สิ่งทอ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลายประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมทอผ้า และถักผ้า อุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และแต่งสำเร็จ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอและอื่น ๆ อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประเทศเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันมีโรงงานที่จดทะเบียนในอุตสาหกรรมสิ่งทอมากกว่า 5,000 โรงงาน มีผู้ทำงานใน อุตสาหกรรมนี้รวมกันโดยประมาณ 1.14 ล้านคน ทำการผลิตเพื่อป้อนตลาดภายในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่มีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 9.4 ของมูลค่าการส่งออกรวมปี 2540
การส่งออก สิ่งทอเป็นสินค้าส่งออกชั้นแนวหน้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับสามในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญแต่มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวไม่สม่ำเสมอโดยในปี 2537 มีมูลค่าการส่งออก 149,836.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 160,844.2 ล้านบาท ในปี 2538 หรือขยายตัวร้อยละ 7.3 และในปี 2539 มีมูลค่าลดลงเป็น 137,225.6 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 14.7 เพราะประสบภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงกับประเทศจีนและอินโดนีเซียซึ่งมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ต่อมาปี 2540 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 170,285.6 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 24.1 และปี 2541 ในช่วงมกราคม - มิถุนายน มีมูลค่าส่งออก 107,994.3 ล้านบาท เทียบกับ 67,370.1 ล้านบาทของปี 2540 ในช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.3 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมีผลมาจากการประกาศลอยตัวอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อ 2 กรกฎาคม 2540 และวิกฤตการในประเทศอินโดนีเซีย
เป้าหมายการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าสิ่งทอปี 2541 ไว้ที่ 5,935 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้การส่งออกเดือนมกราคม - มิถุนายน มีมูลค่า 107,994.3 ล้านบาท หรือ 2,484.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 41.8 ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี
โครงสร้างการส่งออกสิ่งทอ
การส่งออกสินค้าสิ่งทอของไทยโดยทั่วไปเป็นการส่งออกเครื่องนุ่งห่มในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60.0 รองลงมาคือผ้าผืน ประมาณร้อยละ 17.2 ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ประมาณร้อยละ 6.0 เส้นใยประดิษฐ์ประมาณ ร้อยละ 3.2 ด้ายฝ้ายร้อยละ 2.4 เคหะสิ่งทอประมาณร้อยละ 2.2 อื่น ๆ ประมาณร้อยละ 9.0
ตลาดส่งออก สิ่งทอสำคัญ 10 อันดับแรก มีสัดส่วนการส่งออกรวมกันประมาณร้อยละ 68.0 และใน 10 อันดับนี้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยตลาดสหรัฐอเมริกา มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 103.1 ตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงรองลงไปคือ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และเบลเยี่ยม เป็นต้น ปรากฎในสถิติการส่งออก
การส่งออกเครื่องนุ่งห่ม
เครื่องนุ่งห่มเป็นสินค้าส่งออกหลักในหมวดสิ่งทอ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 61.0 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวม ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 58.0 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3.0 เป็นการส่งออก เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ถุงเท้าและถุงน่องและถุงมือผ้า
เสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้เป็นมูลค่าสูงอันดับหนึ่งในหมวดสิ่งทอและไทยยังเป็นผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปสำคัญอันดับ 8 ของโลกอีกด้วย แต่การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยขยายตัวไม่สม่ำเสมอในระยะที่ผ่านมาเนื่องจากประสบภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงโดยเฉพาะกับจีน อินโดนีเซีย และประเทศอื่นที่มีภาระต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ในปี 2537 มีมูลค่าการส่งออก 100,679.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 102,019.3 ล้านบาท ในปี 2538 หรือขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อมาปี 2539 มีมูลค่าการส่งออก 79,875.4 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 21.7 และปี 2540 มีมูลค่าส่งออก 97,135.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 ปี 2541 มกราคม - มิถุนายน มีมูลค่า 62,574.5 ล้านบาท เทียบกับ 37,718.2 ล้านบาท ของปี 2540 ในช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.6
เมื่อพิจารณาถึงปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวมมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 14.9 และทุกประเภทมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเสื้อผ้าเด็กอ่อนขยายตัวร้อยละ 42.3 ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้ายืด เสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าถักขยายตัวร้อยละ 11.9 16.2 และ 26.9 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังไปได้ดีในตลาดต่างประเทศ
เป้าหมายการส่งออกปี 2541
กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไว้ที่มูลค่า 3,330.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้ มูลค่าการส่งออกเดือน มกราคม - มิถุนายน มีมูลค่าประมาณ 1,441.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 43.2 ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกตลอดทั้งปีจะใกล้เคียงกับเป้าหมายการส่งออกที่ตั้งไว้
ตลาดส่งออก
