สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--24 พ.ย.--บิสนิวส์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 น้ำท่วม ผลผลิตสินค้าเกษตรเสียหาย
ในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2542 ได้เกิดภาวะฝนตกหนักและพายุดีเปรสชั่นทำให้น้ำท่วมฉับพลัน
เกิดน้ำป่าไหลหลาก มีพื้นที่การเกษตรประสบภัยประมาณ 1 ล้านไร่ ทำให้ความเสียหายต่อการผลิตพืชที่สำคัญ คือ
ข้าว : ผลผลิตเสียหายเบื้องต้นใน 16 จังหวัด
จากรายงาน ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรว่า ผลกระทบ
จากน้ำท่วมได้ทำความเสียหายสิ้นเชิงต่อเนื้อที่เพาะปลูกข้าวทั้งประเทศ รวมทั้งสิ้น 185,377 ไร่ คิดเป็นผลผลิต
74,691 ตันข้าวเปลือก โดยแยกเป็น
เนื้อที่เสียหาย (ไร่) ผลผลิต (ตันข้าวเปลือก)
ภาคเหนือ 123,428 48,484
- พะเยา 31,823 14,098
- กำแพงเพชร 63,372 22,687
- พิษณุโลก 10,020 4,158
- พิจิตร 16,380 6,978
- อุทัยธานี 1,833 563
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8,280 2,186
- หนองคาย 8,280 2,186
ภาคกลาง 53,419 23,927
- สุพรรณบุรี 1,978 1,193
- นนทบุรี 225 172
- จันทบุรี 2,771 842
- สมุทรสาคร 2,340 1,331
- นครปฐม 4,500 3,096
- กาญจนบุรี 735 272
- ราชบุรี 3,195 1,438
- เพชรบุรี 33,386 14,022
- ประจวบคีรีขันธ์ 4,289 1,561
ภาคใต้ 250 94
- สตูล 250 94
ดังนั้น ผลผลิตข้าวนาปี ฤดูการผลิต ปี 2542/43 คาดว่าจะลดลงจากที่คาดไว้เมื่อ เดือนกันยายน 2542
ว่าจะมีผลผลิต 18.928 ล้านตันข้าวเปลือก คงเหลือ 18.854 ล้านตัน ข้าวเปลือก ผลผลิตลดลง 74,691 ตันข้าว
เปลือก
หอมหัวใหญ่ : พื้นที่ปลูกเสียหายในแหล่งผลิตจังหวัดเชียงใหม่
สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วาง จำกัด และสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ได้
รายงานความเสียหายพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่ของสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรทั่วไปที่ประสบอุทกภัย มีทั้งหมด 6 ตำบล คือ
ตำบลทุ่งปี้ ทุ่งรวงทอง บ้านกาด ดอนเปา ในอำเภอแม่วาง และตำบลทุ่งสะโตก บ้านแม ในอำเภอสันป่าตองเฉพาะ
สมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วาง จำกัด จำนวน 944 ราย มี พื้นที่เสียหาย 1,809 ไร่ 2 งาน และสหกรณ์ผู้
ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จำกัด จำนวน 1,630 ราย พื้นที่เสียหาย 5,338 ไร่ รวมทั้งหมด 2,574 ราย พื้นที่เสีย
หายทั้งสิ้น 7,147 ไร่ 2 งาน จากความเสียหายดังกล่าว สหกรณ์การเกษตรทั้ง 2 แห่ง ได้ขอนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอม
หัวใหญ่จำนวน 2,574 ปอนด์ (1.165 ตัน) ในปี 2542 เพื่อชดเชยพื้นที่เสียหายเพิ่มเติมจากที่ได้มีการจัดสรรนำเข้า
เมล็ดพันธุ์ในปีนี้ 6,000 ปอนด์ โดยเกษตรกรจะได้เมล็ดพันธุ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉลี่ยคนละ 1 ปอนด์
จากสถานการณ์ดังกล่าวมาแล้ว เพื่อที่เกษตรกรจะสามารถปลูกชดเชยได้ทันฤดูกาล กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ได้ดำเนินการแก้ไข ดังนี้
1. ทำเรื่องเสนอขอนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ปี 2542 จำนวน 2,574 ปอนด์ (1.165 ตัน) เพิ่ม
เติมและได้แจ้งเรื่องนี้ให้กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 แล้ว เพื่อเสนอขอความเห็นชอบ จาก ค.ร.ม.
