Media Talk: กลุ่ม Buyer 2.0 หรือกลุ่มผู้ซื้อรุ่นใหม่มีอิทธิพลต่อวิธีการสร้างดีมานด์อย่างไร

ข่าวต่างประเทศ Monday March 9, 2015 15:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

PR Newswire เผยแพร่บทความในชื่อ กลุ่ม Buyer 2.0 หรือกลุ่มผู้ซื้อรุ่นใหม่มีอิทธิพลต่อวิธีการสร้างดีมานด์อย่างไร

เปลี่ยนแนวคิดการสื่อสารทางการตลาดและกลยุทธ์พีอาร์ของคุณ

ผู้ซื้อ ซึ่งได้แก่ ภาคธุรกิจ ผู้บริโภค และรัฐบาล มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เพราะได้รับแรงผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงของช่องทางการสื่อสารและเทคโนโลยีที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลก่อนซื้อ และการแบ่งปันข้อมูลร่วมกับผู้ที่อยู่ในวงการเดียวกัน ตัวแทนโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต้องพยายามตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และเดินหน้าไปพร้อมๆกับลูกค้า ในขณะที่ต้องต่อสู้กันเองเพื่อคว้าส่วนแบ่งงบการตลาดมาให้ได้มากยิ่งขึ้น

พีอาร์หรือประชาสัมพันธ์มืออาชีพกำลังเผชิญกับความท้าทายและโอกาสอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งและเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ผู้ซื้อเลือกบริษัทพีอาร์และหน่วยงานที่มอบข้อเสนอดีที่สุด นั่นคือคอนเทนท์ที่เป็นข้อมูลความรู้และเรื่องราวที่น่าสนใจ แต่พีอาร์มืออาชีพยังต้องปรับปรุงตัวเองและเปลี่ยนความคิดในเรื่องวิธีสร้างและเผยแพร่บทความให้สอดคล้องกับทิศทางการทำงานของผู้ซื้อด้วยเช่นกัน

*Buyer 2.0: ข้อมูลแน่นและพร้อมเปลี่ยนแปลง

ผู้ซื้อได้รับอิทธิพลจากการวิจัยมากกว่าการเสนอขายในรูปแบบเดิมๆ การที่จะติดต่อไปยังบริษัทใดๆนั้น กลุ่มผู้ซื้อเหล่านี้ได้ทำการตัดสินใจมาแล้วหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงการตัดผู้ให้บริการบางรายออกไป อันที่จริงแล้ว วัฏจักรการซื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว

บทความในวารสาร “Harvard Business Review."[1] ระบุว่า ผู้ซื้อขอคำปรึกษาจากเพื่อนและผู้ที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน ซึ่งให้ความเห็นที่น่าเชื่อถือมากกว่าการโฆษณา และยังค้นหาข้อมูลจากสื่อแบบดั้งเดิมและสื่อออนไลน์ ขณะที่ผู้บริโภคมองหาข้อมูลจากมากกว่า 10 แหล่งก่อนทำการซื้อ และ 9 ใน 10 ทำในสิ่งที่กูเกิลเรียกว่า "นาทีเริ่มต้นของความจริง (zero moment of truth)" ก่อนทำการตัดสินใจครั้งสุดท้ายก่อนซื้อ[2]

ในขณะที่เราหันไปเสพคอนเทนท์ผ่านทางอุปกรณ์พกมามากขึ้น แบรนด์ต่างๆจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเรื่องแพลตฟอร์มที่ใช้ในการส่งเสริมการตลาด ผู้ซื้อไม่ได้เชื่อในข้อความหลายอย่างที่ได้รับจากแบรนด์ในรูปของ SMS แบนเนอร์โฆษณา แอปบนอุปกรณ์พกพา และอีเมล ผลการวิจัยของ Forrestor พบว่า SMS มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุดที่เพียงแค่ 9% ในขณะที่แบนเนอร์โฆษณาได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้กลุ่มผู้ชม 10% แอปได้รับความเชื่อถือ 12% และอีเมลได้รับ 18%[3] การจ้างบุคคลที่ชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากเช่นกัน Ad Age ระบุว่า มีผู้ซื้อไม่ถึง 12% ที่เชื่อในสิ่งที่ผู้มีชื่อเสียงกล่าวในโฆษณา[3][4]

