ระบบภาษีศุลากรของโปแลนด์
โปแลนด์เรียกเก็บอากรขาเข้าสำหรับสินค้าชนึดหนึ่ง ๆ แยกเป็นหลายอัตรา ตามความตกลงที่มีกับองค์การระหว่างประเทศ
กลุ่มประเทศ และประเทศต่าง ๆ โปแลนด์มีความตกลงด้านการค้าเสรีกับหลายประเทศ ซึ่งมีผลให้มีกำหนดการลดภาษีพิเศษ ให้แก่
กลุ่มประเทศและประเทศต่าง ๆในอัตราแตกต่างกัน
การลดภาษีภายใต้รอบอุรุกวัยของแกตต์หรือองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นการลดอัตราภาษีพื้นฐาน (Conventional
rates/basic rates) ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้กับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกของโปแลนด์ด้วย ส่วนประเทศทีไม่ได้เป็นสมาชิก
องค์การการค้าโลก แต่มีความตกลงสองฝ่ายกับโปแลนด์ ซึ่งประเทศเหล่านี้เรียกเก็บอัตราภาษีต่ำสุดต่อสินค้าจากโปแลนด์ โปแลนด์
ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันต่อสินค้าจากประเทศเหล่านี้ด้วย ประเทศเหล่านี้ได้แก่รัสเซียและประเทศในกลุ่มโซเวียตเดิม
โปแลนด์ต้องลดภาษีตามความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป EFTA CEFTA ลิธัวเนีย แลตเวีย อิสราเอล และอื่น ๆ
ซึ่งเป็นการลดให้เฉพาะประเทศที่มีความตกลงกันเท่านั้น
นอกจากนี้โปแลนด์ลดอัตราภาษีศุลกากรเป็นพิเศษ (GSP) ในอัตราแตกต่างกันตามประเภทสินค้าให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา
47 ประเทศ ที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่าโปแลนด์ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย และลดเหลือศูนย์สำหรับสินค้าจากประเทศพัฒนาน้อย
ที่สุด 48 ประเทศ
สำหรับการลดภาษีภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกของโปแลนด์ อัตราภาษีศุลกากรของโปแลนด์ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนี้ (%)
------------------------------------------------------------------
2537 2538 2539 2540 2541
------------------------------------------------------------------
สินค้าเกษตร 20.04 19.52 20.17 19.77
สินค้าอุตสาหกรรม 18.38 14.49 9.78 4.92
อัตราเฉลี่ย 19.48 16.3 11.03 6.7 4.55
------------------------------------------------------------------
ล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมา โปแลนด์ได้ปรับลดอาการขาเข้าจากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.55 ในปี 2541
มาเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.78 ในปี 2542
การลดอากรขาเข้าสินค้าอุตสาหกรรม
การลดภาษีศุลกากรของโปแลนด์ให้แก่สินค้าจาก EU และ EFTA มีกำหนดการ 5 ปี ร้อยละ 20 ต่อปี เริ่มจากวันที่ 1
มกราคม 2538 ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ได้ลดเหลือศูนย์แล้วแต่การนำเข้ายางรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถโดยสาร ได้รับ
การยกเว้นจากกำหนดการลดภาษีศุลกากรดังกล่าว โดยสินค้ากลุ่มนี้มีเวลาเปิดเสรีนานถึง 10 ปี หรือจนถึงปี 2542 และรถยนต์จาก
EU มีโควต้าให้นำเข้าปลอดภาษี
สำหรับความตกลงกับกลุ่มประเทศ CEFTA ได้แก่ เช็ก สโลวะเกีย โรมาเนีย และฮังการี สินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่
จากประเทศเหล่านี้ สามารถส่งเข้าโปแลนด์โดยไม่เสียภาษีศุลากรตั้งแต่ปี 2540 แล้วเนื่องจากกำหนดการเปิดเสรีรวดเร็วกว่า
