กรุงเทพ--31 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2541 เวลา 17.00 น. ได้มีพิธีลงนามระหว่างไทยกับไต้หวัน (The Separate Customs Teritory of Taiwan, Penghu, Kinmen and Matsu) ในเอกสารเกี่ยวกับผลการเจรจาทวิภาคี (ไทย-ไต้หวัน) ในเรื่องที่ไต้หวันจะเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยนายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ณ ไทเป เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และนาย Lin Yi-fu ผู้แทนไต้หวันในการเจรจาเพื่อเข้าเป็นภาคี WTO เป็นผู้ลงนามฝ่ายไต้หวัน การลงนามดังกล่าวเป็นผลจากการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยและไต้หวันในการรับไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยเป็นผู้เจรจารายละเอียดกับฝ่ายไต้หวัน
ขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
1. ไต้หวันเป็นหนึ่งในคู่ค้าที่สำคัญของไทยในปี 2540 ปริมาณการค้าระหว่างกันรวมมูลค่า 5,000 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งสินค้าออกไปไต้หวันเท่ากับ 1,926.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยไต้หวันเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 637.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ สินค้าหลักที่ไต้หวันนำเข้าจากไทยได้แก่ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประมวลผลข้อมูล ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ ยางพารา เครื่องหนัง กุ้งสด/แช่แข็ง และผลไม้ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากไต้หวันได้แก่ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรพิมพ์ เส้นใยสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเครื่องจักรสำหรับผลิต 2. ขณะนี้ WTO กำลังพิจารณาเรื่องการเข้าเป็นภาคีของไต้หวัน โดยได้ตั้งคณะทำงานว่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนไทเป (Working Party on the Accession of Chinese Taopei) ซึ่งจะประชุมครั้งต่อเดือนตุลาคม 2541 และไต้หวันกำลังเจรจากับประเทศภาคี WTO ซึ่งเป็นคู่ค้าของไต้หวันและมีความประสงค์จะเจรจาก่อนที่จะรับไต้หวันเข้าเป็นภาคี ทั้งนี้ไต้หวันได้บรรลุผลการเจรจากับประเทศคู่ค้ารายใหญ่ ๆ แล้วหลายประเทศ เช่น แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
อนึ่ง เป็นที่เข้าใจกันว่า ประเทศภาคี WTO ส่วนใหญ่เห็นพ้องที่จะให้รับไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO หลังจากจีนเข้าเป็นภาคีแล้ว
3. การลงนามระหว่างไทย-ไต้หวัน เพื่อการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวันในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าที่จะซื้อขายและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น หลังจากไต้หวันได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ไต้หวันจะลดภาษีสินค้านำเข้าจากไทย โดยเฉลี่ยร้อยละ 52 ซึ่งสินค้าสำคัญคือ ข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าว เนื้อไก่และไก่ชำแหละ ซึ่งขณะนี้ไต้หวันห้ามนำเข้าจากไทย นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรอีกด้วย ในการนี้ ไต้หวันจะยกเลิกการเก็บภาษีตามสภาพ (specific rate) ตามที่ไทยขอ รวมทั้งยังให้ไทยได้รับสิทธิการเป็นผู้เจรจารายแรก (Initial Negotiating Rights: INR) ในสินค้าประเภทต่าง ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์ามันสำปะหลัง อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ผักและผลไม้ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์เซรามิก เป็นต้น ส่วนในด้านมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีไต้หวันจะยอมเปิดตลาดสินค้าที่เคยห้ามนำเข้า โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบโควตาภาษีแทน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2541 เวลา 17.00 น. ได้มีพิธีลงนามระหว่างไทยกับไต้หวัน (The Separate Customs Teritory of Taiwan, Penghu, Kinmen and Matsu) ในเอกสารเกี่ยวกับผลการเจรจาทวิภาคี (ไทย-ไต้หวัน) ในเรื่องที่ไต้หวันจะเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยนายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ณ ไทเป เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และนาย Lin Yi-fu ผู้แทนไต้หวันในการเจรจาเพื่อเข้าเป็นภาคี WTO เป็นผู้ลงนามฝ่ายไต้หวัน การลงนามดังกล่าวเป็นผลจากการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยและไต้หวันในการรับไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยเป็นผู้เจรจารายละเอียดกับฝ่ายไต้หวัน
ขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
1. ไต้หวันเป็นหนึ่งในคู่ค้าที่สำคัญของไทยในปี 2540 ปริมาณการค้าระหว่างกันรวมมูลค่า 5,000 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งสินค้าออกไปไต้หวันเท่ากับ 1,926.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยไต้หวันเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 637.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ สินค้าหลักที่ไต้หวันนำเข้าจากไทยได้แก่ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประมวลผลข้อมูล ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ ยางพารา เครื่องหนัง กุ้งสด/แช่แข็ง และผลไม้ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากไต้หวันได้แก่ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรพิมพ์ เส้นใยสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเครื่องจักรสำหรับผลิต 2. ขณะนี้ WTO กำลังพิจารณาเรื่องการเข้าเป็นภาคีของไต้หวัน โดยได้ตั้งคณะทำงานว่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนไทเป (Working Party on the Accession of Chinese Taopei) ซึ่งจะประชุมครั้งต่อเดือนตุลาคม 2541 และไต้หวันกำลังเจรจากับประเทศภาคี WTO ซึ่งเป็นคู่ค้าของไต้หวันและมีความประสงค์จะเจรจาก่อนที่จะรับไต้หวันเข้าเป็นภาคี ทั้งนี้ไต้หวันได้บรรลุผลการเจรจากับประเทศคู่ค้ารายใหญ่ ๆ แล้วหลายประเทศ เช่น แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
อนึ่ง เป็นที่เข้าใจกันว่า ประเทศภาคี WTO ส่วนใหญ่เห็นพ้องที่จะให้รับไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก WTO หลังจากจีนเข้าเป็นภาคีแล้ว
3. การลงนามระหว่างไทย-ไต้หวัน เพื่อการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไต้หวันในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าที่จะซื้อขายและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น หลังจากไต้หวันได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ไต้หวันจะลดภาษีสินค้านำเข้าจากไทย โดยเฉลี่ยร้อยละ 52 ซึ่งสินค้าสำคัญคือ ข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าว เนื้อไก่และไก่ชำแหละ ซึ่งขณะนี้ไต้หวันห้ามนำเข้าจากไทย นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรอีกด้วย ในการนี้ ไต้หวันจะยกเลิกการเก็บภาษีตามสภาพ (specific rate) ตามที่ไทยขอ รวมทั้งยังให้ไทยได้รับสิทธิการเป็นผู้เจรจารายแรก (Initial Negotiating Rights: INR) ในสินค้าประเภทต่าง ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์ามันสำปะหลัง อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ผักและผลไม้ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์เซรามิก เป็นต้น ส่วนในด้านมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีไต้หวันจะยอมเปิดตลาดสินค้าที่เคยห้ามนำเข้า โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบโควตาภาษีแทน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--