ในการสาวไหมแต่ละครั้ง ผู้สาวไหมต้องเตรียมอุปกรณ์มากมาย อีกทั้งขั้นตอน วิธีการทำก็ค่อนข้างยุ่งยากและต้องอาศัยความชำนาญพอสมควร กว่าจะได้เส้นไหมที่ออกมาเรียบสวยสม่ำเสมอ เริ่มจากผู้สาว ต้องต้มน้ำให้ร้อนใส่รังไหมลงไป เมื่อไหมโดนความร้อน กาวที่เกาะตัวกันอยู่ก็จะละลายออก เส้นไหมก็จะคลายแล้วก็เริ่มสาว ผู้สาวไหมจะต้องหาปมของรังไหมแต่ละเส้น โดยใช้แปรงสีฟันแตะที่รังไหมแต่ละรัง ปลายเส้นไหมที่คลายออกจะเกาะกับขนรังแปรงสีฟัน เมื่อได้ครบเกือบทุกรัง ก็รวบปลายทั้งหมดไปยังช่องลอด พันรอบพวงสาวแล้วลงมือสาวเส้นไหมด้วยความมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาทั้งความยุ่งยากในการสาวไหมและความต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตต่อวันให้มากขึ้น เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด
เครื่องสาวไหมกึ่งอัตโนมัติ 4 ใน 1 เดียว สำหรับครัวเรือนการเกษตร จึงถูกพัฒนาขึ้น โดยฝีมือ ผศ.วิทยา ชื่นอุปการนันท์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน ซึ่งทีมงานเปิดเผยว่า "เครื่องสาวไหมนี่จะมีความพิเศษอยู่ที่ มันสามารถทำงานตั้งแต่กระบวนการต้มรังไหมจนถึง สามารถกรอเส้นไหมได้ภายในตัวเดียว ซึ่งไม่ต้องแยกไปทำใหม่อีกต่างหาก โดยตัวเครื่องประกอบด้วยเครื่องต้มรังไหม 2 หม้อ คือ หม้อร้อนและหม้อเย็น เครื่องสาวไหมสามารถปรับให้เป็นร้อนและเย็นได้ เพื่อใช้ละลายกาวไหมเพื่อให้กาวไหมคลายตัว ส่วนของเครื่องสาวไหมจากอ่างสาว สุดท้ายคือเครื่องกรอไหม สำหรับเก็บไว้ใช้ต่อไป ซึ่งทั้ง 4 ส่วน จะอยู่ในเครื่องเดียว เครื่องนี้ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ 2 ส่วน คือส่วนของการทำความร้อน ในการต้มน้ำของหม้อต้ม และส่วนที่ใช้ในการเดินเครื่องจักร ในการสาวไหมออกเป็นเส้นใย และกรอไหมทำเป็นเข็ด ส่วนความสามารถในการสาวไหมเมื่อเปรียบเทียบกับการสาวไหมของชาวบ้านทั่วๆ ไป อยู่ที่ 2 ขีด ต่อวันแล้ว เครื่องนี้สามารถสาวได้ถึง 1-2 กิโลกรัม ต่อวัน มีเครื่องช่วยเตือนให้เติมรังไหมเมื่อเส้นไหมเริ่มเหลือบางขึ้น"
ผศ.วิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับต้นทุนในการผลิตจริงๆ ประมาณ 2-3 หมื่นบาท และเครื่องสาวไหมนี้เหมาะสำหรับรังไหมพันธุ์ไทยลูกผสมต่างประเทศมากกว่าพันธุ์อื่นๆ และสำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.วิทยา ชื่นอุปการนันท์ หมายเลขโทรศัพท์ (09) 713-7277
เมื่อก่อน การออกแบบลายผ้าขึ้นมาสักลายหนึ่ง ต้องใช้ดินสอ หรือสีระบายลงบนสมุดกราฟ บางคนก็ใช้วิธีออกแบบบนกี่ขนาดเล็ก หรือการทอกระดาษ แต่กว่าจะได้ลายผ้าที่เสร็จสมบูรณ์ แบบทั้งสี ทั้งลาย ก็ใช้เวลานานพอสมควร ยิ่งถ้าหากกลุ่มผู้ผลิตที่อยู่ในระดับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กแล้ว การออกแบบด้วยมือแบบเก่าย่อมไม่สามารถรองรับกับความต้องการของตลาดได้อย่างแน่นอน
