1. บทนำ
ในช่วงระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยได้มีการขยายตัวเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการผลิตและการส่งออก จนกระทั่งกลายเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการ ส่งออก ติดอันดับ 1 ใน 10 ของรายการสินค้าส่งออกของไทย ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตจากต่างประเทศได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น การที่ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความได้เปรียบทั้งในด้านวัตถุดิบ คือไม้ประเภทต่าง ๆ และแรงงานที่มีฝีมือประณีต อีกทั้งรัฐยังได้ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในด้านการลงทุน จึงทำให้สินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยได้รับการพัฒนาตั้งแต่เริ่มขบวนการผลิตไปจนกระทั่งส่งออก ทำให้เฟอร์นิเจอร์ไทยมีคุณภาพและเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในต่างประเทศ
ต่อมาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทย เริ่มมีปัญหาในด้านการผลิต โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนไม้เนื้อแข็งประเภทต่าง ๆ เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายปิดป่า ตั้งแต่ต้นปี 2532 เป็นต้นมา นอกจากนี้คู่แข่งขันที่สำคัญของไทยเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน และ ฟิลิปปินส์ สามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้ในราคาที่ต่ำกว่าไทยมาก จึงทำให้การส่งออกของไทย เริ่มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในตลาดสำคัญ ๆ เป็นผลให้การส่งออกเริ่มชะลอตัวลง ตั้งแต่ปี 2534 เป็น ต้นมา
2. การผลิต
การผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทย เริ่มจากการผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมครัวเรือนจำหน่าย และใช้ภายในประเทศ ต่อมาได้พัฒนาไปสู่การผลิตในโรงงานตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งเป็นการผลิตที่มีผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศและได้รับการส่งเสริมการลงุทนด้วย
2.1 ผู้ผลิต
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนทั้งประเทศรวมทั้งหมดประมาณ 2,458 ราย เป็นผู้ผลิตรายย่อยประมาณ 1,446 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.9 ของผู้ผลิตทั้งหมด รองลงมาเป็นโรงงานขนาดเล็ก 728 ราย หรือร้อยละ 29.6 โรงงานขนาดกลาง 257 ราย หรือร้อยละ 10.4 และโรงงานขนาดใหญ่ 27 ราย หรือร้อยละ 1.1 ผู้ผลิตที่มีศักยภาพในการส่งออก จะเป็นโรงงานขนาดใหญ่และขนาดกลาง คิดเป็นร้อยละ 11.5 ของผู้ผลิตทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
2.2 ประเภทเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิต
ผู้ผลิตดังกล่าวผลิตเฟอร์นิเจอร์หลายประเภทที่สำคัญ ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้ คิดเป็นร้อยละ 77.5 ของผู้ผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ เฟอร์นิเจอร์โลหะ ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ เฟอร์นิเจอร์หนัง เฟอร์นิเจอร์หวาย และเฟอร์นิเจอร์พลาสติก คิดเป็นร้อยละ 11.8, 6.9, 1.9, 1.1 และ 0.8 ตามลำดับ โดยในปัจจุบันอุปทานของสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศมีประมาณ 7.91 ล้านชุด รวมด้วย 122.85 ล้านชิ้น, 0.66 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 1.46 ล้านตารางเมตร ถือได้ว่าไทยมีศักยภาพที่สูงในการผลิตเพื่อส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไปยังตลาดโลก
3. การส่งออก
การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากมูลค่า 11,473.2 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 17,383.9 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11.3 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 17,404.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ทั้งนี้อัตราการขยายตัวของการส่งออกเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา โดยเฉพาะในปี 2539 อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นน้อยมากเพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น ทั้งนี้เพราะไทยประสบปัญหาด้านวัตถุดิบในการผลิต โดยเฉพาะไม้ที่เริ่มขาดแคลนและมีราคาสูง ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งขันที่ผลิตได้ในราคาที่ต่ำกว่าไทย ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์ไทยจึงสูญเสียตลาดสำคัญให้แก่คู่แข่งขัน เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
3.1 ประเภทเฟอร์นิเจอร์ที่ส่งออก