ยกเว้นบางสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจะเปิดเสรีในปี 2543 และยานยนต์จะเปิดเสรีในปี 2545 เช่นเดียวกับความตกลงการค้า
เสรีอื่น ๆ
การลดอากรขาเข้าในปี 2542 ของโปแลนด์ สินค้าไทยที่ได้รับประโยชน์ เป็นสินค้าอุตสาหกรรมทั้งสิ้นได้แก่
---------------------------------------------------------------------
พิกัด สินค้า ปี 2541 ปี 2542
---------------------------------------------------------------------
3923 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 6.9, 7.2% 5.6, 7.2%
4202 กระเป๋าหนัง 23.1, 27% 21.4, 25%
5208-12 ผ้าฝ้าย 15.40% 14.30%
61 เสื้อผ้าถัก 23.10% 21.40%
62 เสิ้อผ้าไม่ได้ถัก 23.10% 21.40%
7113 เครื่องประดับอัญมณี 27.00% 25.00%
8415 เครื่องปรับอากาศ 4.3, 7.2% 2.4, 7.2%
8470 เครื่องคำนวณ 6,8% 3-5%
8471 เครื่องประมวลผลข้อมูล 4,6.4% 2.4-4.8%
8473 ชิ้นส่วนเครื่องใช้ในสำนักงาน 3.6, 7.2% 2.4, 7.2%
8517 อุปกรณ์โทรศัพท์ 5-9.4% 3-8%
8529 ชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ 4.5-12% 3-12%
8542 แผงวงจร 0-7.2% 0.4-8%
9001 เลนส์ ใยนำแสง 7.20% 4.8, 7.2%
9006 กล้องถ่ายภาพ แฟลช 6.4-9.6% 4.8, 7.2%
9009 เครื่องสำเนา 3.6-9.6% 2.4, 9.6%
----------------------------------------------------------------------
การลดอากรขาเข้าสินค้าเกษตร
การลดภาษีศุลกากรของสินค้าเกษตรกรรม ครั้งแรกของโปแลนด์ ตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1
กรกฏาคม 2538 และมีกำหนดการจะลดร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี หรือภายในปี 2543
การลดภาษีศุลกากรของสินค้าเกษตรกรรมจาก EU และ EFTA มีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม
โปแลนด์ได้ลดภาษีครั้งแรกร้อยละ 10 แก่สินค้าเกษตร 300 รายการและมีการลดภาษีนำเข้าเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่เกษตร (non-
agricultural element of charges) ในสินค้าเกษตรแปรรูป 68 รายการ ซึ่งจะลดหมดสิ้นในปี 2542
สำหรับสินค้าเกษตรจาก CEFTA ได้มีการลดภาษีศุลกากรเหลือศูนย์ในบางรายการและลดต่ำกว่าที่ลดให้ EU ทั้งนี้ มีการลด
แล้วปรับเพิ่มกลับมาใหม่ด้วย เมื่อมีการประท้วงจากเกษตรกร เช่น ในกรณีของธัญพืชอาหารสัตว์และน้ำตาลในปี 2540
นอกจากนี้ โปแลนด์ยังมีการลดและยกเว้นภาษีนำเข้าชั่วคราวเป็นรายสินค้า โดยอาจกำหนดโควตาภาษี เพื่อให้เป็นไป
ตามความตกลงระหว่างประเทศ เช่น กรณียานยนต์จาก EU เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของอุตสาหกรรมในประเทศ ส่วนใหญ่
เป็นการลดภาษีสินค้าวัตถุดิบที่ไม่มีผลิตในโปแลนด์ ซึ่งการกำหนดปริมาณโควต้ายังขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของแต่ละสาขาเศรษฐกิจด้วย
ในปี 2542 การลดอาการขาเข้าสินค้าเกษตรมีน้อย บางรายการกลับเพิ่มขึ้นก็มี เนื่องจากการประท้วงของเกษตรกร
ได้แก่ อากรขาเข้าเนื้อสุกรจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 83.3 และตับสุกรจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 20 ซึ่งหลังจากการประท้วง
ปิดถนนทั่วโปแลนด์ครั้งใหญ่ของเกษตรกรในเดือนกุมภาพันธ์ 2542 มีรายงานข่าวว่ามีการตกลงระหว่างรัฐบาลกับเกษตร ที่จะเพิ่ม