*รูปโฉมของ “Buyer 2.0" ยุคใหม่

ในยุค Sales 1.0 ผู้ขายมีความได้เปรียบผู้ซื้อในเรื่องสมมาตรของข้อมูล แต่ในยุค Sales 2.0 ความได้เปรียบนั้นไม่ได้มีอีกต่อไปเนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อมีเครื่องมือที่ดีกว่าเดิมอยู่ในมือ

นิยามของ Buyer 2.0:

  • ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดหาโซลูชั่น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ รีวิวผลิตภัณฑ์ และข้อมูลเบื้องต้นทางเว็บไซต์
  • ใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อเรียนรู้ว่าบริษัทอื่นๆแก้ปัญหาความท้าทายทางธุรกิจที่มีรูปแบบคล้ายกันอย่างไร
  • ควบคุมการติดต่อสื่อสารกับผู้ให้บริการ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องเวลาและรูปแบบ

ผลลัพธ์ที่ได้ คือ กลุ่มผู้ซื้อที่:

  • สามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้เพื่อเป็นแนวทางในการซื้อและขั้นตอนการตัดสินใจ
  • สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
  • สามารถคัดจำนวนผู้จัดหาโซลูชั่นที่น่าสนใจให้เหลือเพียงไม่กี่รายก่อนที่จะติดต่อไปยังรายนั้นๆ
  • ไร้ความอดทนและต้องการข้อมูลที่กระชับและชัดเจนในทันที

ลูกค้าจะเริ่มติดต่อตัวแทนการขายหลังผ่านกระบวนการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเองไปแล้วราว 60%

1. มือถือ/แอป

2. ส่วนร่วมทางสังคม

3. เรทติ้ง/รีวิว

4. ผลตอบแทนจากการลงทุน

5. แพคเกจ

6. ตัวผลิตภัณฑ์

7. บริการลูกค้า

8. เว็บไซต์

9. การสื่อสารขององค์กร

10. โฆษณาออนไลน์

11. อีเวนท์ต่างๆ

ผู้บริโภคในสหรัฐเชื่อถือรีวิวของกลุ่มผู้ซื้อด้วยกันเองพอๆกับรีวิวของมืออาชีพที่สัดส่วน 46% และ 55% ตามลำดับ แต่มีการตลาดแบบหนึ่งที่ผู้บริโภคเชื่อถือมากพอๆกับคำแนะนำจากสมาชิกในครอบครัว นั่นคือ คอนเทนท์ที่แบรนด์เป็นผู้สร้างเอง[3]

Forrester และ U.S. News [5, 6] ระบุว่า ผู้ซื้อ 7 ใน 10 รายเชื่อถือคอนเทนท์ที่แบรนด์เป็นผู้สร้าง และเชื่อในคอนเทนท์มากกว่าโฆษณาในหนังสือพิมพ์เกิน 2 เท่า คอนเทนท์ที่แบรนด์เป็นผู้สร้างครอบคลุมถึงบทความและบล็อกที่โพสต์บนเว็บไซต์ของบริษัท สมุดปกขาว การสัมมนาผ่านทางเว็บ หรือพูดง่ายๆคือคอนเทนท์ทุกประเภทที่ไม่ใช่โฆษณา ซึ่งนำเสนอข้อมูลความจริง ผลวิจัย และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ แทนที่จะโฆษณาตรงๆ

หลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า บริษัทควรนำเสนอข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่าระดมส่ง SMS ที่ไม่น่าเชื่อถือให้ลูกค้า ปัจจุบันหลายบริษัทเริ่มผันงบโฆษณามาใช้กับการโฆษณาบนมือถือแทน โดยทาง eMarketer เปิดเผยว่า งบที่ใช้ไปกับการโฆษณาบนมือถืออาจพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์แตะ 3.145 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2557 แต่ส่วนใหญ่ผู้ซื้อก็ไม่สนใจโฆษณาประเภทนี้อยู่ดี[7]

ผู้ซื้อวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ นักประชาสัมพันธ์ต้องตามให้ทันหรือแซงหน้าให้ได้

