บทคัดย่อ
เรื่องกระบวนการตัดสินใจกับอิทธิพลจากต่างประเทศ
โดย นายยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
บรรยายเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สถาบันพัฒนาข้าราชการ
-----------------------
การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการของการเปรียบเทียบผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากทางเลือกหลายๆ ทางโดยที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงสุดและได้รับความพอใจจากการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร สำหรับกระบวนการตัดสินใจนั้น หมายถึง การกำหนดขั้นตอนของการตัดสินใจตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย มี 2 รูปแบบ คือ 1) การตัดสินใจโดยบุคคลเดียว และ 2) การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคล โดยใช้หลักเหตุผลและกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การระบุปัญหา 2) การระบุข้อจำกัดของปัจจัย 3) การพัฒนาทางเลือก 4) การวิเคราะห์ทางเลือก 5) การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด 6) การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ 7) การสร้างระบบควบคุมและติดตามประเมินผล กระบวนการตัดสินใจ
โดยที่อิทธิพลจากต่างประเทศเป็นปัจจัยภายนอกที่มีส่วนสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายการค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงอิทธิพลของต่างประเทศทางด้านการค้านั้น จะหมายถึงประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงจีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของภาวะเศรษฐกิจการค้าของโลกและของไทย เพราะส่วนใหญ่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย นอกเหนือจากประเทศมหาอำนาจแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็มีบทบาทในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยเช่นกัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการค้าของไทยในอดีตที่ผ่านมาจะพึ่งพาการส่งออก (Export Oriented) เพื่อนำรายได้หลักเข้าสู่ประเทศจากการส่งออกเป็นสำคัญ แต่ภายหลังจากที่ไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในปี พ.ศ.2540 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจการค้าเป็นแบบคู่ขนาน (Dual Track) โดยเน้นให้มีการกระตุ้นการขยายตัวทั้งด้านเศรษฐกิจการค้าภายในประเทศควบคู่ไปกับเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจดังกล่าว ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของไทยจะใช้วิธีกระบวนการตัดสินใจแบบกลุ่มและแบบ Two ways communication ผ่านกลไกของคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบของกระทรวงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการบริหารนโยบายการนำเข้า เป็นผู้กำหนดนโยบายการนำเข้าสินค้า และบริการ ให้ดุลการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสม คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการเสรี เป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ เป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าในประเทศต่างๆ ซึ่งมีทีมประเทศไทยในต่างประเทศ (Team Thailand) เป็นผู้วางแผน กำหนดนโยบาย ทิศทางเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์แบบบูรณาการในประเทศที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของประเทศและครอบคลุมมิติทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง และด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ยังมีปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากโครงสร้างของหน่วยงานไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นหน่วยกำหนดภาพรวมของนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แต่ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดมาจากฝ่ายบริหารระดับสูงของประเทศ และหน่วยงานยังไม่มีความชำนาญในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้แล้ว ขอบเขตของหน่วยราชการในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศยังไม่ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนในการทำงานที่เกี่ยวโยงกันหลายหน่วยงาน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-
เรื่องกระบวนการตัดสินใจกับอิทธิพลจากต่างประเทศ
โดย นายยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
บรรยายเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สถาบันพัฒนาข้าราชการ
-----------------------
การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการของการเปรียบเทียบผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากทางเลือกหลายๆ ทางโดยที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงสุดและได้รับความพอใจจากการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร สำหรับกระบวนการตัดสินใจนั้น หมายถึง การกำหนดขั้นตอนของการตัดสินใจตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย มี 2 รูปแบบ คือ 1) การตัดสินใจโดยบุคคลเดียว และ 2) การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคล โดยใช้หลักเหตุผลและกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การระบุปัญหา 2) การระบุข้อจำกัดของปัจจัย 3) การพัฒนาทางเลือก 4) การวิเคราะห์ทางเลือก 5) การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด 6) การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ 7) การสร้างระบบควบคุมและติดตามประเมินผล กระบวนการตัดสินใจ
โดยที่อิทธิพลจากต่างประเทศเป็นปัจจัยภายนอกที่มีส่วนสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายการค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงอิทธิพลของต่างประเทศทางด้านการค้านั้น จะหมายถึงประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงจีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของภาวะเศรษฐกิจการค้าของโลกและของไทย เพราะส่วนใหญ่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย นอกเหนือจากประเทศมหาอำนาจแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็มีบทบาทในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยเช่นกัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการค้าของไทยในอดีตที่ผ่านมาจะพึ่งพาการส่งออก (Export Oriented) เพื่อนำรายได้หลักเข้าสู่ประเทศจากการส่งออกเป็นสำคัญ แต่ภายหลังจากที่ไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในปี พ.ศ.2540 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจการค้าเป็นแบบคู่ขนาน (Dual Track) โดยเน้นให้มีการกระตุ้นการขยายตัวทั้งด้านเศรษฐกิจการค้าภายในประเทศควบคู่ไปกับเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจดังกล่าว ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของไทยจะใช้วิธีกระบวนการตัดสินใจแบบกลุ่มและแบบ Two ways communication ผ่านกลไกของคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบของกระทรวงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการบริหารนโยบายการนำเข้า เป็นผู้กำหนดนโยบายการนำเข้าสินค้า และบริการ ให้ดุลการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสม คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการเสรี เป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเจรจาจัดความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ เป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าในประเทศต่างๆ ซึ่งมีทีมประเทศไทยในต่างประเทศ (Team Thailand) เป็นผู้วางแผน กำหนดนโยบาย ทิศทางเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์แบบบูรณาการในประเทศที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของประเทศและครอบคลุมมิติทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง และด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ยังมีปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากโครงสร้างของหน่วยงานไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นหน่วยกำหนดภาพรวมของนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แต่ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดมาจากฝ่ายบริหารระดับสูงของประเทศ และหน่วยงานยังไม่มีความชำนาญในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้แล้ว ขอบเขตของหน่วยราชการในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศยังไม่ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนในการทำงานที่เกี่ยวโยงกันหลายหน่วยงาน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-