กรุงเทพ--8 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากกองทัพเรือว่า เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2542 เวลาประมาณ 13.00 น. เรือรบหลวงเจ้าพระยาได้รับแจ้งจากเรือประมงไทยชื่อ ตวงทรัพย์ 9 ว่า ได้ถูกเรือรบพม่า ชั้น ไฮนาน หมายเลข 450 ไล่ติดตามและใช้อาวุธปืนโจมตีบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือจากเกาะช้างอันเป็นพื้นที่น่านน้ำของจังหวัดระนอง ในการนี้ เรือรบหลวงเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการห่างจากเรือตวงทรัพย์ 9 ได้แจ้งประมาณ 10 ไมล์ จึงได้ออกเรือและได้สั่งการให้เรือตรวจการณ์ 94 และเรือตรวจการณ์ 222 ออกเรือไปบริเวณที่เกิดเหตุและจากการสังเกตการณ์ เมื่อเดินทางถึง เรือรบหลวงเจ้าพระยาอยู่ห่างจากเรือรบพม่าประมาณ 36 ไมล์ และทั้งสองฝ่ายได้แล่นเรือขนานกันไป และสังเกตการณ์ซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตอบโต้ด้วยอาวุธ จนกระทั่งเรือทั้งสองฝ่ายแล่นเรือออกจากพื้นที่เกิดเหตุไป และเรือรบหลวงเจ้าพระยาได้ช่วยเหลือเรือตวงทรัพย์ 9 ให้ออกจากพื้นที่ทับซ้อนไทย-พม่าได้สำเร็จโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงระหว่างสองฝ่าย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศเคยแจ้งความกังวลใจแก่ฝ่ายพม่าเกี่ยวกับกรณีการกระทบกระทั่งของกองเรือทั้งสองฝ่ายอันเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ รวมทั้งการอ้างสิทธิอาณาเขตทางทะเลทับซ้อนกัน กระทรวงฯ คาดหวังว่า ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนร่วม (RBC) ไทย-พม่า ซึ่งจะจัดที่จังหวัดภูเก็ตในเดือนมีนาคม 2542 ทั้งสองฝ่ายจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการป้องกันปัญหากระทบกระทั่งโดยการจัดตั้งการตรวจการณ์ร่วมทางทะเล (Joint Patrol) และการส่งเจ้าหน้าที่ของพม่ามาประจำอยู่ที่ศูนย์ประสานงานประมงไทย-พม่าที่จังหวัดระนอง รวมถึงการขยายผลเรื่องการจัดตั้งโทรศัพท์สายด่วน (hot line) ซึ่งขณะนี้มีในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว
อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุมคณะกรรมการชายแดนร่วมฯ ดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายควรมีมาตรการชั่วคราวที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการกระทบกระทั่งระหว่างกัน โดยระมัดระวังการดำเนินการใด ๆ ที่จะละเมิดอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง และมีการระมัดระวังอดกลั้นที่จะไม่ใช้วิธีการรุนแรงที่จะทำให้ เหตุการณ์บานปลายกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศขอเตือนเรือประมงไทยให้มีความระมัดระวังในการเดินเรือ มิให้ล่วงล้ำอาณาเขตทางทะเลของประเทศเพื่อนบ้านอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากกองทัพเรือว่า เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2542 เวลาประมาณ 13.00 น. เรือรบหลวงเจ้าพระยาได้รับแจ้งจากเรือประมงไทยชื่อ ตวงทรัพย์ 9 ว่า ได้ถูกเรือรบพม่า ชั้น ไฮนาน หมายเลข 450 ไล่ติดตามและใช้อาวุธปืนโจมตีบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือจากเกาะช้างอันเป็นพื้นที่น่านน้ำของจังหวัดระนอง ในการนี้ เรือรบหลวงเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการห่างจากเรือตวงทรัพย์ 9 ได้แจ้งประมาณ 10 ไมล์ จึงได้ออกเรือและได้สั่งการให้เรือตรวจการณ์ 94 และเรือตรวจการณ์ 222 ออกเรือไปบริเวณที่เกิดเหตุและจากการสังเกตการณ์ เมื่อเดินทางถึง เรือรบหลวงเจ้าพระยาอยู่ห่างจากเรือรบพม่าประมาณ 36 ไมล์ และทั้งสองฝ่ายได้แล่นเรือขนานกันไป และสังเกตการณ์ซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตอบโต้ด้วยอาวุธ จนกระทั่งเรือทั้งสองฝ่ายแล่นเรือออกจากพื้นที่เกิดเหตุไป และเรือรบหลวงเจ้าพระยาได้ช่วยเหลือเรือตวงทรัพย์ 9 ให้ออกจากพื้นที่ทับซ้อนไทย-พม่าได้สำเร็จโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงระหว่างสองฝ่าย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศเคยแจ้งความกังวลใจแก่ฝ่ายพม่าเกี่ยวกับกรณีการกระทบกระทั่งของกองเรือทั้งสองฝ่ายอันเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ รวมทั้งการอ้างสิทธิอาณาเขตทางทะเลทับซ้อนกัน กระทรวงฯ คาดหวังว่า ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนร่วม (RBC) ไทย-พม่า ซึ่งจะจัดที่จังหวัดภูเก็ตในเดือนมีนาคม 2542 ทั้งสองฝ่ายจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการป้องกันปัญหากระทบกระทั่งโดยการจัดตั้งการตรวจการณ์ร่วมทางทะเล (Joint Patrol) และการส่งเจ้าหน้าที่ของพม่ามาประจำอยู่ที่ศูนย์ประสานงานประมงไทย-พม่าที่จังหวัดระนอง รวมถึงการขยายผลเรื่องการจัดตั้งโทรศัพท์สายด่วน (hot line) ซึ่งขณะนี้มีในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว
อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุมคณะกรรมการชายแดนร่วมฯ ดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายควรมีมาตรการชั่วคราวที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการกระทบกระทั่งระหว่างกัน โดยระมัดระวังการดำเนินการใด ๆ ที่จะละเมิดอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง และมีการระมัดระวังอดกลั้นที่จะไม่ใช้วิธีการรุนแรงที่จะทำให้ เหตุการณ์บานปลายกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศขอเตือนเรือประมงไทยให้มีความระมัดระวังในการเดินเรือ มิให้ล่วงล้ำอาณาเขตทางทะเลของประเทศเพื่อนบ้านอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--