แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 7 - 11 ก.ย. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การ สะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 861.41 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 443.21 ตัน สัตว์น้ำจืด 418.20 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.68 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.12 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.83 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.93 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 20.93 ตัน
การตลาด
สหภาพยุโรปขอให้กรมประมงระงับการส่งออกสินค้ากุ้งที่ซื้อจากตลาดทะเลไทย
หลังจากที่สหภาพยุโรป(อียู)ประกาศให้ใช้มาตรการชั่วคราวในการลดภาษีนำเข้ากุ้งจากทุกประเทศ เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม — 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งมาตรการชั่วคราวดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับหลังจากสหภาพยุโรป ประกาศใช้อย่างเป็น ทางการในกลางเดือนกันยายนนี้ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2549 เมื่อถึงตอนนั้นกุ้งไทย ก็จะได้ รับสิทธิพิเศษทางอัตราภาษีศุลกากร (GSP) ไปโดยอัตโนมัติ โดยภาษีกุ้งแช่เย็นแช่แข็งลดเหลือ 4.2 % จากเดิม 12 % กุ้งปรุงแต่งเหลือ 7 % จากเดิม 20 % และไม่จำกัดปริมาณการนำเข้า
แม้ว่าสินค้ากุ้งของไทยส่งออกในขณะนี้จะได้รับการลดภาษีนำเข้าตามมาตรการชั่วคราวไปแล้ว ก็ตาม แต่สิ่งที่บริษัทผู้ส่งออกไทยจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งก็คือ เรื่องสารตกค้างคลอแรมฟินิคอล ไนโตร ฟูแรนส์ และปัญหาสุขอนามัยตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค ก่อนที่สหภาพยุโรปจะประกาศใช้มาตรการ ชั่วคราว ได้ไม่นาน คณะเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปได้เดินทางเข้ามาตรวจสอบฟาร์ม แพปลา และ โรงงาน ในระหว่างวันที่ 11 — 20 กรกฎาคม 2548 ผลการตรวจสอบพบว่า มีปัญหาระบบการควบคุม ตรวจสอบ สินค้าสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบสุขลักษณะที่ตลาดทะเลไทย จังหวัด สมุทรสาคร ซึ่งเป็นตลาดกลางซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำมีปัญหาไม่เป็นไปตามข้อกำหนด Council Directive 91/443/EEC ดังนั้น หน่วยงาน DG - SANCO ของสหภาพยุโรป จึงขอให้กรมประมง พิจารณาระงับการส่งออกสินค้ากุ้งที่มีการซื้อขายผ่านตลาดทะเลไทยไปขายยังตลาดสหภาพยุโรป จนกว่าจะมีการแก้ไขข้อบกพร่องให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ 91/493/ EEC ล่าสุดกรมประมงได้ พิจารณา คำขอของ DG - SANCO มีความเห็นอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประเทศสามารถคง ภาพลักษณ์ ด้านการผลิตสินค้าสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป กรมประมงจึงเห็นควรให้ระงับการซื้อกุ้งจากตลาดทะเลไทย เพื่อผลิตสินค้าสำหรับการส่งออกไป ตลาด สหภาพยุโรปเป็นการชั่วคราว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548 เป็นต้นมา โดยกรมประมงจะ ตรวจสอบเอกสารรับรองการเคลื่อนย้ายที่แนบสำหรับการขอรับใบรับรอง ของบริษัทผู้ส่งออก ทุกราย ที่ส่งสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ไปตลาดสหภาพยุโรป