มาถึงวันนี้ได้มีการนำเอาโปรแกรมออกแบบลายทอเข้ามาใช้ในการออกแบบลายผ้าใหม่ได้ภายในเวลาเพียง 1 นาที โปรแกรมดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจาก อาจารย์เผ่าภิญโญ ฉิมพะเนาว์ สาขาวิชาออกแบบสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ผู้ที่ได้พัฒนาโปรแกรมว่า "โปรแกรมที่นำมาใช้ชื่อว่า โปรแกรม WinWeave" ซึ่งตนได้รับอนุญาตสิทธิ์จากเจ้าของเดิม ที่เป็นของต่างประเทศ ให้มาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอได้ใช้ ต่อมาตนจึงได้คิดพัฒนา ปรับปรุงโปรแกรมดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากของเก่า และความสามารถก็ไม่แพ้กับที่มีขายตามท้องตลาดทั่วๆ ไป โดยโปรแกรมนี้ใช้ชื่อว่า WinWeave Thai version 1.5 ความสามารถของโปรแกรมนี้นั้น สามารถออกแบบลายทอในลักษณะของการยกตะกอได้สูงถึง 15 ตะกอ สามารถปรับเปลี่ยนชุดสีในการออกแบบและบันทึกชุดสีต่างๆ เก็บไว้ได้ สามารถพิมพ์ตัวอย่างผ้าทอ และตารางออกแบบทางเครื่องพิมพ์ได้ คำนวณเส้นด้ายที่ใช้ในการทอว่าต้องใช้ได้ในการทอจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ และสามารถสร้างไฟล์ WIF (Weave Information File) เพื่อนำเข้าโปรแกรมออกแบบลายทอตัวอื่นๆ หรือใช้สั่งเครื่องทอที่รองรับระบบการยกตะกอด้วยคอมพิวเตอร์ได้ และยังสามารถนำผ้าที่ได้ออกแบบจากโปรแกรมไปใช้งานในลักษณะอื่นๆ ได้อีก เช่น นำไปใช้ในการสร้างภาพเสมือนจริงของผลิตภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ หรือใช้ประกอบกับแบบร่างผลิตภัณฑ์เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจนขึ้น สร้าง E-Catalog ฯลฯ
นับว่าเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอบ้านเราเป็นอย่างมาก ท่านที่สนใจ สามารถขอสำเนาโปรแกรม WinWeave Thai version 1.5 ได้ฟรี หรืออยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวโปรแกรมดังกล่าว สามารถติดต่อไปได้ที่ อาจารย์เผ่าภิญโญ ฉิมพะเนาว์ หมายเลขโทรศัพท์ (053) 414-250-2
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เครื่องสาวไหมกึ่งอัตโนมัติ 4 ใน 1 เดียว สำหรับครัวเรือนการเกษตร จึงถูกพัฒนาขึ้น โดยฝีมือ ผศ.วิทยา ชื่นอุปการนันท์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน ซึ่งทีมงานเปิดเผยว่า "เครื่องสาวไหมนี่จะมีความพิเศษอยู่ที่ มันสามารถทำงานตั้งแต่กระบวนการต้มรังไหมจนถึง สามารถกรอเส้นไหมได้ภายในตัวเดียว ซึ่งไม่ต้องแยกไปทำใหม่อีกต่างหาก โดยตัวเครื่องประกอบด้วยเครื่องต้มรังไหม 2 หม้อ คือ หม้อร้อนและหม้อเย็น เครื่องสาวไหมสามารถปรับให้เป็นร้อนและเย็นได้ เพื่อใช้ละลายกาวไหมเพื่อให้กาวไหมคลายตัว ส่วนของเครื่องสาวไหมจากอ่างสาว สุดท้ายคือเครื่องกรอไหม สำหรับเก็บไว้ใช้ต่อไป ซึ่งทั้ง 4 ส่วน จะอยู่ในเครื่องเดียว เครื่องนี้ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ 2 ส่วน คือส่วนของการทำความร้อน ในการต้มน้ำของหม้อต้ม และส่วนที่ใช้ในการเดินเครื่องจักร ในการสาวไหมออกเป็นเส้นใย และกรอไหมทำเป็นเข็ด ส่วนความสามารถในการสาวไหมเมื่อเปรียบเทียบกับการสาวไหมของชาวบ้านทั่วๆ ไป อยู่ที่ 2 ขีด ต่อวันแล้ว เครื่องนี้สามารถสาวได้ถึง 1-2 กิโลกรัม ต่อวัน มีเครื่องช่วยเตือนให้เติมรังไหมเมื่อเส้นไหมเริ่มเหลือบางขึ้น"