3.1.1 เฟอร์นิเจอร์ไม้ การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ของไทยส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา และทำจากแผ่นไม้ เช่น Particle Board และ MDF Board รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์หนังด้วย เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา จะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในต่างประเทศ เนื่องจากมีสีขาวนวล และมีลวดลายสวยงามรวมทั้งสามารถย้อมสีและตกแต่งให้สวยงามได้เหมือนไม้ โดยการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 70.4 ของการส่งออกในปี 2539 การส่งออกได้เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องจาก 7.452.6 ล้านบาทในปี 2535 เป็นมูลค่า 12,109.7 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13.7 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 12,256.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับปี 2538
3.1.2 เฟอร์นิเจอร์โลหะ มีสัดส่วนการส่งออกรองจากเฟอร์นิเจอร์ไม้ คือร้อยละ 14.20 ของการส่งออกในปี 2539 และเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มที่ดีในการส่งออก โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่า 1,371.4 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 2,168.0 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.9 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 2,462.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะไทยยังมีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์โลหะที่ผลิตจากเหล็กแผ่นไทยจะมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะขยายตลาดได้อีกมากในอนาคต
3.1.3 เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ในที่นี้จะรวมถึงการส่งออกเฟอร์นิเจอร์พลาสติก เฟอร์นิเจอร์หวาย กก ไม้ไผ่ และอื่น ๆ มีสัดส่วนการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 3.10 ของการส่งออกในปี 2539 มูลค่าของการส่งออกของเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สม่ำเสมอนัก จากมูลค่าการส่งออก 608.7 ล้านบาท ในปี 2535 ลดลงเป็น 574.9 ล้านบาท ในปี 2538 โดยที่ในช่วงปี 2536-2537 การส่งออกมีอัตราการขยายตัวมากขึ้น ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 533.4 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะหวาย และราคาเม็ดพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวลงมาก นอกจากนี้ยังประสบปัญหาการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะคู่แข่งขันที่มักจะขายตัดราคา ทำให้ไทยสูญเสียตลาดมาก
3.1.4 ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ เป็นสินค้าที่มีลู่ทางที่ดีในการส่งออก โดยที่สัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 12.40 ของการส่งออกในปี 2539 ในช่วงระยะ 4-5 ปี ที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจาก 2,040.5 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 2,531.3 ล้านบาท ในปี 2538 และในปี2539 การส่งออกมีมูลค่า 2,152 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ของไทยเป็นการรับจ้างผลิต ดังนั้นจึงต้องแข่งขันกันสูงในด้านคุณภาพและราคาที่ต้องแข่งขันได้ด้วย ซึ่งไทยผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าคู่แข่งขัน จึงทำให้การส่งออกชะลอตัวลงมาก
4. ตลาดส่งออกที่สำคัญ
4.1 ญี่ปุ่น เป็นตลาดหลักที่สำคัญที่สุดในการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 47.5 ของการส่งออกในปี 2539 ตลาดญี่ปุ่นจะมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากมูลค่า 4,928.4 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 8,980.5 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 9,183.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปี 2538 จะเห็นได้ว่าการส่งออกในตลาดนี้จะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เพราะไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขัน โดยเฉพาะมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน สามารถผลิตได้ในราคาต้นทุนต่ำกว่าไทย
4.2 สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดสำคัญรองลงมา โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.6 ของการส่งออกในปี 2539 ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจาก 2,965.7 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 3,687.3 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.3 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 3,587.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปี 2538 โดยที่มีการส่งออกเริ่มมีการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ทั้งนี้เพราะตลาดสหรัฐฯ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะด้านราคาของสินค้าในระดับกลางและระดับล่าง อีกทั้งการพัฒนารูปแบบสินค้าของไทยยังมีน้อย ทำให้ไทยต้องสูญเสียตลาดนี้ให้คู่แข่งขันมาก