โดยด่วน
2. ได้เสนอให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทนพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่เสียหาย เช่น มันฝรั่งพันธุ์โรงงาน ซึ่งสหกรณ์ทั้ง
2 สหกรณ์ได้รับเรื่องนี้ไปชี้แจงให้สมาชิกแล้ว ทราบว่ามีสมาชิกส่วนหนึ่งร่วมลงชื่อจะขอปลูกมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน แต่ขอให้อยู่
ในโครงการลดพื้นที่ปลูกกระเทียมและหอมหัวใหญ่ เพื่อขอรับเงินค่าชดเชยหัวพันธุ์ไร่ละ 1,500 บาท เพิ่มเติม ซึ่งกำลังเร่ง
รัดดำเนินการเพื่อที่จะขอเงินจาก คชก.ชดเชยเพิ่มเติมต่อไป
2.2 กระเทียม : การปราบปรามลักลอบการนำเข้า
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เกี่ยวกับมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำ
เข้าสินค้าเกษตร 5 ชนิด คือ กระเทียมหอมหัวใหญ่ (รวมเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่) มันฝรั่ง และเส้นไหม ให้นำเงินที่ได้จาก
การจำหน่ายของกลางที่จับกุมได้ร้อยละ 45 ส่งเข้ากองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์ของกลางที่จับกุมได้ โดยกรมวิชา
การเกษตรได้ดำเนินการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ความแตกต่างสินค้าที่ผลิตภายในประเทศหรือลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ
แต่ในทางปฏิบัติพบปัญหาในการพิสูจน์ของกลางที่จับกุมได้ เนื่องจากว่ากระเทียมที่จับกุมได้คล้ายกับที่ผลิตในประเทศ และการ
จับกุมที่ผ่านมาก็มีการอ้างว่า กระเทียมของกลางที่จับกุมได้เป็นพันธุ์ของกรมส่งเสริมการเกษตรนำไปส่งเสริมให้เกษตรกร ซึ่ง
เมื่อได้สอบถามเจ้าหน้าที่เกษตรในท้องที่จังหวัดที่ถูกอ้างอิงแล้ว ปรากฏว่า ไม่เคยนำพันธุ์ที่จับกุมได้ไปส่งเสริมให้เกษตรกร
แต่เป็นของเกษตรกรจัดหาพันธุ์มาเอง
เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว คณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาด กระเทียม หอมแดง หอมหัว
ใหญ่และมันฝรั่ง ได้มีมติเห็นชอบให้เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมไปขึ้นทะเบียนที่เกษตรอำเภอ โดยระบุพันธุ์ที่เพาะปลูกเป็นพันธุ์
อะไร เนื้อที่เท่าใด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบเมื่อมีการจับกุม นอกจากนี้ให้เกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอ รับรองการ
เคลื่อนย้ายสินค้ากระเทียมภายในประเทศ โดยในใบซื้อ-ขายให้มีการระบุและลงชื่อผู้ขาย แหล่งผลิต รวมทั้งให้กรมวิชาการ
เกษตรทำหน้าที่พิสูจน์ของกลางที่จับกุมได้เมื่อมีกรณีการฟ้องร้องที่ศาล
2.3 สินค้าประมง : อียูกำหนดมาตรการวัสดุหีบห่ออาหารนำเข้าใหม่
รายงานจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ความว่า ขณะนี้คณะ
กรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกประกาศ ลงวันที่ 15 กันยายน 2542 ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของเบลเยี่ยมใน
การป้องกันและจัดการเกี่ยวกับวัสดุหีบห่อและวัสดุเหลือใช้เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป้าหมายการเก็บ
วัสดุหีบห่อและวัสดุเหลือใช้ ดังนี้คือ
กำหนดเป้าหมายครอบคลุมทั้งที่ใช้ในครัวเรือนและที่นำเข้าร้อยละ 50-65 ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544
กำหนดเป้าหมายให้มีการนำวัสดุดังกล่าวกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 25-45 หรืออย่างน้อยร้อยละ 15 ของน้ำหนัก
วัสดุแต่ละชิ้น
ให้มีการจัดตั้งระบบการตรวจสอบเป็นระยะๆ แต่เน้นว่าจะต้องไม่เป็นการบิดเบือนทางการค้าการที่เบล
เยี่ยมนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปใช้เป็นการทั่วไปในอียูในระยะต่อไป โดยอาจจะอ้างเหตุผล
เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาเชื่อมโยงกับประเด็นการค้า ถือเป็นการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอาจมี
ผลกระทบต่อสินค้าเกษตรไทยที่มีการบรรจุหีบห่อโดยเฉพาะสินค้าแช่แข็ง เช่น สินค้าประมง ไก่ เนื่องจากข้อกำหนดดังกล่าว
เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ประกอบการ หรืออาจมีการเรียกร้องให้ผู้ส่งออกปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ให้เหมาะสมกับมาตรการนี้ โดยภาระ
เหล่านี้คาดว่า อียูจะผลักภาระมาให้ผู้ผลิต-ส่งออก ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าเกษตรไทยไปอียูมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะนอกจาก
จะต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับที่อียูกำหนดแล้ว จะต้องคำนึงถึงระดับราคาที่จะต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันด้วย
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 8-14 พ.ย. 2542--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 น้ำท่วม ผลผลิตสินค้าเกษตรเสียหาย
ในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2542 ได้เกิดภาวะฝนตกหนักและพายุดีเปรสชั่นทำให้น้ำท่วมฉับพลัน
เกิดน้ำป่าไหลหลาก มีพื้นที่การเกษตรประสบภัยประมาณ 1 ล้านไร่ ทำให้ความเสียหายต่อการผลิตพืชที่สำคัญ คือ
ข้าว : ผลผลิตเสียหายเบื้องต้นใน 16 จังหวัด
จากรายงาน ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรว่า ผลกระทบ
จากน้ำท่วมได้ทำความเสียหายสิ้นเชิงต่อเนื้อที่เพาะปลูกข้าวทั้งประเทศ รวมทั้งสิ้น 185,377 ไร่ คิดเป็นผลผลิต
74,691 ตันข้าวเปลือก โดยแยกเป็น
เนื้อที่เสียหาย (ไร่) ผลผลิต (ตันข้าวเปลือก)
ภาคเหนือ 123,428 48,484
- พะเยา 31,823 14,098
- กำแพงเพชร 63,372 22,687
- พิษณุโลก 10,020 4,158
- พิจิตร 16,380 6,978
- อุทัยธานี 1,833 563
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8,280 2,186
- หนองคาย 8,280 2,186
ภาคกลาง 53,419 23,927
- สุพรรณบุรี 1,978 1,193
- นนทบุรี 225 172
- จันทบุรี 2,771 842
- สมุทรสาคร 2,340 1,331
- นครปฐม 4,500 3,096
- กาญจนบุรี 735 272
- ราชบุรี 3,195 1,438
- เพชรบุรี 33,386 14,022
- ประจวบคีรีขันธ์ 4,289 1,561
ภาคใต้ 250 94
- สตูล 250 94
ดังนั้น ผลผลิตข้าวนาปี ฤดูการผลิต ปี 2542/43 คาดว่าจะลดลงจากที่คาดไว้เมื่อ เดือนกันยายน 2542
ว่าจะมีผลผลิต 18.928 ล้านตันข้าวเปลือก คงเหลือ 18.854 ล้านตัน ข้าวเปลือก ผลผลิตลดลง 74,691 ตันข้าว
เปลือก
หอมหัวใหญ่ : พื้นที่ปลูกเสียหายในแหล่งผลิตจังหวัดเชียงใหม่
สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วาง จำกัด และสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ได้
รายงานความเสียหายพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่ของสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรทั่วไปที่ประสบอุทกภัย มีทั้งหมด 6 ตำบล คือ
ตำบลทุ่งปี้ ทุ่งรวงทอง บ้านกาด ดอนเปา ในอำเภอแม่วาง และตำบลทุ่งสะโตก บ้านแม ในอำเภอสันป่าตองเฉพาะ
สมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วาง จำกัด จำนวน 944 ราย มี พื้นที่เสียหาย 1,809 ไร่ 2 งาน และสหกรณ์ผู้
ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง จำกัด จำนวน 1,630 ราย พื้นที่เสียหาย 5,338 ไร่ รวมทั้งหมด 2,574 ราย พื้นที่เสีย
หายทั้งสิ้น 7,147 ไร่ 2 งาน จากความเสียหายดังกล่าว สหกรณ์การเกษตรทั้ง 2 แห่ง ได้ขอนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอม
หัวใหญ่จำนวน 2,574 ปอนด์ (1.165 ตัน) ในปี 2542 เพื่อชดเชยพื้นที่เสียหายเพิ่มเติมจากที่ได้มีการจัดสรรนำเข้า
เมล็ดพันธุ์ในปีนี้ 6,000 ปอนด์ โดยเกษตรกรจะได้เมล็ดพันธุ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉลี่ยคนละ 1 ปอนด์
จากสถานการณ์ดังกล่าวมาแล้ว เพื่อที่เกษตรกรจะสามารถปลูกชดเชยได้ทันฤดูกาล กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ได้ดำเนินการแก้ไข ดังนี้
1. ทำเรื่องเสนอขอนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ปี 2542 จำนวน 2,574 ปอนด์ (1.165 ตัน) เพิ่ม
เติมและได้แจ้งเรื่องนี้ให้กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 แล้ว เพื่อเสนอขอความเห็นชอบ จาก ค.ร.ม.