*ปัญหาที่ท้าทายและโอกาสสำหรับมืออาชีพชาวพีอาร์

ปัจจุบัน เหล่ามืออาชีพข่าวพีอาร์ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสื่อรูปแบบเดิมๆเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอีกต่อไป ขณะที่บุคลากรในวงการต้องแบกรับภาระอันหนักหน่วงทั้งการสร้างและกระจายคอนเทนท์ ขณะนี้ ตลาดต่างๆมีคอนเทนท์อัดแน่นอยู่มากมาย โดยข้อมูลสถิติจาก AOL และ Nielsen ระบุว่า ในแต่ละวันนั้นมีการแชร์คอนเทนท์ถึง 27 ล้านชิ้นต่อวัน ในขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์และทีวีเริ่มมีพื้นที่สื่อลดลงอย่างต่อเนื่อง จนมีบุคลากรในวงการต้องสูญเสียตำแหน่งงานมากมาย

และน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่แบรนด์ต่างๆไม่ได้ยึดติดอยู่เพียงสื่อแบบเดิมๆ เพื่อสร้างความตระหนักรับรู้และถ่ายทอดข้อความแก่กลุ่มเป้าหมาย เนื่องเว็บไซต์นั้นมีช่องทางที่มีศักยภาพมากมายในการเข้าถึงและสร้างอิทธิพลต่อกลุ่มผู้รับสาร ไม่ว่าจะเป็นบรรดาบล็อกเกอร์ การประชุม และบุคคลทั่วไปที่มีสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลต่อทิศทางความคิดเห็น

หรือถ้าจะให้พูดง่ายๆแล้ว การประชาสัมพันธ์ในโลกปัจจุบันนั้นเป็นงานที่หนักกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากจำนวนผู้ทรงอิทธิพลที่มีมากขึ้น มีชุมชนใหญ่ขึ้น อีกทั้งยังมีช่องทางเชื่อมต่อกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ขณะที่กระแสข้อมูลและความโปร่งใสของโลกดิจิตอลยุคปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีอิทธิพลเหนือแบรนด์ โดยผู้ซื้อสามารถรับสารเวลาใดก็ได้ตามความต้องการ

การโหมแคมเปญเพื่อเปิดตัวสินค้าใหม่นั้น ไม่เพียงพออีกต่อไปสำหรับโลกในปัจจุบัน แบรนด์ต่างๆจำเป็นต้องมีการคิดค้นและเผยแพร่คอนเทนท์ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจ จุดประกายการสนทนา และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อตัวแบรนด์เอง

เทรซี สโต๊กส์ นักวิเคราะห์จาก Forrester กล่าวว่า “นักการตลาดวันนี้มีอำนาจในการเชื่อมโยงกับลูกค้าในลักษณะที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากคอนเทนท์จากแบรนด์ต่างๆนั้นทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างอิทธิพลในการกระตุ้นอารมณ์ของสื่อโทรทัศน์ เข้ากับความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของการโฆษณาผ่านสื่อดิจิตอล" โดยนักการตลาดส่วนใหญ่ต่างหันไปสร้างคอนเทนท์ที่มีอิทธิพลอย่างครอบคลุม เพื่อส่งสารให้เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย

*การส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง

ผู้ซื้อต้องการข้อมูลที่สามารถช่วยสนับสนุนและยืนยันการตัดสินใจของตนเอง การสร้างเรื่องราวให้กับแบรนด์ โดยใช้คำอธิบายผลิตภัณฑ์และบริการแต่ละชนิดเป็นปัจจัยดึงดูดความสนใจ จะทำให้ผู้ซื้อได้ข้อมูลที่ต้องการ และจะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ หากข้อความดังกล่าวถูกส่งไปถึงยังกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์

ในบทความของ พอล โรเซอร์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูงของ PR 20/20 ซึ่งเป็นหน่วยงานด้าน Inbound Marketing ที่มีฐานอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ [11]ระบุว่า การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและจัดหาข้อมูลที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยลูกค้าแบบ B2C มักหาข้อมูลอ้างอิงกว่า 10 แหล่งก่อนที่จะตัดสินใจ ส่วนลูกค้าแบบ B2B นั้น จะเสิร์ชหาข้อมูลกว่า 60% ในกระบวนการตัดสินใจก่อนที่จะทำการซื้อขาย