4.3 สหภาพยุโรป เป็นตลาดสำคัญเช่นกัน มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.5 ของการ ส่งออกในปี 2539 โดยที่ตลาดสำคัญได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และเบลเยี่ยม ตลาดนี้จะมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 2,138.9 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 2,426.4 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.2 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออก มีมูลค่า 2,415 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของบางประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่งจะเริ่มพื้นตัว จึงทำให้ความต้องการสินค้าลดลง นอกจากนี้ตลาดนี้เริ่มมีคู่แข่งขันเข้าไปขยายตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในระดับกลางและระดับสูง
4.4 เกาหลีใต้ เป็นตลาดที่มีแนวโน้มที่ดี โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 1.9 ของการ ส่งออกในปี 2539 ตลาดนี้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 33.4 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 323.3 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 360.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับปี 2538 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปเกาหลีใต้ เริ่มมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้เพราะการแข่งขันเริ่มมีมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าจากมาเลเซีย
4.5 สิงคโปร์ เป็นตลาดในภูมิภาคเอเชียที่สำคัญ มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 0.9 ของการส่งออกในปี 2539 โดยมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดนี้ได้เพิ่มขึ้นจาก 121.9 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 192.3 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 183.4 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.6 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาของทั่วโลกทำให้ความต้องการของผู้ซื้อลดลง
5. แนวโน้มการส่งออก
ในปี 2540 คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับปี 2539 หรือมีมูลค่า 18,205.5 ทั้งนี้เพราะคาดว่าตลาดโลกจะมีภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นจากปี 2539 ในขณะที่การแข่งขันจะยังคงมีสูง โดยเฉพาะคู่แข่งขันของไทย ส่วนสินค้าที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดีในการส่งออก คือ เฟอร์นิเจอร์โลหะ เพราะไทยผลิตได้อย่างมีคุณภาพมาตราฐานมากกว่าคู่แข่งขัน
6. ปัญหาและอุปสรรค
6.1 ด้านการผลิต
6.1.1 ขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็งและวัตถุดิบต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่นไม้เนื้อแข็ง พลาสติก เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
6.1.2 ขาดแคลนแรงงานทั้งที่มีฝีมือและไม่มีฝีมือรวมทั้งค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
6.1.3 กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการผลิตของรัฐไม่เอื้ออำนวย เช่น การนำเข้าเลื่อยโซ่ หรือเลื่อยยนต์ต้องขออนุญาตนำเข้าทุกครั้ง การตัดไม้เพื่อใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้องแสดงหลักฐานว่าตัดไม้จากแหล่งใด นอกจากนี้ไม้ที่นำเข้ามาผลิตต้องเสียภาษีนำเข้าสูงจากการประเมินภาษีของศุลกากรที่ไม่แน่นอนทำให้ต้องใช้เวลาและขั้นตอนมาก
6.1.4 การคืนภาษีของรัฐทำได้ล่าช้า โดยเฉพาะการคืนภาษีตามมาตรา 19 ทวิ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตโดยตรง
6.2 ด้านการตลาด
6.2.1 การแข่งขันของตลาดเฟอร์นิเจอร์ในต่างประเทศมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันในด้านราคาที่ไทยผลิตได้สูงกว่าคู่แข่งขันอีกทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วย
6.2.2 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้นำเข้าต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธการสั่งซื้อโดยไม่สั่งซื้อสินค้า เพื่อเก็บไว้ในสต็อกมากเหมือนเดิม เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ผลิต/ส่งออกไทยต้องปรับกลยุทธ์การตลาดและการส่งมอบสินค้าตามกำหนดเวลาให้ทัน
6.2.3 ปัจจุบันการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะการนำข้ออ้างเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมจากการตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการควบคุมภาพตามมาตรฐาน ISO 14000 มาใช้บังคับ ทำให้การส่งออกของไทยเกิดปัญหาและอุปสรรคมากขึ้น
6.2.4 ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยยังขาดศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ ทำให้การประชาสัมพันธ์สินค้าไทยยังไม่เป็นที่รู้จักดีของผู้ซื้อในต่างประเทศ
6.2.5 ผู้ผลิต/ผู้ส่งออก ยังขาดข้อมูลข่าวสารการตลาดและวิธีการเจาะตลาดโดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ
7. ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข
7.1 ด้านการผลิต