อากรขาเข้าสินค้าเกษตรจากสมาชิก CEFTA ได้แก่ เนื้อไก่จากร้อยละ 10-28 เป็นร้อยละ 60 และเนื้อสุกรจากร้อยละ 25 เป็น
ร้อยละ 83.3 ด้วย
สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการลดอากรขาเข้าของโปแลนด์ในปี 2542 เลย จึงยังคงต้องเสีย
อากรขาเข้าในอัตราสูง ได้แก่
ผักและผลไม้กระป๋อง ภาษีนำเข้าร้อยละ 35
กุ้งแช่แข็ง ภาษีนำเข้าร้อยละ 21
สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ข้าว กาแฟ ยางพารา ปลาทูนากระป๋อง ล้วนได้รับการยกเว้นอาการขาเข้าภาย
ใต้ระบบ GSP
ภาษีศุลกากรกับการแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าที่ผลิตในโปแลนด์
ในปี 2542 สินค้าที่โปแลนด์นำเข้าจากไทยที่สำคัญ ซึ่งได้รับการลดอาการขาเข้า เป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งจะเห็นว่า
เป็นการลดอาการขาเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในโปแลนด์เพิ่มขึ้นได้มาก
สินค้าประเภทเสื้อผ้า และเครื่องประดับอัญมนี ยังมีอากรขาเข้าสูงถึงร้อยละ 21.4 และ 25 ตามลำดับ
สำหรับสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป ยังไม่มีปัญหาการแข่งขันกับสินค้าในโปแลนด์มากนัก เนื่องจาก แม้ว่าโปแลนด์
จะเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าที่สำคัญประเทศหนึ่งในยุโรป แต่ความแตกต่างในภูมิอากาศระหว่างไทยกับโปแลนด์ ช่วยให้สินค้าไทย มี
คุณลักษณะแตกต่างออกไปและสามารถแข่งขันได้
ภาษีศุลกากรกับการแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าจากประเทศอื่น ๆ
การลดภาษีศุลกากรของโปแลนด์ ตามความตกลงทางการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ EU CEFTA และลิธัวเนีย
ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมาก ต่อความสามารถแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าจากประเทศดังกล่าวในตลาดโปแลนด์ ซึ่งในปี 2542
นี้ สินค้าอุตสาหกรรมจาก EU ได้ลดอากรขาเข้าลงไปเหลือศูนย์แล้ว
เสื้อผ้า เครื่องยกทรง ผ้าเช็ดหน้า และเคหะสิ่งทอ
สินค้าไทย ได้ลดอากรขาเข้าจากร้อยละ 23.1 เหลือร้อยละ 21.4 เสียเปรียบสินค้า จาก EU ที่อากรขาเข้าลด จาก
ร้อยละ 4.6 เหลือ 0 และลิธัวเนียเสียในอัตราร้อยละ 8.6
รองเท้า
สินค้าไทย ยังคงเสียอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 12 และ 17 เสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่อากรขาเข้าลดจากร้อยละ 2.4
และ 2.3 เหลือ 0
ผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ถุงมือยาง ยางรถยนต์ และยางในเป็นต้น
สินค้าไทย ยังคงเสียอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 7.2 เสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่อากรขาเข้าลดจากร้อยละ 1.8 เหลือ
0 และสินค้าจากเชกไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
เครื่องใช้เดินทาง
สินค้าไทย เสียอากรขาเข้าลดลงจากร้อยละ 23.1 เหลือร้อยละ 21.4 เสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่อากรขาเข้า ลดลง
จากร้อยละ 4.6 เหลือ 0 และสินค้าจากเชกไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
สินค้าไทย เสียอากรขาเข้าลดลงจากร้อยละ 4 และ 6.4 เหลือร้อยละ 2.4-4.8 แต่ยังเสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่ไม่