ผศ.วิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับต้นทุนในการผลิตจริงๆ ประมาณ 2-3 หมื่นบาท และเครื่องสาวไหมนี้เหมาะสำหรับรังไหมพันธุ์ไทยลูกผสมต่างประเทศมากกว่าพันธุ์อื่นๆ และสำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.วิทยา ชื่นอุปการนันท์ หมายเลขโทรศัพท์ (09) 713-7277
เมื่อก่อน การออกแบบลายผ้าขึ้นมาสักลายหนึ่ง ต้องใช้ดินสอ หรือสีระบายลงบนสมุดกราฟ บางคนก็ใช้วิธีออกแบบบนกี่ขนาดเล็ก หรือการทอกระดาษ แต่กว่าจะได้ลายผ้าที่เสร็จสมบูรณ์ แบบทั้งสี ทั้งลาย ก็ใช้เวลานานพอสมควร ยิ่งถ้าหากกลุ่มผู้ผลิตที่อยู่ในระดับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กแล้ว การออกแบบด้วยมือแบบเก่าย่อมไม่สามารถรองรับกับความต้องการของตลาดได้อย่างแน่นอน
มาถึงวันนี้ได้มีการนำเอาโปรแกรมออกแบบลายทอเข้ามาใช้ในการออกแบบลายผ้าใหม่ได้ภายในเวลาเพียง 1 นาที โปรแกรมดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจาก อาจารย์เผ่าภิญโญ ฉิมพะเนาว์ สาขาวิชาออกแบบสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ผู้ที่ได้พัฒนาโปรแกรมว่า "โปรแกรมที่นำมาใช้ชื่อว่า โปรแกรม WinWeave" ซึ่งตนได้รับอนุญาตสิทธิ์จากเจ้าของเดิม ที่เป็นของต่างประเทศ ให้มาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอได้ใช้ ต่อมาตนจึงได้คิดพัฒนา ปรับปรุงโปรแกรมดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากของเก่า และความสามารถก็ไม่แพ้กับที่มีขายตามท้องตลาดทั่วๆ ไป โดยโปรแกรมนี้ใช้ชื่อว่า WinWeave Thai version 1.5 ความสามารถของโปรแกรมนี้นั้น สามารถออกแบบลายทอในลักษณะของการยกตะกอได้สูงถึง 15 ตะกอ สามารถปรับเปลี่ยนชุดสีในการออกแบบและบันทึกชุดสีต่างๆ เก็บไว้ได้ สามารถพิมพ์ตัวอย่างผ้าทอ และตารางออกแบบทางเครื่องพิมพ์ได้ คำนวณเส้นด้ายที่ใช้ในการทอว่าต้องใช้ได้ในการทอจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ และสามารถสร้างไฟล์ WIF (Weave Information File) เพื่อนำเข้าโปรแกรมออกแบบลายทอตัวอื่นๆ หรือใช้สั่งเครื่องทอที่รองรับระบบการยกตะกอด้วยคอมพิวเตอร์ได้ และยังสามารถนำผ้าที่ได้ออกแบบจากโปรแกรมไปใช้งานในลักษณะอื่นๆ ได้อีก เช่น นำไปใช้ในการสร้างภาพเสมือนจริงของผลิตภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ หรือใช้ประกอบกับแบบร่างผลิตภัณฑ์เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจนขึ้น สร้าง E-Catalog ฯลฯ
นับว่าเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอบ้านเราเป็นอย่างมาก ท่านที่สนใจ สามารถขอสำเนาโปรแกรม WinWeave Thai version 1.5 ได้ฟรี หรืออยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวโปรแกรมดังกล่าว สามารถติดต่อไปได้ที่ อาจารย์เผ่าภิญโญ ฉิมพะเนาว์ หมายเลขโทรศัพท์ (053) 414-250-2
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-