7.1.1 ควรจัดตั้งสถาบันหรือโรงเรียนฝึกอบรมในการประกอบการผลิต การออกแบบเฟอร์นิเจอร์โดยตรง รวมทั้งการเพิ่มทักษะของแรงงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตของไทย
7.1.2 ควรมีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพ วิจัยและพัฒนาไม้ยางพารา วัตถุดิบอื่น ๆ รูปแบบสินค้า ขบวนการผลิต เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้คุณภาพมาตราฐานของสินค้าเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศมากขึ้น
7.1.3 ผู้ผลิต/ผู้ส่งออก ควรมีการรวมกลุ่มกัน ทั้งในด้านการนำเข้าวัตถุดิบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยีในการผลิต การออกแบบและการตลาด รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
7.1.4 ควรปรับเปลี่ยนกฎระเบียบและนโยบายของรัฐให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่นการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องการนำเข้าเลื่อยยนต์ที่นำเข้ามาผลิตเฟอร์นิเจอร์ การปรับปรุงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้าตามมาตร 19ทวิ เป็นต้น
7.2 ด้านการตลาด
7.2.1 ควรจัดทำข้อมูลทางด้านการตลาดที่ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ส่งออกโดยเฉพาะตลาดที่มีศักยภาพใหม่ๆ รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นที่นิยมในต่างประเทศ และรายชื่อ ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าในต่างประเทศ
7.2.2 ควรจัดกิจกรรมด้านส่งเสริมการขายในรูปของโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดหลักๆ ที่สำคัญของไทย
7.2.3 ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านการตลาดของผู้ผลิต/ผู้ส่งออกควรกระจายไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึง
7.2.4 การจัดตั้งศูนย์แสดงสินค้านานาชาติควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทัดเทียมกับต่างประเทศโดยเฉพาะคู่แข่งขันในภูมิภาคเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเชีย เป็นต้น
8. กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก
ในปี 2540 กรมส่งเสริมการส่งออกมีแผนงานส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ดังนี้
8.1 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศ คือ งาน Thailand International Furniture Fair 97 ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2540
8.2 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่
- Int l Furniture Fair,Cologne,Germany ระหว่างวันที่ 13-19 มกราคม 2540
- Int l Furniture Fair,Singapore ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2540
- Int l Home Furnishings Market ณ เมือง High Point ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 10-17 เมษายน 2540 และระหว่างวันที่16-24 ตุลาคม 2540
- Index,Dubai,U.A.E. ระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2540
- Int l Furniture Fair,Tokyo,Japan ระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2540
8.3 การจัด Information Stand เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าไทย ในงานแสดงสินค้าใหม่ ๆ ที่กรมฯ ยังไม่เคยเข้าร่วมงาน ได้แก่
- งาน Australian Furniture Exhibition, Sydney, Australia ระหว่างวันที่ 22 25 พฤษภาคม 2540
- งาน Meble 97, Poznan, Poland ระหว่างวันที่ 19 - 23 กันยายน 2540
8.4 การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนประเทศไทย ที่สำคัญคือ คณะผู้แทนการค้าจากต่างประเทศมาชมงาน Thailand Int l Furniture Fair ระหว่างวันที่ 17 - 19 เมษายน 2540
8.5 การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
- โครงการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าเฟอร์นิเจอร์โดยจัดทำ Supplement / สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
- โครงการประชาสัมพันธ์งาน Bangkok Furniture Fair
- โครงการเชิญผู้สื่อข่าวทั้งในและต่างประเทศ และนักธุรกิจจากภูมิภาคมาเยี่ยมชมงานในส่วนกลาง
8.6 การพัฒนาการส่งออก
- โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ผลิต และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราในภาคใต้ เพื่อการส่งออก โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก APC Project เป็นผู้มาสำรวจศึกษาศักยภาพ
- ศึกษาข้อมูลการตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป และ สหรัฐอเมิรกา
- โครงการวิจัยตลาดเฟอร์นิเจอร์ในตลาดนิวซีแลนด์
- โครงการจัดจ้าง Marketing Executive สินค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ในประเทศญี่ปุ่น
- การจัดสัมมนาผลการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญสินค้าเฟอร์นิเจอร์นสหรัฐอเมิรกา
- การจัดสัมมนาตลาดเฟอร์นิเจอร์ในนิวซีแลนด์--จบ
โดย รังค์สิมา มโนปัญจสิริ
กองข้อมูลการค้า
กรมส่งเสริมการส่งออก
มีนาคม 2540