มืออาชีพในวงการพีอาร์ที่ไม่คำนึงถึงกลุ่มลูกค้าของบริษัทย่อมพ่ายแพ้แก่ผู้ที่ใส่ใจในเรื่องนี้ รายงานจากสถาบันการตลาดด้านเนื้อหา[12] [13] ระบุว่า 90% ของการทำธุรกิจแบบ B2C และ 93% ของธุรกิจแบบ B2B ทำการตลาดแบบใช้เนื้อหาดึงดูดความสนใจ แต่จากผลการสำรวจพบว่า 42% ของธุรกิจแบบ B2C และ 34% ของธุรกิจแบบ B2B ยอมรับว่าสามารถนำวิธีดังกล่าวไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โอกาสนั้นมีอยู่มากมาย ดังนั้นจงเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำ โดยไม่ต้องลงทุนทำเนื้อหาให้ดังกระฉ่อนเหมือนกับ Oreo หรือ Old Spice แม้แต่น้อย เพียงจัดเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่ลูกค้าให้ความสนใจอย่างสม่ำเสมอ และใช้เครื่องมือสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ออกมาเป็นประจำทุกสัปดาห์ ดังเช่นที่ Travelocity และ Whole Foods ได้ทำอยู่ในขณะนี้

*การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

จะว่าไปแล้ว การผลิตคอนเทนท์คุณภาพก็เป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญ แต่การเข้าถึงคอนเทนท์ของกลุ่มเป้าหมายบริษัทก็เป็นเรื่องที่สำคัญด้วยเช่นกัน

ผลสำรวจจาก Mail Chimp และ Constant Contact (14, 15) ชี้ว่า บล็อกที่โพสต์บนเว็บไซต์ของบริษัทจะคงอยู่เช่นนั้นตลอดไป และเข้าถึงแค่กลุ่มผู้อ่านทั่วไปเพียงไม่กี่คน ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักแบรนด์ของบริษัทเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ขณะที่อีเมล ซึ่งส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ได้มีการคัดเลือกไว้นั้น จะมีผู้เปิดอ่านเพียงแค่ 1 ใน 10 หรือ 1 ใน 5 คนเท่านั้น

วิธีเดียวที่จะขยายขอบเขตการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายก็คือ การแชร์บล็อกลงในโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม โซเชียลมีเดียถือเป็นช่องทางที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด และฟีดข่าวมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทวีตข้อความถึง 500 ล้านครั้งต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความ 1 หมื่นล้านครั้งต่อวัน และมีการแชร์ข้อความเหล่านั้นต่อประมาณ 4.75 พันล้านครั้ง (16, 17) ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าถึงโซเชียลมีเดียยังถูกจำกัดด้วยจำนวนผู้ติดตามของบริษัทอีกด้วย แม้ว่ายอดผู้ติดตามจะเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต แต่การโพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียเพียง 1 ครั้งก็ไม่ใช่วิธีที่จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีอีก 1 วิธีที่จะสามารถส่งข่าวสารของบริษัทไปสู่กลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงผู้ที่ไม่รู้จักแบรนด์นี้มาก่อน นั่นคือ: การใช้บริการส่งข่าว

ปัจจุบัน กลุ่มผู้ซื้อ และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้พลังและเป้าหมายของข่าวประชาสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ และวิทยุยังเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ มูลค่าหลักของข่าวสารคือการสื่อสารกับบรรณาธิการ และผู้สื่อข่าวในวงกว้าง

*ข่าวประชาสัมพันธ์สามารถส่งสารจากแบรนด์ไปยังกลุ่มผู้รับในวงกว้างได้ และพีอาร์มืออาชีพอาจใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ได้ผ่าน 3 ทางหลักด้วยกัน

1. เขียนข่าว และพูดถึงสิ่งที่กลุ่มผู้รับสารสนใจในข่าวประชาสัมพันธ์

ทำการบ้าน และเขียนข่าวให้ดีเพื่อให้สื่อมวลชนที่มีพนักงานไม่เพียงพอสามารถนำข้อมูลจากข่าวประชาสัมพันธ์ไปใช้ได้เลย การเผยแพร่ข่าวทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์จำเป็นต้องใช้ข้อมูล โดยสื่มวลชนอเหล่านั้นจะใช้ข่าวที่มีเนื้อหาน่าสนใจ ตรงกับความต้องการ และหยิบไปใช้ได้เลยเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องบุคลากรและเวลา

