เมื่อวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 จังหวัดอุดรธานี ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดสาขาเกษตรกรรม GPP : (Gross Provincial Product Agricultural Sector) ณ ห้องบอลรูม 2 ชั้น 3 โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี เพื่อประมวลผลเบื้องต้นของการ จัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสาขาด้านการเกษตรปี 2547 ซึ่งจะนำตัวเลขมูลค่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เมื่อได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารจังหวัดแล้วจะได้นำเสนอต่อไป
โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 เป็นประธานคณะอนุกรรมการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดสาขาด้านการเกษตรจังหวัดอุดรธานี ได้นำเสนอขั้นตอน วิธีการจัดทำ และผลเบื้องต้นของการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสาขาด้านการเกษตรปี 2547 สำหรับการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดอุดรธานีสาขาด้านการเกษตร ประกอบด้วย 2 สาขาหลักคือ 1) สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ ได้แก่ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การบริการทางการเกษตร และการป่าไม้ 2) สาขาประมง ได้แก่ การจับสัตว์น้ำจืดจากธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด สำหรับผลเบื้องต้นของการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาด้านการเกษตรพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าวเปลือกเหนียวนาปี ข้าวเปลือกเจ้านาปี การจับสัตว์น้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และมันสำปะหลัง ตามลำดับ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบไปด้วยผู้แทนสาขาการผลิตด้านต่างๆ ทั้งหมด 16 สาขา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรต่างๆ และผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) โดยมีสำนักงานคลังจังหวัดอุดรธานีเป็นเจ้าภาพ
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขมูลค่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เมื่อได้ผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารจังหวัดแล้วจะได้นำเสนอต่อไป โดยการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด สาขาเกษตรกรรม GPP : (Gross Provincial Product Agricultural Sector) นั้น เป็นโครงการที่สภาพัฒน์ฯ ได้มอบหมายให้จังหวัดต่างๆทดลองจัดทำ ในระหว่างปี 2546-2550 โดยมีผู้แทนสภาพัฒน์เป็นที่ปรึกษา หลังจากนั้นจะมอบหมายให้แต่ละจังหวัด ดำเนินการเองทั้งหมดต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 เป็นประธานคณะอนุกรรมการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดสาขาด้านการเกษตรจังหวัดอุดรธานี ได้นำเสนอขั้นตอน วิธีการจัดทำ และผลเบื้องต้นของการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสาขาด้านการเกษตรปี 2547 สำหรับการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดอุดรธานีสาขาด้านการเกษตร ประกอบด้วย 2 สาขาหลักคือ 1) สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ ได้แก่ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การบริการทางการเกษตร และการป่าไม้ 2) สาขาประมง ได้แก่ การจับสัตว์น้ำจืดจากธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด สำหรับผลเบื้องต้นของการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาด้านการเกษตรพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าวเปลือกเหนียวนาปี ข้าวเปลือกเจ้านาปี การจับสัตว์น้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และมันสำปะหลัง ตามลำดับ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบไปด้วยผู้แทนสาขาการผลิตด้านต่างๆ ทั้งหมด 16 สาขา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรต่างๆ และผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) โดยมีสำนักงานคลังจังหวัดอุดรธานีเป็นเจ้าภาพ
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขมูลค่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เมื่อได้ผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารจังหวัดแล้วจะได้นำเสนอต่อไป โดยการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด สาขาเกษตรกรรม GPP : (Gross Provincial Product Agricultural Sector) นั้น เป็นโครงการที่สภาพัฒน์ฯ ได้มอบหมายให้จังหวัดต่างๆทดลองจัดทำ ในระหว่างปี 2546-2550 โดยมีผู้แทนสภาพัฒน์เป็นที่ปรึกษา หลังจากนั้นจะมอบหมายให้แต่ละจังหวัด ดำเนินการเองทั้งหมดต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-