ในช่วงระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยได้มีการขยายตัวเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการผลิตและการส่งออก จนกระทั่งกลายเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการ ส่งออก ติดอันดับ 1 ใน 10 ของรายการสินค้าส่งออกของไทย ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตจากต่างประเทศได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น การที่ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความได้เปรียบทั้งในด้านวัตถุดิบ คือไม้ประเภทต่าง ๆ และแรงงานที่มีฝีมือประณีต อีกทั้งรัฐยังได้ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในด้านการลงทุน จึงทำให้สินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยได้รับการพัฒนาตั้งแต่เริ่มขบวนการผลิตไปจนกระทั่งส่งออก ทำให้เฟอร์นิเจอร์ไทยมีคุณภาพและเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในต่างประเทศ
ต่อมาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทย เริ่มมีปัญหาในด้านการผลิต โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนไม้เนื้อแข็งประเภทต่าง ๆ เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายปิดป่า ตั้งแต่ต้นปี 2532 เป็นต้นมา นอกจากนี้คู่แข่งขันที่สำคัญของไทยเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน และ ฟิลิปปินส์ สามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้ในราคาที่ต่ำกว่าไทยมาก จึงทำให้การส่งออกของไทย เริ่มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในตลาดสำคัญ ๆ เป็นผลให้การส่งออกเริ่มชะลอตัวลง ตั้งแต่ปี 2534 เป็น ต้นมา
2. การผลิต
การผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทย เริ่มจากการผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมครัวเรือนจำหน่าย และใช้ภายในประเทศ ต่อมาได้พัฒนาไปสู่การผลิตในโรงงานตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งเป็นการผลิตที่มีผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศและได้รับการส่งเสริมการลงุทนด้วย
2.1 ผู้ผลิต
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนทั้งประเทศรวมทั้งหมดประมาณ 2,458 ราย เป็นผู้ผลิตรายย่อยประมาณ 1,446 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.9 ของผู้ผลิตทั้งหมด รองลงมาเป็นโรงงานขนาดเล็ก 728 ราย หรือร้อยละ 29.6 โรงงานขนาดกลาง 257 ราย หรือร้อยละ 10.4 และโรงงานขนาดใหญ่ 27 ราย หรือร้อยละ 1.1 ผู้ผลิตที่มีศักยภาพในการส่งออก จะเป็นโรงงานขนาดใหญ่และขนาดกลาง คิดเป็นร้อยละ 11.5 ของผู้ผลิตทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
2.2 ประเภทเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิต
ผู้ผลิตดังกล่าวผลิตเฟอร์นิเจอร์หลายประเภทที่สำคัญ ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้ คิดเป็นร้อยละ 77.5 ของผู้ผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ เฟอร์นิเจอร์โลหะ ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ เฟอร์นิเจอร์หนัง เฟอร์นิเจอร์หวาย และเฟอร์นิเจอร์พลาสติก คิดเป็นร้อยละ 11.8, 6.9, 1.9, 1.1 และ 0.8 ตามลำดับ โดยในปัจจุบันอุปทานของสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศมีประมาณ 7.91 ล้านชุด รวมด้วย 122.85 ล้านชิ้น, 0.66 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 1.46 ล้านตารางเมตร ถือได้ว่าไทยมีศักยภาพที่สูงในการผลิตเพื่อส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไปยังตลาดโลก
3. การส่งออก
การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากมูลค่า 11,473.2 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 17,383.9 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11.3 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 17,404.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ทั้งนี้อัตราการขยายตัวของการส่งออกเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา โดยเฉพาะในปี 2539 อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นน้อยมากเพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น ทั้งนี้เพราะไทยประสบปัญหาด้านวัตถุดิบในการผลิต โดยเฉพาะไม้ที่เริ่มขาดแคลนและมีราคาสูง ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งขันที่ผลิตได้ในราคาที่ต่ำกว่าไทย ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์ไทยจึงสูญเสียตลาดสำคัญให้แก่คู่แข่งขัน เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
3.1 ประเภทเฟอร์นิเจอร์ที่ส่งออก
