี ไม่ว่าส่วนผสมนั้นจะมีปริมาณการฉายรังสีมากน้อยเพียงใดก็ตาม จำเป็นต้องติดฉลากเพื่อระบุให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นได้ผ่านการฉายรังสีแล้ว
เป็นที่สังเกตว่า กรรมวิธีในการถนอมอาหารด้วยการฉายรังสีนั้น ไม่สามารถทำให้อาหารที่เน่าเสียแล้วหรืออาหารที่ผลิตอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ เปลี่ยนเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้ รวมทั้งไม่สามารถนำไปใช้ทดแทนขั้นตอนการผลิตอาหารให้ถูกสุขอนามัย หรือคงความสดใหม่ของอาหารไว้ได้ตลอดกาล
กล่าวคือ อาหารที่ผ่านการฉายรังสียังเน่าเสียได้หากมีการสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ แม้ว่ากรรมวิธีดังกล่าวไม่สามารถถนอมอาหารได้อย่างสมบูรณ์ แต่หากนำมาใช้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปในหลายประเทศ รวมทั้งออสเตรเลีย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการฉายรังสีอาหารอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์ในการส่งออกสินค้าอาหารฉายรังสีไปยังตลาดที่มีศักยภาพได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Food Standards Australia New Zealand
P O Box 7186
Canberra BC ACT 2610
Tel : 61 2 6271 2222
Website : www.foodstandards.gov.au
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140--6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-
การฉายรังสีมีความเหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและวิจัยถึงผลดีและผลเสียอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก ปัจจุบันการฉายรังสีอาหารได้รับการรับรองจาก 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ World Health Organization (WHO), Food and Agricultural Organization of the United Nations (FAO) และ International Atomic Energy Agency (IAEA) ว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคหากดำเนินการอย่างถูกต้อง
ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ทุกประการ
สำหรับประเทศออสเตรเลีย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบและดูแลเรื่องการฉายรังสีอาหาร คือ Food Standards Australia New Zealand (FSANZ) โดยผู้ประกอบการที่ต้องการฉายรังสีอาหารต้องขอใบอนุญาตต่อ FSANZ ซึ่งจะดำเนินการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เสนอต่อคณะกรรมการ (FSANZ Board) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาออกใบอนุญาตฉายรังสีอาหาร ทั้งนี้ หลักเกณฑ์สำคัญที่ FSANZ Board ใช้ในการพิจารณาออกใบอนุญาตฉายรังสีอาหารมี 5 ประการ คือ
* อาหารนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
* คุณค่าทางโภชนาการของอาหารต้องไม่ลดลงมาก
* ผู้ประกอบการต้องไม่ใช้การฉายรังสีเพื่อทดแทนขั้นตอนการรักษาสุขอนามัย
* มีการติดฉลากให้ผู้บริโภคทราบว่าเป็นอาหารฉายรังสี
* มีขั้นตอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ
สำหรับขั้นตอนของการฉายรังสีอาหารนั้น FSANZ อนุญาตให้ใช้รังสีอิเล็กตรอน (electron beams) และรังสีเอ็กซ์ (x-rays) โดยจำกัดขนาดของรังสีไว้ไม่เกิน 1 กิโลเกร (kilogray) และกำหนดให้กระบวนการฉายรังสีต้องทำตามมาตรฐาน Good Manufacturing Practice (GMP) และ Irradiation Practice ทุกประการ สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดที่ผ่านการฉายรังสี รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมซึ่งผ่านการฉายรังสี ไม่ว่าส่วนผสมนั้นจะมีปริมาณการฉายรังสีมากน้อยเพียงใดก็ตาม จำเป็นต้องติดฉลากเพื่อระบุให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นได้ผ่านการฉายรังสีแล้ว
เป็นที่สังเกตว่า กรรมวิธีในการถนอมอาหารด้วยการฉายรังสีนั้น ไม่สามารถทำให้อาหารที่เน่าเสียแล้วหรืออาหารที่ผลิตอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ เปลี่ยนเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้ รวมทั้งไม่สามารถนำไปใช้ทดแทนขั้นตอนการผลิตอาหารให้ถูกสุขอนามัย หรือคงความสดใหม่ของอาหารไว้ได้ตลอดกาล
กล่าวคือ อาหารที่ผ่านการฉายรังสียังเน่าเสียได้หากมีการสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ แม้ว่ากรรมวิธีดังกล่าวไม่สามารถถนอมอาหารได้อย่างสมบูรณ์ แต่หากนำมาใช้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปในหลายประเทศ รวมทั้งออสเตรเลีย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการฉายรังสีอาหารอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์ในการส่งออกสินค้าอาหารฉายรังสีไปยังตลาดที่มีศักยภาพได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Food Standards Australia New Zealand
P O Box 7186
Canberra BC ACT 2610
Tel : 61 2 6271 2222
Website : www.foodstandards.gov.au
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140--6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-