เสื้อผ้าสำเร็จรูปสำคัญ 10 อันดับแรกมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันประมาณร้อยละ 82.0 และใน 10 อันดับนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยมีตลาดที่ขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 100 มี 2 ตลาด คือ เบลเยี่ยม และแคนาดา โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 149.4 และ 128.8 ตามลำดับปรากฎในสถิติการส่งออกดังนี้
นอกจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปแล้วในกลุ่มสินค้าเครื่องนุ่งห่มยังมีเครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ถุงเท้าและถุงน่องและถุงมือผ้า ทั้งสามรายการนี้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 75.2 60.2 และ 62.8 ตามลำดับ
ผ้าผืน
เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับสองในหมวดสิ่งทอ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 17.2 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวม การส่งออกผ้าผืนในระยะที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวไม่สม่ำเสมอ โดยในปี 2537 มีมูลค่า 18,879.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 28,051.1 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ต่อมาปี 2539 ลดลงเป็น 21,711.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.8 และเพิ่มขึ้นเป็น 28,271.6 ล้านบาท ในปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 ปี 2541 ในช่วง มกราคม - มิถุนายน มีมูลค่าการส่งออก 18,531.8 ล้านบาทเทียบกับ 11,390.1 ล้านบาท ของปี 2540 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.7
เป้าหมายการส่งออก
ในปี 2541 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายส่งออกผ้าผืนไว้ที่มูลค่า 1,000.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้มูลค่าการส่งออก มกราคม - มิถุนายน ประมาณ 426.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.6 ของเป้าหมายการ ส่งออกทั้งปี
ตลาดส่งออก
การส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดสำคัญ 10 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันประมาณ 59.5 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดและตลาดที่มีอัตราการขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 100 มี 2 ตลาด คือ สหรัฐอเมริกา และ อิตาลี โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 140.9 และ 136.7 ตามลำดับ
การแข่งขัน
การผลิตส่งออกสินค้าในกลุ่มสิ่งทอในปัจจุบันกำลังประสบภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันการส่งออกสินค้าราคาถูกได้อีกต่อไปแล้วเพราะปัจจุบันต้นทุนการผลิตในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและประกอบกับมีประเทศผู้ผลิตอื่นที่มีภาระต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทย เช่น จีน อินโดนีเซียและเวียดนาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องปรับตัวไปผลิตสินค้าคุณภาพสูง มีรูปแบบที่ทันสมัยจึงจะสามารถแข่งได้ในตลาดโลก อัตราค่าแรงงานที่สูงขึ้นมิใช่อุปสรรคที่แท้จริงหากสามารถพัฒนาเทคโลยีการผลิตและกระบวนการผลิตให้ทันสมัยก็จะสามารถผลิตสินค้าคุณภาพสูงในราคาที่แข่งขันได้ซึ่งจะขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
การแข่งขันในตลาดสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ประมาณร้อยละ 29.7 (ปี 2540) และปี 2541 ในช่วง 6 เดือน (มกราคม - มิถุนายน) มีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 34.4 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอรวมและในหมวดสิ่งทอมีการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปตลาดนี้เป็นมูลค่าสูงอันดับหนึ่ง สำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่มแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เครื่องนุ่งห่มผ้าทอ ในตลาดสหรัฐฯ ไทยต้องแข่งขันกับจีน เม็กซิโก และฮ่องกง เป็นสำคัญ เนื่องจากทั้งสามประเทศนี้มีสัดส่วนการครองตลาดนำเข้าปี 2540 ถึงร้อยละ 16.01 11.85 และ 7.43 ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 16 สัดส่วนเพียงร้อยละ 2.45 เครื่องนุ่งห่มผ้าถักในตลาดสหรัฐฯ ไทยต้องแข่งขันกับเม็กซิโก ฮ่องกงและจีนเป็นหลักเพราะทั้งสามประเทศนี้มีสัดส่วนการครองตลาดนำเข้าร้อยละ 11.60 10.95 และ 9.85 ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่ในอันดับ 9 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3.42
การแข่งขันในตลาดญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอสำคัญอันดับสองของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ประมาณ ร้อยละ 9.5 ปี 2540 และในหมวดสิ่งทอมีการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปญี่ปุ่นสูงเป็นอันดับสอง สำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่มสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เครื่องนุ่งห่มผ้าทอไทยต้องแข่งขันกับจีน อิตาลีและเวียดนาม เป็นหลัก โดยในปี 2540 ทั้งสามประเทศนี้มีสัดส่วนการครองตลาดนำเข้าถึงร้อยละ 67.04 9.20 และ 3.61 ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่อันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 2.12 ส่วนเครื่องนุ่งห่มผ้าถักไทยต้องแข่งขันกับจีน เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา เป็นหลัก เพราะทั้งสามประเทศนี้มีสัดส่วนตลาดนำเข้าถึงร้อยละ 60.30 9.22 และ 6.96 ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 5 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.83
แนวโน้มการส่งออกสิ่งทอปี 2541
คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากตลาดหลักสำคัญคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วนตลาดเอเชียอาจจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา ประกอบกับผู้ผลิตของไทยมีแผนการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้คุณภาพสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของตลาด จึงคาดว่าในปี 2541 จะมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2540 ประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15.0
ปัญหาอุปสรรค
1. ขาดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไปสู่ระดับสูง
