สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
เนื่องจากจะเข้าสู่เทศกาลกินเจในสัปดาห์หน้า รวมทั้งอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคโดยรวมลดลง ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันผลผลิตยังคงทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงอีก
จากการที่ราคาสุกรมีชีวิตลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) ได้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2542 และมีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 235 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในดำเนินการแทรกแซงตลาด โดยการจัดจำหน่ายสุกรชำแหละราคาถูก 2 กิโลกรัมต่อ 100 บาท จำนวน 35 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ ตุลาคม 2542-มีนาคม 2543 และจัดสรรเงิน 200 ล้านบาทให้ผู้เลี้ยง ผู้ค้าและโรงงานแปรรูป ยืมเพื่อจัดทำโครงการเก็บสต๊อกเนื้อสุกรเข้าห้องเย็น ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ตุลาคม 2542-กันยายน 2543 ทั้งนี้กำหนดราคาเป้าหมายนำกิโลกรัมละ 39.28 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.86 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.63 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.43 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 41.99 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 600 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์โดยรวมยังคงซบเซา เพราะผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และมีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงอีกเพราะผลกระทบจากเทศกาลกินเจและโรงเรียนปิดเทอม ขณะที่ทางด้านการผลิต ความต้องการนำลูกไก่เข้าเลี้ยงเริ่มมีปริมาณลดลง ทำให้ราคาลูกไก่เนื้อยังทรงตัวอยู่
จากการประชุม คชก. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2542 เพื่อแก้ไขปัญหาราคาไก่เนื้อตกต่ำ ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน300 ล้านบาท ให้สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยและสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก กู้ยืมเพื่อนำไปรับซื้อไก่เนื้อจากเกษตรกร แล้วนำมาชำแหละเก็บสต๊อกเข้าห้องเย็น จำนวน 3,500 ตัน กำหนดราคาเป้าหมายนำที่กิโลกรัมละ 28 บาท ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ ตุลาคม2542 - 30 กันยายน 2543 ระยะเวลาเก็บสต๊อกตั้งแต่ ตุลาคม 2542 - 30 มิถุนายน 2543
สำหรับสถานการณ์ตลาดต่างประเทศ นายประชา จารุตระกูลชัย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยว่า สาธารณรัฐเชก ได้ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อไก่จากไทยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป โดยจะได้ติดตามด้านคุณภาพและมาตรฐานสุขอนามัยในสินค้าของไทยอย่างใกล้ชิดในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปี 2542 นี้ ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของสาธารณรัฐเช็กหรือไม่ เพื่อจะนำมาทบทวนมาตรการการนำเข้าสำหรับปี 2543 ต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.32 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 21.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 25.73 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.61 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ25.14 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 3.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการค้าโดยรวมกระเตื้องขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยราคาไข่ไก่ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีโอกาสปรับลดลงอีกจากเทศกาลกินเจในสัปดาห์หน้า ขณะที่ผลผลิตยังมีปริมาณมาก ทำให้การซื้อขายอยู่ในภาวะซบเซา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 174 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 172 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 175 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 191 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 170บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 176 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 176 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 212 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 217 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 220 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 213 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 210 บาทและ ภาคใต้ร้อยฟองละ 199บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 267 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 30.65 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำสัปดาห์ 27 ก.ย. - 3 ต.ค. 2542--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
เนื่องจากจะเข้าสู่เทศกาลกินเจในสัปดาห์หน้า รวมทั้งอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคโดยรวมลดลง ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันผลผลิตยังคงทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงอีก
จากการที่ราคาสุกรมีชีวิตลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) ได้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2542 และมีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 235 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในดำเนินการแทรกแซงตลาด โดยการจัดจำหน่ายสุกรชำแหละราคาถูก 2 กิโลกรัมต่อ 100 บาท จำนวน 35 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ ตุลาคม 2542-มีนาคม 2543 และจัดสรรเงิน 200 ล้านบาทให้ผู้เลี้ยง ผู้ค้าและโรงงานแปรรูป ยืมเพื่อจัดทำโครงการเก็บสต๊อกเนื้อสุกรเข้าห้องเย็น ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ตุลาคม 2542-กันยายน 2543 ทั้งนี้กำหนดราคาเป้าหมายนำกิโลกรัมละ 39.28 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.86 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.63 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.43 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 41.99 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 600 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์โดยรวมยังคงซบเซา เพราะผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และมีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงอีกเพราะผลกระทบจากเทศกาลกินเจและโรงเรียนปิดเทอม ขณะที่ทางด้านการผลิต ความต้องการนำลูกไก่เข้าเลี้ยงเริ่มมีปริมาณลดลง ทำให้ราคาลูกไก่เนื้อยังทรงตัวอยู่
จากการประชุม คชก. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2542 เพื่อแก้ไขปัญหาราคาไก่เนื้อตกต่ำ ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน300 ล้านบาท ให้สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยและสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก กู้ยืมเพื่อนำไปรับซื้อไก่เนื้อจากเกษตรกร แล้วนำมาชำแหละเก็บสต๊อกเข้าห้องเย็น จำนวน 3,500 ตัน กำหนดราคาเป้าหมายนำที่กิโลกรัมละ 28 บาท ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ ตุลาคม2542 - 30 กันยายน 2543 ระยะเวลาเก็บสต๊อกตั้งแต่ ตุลาคม 2542 - 30 มิถุนายน 2543
สำหรับสถานการณ์ตลาดต่างประเทศ นายประชา จารุตระกูลชัย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยว่า สาธารณรัฐเชก ได้ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อไก่จากไทยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป โดยจะได้ติดตามด้านคุณภาพและมาตรฐานสุขอนามัยในสินค้าของไทยอย่างใกล้ชิดในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปี 2542 นี้ ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของสาธารณรัฐเช็กหรือไม่ เพื่อจะนำมาทบทวนมาตรการการนำเข้าสำหรับปี 2543 ต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.32 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 21.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 25.73 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.61 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ25.14 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 3.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการค้าโดยรวมกระเตื้องขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยราคาไข่ไก่ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีโอกาสปรับลดลงอีกจากเทศกาลกินเจในสัปดาห์หน้า ขณะที่ผลผลิตยังมีปริมาณมาก ทำให้การซื้อขายอยู่ในภาวะซบเซา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 174 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 172 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 175 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 191 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 170บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 176 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 176 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 212 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 217 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 220 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 213 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 210 บาทและ ภาคใต้ร้อยฟองละ 199บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 267 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 30.65 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำสัปดาห์ 27 ก.ย. - 3 ต.ค. 2542--