ด้านนางอำไพ หาญไกรวิไลย์ รองประธานตลาดทะเลไทยและเลขาธิการสมาคมอาหาร แช่เยือกแข็ง ไทยกล่าวว่า ทางสหภาพยุโรปได้ตำหนิเรื่องสุขลักษณะของตลาดทะเลไทยประมาณ 10 ข้อ เช่น พบ สุนัขเดินอยู่ในตลาด ตะกร้าใส่กุ้งวางเรียงกันไว้ที่พื้น พบจานข้าวไม่ได้ล้าง หรือห้องน้ำไม่สะอาด ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารและสุขลักษณะ เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ในตลาดทะเลไทยเป็น ชาวพม่า ขณะนี้ทางตลาดทะเลไทยได้ลงทุนปรับปรุงเรื่องการวางตะกร้าใส่กุ้งไม่ให้อยู่กับ พื้นในเบื้อง ไปแล้ว โดยทำเป็นรางยกสูงจากพื้นขึ้นมาคล้ายกับระบบในห้องเย็น การปรับปรุงทั้งหมดคาดว่าจะแล้ว เสร็จ ในเดือนกันยายนนี้ ปกติการส่งออกสินค้ากุ้งไปตลาดสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะซื้อตรง จากฟาร์มมากกว่าที่จะซื้อผ่านตลาดทะเลไทย เพราะสหภาพยุโรปต้องการกุ้งสดทั้งตัวแช่แข็ง ขณะที่กุ้ง จากฟาร์มกว่าจะส่งมาขายที่ตลาดทะเลไทยต้องใช้เวลามากกว่าการซื้อตรงจากฟาร์ม ดังนั้น ผู้ที่จะมาซื้อ กุ้งจากตลาดทะเลไทย ส่วนใหญ่จะเป็นกุ้งที่นำไปแกะและหักหัว เพื่อส่งไปขายประเทศอื่นนอกเหนือจาก สหภาพยุโรป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.32 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.00 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 16.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 154.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 142.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 142.55 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.30 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 157.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2. 5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.15 บาท ทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.27 บาท
2. 6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัม ละ 121.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2. 7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.43 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 4.49 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวันที่ 19 - 23 ก.ย. 2548 ) เฉลี่ย กิโลกรัมละ 20.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.96 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 19-25 กันยายน 2548--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 7 - 11 ก.ย. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การ สะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 861.41 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 443.21 ตัน สัตว์น้ำจืด 418.20 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.68 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.12 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.83 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.93 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 20.93 ตัน
การตลาด
สหภาพยุโรปขอให้กรมประมงระงับการส่งออกสินค้ากุ้งที่ซื้อจากตลาดทะเลไทย
หลังจากที่สหภาพยุโรป(อียู)ประกาศให้ใช้มาตรการชั่วคราวในการลดภาษีนำเข้ากุ้งจากทุกประเทศ เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม — 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งมาตรการชั่วคราวดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับหลังจากสหภาพยุโรป ประกาศใช้อย่างเป็น ทางการในกลางเดือนกันยายนนี้ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2549 เมื่อถึงตอนนั้นกุ้งไทย ก็จะได้ รับสิทธิพิเศษทางอัตราภาษีศุลกากร (GSP) ไปโดยอัตโนมัติ โดยภาษีกุ้งแช่เย็นแช่แข็งลดเหลือ 4.2 % จากเดิม 12 % กุ้งปรุงแต่งเหลือ 7 % จากเดิม 20 % และไม่จำกัดปริมาณการนำเข้า