2. ขาดการพัฒนารูปแบบสินค้าในแต่ละอุตสาหกรรม
3. การขาดสภาพคล่องทางการเงิน
4. ประสบภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะ จีน อินโดนิเซีย อินเดีย ฯลฯ
5. ขาดบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การฟอกย้อม แต่งสำเร็จ
6. โครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบใช้สอย เช่น สารเคมีที่ใช้ในขบวนการฟอกย้อมค่อนข้างสูง มีผลให้ต้นทุนการผลิตสูง
7. ขาดแคลนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำในระยะยาวเพื่อนำไปพัฒนาอุตสาหกรรม
8. การสร้างเครื่องหมายการค้าของตนเองยังมีค่อนข้างน้อยมาก
ข้อคิดเห็น
ด้านการผลิต
ระบบการค้าสิ่งทอในตลาดโลกกำลังจะมีลักษณะเสรีมากขึ้น เนื่องจากองค์การค้าโลก (WTO) ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการค่อย ๆ ยกเลิกระบบโควต้าการนำเข้าของประเทศผู้นำเข้า (สหภาพยุโรป อเมริกา แคนาดาฯ) ลงไปจนกระทั่งหมดสิ้นในปี ค.ศ. 2004 หรือปี พ.ศ. 2547 จากเงื่อนไขนี้การผลิตส่งออกสินค้าในกลุ่มสิ่งทอของไทย จะประสบภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งกับประเทศที่แข็งแกร่งหรือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและการผลิต การออกแบบอันทันสมัยและมีเครื่องหมายการค้าของตนเอง เช่น อิตาลี สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนาเช่นเดียวกับไทยแต่มีอัตราค่าแรงงานที่ต่ำกว่า เช่น จีน อินโดนีเซียและเวียดนามเป็นต้น
สิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศปีละเกือบสองแสนล้าน และเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่อุตสาหกรรมหนึ่งของไทย ดังนั้นการเพิ่มขีดความสามารถในเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องเร่งพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบในด้านการพัฒนาบุคลากร การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ISO 9000 14000 และ 18000 นอกจากนี้การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยการผลิต การออกแบบตั้งแต่เส้นใย เส้นด้าย ให้สอดคล้องกับแฟชั่นสมัยนิยมในตลาดโลก ซึ่งปรับเปลี่ยนค่อนข้างเร็วทั้ง 5 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมเส้นใย อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และแต่งสำเร็จและอุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่มเพราะทั้ง 5 อุตสาหกรรมนี้มีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบ โดยจากอุตสาหกรรมเส้นใยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปั่นด้าย เพื่อนำด้ายไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมฟอกย้อมเส้นด้ายและอุตสาหกรรมผ้าผืนแล้วนำผ้าผืนไปผ่านการฟอก ย้อม พิมพ์ และแต่งสำเร็จ แล้วนำไปผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มและเคหะ สิ่งทอ เป็นต้น
ด้านการตลาด
นอกจากการพัฒนาด้านการผลิตแล้ว การส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านการตลาดให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพราะเป็นสิ่งจำเป็นสูงสุดต่อรายได้ของอุตสาหกรรมและประเทศชาติ ซึ่งต้องวางแผนและกำหนดทิศทางต่อไปในอนาคต
ปัจจุบันตลาดส่งออกสิ่งทอหลักอยู่ที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 62.1 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวม ดังนั้นในแต่ละรายการสินค้า ควรกำหนดตลาดเป้าหมายกระจายตลาดการส่งออกไปยังตลาดอื่นเพิ่มขึ้น เพราะในอนาคต สหรัฐฯ อาจจะพึ่งพาการผลิตจากแหล่งผลิต ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำในแถบลาตินอเมริกาก็ได้ หรือสหภาพยุโรปอาจจะพึ่งพาแรงงานอัตราต่ำจากยุโรปตะวันออกมากขึ้น จึงควรพิจารณาตลาดเอเชียและตลาดที่อยู่ในภูมิภาคที่ใกล้เคียงกันให้มากขึ้นกว่าเดิม
การสนับสนุนจากภาครัฐบาลในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ภาครัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างผลผลิตและการจ้างงานสูงสุดในภาคอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมนี้กำลังประสบภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงกับประเทศคู่แข่งขันซึ่งมีกำลังที่เข้มแข็งมากขึ้นและมีทีท่าจะก้าวล้ำหน้าประเทศไทยในขณะนี้
จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานภาพของอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ภาคเอกชนได้เสนอต่อภาครัฐบาลถึงความจำเป็นในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้สามารถก้าวต่อไปอย่างแข็งแกร่งในตลาดโลก
คณะรัฐมนตรี จึงได้พิจารณาอนุมัติให้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2539 โดยให้จัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ มีมูลนิธิรองรับและอยู่ในความดูเลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ดังนี้
1. สำรวจ รวบรวม และติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดังกล่าว รวมตลอดทั้งพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรมสิ่งทอ
2. ส่งเสริมและจัดให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งในด้านการผลิต การพัฒนารูปแบบ การปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพ
3. ศึกษา วิจัยธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาล
4. จัดให้มีการฝึกอบรมและสัมมนาทางวิชาการ เพื่อพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งในระดับแรงงาน ช่างเทคนิค และระดับบริหาร
5. สนับสนุนหรือจัดให้มีบริการด้านการตรวจ การวิเคราะห์ การทดสอบและการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
6. ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอ
7. สนับสนุนหรือจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
8. ประสานงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ระหว่างรัฐกับเอกชน และเอกชนกับเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ออกประกาศที่ ป.4/2540 ลงวันที่ 11 เมษายน 2540 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณายกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิม สำหรับ 3 อุตสาหกรรม คือ สิ่งทอ รองเท้าและอาหาร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2540 ภายใต้โครงการยกระดับเทคโนโลยีการทดสอบและการตรวจสอบคุณภาพสิ่งทอไทย โครงการนี้รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) โดยใหการสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้นว่า
- สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ด้านการทดสอบและตรวจสอบสิ่งทอทางกายภาพ และวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีไม่ต่ำกว่า 90 รายการ
- สนับสนุนเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทดสอบ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยแก่บุคลากรของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดย JICA จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือกว่า 10 คน ในการฝึกอบรมโดยใช้เวลาประมาณ 4 ปี
กิจกรรมการส่งเสริมการส่งออกสินค้าสิ่งทอ ปี 2541
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดแผนกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกหลายรูปแบบด้วยกันคือ
1. งานแสดงสินค้าในประเทศ
- การจัดงานแสดงสินค้า BANGKOK INTERNATIONAL FASHION FAIR 98 (13th)
2. งานแสดงสินค้าต่างประเทศ
- เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ได้แก่
- Interstoff World Frankfurt ประเทศเยอรมนี
- Kind & Jugend, Dusseldorf ประเทศเยอรมนี
3. การเผยแพร่ข้อมูลในงานแสดงสินค้าต่างประเทศ (Information Stand)
- The New York Home Textile Fair ประเทศสหรัฐฯ
- Magic Show, Las Vegas (2 ครั้ง) ประเทศสหรัฐฯ
- Int l Kids Fashion Show, New York ประเทศสหรัฐฯ
- Herren - Mode - Woche, Cologne (2 ครั้ง) ประเทศเยอรมนี
- CPD-Collection Premieren, Dusseldorf (2 ครั้ง) ประเทศเยอรมนี
- In l Textile 98, Shanghai ประเทศจีน
4. การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาการค้าที่ประเทศไทย
5. การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาการค้าในต่างประเทศ ได้แก่
- การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาการค้าในตลาดอาเซียน
- การจัดคณะผู้แทนการค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปจัด Mini Exhibition ณ กรุงโตเกียวและ นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
- การจัดคณะผู้แทนการค้าไปจัดแสดง Mini Exhibition ประเทศสหราชอาณาจักร
- การจัดคณะผู้แทนการค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปเจรจาการค้า ประเทศสหรัฐฯ
- การจัดคณะผู้แทนการค้าสิ่งทอไปจัด Mini Exhibition และเจรจาการค้าช่วงงาน แสดงสินค้า Premiere Vision ประเทศฝรั่งเศส
6. การประชาสัมพันธ์ (Public Relation)
- การประชาสัมพันธ์สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไทยในสหรัฐ
- การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าสิ่งทอในตลาดสหรัฐ สหภาพยุโรปและเอเชีย
- การเชิญผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาประเทศไทย เพื่อดูอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย และนำข้อมูล ไปเผยแพร่ในต่างประเทศ
7. การพัฒนาผลิตภัณฑ์
- ประกวดการออกแบบลวดลายผ้า
- การส่งผลงานของผู้ได้รับรางวัลการประกวดไปแสดงที่เมืองฮ่องกง ประเทศจีน
- การส่งเสริมสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของตนเองไปตลาดโลกให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
8. การพัฒนาตลาด
- ศึกษาการจัดตั้งสถาบันการออกแบบแฟชั่นร่วมกับภาคเอกชน
- พัฒนาตลาดสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืนสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
โดยการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย
9. การพัฒนาบุคลากร
- ฝึกอบรมนักออกแบบไทย โดยจ้างนักออกแบบฝรั่งเศสช่วยในการฝึกอบรมและให้คำแนะนำ
- สัมมนาด้านการตลาดในสหภาพยุโรป
- การจัด Export Clinic ด้านการออกแบบสิ่งทอภูมิภาค
อนาคตสิ่งทอในตลาดโลก
จากข้อตกลงองค์การค้าโลก (WTO) ในการเปิดการค้าเสรีทั่วโลก ซึ่งในส่วนสินค้าสิ่งทอ จะมีมีการยกเลิกระบบโควต้าในปี ค.ศ. 2005 มีผลให้ตลาดโลกเปิดกว้างซึ่งจะมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ย่อมมีผลกระทบเกิดขึ้นโดยทั่วไปดังนี้
1. อุตสาหกรรมสิ่งทอภายในของแต่ละประเทศ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงจะประสบภาวะการแข่งขันสูงกับสินค้าสิ่งทอต่างประเทศ ซึ่มีราคาถูกกว่า
2. การผลิตในลักษณะคราวละมาก ๆ (Mass Production) เพื่อขายในราคาต่ำกำลังจะหมดยุคเพราะผู้ค้าต้องการความหลากหลายในรูปแบบและคุณภาพเพื่อตอบสนองตลาด ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็วในแต่ละฤดูกาล
3. ผู้ผลิต/ส่งออก ที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยและเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงย่อมมีความได้เปรียบ เพราะเป็นที่รู้จัก เชื่อถือแล้วในตลาดโลก
4. ผู้ผลิต/ส่งออก ซึ่งดำเนินการรับจ้างผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง แต่มิใช่เป็นของตนเองในตลาดโลก อาจจะประสบภาวะลำบากหากผู้จ้างหันไปใช้ฐานการผลิตอื่น
5. การที่ตลาดการค้าสิ่งทอเปิดกว้างอย่างเสรีมีผลให้ผู้นำเข้าในตลาดโลกมีโอกาสเลือกฐานการผลิตได้มากขึ้น
แนวทางการปรับตัวของไทย
1. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและบุคลากรให้ทุกระดับทั้งในด้านการผลิต การค้า และการจัดการทุกระดับชั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
2. การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างมีระบบ สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ระดับหนึ่ง
3. ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตให้สามารถรับคำสั่งซื้อในปริมาณน้อย หลากหลายรูปแบบจะช่วยให้สามารถแข่งขันได้
4. การกระตุ้นให้เกิดการใช้และสร้างเครื่องหมายการค้าของตนเองอย่างเป็นเอกลักษณ์จะช่วยให้สินค้าสิ่งทอไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลก
5. การกระจายตลาดการส่งออกให้กว้างขวางในตลาดโลก เป็นสิ่งจำเป็นสูงสุดเพราะหากผู้สั่งซื้อหันไปนำเข้าจากแหล่งอื่นก็ยังมีตลาดอื่นที่สามารถทดแทนกันได้