โดยด่วน
2. ได้เสนอให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทนพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่เสียหาย เช่น มันฝรั่งพันธุ์โรงงาน ซึ่งสหกรณ์ทั้ง
2 สหกรณ์ได้รับเรื่องนี้ไปชี้แจงให้สมาชิกแล้ว ทราบว่ามีสมาชิกส่วนหนึ่งร่วมลงชื่อจะขอปลูกมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน แต่ขอให้อยู่
ในโครงการลดพื้นที่ปลูกกระเทียมและหอมหัวใหญ่ เพื่อขอรับเงินค่าชดเชยหัวพันธุ์ไร่ละ 1,500 บาท เพิ่มเติม ซึ่งกำลังเร่ง
รัดดำเนินการเพื่อที่จะขอเงินจาก คชก.ชดเชยเพิ่มเติมต่อไป
2.2 กระเทียม : การปราบปรามลักลอบการนำเข้า
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เกี่ยวกับมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำ
เข้าสินค้าเกษตร 5 ชนิด คือ กระเทียมหอมหัวใหญ่ (รวมเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่) มันฝรั่ง และเส้นไหม ให้นำเงินที่ได้จาก
การจำหน่ายของกลางที่จับกุมได้ร้อยละ 45 ส่งเข้ากองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์ของกลางที่จับกุมได้ โดยกรมวิชา
การเกษตรได้ดำเนินการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ความแตกต่างสินค้าที่ผลิตภายในประเทศหรือลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ
แต่ในทางปฏิบัติพบปัญหาในการพิสูจน์ของกลางที่จับกุมได้ เนื่องจากว่ากระเทียมที่จับกุมได้คล้ายกับที่ผลิตในประเทศ และการ
จับกุมที่ผ่านมาก็มีการอ้างว่า กระเทียมของกลางที่จับกุมได้เป็นพันธุ์ของกรมส่งเสริมการเกษตรนำไปส่งเสริมให้เกษตรกร ซึ่ง
เมื่อได้สอบถามเจ้าหน้าที่เกษตรในท้องที่จังหวัดที่ถูกอ้างอิงแล้ว ปรากฏว่า ไม่เคยนำพันธุ์ที่จับกุมได้ไปส่งเสริมให้เกษตรกร
แต่เป็นของเกษตรกรจัดหาพันธุ์มาเอง
เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว คณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาด กระเทียม หอมแดง หอมหัว
ใหญ่และมันฝรั่ง ได้มีมติเห็นชอบให้เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมไปขึ้นทะเบียนที่เกษตรอำเภอ โดยระบุพันธุ์ที่เพาะปลูกเป็นพันธุ์
อะไร เนื้อที่เท่าใด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบเมื่อมีการจับกุม นอกจากนี้ให้เกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอ รับรองการ
เคลื่อนย้ายสินค้ากระเทียมภายในประเทศ โดยในใบซื้อ-ขายให้มีการระบุและลงชื่อผู้ขาย แหล่งผลิต รวมทั้งให้กรมวิชาการ
เกษตรทำหน้าที่พิสูจน์ของกลางที่จับกุมได้เมื่อมีกรณีการฟ้องร้องที่ศาล
2.3 สินค้าประมง : อียูกำหนดมาตรการวัสดุหีบห่ออาหารนำเข้าใหม่
รายงานจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ความว่า ขณะนี้คณะ
กรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกประกาศ ลงวันที่ 15 กันยายน 2542 ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของเบลเยี่ยมใน
การป้องกันและจัดการเกี่ยวกับวัสดุหีบห่อและวัสดุเหลือใช้เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป้าหมายการเก็บ
วัสดุหีบห่อและวัสดุเหลือใช้ ดังนี้คือ
กำหนดเป้าหมายครอบคลุมทั้งที่ใช้ในครัวเรือนและที่นำเข้าร้อยละ 50-65 ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544
กำหนดเป้าหมายให้มีการนำวัสดุดังกล่าวกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 25-45 หรืออย่างน้อยร้อยละ 15 ของน้ำหนัก
วัสดุแต่ละชิ้น
ให้มีการจัดตั้งระบบการตรวจสอบเป็นระยะๆ แต่เน้นว่าจะต้องไม่เป็นการบิดเบือนทางการค้าการที่เบล
เยี่ยมนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปใช้เป็นการทั่วไปในอียูในระยะต่อไป โดยอาจจะอ้างเหตุผล
เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาเชื่อมโยงกับประเด็นการค้า ถือเป็นการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอาจมี
ผลกระทบต่อสินค้าเกษตรไทยที่มีการบรรจุหีบห่อโดยเฉพาะสินค้าแช่แข็ง เช่น สินค้าประมง ไก่ เนื่องจากข้อกำหนดดังกล่าว
เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ประกอบการ หรืออาจมีการเรียกร้องให้ผู้ส่งออกปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ให้เหมาะสมกับมาตรการนี้ โดยภาระ
เหล่านี้คาดว่า อียูจะผลักภาระมาให้ผู้ผลิต-ส่งออก ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าเกษตรไทยไปอียูมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะนอกจาก
จะต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับที่อียูกำหนดแล้ว จะต้องคำนึงถึงระดับราคาที่จะต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันด้วย
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 8-14 พ.ย. 2542--