สภาภาษีศุลกากรของญี่ปุ่น (The Customs Tariff Council) ได้มีการพิจารณาทบทวนการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ประเทศที่ได้รับสิทธิเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2540 โดยได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร เช่น วัตถุประสงค์ของการให้ GSP ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศ ของประเทศผู้ได้รับสิทธิ เป็นต้น และผลจากการพิจารณาทบทวนการตัดสิทธิพิเศษ ดังกล่าว ญี่ปุ่นได้กำหนดมาตรการในการตัดสิทธิ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศผู้ได้รับสิทธิไว้ 2 มาตรการ คือ
1. การระงับสิทธิบางรายการ หรือ Partial Graduation มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2541 โดยพิจารณาจากเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ประเทศที่ได้รับสิทธิใด ที่ระดับรายได้ประชาชาติต่อหัว ตามสถิติของธนาคารโลก ในปี 2538 สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ให้ถือว่าเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี (high income economy) และ
- รายการสินค้านั้นจะต้องมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นมากกว่า 25% ของมูลค่าการนำเข้าญี่ปุ่นทั้งหมดมากกว่าหนึ่งพันล้านเยน
2. การระงับสิทธิ GSP ทุกรายการ หรือ Full Graduation จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 โดยพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ประเทศที่ได้รับสิทธิใด มีรายได้ประชาชาติต่อหัว สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ตามรายงานของธนาคารโลก ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี (2538-2540) ถือว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดี (high income economy) จะถูกตัดสิทธิ GSP ทุกรายการ
- แต่หากมีรายได้ประชาชาติต่อหัว สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ไม่ต่อเนื่องกันจะได้รับการพิจารณาทบทวนการตัดสิทธิ GSP ใหม่ และประเทศที่ถูกเพิกถอนสิทธิ GSP ภายใต้มาตรการ Partal Graduation ตั้งแต่ 1 เมษายน 2541 ที่ผ่านมามีจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง ถูกเพิกถอนสิทธิ 2 รายการ เกาหลีใต้ ถูกเพิกถอนสิทธิ 76 รายการ สิงคโปร์ ถูกเพิกถอนสิทธิ 4 รายการ ได้หวัน ถูกเพิกถอนสิทธิ 34 รายการ นิวคาลิโตเนีย ถูกเพิกถอนสิทธิ 1 รายการ
อนึ่ง ภายใต้โครงการ GSP ของญี่ปุ่น ประเทศไทยไม่ถูกตัดสิทธิ GSP จากมาตการดังกล่าวแต่อย่างไร
ที่มา : กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 13/15 กรกฎาคม 2542--
1. การระงับสิทธิบางรายการ หรือ Partial Graduation มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2541 โดยพิจารณาจากเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ประเทศที่ได้รับสิทธิใด ที่ระดับรายได้ประชาชาติต่อหัว ตามสถิติของธนาคารโลก ในปี 2538 สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ให้ถือว่าเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี (high income economy) และ
- รายการสินค้านั้นจะต้องมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นมากกว่า 25% ของมูลค่าการนำเข้าญี่ปุ่นทั้งหมดมากกว่าหนึ่งพันล้านเยน
2. การระงับสิทธิ GSP ทุกรายการ หรือ Full Graduation จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 โดยพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ประเทศที่ได้รับสิทธิใด มีรายได้ประชาชาติต่อหัว สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ตามรายงานของธนาคารโลก ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี (2538-2540) ถือว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดี (high income economy) จะถูกตัดสิทธิ GSP ทุกรายการ
- แต่หากมีรายได้ประชาชาติต่อหัว สูงกว่า 9,386 เหรียญสหรัฐฯ ไม่ต่อเนื่องกันจะได้รับการพิจารณาทบทวนการตัดสิทธิ GSP ใหม่ และประเทศที่ถูกเพิกถอนสิทธิ GSP ภายใต้มาตรการ Partal Graduation ตั้งแต่ 1 เมษายน 2541 ที่ผ่านมามีจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง ถูกเพิกถอนสิทธิ 2 รายการ เกาหลีใต้ ถูกเพิกถอนสิทธิ 76 รายการ สิงคโปร์ ถูกเพิกถอนสิทธิ 4 รายการ ได้หวัน ถูกเพิกถอนสิทธิ 34 รายการ นิวคาลิโตเนีย ถูกเพิกถอนสิทธิ 1 รายการ
อนึ่ง ภายใต้โครงการ GSP ของญี่ปุ่น ประเทศไทยไม่ถูกตัดสิทธิ GSP จากมาตการดังกล่าวแต่อย่างไร
ที่มา : กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 13/15 กรกฎาคม 2542--