ต้องเสียอากรขาเข้า
เครื่องประดับด้วยโลหะมีค่า
สินค้าไทย เสียอากรขาเข้าลดลง จากร้อยละ 27 เหลือร้อยละ 25 แต่ยังเสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่อากรขาเข้า ลดลง
จากอัตราร้อยละ 5.4 เหลือร้อยละ 0 และสินค้าจากเชกไม่ต้องเสียภาษีขาเข้า
ผู้นำเข้าได้แจ้งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการลดเลิกนำเข้าจากไทย ว่าเป็นผลมาจาก ปัญหาการไม่สามารถแข่งขันสินค้า
จากประเทศใน EU และ CEFTA ที่เสียภาษีเข้าต่ำกว่าได้ ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยจะยิ่งลดลง เมื่อมีการลดภาษี
ศุลกากรมากขึ้น ตามความคืบหน้าในการดำเนินการตามความตกลงการค้าเสรี
ข้อแนะนำ
โปแลนด์เป็นตลาดที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยราคาสูง การที่สินค้าเกษตรจากไทยต้องเสียอากรขาเข้าสูงทำให้สินค้ามีราคาสูง
จึงขยายการบริโภคในโปแลนด์ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม มีอากรขาเข้าต่ำกว่า แต่สินค้าไทยก็เสียอากรขาเข้าสูงกว่าคู่แข่งขัน ไทยควร
พิจารณาความเป็นไปได้ในการเจรจาลดภาษีศุลกากรกับโปแลนด์ รวมทั้ง พิจารณาผลดีและผลเสียของการจัดทำความตกลงการค้าเสรี
กับโปแลนด์ เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันเท่าเทียมกับสินค้าจาก EU CEFTA และประเทศอื่น ๆ ที่มีความตกลงเขตการค้าเสรี กับ
โปแลนด์ ซึ่งการเจรจาอาจลำบากขึ้น เนื่องจากโปแลนด์อยู่ในกระบวนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกของ EU
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ฯ ณ กรุงวอร์ซอ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 9/15 พฤษภาคม 2542--
โปแลนด์เรียกเก็บอากรขาเข้าสำหรับสินค้าชนึดหนึ่ง ๆ แยกเป็นหลายอัตรา ตามความตกลงที่มีกับองค์การระหว่างประเทศ
กลุ่มประเทศ และประเทศต่าง ๆ โปแลนด์มีความตกลงด้านการค้าเสรีกับหลายประเทศ ซึ่งมีผลให้มีกำหนดการลดภาษีพิเศษ ให้แก่
กลุ่มประเทศและประเทศต่าง ๆในอัตราแตกต่างกัน
การลดภาษีภายใต้รอบอุรุกวัยของแกตต์หรือองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นการลดอัตราภาษีพื้นฐาน (Conventional
rates/basic rates) ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้กับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกของโปแลนด์ด้วย ส่วนประเทศทีไม่ได้เป็นสมาชิก
องค์การการค้าโลก แต่มีความตกลงสองฝ่ายกับโปแลนด์ ซึ่งประเทศเหล่านี้เรียกเก็บอัตราภาษีต่ำสุดต่อสินค้าจากโปแลนด์ โปแลนด์
ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันต่อสินค้าจากประเทศเหล่านี้ด้วย ประเทศเหล่านี้ได้แก่รัสเซียและประเทศในกลุ่มโซเวียตเดิม
โปแลนด์ต้องลดภาษีตามความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป EFTA CEFTA ลิธัวเนีย แลตเวีย อิสราเอล และอื่น ๆ
ซึ่งเป็นการลดให้เฉพาะประเทศที่มีความตกลงกันเท่านั้น
นอกจากนี้โปแลนด์ลดอัตราภาษีศุลกากรเป็นพิเศษ (GSP) ในอัตราแตกต่างกันตามประเภทสินค้าให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา
47 ประเทศ ที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่าโปแลนด์ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย และลดเหลือศูนย์สำหรับสินค้าจากประเทศพัฒนาน้อย
ที่สุด 48 ประเทศ
สำหรับการลดภาษีภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกของโปแลนด์ อัตราภาษีศุลกากรของโปแลนด์ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนี้ (%)
------------------------------------------------------------------
2537 2538 2539 2540 2541
------------------------------------------------------------------
สินค้าเกษตร 20.04 19.52 20.17 19.77
สินค้าอุตสาหกรรม 18.38 14.49 9.78 4.92
อัตราเฉลี่ย 19.48 16.3 11.03 6.7 4.55
------------------------------------------------------------------
ล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมา โปแลนด์ได้ปรับลดอาการขาเข้าจากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.55 ในปี 2541
มาเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.78 ในปี 2542
การลดอากรขาเข้าสินค้าอุตสาหกรรม
การลดภาษีศุลกากรของโปแลนด์ให้แก่สินค้าจาก EU และ EFTA มีกำหนดการ 5 ปี ร้อยละ 20 ต่อปี เริ่มจากวันที่ 1
มกราคม 2538 ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ได้ลดเหลือศูนย์แล้วแต่การนำเข้ายางรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถโดยสาร ได้รับ
การยกเว้นจากกำหนดการลดภาษีศุลกากรดังกล่าว โดยสินค้ากลุ่มนี้มีเวลาเปิดเสรีนานถึง 10 ปี หรือจนถึงปี 2542 และรถยนต์จาก
EU มีโควต้าให้นำเข้าปลอดภาษี
สำหรับความตกลงกับกลุ่มประเทศ CEFTA ได้แก่ เช็ก สโลวะเกีย โรมาเนีย และฮังการี สินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่
จากประเทศเหล่านี้ สามารถส่งเข้าโปแลนด์โดยไม่เสียภาษีศุลากรตั้งแต่ปี 2540 แล้วเนื่องจากกำหนดการเปิดเสรีรวดเร็วกว่า
ยกเว้นบางสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจะเปิดเสรีในปี 2543 และยานยนต์จะเปิดเสรีในปี 2545 เช่นเดียวกับความตกลงการค้า
เสรีอื่น ๆ
การลดอากรขาเข้าในปี 2542 ของโปแลนด์ สินค้าไทยที่ได้รับประโยชน์ เป็นสินค้าอุตสาหกรรมทั้งสิ้นได้แก่
---------------------------------------------------------------------
พิกัด สินค้า ปี 2541 ปี 2542
---------------------------------------------------------------------
3923 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 6.9, 7.2% 5.6, 7.2%
4202 กระเป๋าหนัง 23.1, 27% 21.4, 25%
5208-12 ผ้าฝ้าย 15.40% 14.30%
61 เสื้อผ้าถัก 23.10% 21.40%
62 เสิ้อผ้าไม่ได้ถัก 23.10% 21.40%
7113 เครื่องประดับอัญมณี 27.00% 25.00%
8415 เครื่องปรับอากาศ 4.3, 7.2% 2.4, 7.2%
8470 เครื่องคำนวณ 6,8% 3-5%
8471 เครื่องประมวลผลข้อมูล 4,6.4% 2.4-4.8%
8473 ชิ้นส่วนเครื่องใช้ในสำนักงาน 3.6, 7.2% 2.4, 7.2%
8517 อุปกรณ์โทรศัพท์ 5-9.4% 3-8%
8529 ชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ 4.5-12% 3-12%
8542 แผงวงจร 0-7.2% 0.4-8%
9001 เลนส์ ใยนำแสง 7.20% 4.8, 7.2%
9006 กล้องถ่ายภาพ แฟลช 6.4-9.6% 4.8, 7.2%
9009 เครื่องสำเนา 3.6-9.6% 2.4, 9.6%
----------------------------------------------------------------------
การลดอากรขาเข้าสินค้าเกษตร
การลดภาษีศุลกากรของสินค้าเกษตรกรรม ครั้งแรกของโปแลนด์ ตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1
กรกฏาคม 2538 และมีกำหนดการจะลดร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี หรือภายในปี 2543