3.1.1 เฟอร์นิเจอร์ไม้ การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ของไทยส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา และทำจากแผ่นไม้ เช่น Particle Board และ MDF Board รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์หนังด้วย เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา จะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในต่างประเทศ เนื่องจากมีสีขาวนวล และมีลวดลายสวยงามรวมทั้งสามารถย้อมสีและตกแต่งให้สวยงามได้เหมือนไม้ โดยการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 70.4 ของการส่งออกในปี 2539 การส่งออกได้เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องจาก 7.452.6 ล้านบาทในปี 2535 เป็นมูลค่า 12,109.7 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13.7 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 12,256.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับปี 2538
3.1.2 เฟอร์นิเจอร์โลหะ มีสัดส่วนการส่งออกรองจากเฟอร์นิเจอร์ไม้ คือร้อยละ 14.20 ของการส่งออกในปี 2539 และเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มที่ดีในการส่งออก โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่า 1,371.4 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 2,168.0 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.9 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 2,462.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะไทยยังมีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์โลหะที่ผลิตจากเหล็กแผ่นไทยจะมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะขยายตลาดได้อีกมากในอนาคต
3.1.3 เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ในที่นี้จะรวมถึงการส่งออกเฟอร์นิเจอร์พลาสติก เฟอร์นิเจอร์หวาย กก ไม้ไผ่ และอื่น ๆ มีสัดส่วนการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 3.10 ของการส่งออกในปี 2539 มูลค่าของการส่งออกของเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สม่ำเสมอนัก จากมูลค่าการส่งออก 608.7 ล้านบาท ในปี 2535 ลดลงเป็น 574.9 ล้านบาท ในปี 2538 โดยที่ในช่วงปี 2536-2537 การส่งออกมีอัตราการขยายตัวมากขึ้น ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 533.4 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะหวาย และราคาเม็ดพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวลงมาก นอกจากนี้ยังประสบปัญหาการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะคู่แข่งขันที่มักจะขายตัดราคา ทำให้ไทยสูญเสียตลาดมาก
3.1.4 ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ เป็นสินค้าที่มีลู่ทางที่ดีในการส่งออก โดยที่สัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 12.40 ของการส่งออกในปี 2539 ในช่วงระยะ 4-5 ปี ที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจาก 2,040.5 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 2,531.3 ล้านบาท ในปี 2538 และในปี2539 การส่งออกมีมูลค่า 2,152 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ของไทยเป็นการรับจ้างผลิต ดังนั้นจึงต้องแข่งขันกันสูงในด้านคุณภาพและราคาที่ต้องแข่งขันได้ด้วย ซึ่งไทยผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าคู่แข่งขัน จึงทำให้การส่งออกชะลอตัวลงมาก
4. ตลาดส่งออกที่สำคัญ
4.1 ญี่ปุ่น เป็นตลาดหลักที่สำคัญที่สุดในการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 47.5 ของการส่งออกในปี 2539 ตลาดญี่ปุ่นจะมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากมูลค่า 4,928.4 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 8,980.5 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 9,183.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปี 2538 จะเห็นได้ว่าการส่งออกในตลาดนี้จะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เพราะไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขัน โดยเฉพาะมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน สามารถผลิตได้ในราคาต้นทุนต่ำกว่าไทย
4.2 สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดสำคัญรองลงมา โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.6 ของการส่งออกในปี 2539 ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจาก 2,965.7 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 3,687.3 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.3 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 3,587.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปี 2538 โดยที่มีการส่งออกเริ่มมีการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ทั้งนี้เพราะตลาดสหรัฐฯ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะด้านราคาของสินค้าในระดับกลางและระดับล่าง อีกทั้งการพัฒนารูปแบบสินค้าของไทยยังมีน้อย ทำให้ไทยต้องสูญเสียตลาดนี้ให้คู่แข่งขันมาก