6. การพัฒนาการค้าเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ (Electronics Commerce) ก็จะช่วยให้เกิดช่องทางการติดต่อโดยตรง ระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
--กรมส่งเสริมการส่งออก กันยายน 2541--
ปัจจุบันมีโรงงานที่จดทะเบียนในอุตสาหกรรมสิ่งทอมากกว่า 5,000 โรงงาน มีผู้ทำงานใน อุตสาหกรรมนี้รวมกันโดยประมาณ 1.14 ล้านคน ทำการผลิตเพื่อป้อนตลาดภายในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่มีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 9.4 ของมูลค่าการส่งออกรวมปี 2540
การส่งออก สิ่งทอเป็นสินค้าส่งออกชั้นแนวหน้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับสามในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญแต่มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวไม่สม่ำเสมอโดยในปี 2537 มีมูลค่าการส่งออก 149,836.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 160,844.2 ล้านบาท ในปี 2538 หรือขยายตัวร้อยละ 7.3 และในปี 2539 มีมูลค่าลดลงเป็น 137,225.6 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 14.7 เพราะประสบภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงกับประเทศจีนและอินโดนีเซียซึ่งมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ต่อมาปี 2540 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 170,285.6 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 24.1 และปี 2541 ในช่วงมกราคม - มิถุนายน มีมูลค่าส่งออก 107,994.3 ล้านบาท เทียบกับ 67,370.1 ล้านบาทของปี 2540 ในช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.3 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมีผลมาจากการประกาศลอยตัวอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อ 2 กรกฎาคม 2540 และวิกฤตการในประเทศอินโดนีเซีย
เป้าหมายการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าสิ่งทอปี 2541 ไว้ที่ 5,935 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้การส่งออกเดือนมกราคม - มิถุนายน มีมูลค่า 107,994.3 ล้านบาท หรือ 2,484.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 41.8 ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี
โครงสร้างการส่งออกสิ่งทอ
การส่งออกสินค้าสิ่งทอของไทยโดยทั่วไปเป็นการส่งออกเครื่องนุ่งห่มในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60.0 รองลงมาคือผ้าผืน ประมาณร้อยละ 17.2 ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ประมาณร้อยละ 6.0 เส้นใยประดิษฐ์ประมาณ ร้อยละ 3.2 ด้ายฝ้ายร้อยละ 2.4 เคหะสิ่งทอประมาณร้อยละ 2.2 อื่น ๆ ประมาณร้อยละ 9.0
ตลาดส่งออก สิ่งทอสำคัญ 10 อันดับแรก มีสัดส่วนการส่งออกรวมกันประมาณร้อยละ 68.0 และใน 10 อันดับนี้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยตลาดสหรัฐอเมริกา มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 103.1 ตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงรองลงไปคือ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และเบลเยี่ยม เป็นต้น ปรากฎในสถิติการส่งออก
การส่งออกเครื่องนุ่งห่ม
เครื่องนุ่งห่มเป็นสินค้าส่งออกหลักในหมวดสิ่งทอ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 61.0 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวม ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 58.0 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3.0 เป็นการส่งออก เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ถุงเท้าและถุงน่องและถุงมือผ้า
เสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้เป็นมูลค่าสูงอันดับหนึ่งในหมวดสิ่งทอและไทยยังเป็นผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปสำคัญอันดับ 8 ของโลกอีกด้วย แต่การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยขยายตัวไม่สม่ำเสมอในระยะที่ผ่านมาเนื่องจากประสบภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงโดยเฉพาะกับจีน อินโดนีเซีย และประเทศอื่นที่มีภาระต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ในปี 2537 มีมูลค่าการส่งออก 100,679.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 102,019.3 ล้านบาท ในปี 2538 หรือขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อมาปี 2539 มีมูลค่าการส่งออก 79,875.4 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 21.7 และปี 2540 มีมูลค่าส่งออก 97,135.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 ปี 2541 มกราคม - มิถุนายน มีมูลค่า 62,574.5 ล้านบาท เทียบกับ 37,718.2 ล้านบาท ของปี 2540 ในช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.6
เมื่อพิจารณาถึงปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวมมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 14.9 และทุกประเภทมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเสื้อผ้าเด็กอ่อนขยายตัวร้อยละ 42.3 ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้ายืด เสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าถักขยายตัวร้อยละ 11.9 16.2 และ 26.9 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังไปได้ดีในตลาดต่างประเทศ
เป้าหมายการส่งออกปี 2541
กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไว้ที่มูลค่า 3,330.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้ มูลค่าการส่งออกเดือน มกราคม - มิถุนายน มีมูลค่าประมาณ 1,441.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 43.2 ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกตลอดทั้งปีจะใกล้เคียงกับเป้าหมายการส่งออกที่ตั้งไว้
ตลาดส่งออก
เสื้อผ้าสำเร็จรูปสำคัญ 10 อันดับแรกมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันประมาณร้อยละ 82.0 และใน 10 อันดับนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยมีตลาดที่ขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 100 มี 2 ตลาด คือ เบลเยี่ยม และแคนาดา โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 149.4 และ 128.8 ตามลำดับปรากฎในสถิติการส่งออกดังนี้
นอกจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปแล้วในกลุ่มสินค้าเครื่องนุ่งห่มยังมีเครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ถุงเท้าและถุงน่องและถุงมือผ้า ทั้งสามรายการนี้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 75.2 60.2 และ 62.8 ตามลำดับ
ผ้าผืน
เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับสองในหมวดสิ่งทอ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 17.2 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวม การส่งออกผ้าผืนในระยะที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวไม่สม่ำเสมอ โดยในปี 2537 มีมูลค่า 18,879.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 28,051.1 ล้านบาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ต่อมาปี 2539 ลดลงเป็น 21,711.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.8 และเพิ่มขึ้นเป็น 28,271.6 ล้านบาท ในปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 ปี 2541 ในช่วง มกราคม - มิถุนายน มีมูลค่าการส่งออก 18,531.8 ล้านบาทเทียบกับ 11,390.1 ล้านบาท ของปี 2540 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.7
เป้าหมายการส่งออก
ในปี 2541 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายส่งออกผ้าผืนไว้ที่มูลค่า 1,000.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้มูลค่าการส่งออก มกราคม - มิถุนายน ประมาณ 426.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.6 ของเป้าหมายการ ส่งออกทั้งปี
ตลาดส่งออก
การส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดสำคัญ 10 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันประมาณ 59.5 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดและตลาดที่มีอัตราการขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 100 มี 2 ตลาด คือ สหรัฐอเมริกา และ อิตาลี โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 140.9 และ 136.7 ตามลำดับ
การแข่งขัน
การผลิตส่งออกสินค้าในกลุ่มสิ่งทอในปัจจุบันกำลังประสบภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันการส่งออกสินค้าราคาถูกได้อีกต่อไปแล้วเพราะปัจจุบันต้นทุนการผลิตในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและประกอบกับมีประเทศผู้ผลิตอื่นที่มีภาระต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทย เช่น จีน อินโดนีเซียและเวียดนาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องปรับตัวไปผลิตสินค้าคุณภาพสูง มีรูปแบบที่ทันสมัยจึงจะสามารถแข่งได้ในตลาดโลก อัตราค่าแรงงานที่สูงขึ้นมิใช่อุปสรรคที่แท้จริงหากสามารถพัฒนาเทคโลยีการผลิตและกระบวนการผลิตให้ทันสมัยก็จะสามารถผลิตสินค้าคุณภาพสูงในราคาที่แข่งขันได้ซึ่งจะขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
การแข่งขันในตลาดสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ประมาณร้อยละ 29.7 (ปี 2540) และปี 2541 ในช่วง 6 เดือน (มกราคม - มิถุนายน) มีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 34.4 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอรวมและในหมวดสิ่งทอมีการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปตลาดนี้เป็นมูลค่าสูงอันดับหนึ่ง สำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่มแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เครื่องนุ่งห่มผ้าทอ ในตลาดสหรัฐฯ ไทยต้องแข่งขันกับจีน เม็กซิโก และฮ่องกง เป็นสำคัญ เนื่องจากทั้งสามประเทศนี้มีสัดส่วนการครองตลาดนำเข้าปี 2540 ถึงร้อยละ 16.01 11.85 และ 7.43 ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 16 สัดส่วนเพียงร้อยละ 2.45 เครื่องนุ่งห่มผ้าถักในตลาดสหรัฐฯ ไทยต้องแข่งขันกับเม็กซิโก ฮ่องกงและจีนเป็นหลักเพราะทั้งสามประเทศนี้มีสัดส่วนการครองตลาดนำเข้าร้อยละ 11.60 10.95 และ 9.85 ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่ในอันดับ 9 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3.42
การแข่งขันในตลาดญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอสำคัญอันดับสองของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ประมาณ ร้อยละ 9.5 ปี 2540 และในหมวดสิ่งทอมีการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปญี่ปุ่นสูงเป็นอันดับสอง สำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่มสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เครื่องนุ่งห่มผ้าทอไทยต้องแข่งขันกับจีน อิตาลีและเวียดนาม เป็นหลัก โดยในปี 2540 ทั้งสามประเทศนี้มีสัดส่วนการครองตลาดนำเข้าถึงร้อยละ 67.04 9.20 และ 3.61 ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่อันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 2.12 ส่วนเครื่องนุ่งห่มผ้าถักไทยต้องแข่งขันกับจีน เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา เป็นหลัก เพราะทั้งสามประเทศนี้มีสัดส่วนตลาดนำเข้าถึงร้อยละ 60.30 9.22 และ 6.96 ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 5 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.83
แนวโน้มการส่งออกสิ่งทอปี 2541
คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากตลาดหลักสำคัญคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วนตลาดเอเชียอาจจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา ประกอบกับผู้ผลิตของไทยมีแผนการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้คุณภาพสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของตลาด จึงคาดว่าในปี 2541 จะมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2540 ประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15.0
ปัญหาอุปสรรค
1. ขาดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไปสู่ระดับสูง
2. ขาดการพัฒนารูปแบบสินค้าในแต่ละอุตสาหกรรม
3. การขาดสภาพคล่องทางการเงิน
4. ประสบภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะ จีน อินโดนิเซีย อินเดีย ฯลฯ
5. ขาดบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การฟอกย้อม แต่งสำเร็จ
6. โครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบใช้สอย เช่น สารเคมีที่ใช้ในขบวนการฟอกย้อมค่อนข้างสูง มีผลให้ต้นทุนการผลิตสูง
7. ขาดแคลนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำในระยะยาวเพื่อนำไปพัฒนาอุตสาหกรรม
8. การสร้างเครื่องหมายการค้าของตนเองยังมีค่อนข้างน้อยมาก
ข้อคิดเห็น
ด้านการผลิต
ระบบการค้าสิ่งทอในตลาดโลกกำลังจะมีลักษณะเสรีมากขึ้น เนื่องจากองค์การค้าโลก (WTO) ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการค่อย ๆ ยกเลิกระบบโควต้าการนำเข้าของประเทศผู้นำเข้า (สหภาพยุโรป อเมริกา แคนาดาฯ) ลงไปจนกระทั่งหมดสิ้นในปี ค.ศ. 2004 หรือปี พ.ศ. 2547 จากเงื่อนไขนี้การผลิตส่งออกสินค้าในกลุ่มสิ่งทอของไทย จะประสบภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งกับประเทศที่แข็งแกร่งหรือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและการผลิต การออกแบบอันทันสมัยและมีเครื่องหมายการค้าของตนเอง เช่น อิตาลี สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนาเช่นเดียวกับไทยแต่มีอัตราค่าแรงงานที่ต่ำกว่า เช่น จีน อินโดนีเซียและเวียดนามเป็นต้น
สิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศปีละเกือบสองแสนล้าน และเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่อุตสาหกรรมหนึ่งของไทย ดังนั้นการเพิ่มขีดความสามารถในเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องเร่งพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบในด้านการพัฒนาบุคลากร การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ISO 9000 14000 และ 18000 นอกจากนี้การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยการผลิต การออกแบบตั้งแต่เส้นใย เส้นด้าย ให้สอดคล้องกับแฟชั่นสมัยนิยมในตลาดโลก ซึ่งปรับเปลี่ยนค่อนข้างเร็วทั้ง 5 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมเส้นใย อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และแต่งสำเร็จและอุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่มเพราะทั้ง 5 อุตสาหกรรมนี้มีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบ โดยจากอุตสาหกรรมเส้นใยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปั่นด้าย เพื่อนำด้ายไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมฟอกย้อมเส้นด้ายและอุตสาหกรรมผ้าผืนแล้วนำผ้าผืนไปผ่านการฟอก ย้อม พิมพ์ และแต่งสำเร็จ แล้วนำไปผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มและเคหะ สิ่งทอ เป็นต้น
ด้านการตลาด
นอกจากการพัฒนาด้านการผลิตแล้ว การส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านการตลาดให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพราะเป็นสิ่งจำเป็นสูงสุดต่อรายได้ของอุตสาหกรรมและประเทศชาติ ซึ่งต้องวางแผนและกำหนดทิศทางต่อไปในอนาคต
ปัจจุบันตลาดส่งออกสิ่งทอหลักอยู่ที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 62.1 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวม ดังนั้นในแต่ละรายการสินค้า ควรกำหนดตลาดเป้าหมายกระจายตลาดการส่งออกไปยังตลาดอื่นเพิ่มขึ้น เพราะในอนาคต สหรัฐฯ อาจจะพึ่งพาการผลิตจากแหล่งผลิต ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำในแถบลาตินอเมริกาก็ได้ หรือสหภาพยุโรปอาจจะพึ่งพาแรงงานอัตราต่ำจากยุโรปตะวันออกมากขึ้น จึงควรพิจารณาตลาดเอเชียและตลาดที่อยู่ในภูมิภาคที่ใกล้เคียงกันให้มากขึ้นกว่าเดิม
การสนับสนุนจากภาครัฐบาลในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ภาครัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างผลผลิตและการจ้างงานสูงสุดในภาคอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมนี้กำลังประสบภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงกับประเทศคู่แข่งขันซึ่งมีกำลังที่เข้มแข็งมากขึ้นและมีทีท่าจะก้าวล้ำหน้าประเทศไทยในขณะนี้
จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานภาพของอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ภาคเอกชนได้เสนอต่อภาครัฐบาลถึงความจำเป็นในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้สามารถก้าวต่อไปอย่างแข็งแกร่งในตลาดโลก
คณะรัฐมนตรี จึงได้พิจารณาอนุมัติให้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2539 โดยให้จัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ มีมูลนิธิรองรับและอยู่ในความดูเลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ดังนี้
1. สำรวจ รวบรวม และติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดังกล่าว รวมตลอดทั้งพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรมสิ่งทอ
2. ส่งเสริมและจัดให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งในด้านการผลิต การพัฒนารูปแบบ การปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพ
3. ศึกษา วิจัยธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาล
4. จัดให้มีการฝึกอบรมและสัมมนาทางวิชาการ เพื่อพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งในระดับแรงงาน ช่างเทคนิค และระดับบริหาร
5. สนับสนุนหรือจัดให้มีบริการด้านการตรวจ การวิเคราะห์ การทดสอบและการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
6. ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอ
7. สนับสนุนหรือจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
8. ประสานงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ระหว่างรัฐกับเอกชน และเอกชนกับเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ออกประกาศที่ ป.4/2540 ลงวันที่ 11 เมษายน 2540 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณายกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิม สำหรับ 3 อุตสาหกรรม คือ สิ่งทอ รองเท้าและอาหาร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2540 ภายใต้โครงการยกระดับเทคโนโลยีการทดสอบและการตรวจสอบคุณภาพสิ่งทอไทย โครงการนี้รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) โดยใหการสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้นว่า
- สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ด้านการทดสอบและตรวจสอบสิ่งทอทางกายภาพ และวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีไม่ต่ำกว่า 90 รายการ
- สนับสนุนเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทดสอบ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยแก่บุคลากรของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดย JICA จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือกว่า 10 คน ในการฝึกอบรมโดยใช้เวลาประมาณ 4 ปี
กิจกรรมการส่งเสริมการส่งออกสินค้าสิ่งทอ ปี 2541
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดแผนกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกหลายรูปแบบด้วยกันคือ
1. งานแสดงสินค้าในประเทศ
- การจัดงานแสดงสินค้า BANGKOK INTERNATIONAL FASHION FAIR 98 (13th)
2. งานแสดงสินค้าต่างประเทศ
- เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ได้แก่
- Interstoff World Frankfurt ประเทศเยอรมนี
- Kind & Jugend, Dusseldorf ประเทศเยอรมนี
3. การเผยแพร่ข้อมูลในงานแสดงสินค้าต่างประเทศ (Information Stand)
- The New York Home Textile Fair ประเทศสหรัฐฯ
- Magic Show, Las Vegas (2 ครั้ง) ประเทศสหรัฐฯ
- Int l Kids Fashion Show, New York ประเทศสหรัฐฯ
- Herren - Mode - Woche, Cologne (2 ครั้ง) ประเทศเยอรมนี
- CPD-Collection Premieren, Dusseldorf (2 ครั้ง) ประเทศเยอรมนี
- In l Textile 98, Shanghai ประเทศจีน
4. การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาการค้าที่ประเทศไทย
5. การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาการค้าในต่างประเทศ ได้แก่
- การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาการค้าในตลาดอาเซียน
- การจัดคณะผู้แทนการค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปจัด Mini Exhibition ณ กรุงโตเกียวและ นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
- การจัดคณะผู้แทนการค้าไปจัดแสดง Mini Exhibition ประเทศสหราชอาณาจักร
- การจัดคณะผู้แทนการค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปเจรจาการค้า ประเทศสหรัฐฯ
- การจัดคณะผู้แทนการค้าสิ่งทอไปจัด Mini Exhibition และเจรจาการค้าช่วงงาน แสดงสินค้า Premiere Vision ประเทศฝรั่งเศส
6. การประชาสัมพันธ์ (Public Relation)
- การประชาสัมพันธ์สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไทยในสหรัฐ
- การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าสิ่งทอในตลาดสหรัฐ สหภาพยุโรปและเอเชีย
- การเชิญผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาประเทศไทย เพื่อดูอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย และนำข้อมูล ไปเผยแพร่ในต่างประเทศ
7. การพัฒนาผลิตภัณฑ์
- ประกวดการออกแบบลวดลายผ้า
- การส่งผลงานของผู้ได้รับรางวัลการประกวดไปแสดงที่เมืองฮ่องกง ประเทศจีน
- การส่งเสริมสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของตนเองไปตลาดโลกให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
8. การพัฒนาตลาด
- ศึกษาการจัดตั้งสถาบันการออกแบบแฟชั่นร่วมกับภาคเอกชน
- พัฒนาตลาดสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืนสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
โดยการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย
9. การพัฒนาบุคลากร
- ฝึกอบรมนักออกแบบไทย โดยจ้างนักออกแบบฝรั่งเศสช่วยในการฝึกอบรมและให้คำแนะนำ
- สัมมนาด้านการตลาดในสหภาพยุโรป
- การจัด Export Clinic ด้านการออกแบบสิ่งทอภูมิภาค
อนาคตสิ่งทอในตลาดโลก
จากข้อตกลงองค์การค้าโลก (WTO) ในการเปิดการค้าเสรีทั่วโลก ซึ่งในส่วนสินค้าสิ่งทอ จะมีมีการยกเลิกระบบโควต้าในปี ค.ศ. 2005 มีผลให้ตลาดโลกเปิดกว้างซึ่งจะมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ย่อมมีผลกระทบเกิดขึ้นโดยทั่วไปดังนี้
1. อุตสาหกรรมสิ่งทอภายในของแต่ละประเทศ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงจะประสบภาวะการแข่งขันสูงกับสินค้าสิ่งทอต่างประเทศ ซึ่มีราคาถูกกว่า
2. การผลิตในลักษณะคราวละมาก ๆ (Mass Production) เพื่อขายในราคาต่ำกำลังจะหมดยุคเพราะผู้ค้าต้องการความหลากหลายในรูปแบบและคุณภาพเพื่อตอบสนองตลาด ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็วในแต่ละฤดูกาล
3. ผู้ผลิต/ส่งออก ที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยและเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงย่อมมีความได้เปรียบ เพราะเป็นที่รู้จัก เชื่อถือแล้วในตลาดโลก
4. ผู้ผลิต/ส่งออก ซึ่งดำเนินการรับจ้างผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง แต่มิใช่เป็นของตนเองในตลาดโลก อาจจะประสบภาวะลำบากหากผู้จ้างหันไปใช้ฐานการผลิตอื่น
5. การที่ตลาดการค้าสิ่งทอเปิดกว้างอย่างเสรีมีผลให้ผู้นำเข้าในตลาดโลกมีโอกาสเลือกฐานการผลิตได้มากขึ้น
แนวทางการปรับตัวของไทย
1. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและบุคลากรให้ทุกระดับทั้งในด้านการผลิต การค้า และการจัดการทุกระดับชั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
2. การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างมีระบบ สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ระดับหนึ่ง
3. ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตให้สามารถรับคำสั่งซื้อในปริมาณน้อย หลากหลายรูปแบบจะช่วยให้สามารถแข่งขันได้
4. การกระตุ้นให้เกิดการใช้และสร้างเครื่องหมายการค้าของตนเองอย่างเป็นเอกลักษณ์จะช่วยให้สินค้าสิ่งทอไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลก
5. การกระจายตลาดการส่งออกให้กว้างขวางในตลาดโลก เป็นสิ่งจำเป็นสูงสุดเพราะหากผู้สั่งซื้อหันไปนำเข้าจากแหล่งอื่นก็ยังมีตลาดอื่นที่สามารถทดแทนกันได้
6. การพัฒนาการค้าเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ (Electronics Commerce) ก็จะช่วยให้เกิดช่องทางการติดต่อโดยตรง ระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
--กรมส่งเสริมการส่งออก กันยายน 2541--