การลดภาษีศุลกากรของสินค้าเกษตรกรรมจาก EU และ EFTA มีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม
โปแลนด์ได้ลดภาษีครั้งแรกร้อยละ 10 แก่สินค้าเกษตร 300 รายการและมีการลดภาษีนำเข้าเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่เกษตร (non-
agricultural element of charges) ในสินค้าเกษตรแปรรูป 68 รายการ ซึ่งจะลดหมดสิ้นในปี 2542
สำหรับสินค้าเกษตรจาก CEFTA ได้มีการลดภาษีศุลกากรเหลือศูนย์ในบางรายการและลดต่ำกว่าที่ลดให้ EU ทั้งนี้ มีการลด
แล้วปรับเพิ่มกลับมาใหม่ด้วย เมื่อมีการประท้วงจากเกษตรกร เช่น ในกรณีของธัญพืชอาหารสัตว์และน้ำตาลในปี 2540
นอกจากนี้ โปแลนด์ยังมีการลดและยกเว้นภาษีนำเข้าชั่วคราวเป็นรายสินค้า โดยอาจกำหนดโควตาภาษี เพื่อให้เป็นไป
ตามความตกลงระหว่างประเทศ เช่น กรณียานยนต์จาก EU เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของอุตสาหกรรมในประเทศ ส่วนใหญ่
เป็นการลดภาษีสินค้าวัตถุดิบที่ไม่มีผลิตในโปแลนด์ ซึ่งการกำหนดปริมาณโควต้ายังขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของแต่ละสาขาเศรษฐกิจด้วย
ในปี 2542 การลดอาการขาเข้าสินค้าเกษตรมีน้อย บางรายการกลับเพิ่มขึ้นก็มี เนื่องจากการประท้วงของเกษตรกร
ได้แก่ อากรขาเข้าเนื้อสุกรจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 83.3 และตับสุกรจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 20 ซึ่งหลังจากการประท้วง
ปิดถนนทั่วโปแลนด์ครั้งใหญ่ของเกษตรกรในเดือนกุมภาพันธ์ 2542 มีรายงานข่าวว่ามีการตกลงระหว่างรัฐบาลกับเกษตร ที่จะเพิ่ม
อากรขาเข้าสินค้าเกษตรจากสมาชิก CEFTA ได้แก่ เนื้อไก่จากร้อยละ 10-28 เป็นร้อยละ 60 และเนื้อสุกรจากร้อยละ 25 เป็น
ร้อยละ 83.3 ด้วย
สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการลดอากรขาเข้าของโปแลนด์ในปี 2542 เลย จึงยังคงต้องเสีย
อากรขาเข้าในอัตราสูง ได้แก่
ผักและผลไม้กระป๋อง ภาษีนำเข้าร้อยละ 35
กุ้งแช่แข็ง ภาษีนำเข้าร้อยละ 21
สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ข้าว กาแฟ ยางพารา ปลาทูนากระป๋อง ล้วนได้รับการยกเว้นอาการขาเข้าภาย
ใต้ระบบ GSP
ภาษีศุลกากรกับการแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าที่ผลิตในโปแลนด์
ในปี 2542 สินค้าที่โปแลนด์นำเข้าจากไทยที่สำคัญ ซึ่งได้รับการลดอาการขาเข้า เป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งจะเห็นว่า
เป็นการลดอาการขาเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในโปแลนด์เพิ่มขึ้นได้มาก
สินค้าประเภทเสื้อผ้า และเครื่องประดับอัญมนี ยังมีอากรขาเข้าสูงถึงร้อยละ 21.4 และ 25 ตามลำดับ
สำหรับสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป ยังไม่มีปัญหาการแข่งขันกับสินค้าในโปแลนด์มากนัก เนื่องจาก แม้ว่าโปแลนด์
จะเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าที่สำคัญประเทศหนึ่งในยุโรป แต่ความแตกต่างในภูมิอากาศระหว่างไทยกับโปแลนด์ ช่วยให้สินค้าไทย มี
คุณลักษณะแตกต่างออกไปและสามารถแข่งขันได้
ภาษีศุลกากรกับการแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าจากประเทศอื่น ๆ
การลดภาษีศุลกากรของโปแลนด์ ตามความตกลงทางการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ EU CEFTA และลิธัวเนีย
ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมาก ต่อความสามารถแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าจากประเทศดังกล่าวในตลาดโปแลนด์ ซึ่งในปี 2542
นี้ สินค้าอุตสาหกรรมจาก EU ได้ลดอากรขาเข้าลงไปเหลือศูนย์แล้ว
เสื้อผ้า เครื่องยกทรง ผ้าเช็ดหน้า และเคหะสิ่งทอ
สินค้าไทย ได้ลดอากรขาเข้าจากร้อยละ 23.1 เหลือร้อยละ 21.4 เสียเปรียบสินค้า จาก EU ที่อากรขาเข้าลด จาก
ร้อยละ 4.6 เหลือ 0 และลิธัวเนียเสียในอัตราร้อยละ 8.6
รองเท้า
สินค้าไทย ยังคงเสียอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 12 และ 17 เสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่อากรขาเข้าลดจากร้อยละ 2.4
และ 2.3 เหลือ 0
ผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ถุงมือยาง ยางรถยนต์ และยางในเป็นต้น
สินค้าไทย ยังคงเสียอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 7.2 เสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่อากรขาเข้าลดจากร้อยละ 1.8 เหลือ
0 และสินค้าจากเชกไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
เครื่องใช้เดินทาง
สินค้าไทย เสียอากรขาเข้าลดลงจากร้อยละ 23.1 เหลือร้อยละ 21.4 เสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่อากรขาเข้า ลดลง
จากร้อยละ 4.6 เหลือ 0 และสินค้าจากเชกไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
สินค้าไทย เสียอากรขาเข้าลดลงจากร้อยละ 4 และ 6.4 เหลือร้อยละ 2.4-4.8 แต่ยังเสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่ไม่
ต้องเสียอากรขาเข้า
เครื่องประดับด้วยโลหะมีค่า
สินค้าไทย เสียอากรขาเข้าลดลง จากร้อยละ 27 เหลือร้อยละ 25 แต่ยังเสียเปรียบสินค้าจาก EU ที่อากรขาเข้า ลดลง
จากอัตราร้อยละ 5.4 เหลือร้อยละ 0 และสินค้าจากเชกไม่ต้องเสียภาษีขาเข้า
ผู้นำเข้าได้แจ้งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการลดเลิกนำเข้าจากไทย ว่าเป็นผลมาจาก ปัญหาการไม่สามารถแข่งขันสินค้า
จากประเทศใน EU และ CEFTA ที่เสียภาษีเข้าต่ำกว่าได้ ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยจะยิ่งลดลง เมื่อมีการลดภาษี
ศุลกากรมากขึ้น ตามความคืบหน้าในการดำเนินการตามความตกลงการค้าเสรี
ข้อแนะนำ
โปแลนด์เป็นตลาดที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยราคาสูง การที่สินค้าเกษตรจากไทยต้องเสียอากรขาเข้าสูงทำให้สินค้ามีราคาสูง
จึงขยายการบริโภคในโปแลนด์ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม มีอากรขาเข้าต่ำกว่า แต่สินค้าไทยก็เสียอากรขาเข้าสูงกว่าคู่แข่งขัน ไทยควร
พิจารณาความเป็นไปได้ในการเจรจาลดภาษีศุลกากรกับโปแลนด์ รวมทั้ง พิจารณาผลดีและผลเสียของการจัดทำความตกลงการค้าเสรี
กับโปแลนด์ เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันเท่าเทียมกับสินค้าจาก EU CEFTA และประเทศอื่น ๆ ที่มีความตกลงเขตการค้าเสรี กับ
โปแลนด์ ซึ่งการเจรจาอาจลำบากขึ้น เนื่องจากโปแลนด์อยู่ในกระบวนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกของ EU
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ฯ ณ กรุงวอร์ซอ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 9/15 พฤษภาคม 2542--