4.3 สหภาพยุโรป เป็นตลาดสำคัญเช่นกัน มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.5 ของการ ส่งออกในปี 2539 โดยที่ตลาดสำคัญได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และเบลเยี่ยม ตลาดนี้จะมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 2,138.9 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 2,426.4 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.2 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออก มีมูลค่า 2,415 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของบางประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่งจะเริ่มพื้นตัว จึงทำให้ความต้องการสินค้าลดลง นอกจากนี้ตลาดนี้เริ่มมีคู่แข่งขันเข้าไปขยายตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในระดับกลางและระดับสูง
4.4 เกาหลีใต้ เป็นตลาดที่มีแนวโน้มที่ดี โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 1.9 ของการ ส่งออกในปี 2539 ตลาดนี้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 33.4 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 323.3 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 360.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับปี 2538 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปเกาหลีใต้ เริ่มมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้เพราะการแข่งขันเริ่มมีมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าจากมาเลเซีย
4.5 สิงคโปร์ เป็นตลาดในภูมิภาคเอเชียที่สำคัญ มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 0.9 ของการส่งออกในปี 2539 โดยมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดนี้ได้เพิ่มขึ้นจาก 121.9 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 192.3 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13 ต่อปี ในปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 183.4 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.6 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาของทั่วโลกทำให้ความต้องการของผู้ซื้อลดลง
5. แนวโน้มการส่งออก
ในปี 2540 คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับปี 2539 หรือมีมูลค่า 18,205.5 ทั้งนี้เพราะคาดว่าตลาดโลกจะมีภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นจากปี 2539 ในขณะที่การแข่งขันจะยังคงมีสูง โดยเฉพาะคู่แข่งขันของไทย ส่วนสินค้าที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดีในการส่งออก คือ เฟอร์นิเจอร์โลหะ เพราะไทยผลิตได้อย่างมีคุณภาพมาตราฐานมากกว่าคู่แข่งขัน
6. ปัญหาและอุปสรรค
6.1 ด้านการผลิต
6.1.1 ขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็งและวัตถุดิบต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่นไม้เนื้อแข็ง พลาสติก เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
6.1.2 ขาดแคลนแรงงานทั้งที่มีฝีมือและไม่มีฝีมือรวมทั้งค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
6.1.3 กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการผลิตของรัฐไม่เอื้ออำนวย เช่น การนำเข้าเลื่อยโซ่ หรือเลื่อยยนต์ต้องขออนุญาตนำเข้าทุกครั้ง การตัดไม้เพื่อใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้องแสดงหลักฐานว่าตัดไม้จากแหล่งใด นอกจากนี้ไม้ที่นำเข้ามาผลิตต้องเสียภาษีนำเข้าสูงจากการประเมินภาษีของศุลกากรที่ไม่แน่นอนทำให้ต้องใช้เวลาและขั้นตอนมาก
6.1.4 การคืนภาษีของรัฐทำได้ล่าช้า โดยเฉพาะการคืนภาษีตามมาตรา 19 ทวิ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตโดยตรง
6.2 ด้านการตลาด
6.2.1 การแข่งขันของตลาดเฟอร์นิเจอร์ในต่างประเทศมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันในด้านราคาที่ไทยผลิตได้สูงกว่าคู่แข่งขันอีกทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วย
6.2.2 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้นำเข้าต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธการสั่งซื้อโดยไม่สั่งซื้อสินค้า เพื่อเก็บไว้ในสต็อกมากเหมือนเดิม เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ผลิต/ส่งออกไทยต้องปรับกลยุทธ์การตลาดและการส่งมอบสินค้าตามกำหนดเวลาให้ทัน
6.2.3 ปัจจุบันการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะการนำข้ออ้างเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมจากการตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการควบคุมภาพตามมาตรฐาน ISO 14000 มาใช้บังคับ ทำให้การส่งออกของไทยเกิดปัญหาและอุปสรรคมากขึ้น
6.2.4 ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยยังขาดศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ ทำให้การประชาสัมพันธ์สินค้าไทยยังไม่เป็นที่รู้จักดีของผู้ซื้อในต่างประเทศ
6.2.5 ผู้ผลิต/ผู้ส่งออก ยังขาดข้อมูลข่าวสารการตลาดและวิธีการเจาะตลาดโดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ
7. ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข
7.1 ด้านการผลิต