แม้ว่าสินค้ากุ้งของไทยส่งออกในขณะนี้จะได้รับการลดภาษีนำเข้าตามมาตรการชั่วคราวไปแล้ว ก็ตาม แต่สิ่งที่บริษัทผู้ส่งออกไทยจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งก็คือ เรื่องสารตกค้างคลอแรมฟินิคอล ไนโตร ฟูแรนส์ และปัญหาสุขอนามัยตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค ก่อนที่สหภาพยุโรปจะประกาศใช้มาตรการ ชั่วคราว ได้ไม่นาน คณะเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปได้เดินทางเข้ามาตรวจสอบฟาร์ม แพปลา และ โรงงาน ในระหว่างวันที่ 11 — 20 กรกฎาคม 2548 ผลการตรวจสอบพบว่า มีปัญหาระบบการควบคุม ตรวจสอบ สินค้าสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบสุขลักษณะที่ตลาดทะเลไทย จังหวัด สมุทรสาคร ซึ่งเป็นตลาดกลางซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำมีปัญหาไม่เป็นไปตามข้อกำหนด Council Directive 91/443/EEC ดังนั้น หน่วยงาน DG - SANCO ของสหภาพยุโรป จึงขอให้กรมประมง พิจารณาระงับการส่งออกสินค้ากุ้งที่มีการซื้อขายผ่านตลาดทะเลไทยไปขายยังตลาดสหภาพยุโรป จนกว่าจะมีการแก้ไขข้อบกพร่องให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ 91/493/ EEC ล่าสุดกรมประมงได้ พิจารณา คำขอของ DG - SANCO มีความเห็นอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประเทศสามารถคง ภาพลักษณ์ ด้านการผลิตสินค้าสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป กรมประมงจึงเห็นควรให้ระงับการซื้อกุ้งจากตลาดทะเลไทย เพื่อผลิตสินค้าสำหรับการส่งออกไป ตลาด สหภาพยุโรปเป็นการชั่วคราว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548 เป็นต้นมา โดยกรมประมงจะ ตรวจสอบเอกสารรับรองการเคลื่อนย้ายที่แนบสำหรับการขอรับใบรับรอง ของบริษัทผู้ส่งออก ทุกราย ที่ส่งสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ไปตลาดสหภาพยุโรป
ด้านนางอำไพ หาญไกรวิไลย์ รองประธานตลาดทะเลไทยและเลขาธิการสมาคมอาหาร แช่เยือกแข็ง ไทยกล่าวว่า ทางสหภาพยุโรปได้ตำหนิเรื่องสุขลักษณะของตลาดทะเลไทยประมาณ 10 ข้อ เช่น พบ สุนัขเดินอยู่ในตลาด ตะกร้าใส่กุ้งวางเรียงกันไว้ที่พื้น พบจานข้าวไม่ได้ล้าง หรือห้องน้ำไม่สะอาด ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารและสุขลักษณะ เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ในตลาดทะเลไทยเป็น ชาวพม่า ขณะนี้ทางตลาดทะเลไทยได้ลงทุนปรับปรุงเรื่องการวางตะกร้าใส่กุ้งไม่ให้อยู่กับ พื้นในเบื้อง ไปแล้ว โดยทำเป็นรางยกสูงจากพื้นขึ้นมาคล้ายกับระบบในห้องเย็น การปรับปรุงทั้งหมดคาดว่าจะแล้ว เสร็จ ในเดือนกันยายนนี้ ปกติการส่งออกสินค้ากุ้งไปตลาดสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะซื้อตรง จากฟาร์มมากกว่าที่จะซื้อผ่านตลาดทะเลไทย เพราะสหภาพยุโรปต้องการกุ้งสดทั้งตัวแช่แข็ง ขณะที่กุ้ง จากฟาร์มกว่าจะส่งมาขายที่ตลาดทะเลไทยต้องใช้เวลามากกว่าการซื้อตรงจากฟาร์ม ดังนั้น ผู้ที่จะมาซื้อ กุ้งจากตลาดทะเลไทย ส่วนใหญ่จะเป็นกุ้งที่นำไปแกะและหักหัว เพื่อส่งไปขายประเทศอื่นนอกเหนือจาก สหภาพยุโรป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.32 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.00 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 16.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 154.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 142.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 142.55 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.30 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 157.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2. 5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.15 บาท ทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.27 บาท
2. 6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัม ละ 121.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2. 7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.43 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 4.49 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวันที่ 19 - 23 ก.ย. 2548 ) เฉลี่ย กิโลกรัมละ 20.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.96 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 19-25 กันยายน 2548--
-พห-