2. ค้นหามุมมองใหม่ๆ จากสื่อขององค์กรคุณ

เน้นข้อมูลประเด็นต่างๆ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ หรือกรณีการนำไปใช้งานเฉพาะ และนำจุดเด่นเหล่านั้นไปสร้างความน่าสนใจให้กับเนื้อหาแบรนด์ ซึ่งช่วยให้การเผยแพร่ข่าวสะดุดตา การรวมจุดเด่นและเนื้อหาเข้าไปในข่าวประชาสัมพันธ์ แล้วเผยแพร่ออนไลน์ผ่านบริการต่างๆ เช่นของพีอาร์นิวส์ไวร์ จะช่วยให้เนื้อหาข่าวเปิดสู่วงกว้าง และเป็นไปได้ว่าจะได้รับความสนใจจากสื่อมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ชมได้รับข่าวสารมากยิ่งขึ้น

3. อย่าลืมใส่รูปประกอบ

อินโฟกราฟฟิกสามารถสื่อสารเรื่องราวได้อย่างรวดเร็ว และดึงดูดความสนใจในแบบที่ข้อความธรรมดาทำไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อส่งวิดีโอให้สื่อต่างๆ ในรูปแบบที่สามารถนำไปตัดต่อได้ นักข่าวจะสามารถเลือกหยิบส่วนที่ต้องการไปใช้งานได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งเรื่องการเพิ่มความน่าสนใจให้ข้อความ และการเข้าถึงสื่อ

บริการของพีอาร์นิวส์ไวร์ประกอบด้วย บริการ PR Newswire for Journalists ซึ่งเป็นบริการที่บล็อกเกอร์และสื่อที่ได้รับการรับรองมากกว่า 30,000 รายใช้งาน บริการดังกล่าวจะส่งตรงเข้าสู่ห้องข่าว ฟีดข่าว RSS และฟีดข่าวโซเชียลมีเดีย รวมถึงกระจายข่าวไปที่เว็บไซต์กว่า 10,000 เว็บทั่วโลก

*ข้อความ ช่องทาง และผลลัพธ์ที่ใช่

ผู้บริโภคทุกวันนี้ฉลาดและมีวิสัยทัศน์ พวกเขาไม่ต้องการโดนหลอกหรือถูกทำให้ไขว้เขว แต่ผู้บริโภคต้องการข้อมูลพร้อมกับความบันเทิง ผู้บริโภคเชื่อว่าตัวเองสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดและให้ความเคารพบริษัทต่างๆ และผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ เหล่านี้ คือ ผู้ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกง่ายดาย

มืออาชีพด้านการประชาสัมพันธ์ กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ในยุค Buyer 2.0 แต่วิธีการรับมือความท้าทายนั้นชัดเจน คือ การส่งข้อมูลที่ใช่ ผ่านช่องทางที่ใช่ และคุณจะได้รับผลลัพธ์ที่ใช่!

อ้างอิง

[1] “Think With Google, The Zero Moment of Truth Macro Study"
[2] Harvard Business Review, “For Mobile Devices, Think Apps, Not Ads"
[3] Media Post, “As Contempt for Push Grows, Branded Content Rises"
[4] Ad Age, “Celebrities in Advertising are Almost Always a Big Waste of Money," Jan 12, 2011
[5] Forrester, “How Branded Content Will Unlock the Key to Consumer Trust"
[6] U.S. News, “Majority of Americans Don’t Trust Newspapers and Television News"
[7] eMarketer, “Driven by Facebook and Google, Mobile Ad Market Soars"
[8] The Sunday Share, “50 Stats You Need to Know About Content Marketing"
[9] Poynter, “ASNE Census Finds 2600 Newsroom Jobs were Lost in 2012"
[10] Forrester blog, Tracy Stokes, “Don’t Push it. Connect Content and Conversation to Pull Consumers Into Your Brand."
[11] Content Marketing Institute, Paul Roetzer, “Mapping the Next Frontier in Brand Storytelling"
[12] Content Marketing Institute, Content Marketing 2014 B2C Benchmarks, Budgets and Trends–North America
[13] Content Marketing Institute, Content Marketing 2014 B2B Benchmarks, Budgets and Trends -- North America
[14] Mail Chimp, “Email Marketing Benchmarks"
[15] Constant Contact
[16] Twitter Usage Statistics
[17] Expanded Ramblings, “By the Numbers: 17 Amazing Facebook Stats"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