7.1.1 ควรจัดตั้งสถาบันหรือโรงเรียนฝึกอบรมในการประกอบการผลิต การออกแบบเฟอร์นิเจอร์โดยตรง รวมทั้งการเพิ่มทักษะของแรงงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตของไทย
7.1.2 ควรมีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพ วิจัยและพัฒนาไม้ยางพารา วัตถุดิบอื่น ๆ รูปแบบสินค้า ขบวนการผลิต เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้คุณภาพมาตราฐานของสินค้าเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศมากขึ้น
7.1.3 ผู้ผลิต/ผู้ส่งออก ควรมีการรวมกลุ่มกัน ทั้งในด้านการนำเข้าวัตถุดิบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยีในการผลิต การออกแบบและการตลาด รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
7.1.4 ควรปรับเปลี่ยนกฎระเบียบและนโยบายของรัฐให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่นการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องการนำเข้าเลื่อยยนต์ที่นำเข้ามาผลิตเฟอร์นิเจอร์ การปรับปรุงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้าตามมาตร 19ทวิ เป็นต้น
7.2 ด้านการตลาด
7.2.1 ควรจัดทำข้อมูลทางด้านการตลาดที่ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ส่งออกโดยเฉพาะตลาดที่มีศักยภาพใหม่ๆ รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นที่นิยมในต่างประเทศ และรายชื่อ ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าในต่างประเทศ
7.2.2 ควรจัดกิจกรรมด้านส่งเสริมการขายในรูปของโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดหลักๆ ที่สำคัญของไทย
7.2.3 ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านการตลาดของผู้ผลิต/ผู้ส่งออกควรกระจายไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึง
7.2.4 การจัดตั้งศูนย์แสดงสินค้านานาชาติควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทัดเทียมกับต่างประเทศโดยเฉพาะคู่แข่งขันในภูมิภาคเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเชีย เป็นต้น
8. กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก
ในปี 2540 กรมส่งเสริมการส่งออกมีแผนงานส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ดังนี้
8.1 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศ คือ งาน Thailand International Furniture Fair 97 ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2540
8.2 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่
- Int l Furniture Fair,Cologne,Germany ระหว่างวันที่ 13-19 มกราคม 2540
- Int l Furniture Fair,Singapore ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2540
- Int l Home Furnishings Market ณ เมือง High Point ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 10-17 เมษายน 2540 และระหว่างวันที่16-24 ตุลาคม 2540
- Index,Dubai,U.A.E. ระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2540
- Int l Furniture Fair,Tokyo,Japan ระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2540
8.3 การจัด Information Stand เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าไทย ในงานแสดงสินค้าใหม่ ๆ ที่กรมฯ ยังไม่เคยเข้าร่วมงาน ได้แก่
- งาน Australian Furniture Exhibition, Sydney, Australia ระหว่างวันที่ 22 25 พฤษภาคม 2540
- งาน Meble 97, Poznan, Poland ระหว่างวันที่ 19 - 23 กันยายน 2540
8.4 การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนประเทศไทย ที่สำคัญคือ คณะผู้แทนการค้าจากต่างประเทศมาชมงาน Thailand Int l Furniture Fair ระหว่างวันที่ 17 - 19 เมษายน 2540
8.5 การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
- โครงการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าเฟอร์นิเจอร์โดยจัดทำ Supplement / สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
- โครงการประชาสัมพันธ์งาน Bangkok Furniture Fair
- โครงการเชิญผู้สื่อข่าวทั้งในและต่างประเทศ และนักธุรกิจจากภูมิภาคมาเยี่ยมชมงานในส่วนกลาง
8.6 การพัฒนาการส่งออก
- โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ผลิต และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราในภาคใต้ เพื่อการส่งออก โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก APC Project เป็นผู้มาสำรวจศึกษาศักยภาพ
- ศึกษาข้อมูลการตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป และ สหรัฐอเมิรกา
- โครงการวิจัยตลาดเฟอร์นิเจอร์ในตลาดนิวซีแลนด์
- โครงการจัดจ้าง Marketing Executive สินค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ในประเทศญี่ปุ่น
- การจัดสัมมนาผลการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญสินค้าเฟอร์นิเจอร์นสหรัฐอเมิรกา
- การจัดสัมมนาตลาดเฟอร์นิเจอร์ในนิวซีแลนด์--จบ
โดย รังค์สิมา มโนปัญจสิริ
กองข้อมูลการค้า
กรมส่งเสริมการส่งออก
มีนาคม 2540