ชิลี มียวดยานพาหนะที่ใช้อยู่บนนท้องถนน จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,700,000 คัน แยกออกเป็นรถยนต์นั่ง 1,069,000 คัน รถโดยสารประจำทาง 36,000 คัน รถบรรทุก รถแวนและรถปิกอัพ 529,000 คัน และยานยนต์อื่น ๆ รวมทั้งรถจักรยานยนต์ อีก 66,000 คัน ดังนั้น ในปีหนึ่ง ๆ ชิลีจึงต้องนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไล่ยานยนต์ต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนในส่วนของยานยนต์ที่ใช้งานแล้วเกิดการสึกหรอหรือเสื่อมสลายไป มูลค่าประมาณปีละกว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศในเอเชียรวมทั้งไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าการนำเข้ารวมจะชะลอตัวลดลงอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของชิลีก็ตาม
การนำเข้าและแหล่งนำเข้าที่สำคัญ
ในปี 2541 ชิลีนำเข้าสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ชนิดต่าง ๆ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 151.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2540 ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า 154.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้วจะลดลงร้อยละ 1.8
สำหรับในระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) ของปี 2542 ชิลีนำเข้ามีมูลค่า 36.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2541 ซึ่งมีมูลค่า 61.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 40.6
แหล่งนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ที่สำคัญของชิลี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าหลัก แหล่งนำเข้ารอง ๆ ลงมาได้แก่ ประเทศสำคัญซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ คือ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ สวีเดน และเกาหลีใต้ นอกจากนั้น ยังมีการนำเข้าจากแหล่งอื่น ๆ อีกเช่น สเปน แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา โคลัมเบีย ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น
การนำเข้าจากไทย
สินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ยานยนต์ที่ชิลีนำเข้าจากไทย ในปี 2541 มูลค่า 727 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2540 ซึ่งมีมูลค่า 606 พันเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 20.0 สำหรับในช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) ของปี 2542 ชิลีนำเข้าจากไทย มีมูลค่า 560 พันเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2541 ซึ่งมีมูลค่า 231 พันเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 142.4
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ที่ชิลีนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเบรค ผ้าเบรค และส่วนประกอบที่เกี่ยวกับเบรค ส่วนชิ้นส่วนอะไหล่ประเภทอื่น ๆ ยังมีการนำเข้าจากไทยจำนวนน้อย อันได้แก่ กันชน โช้คอัพ หม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น
ระเบียบการนำเข้าและอัตราภาษี
สินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ยานยนต์นำเข้าชิลีได้โดยเสรี โดยมีอัตราภาษีขาเข้าเท่ากับสินค้าอื่น ๆ โดยทั่วไปคือ ในปี 2542 ชิลีเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 10 และจะลดลงปีละ 1% จนถึงปี 2546 จะมีภาษีนำเข้าเหลือเพียงร้อยละ 6 สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราร้อยละ 18
ลู่ทางในการขยายตลาดสินค้าของไทย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันความต้องการสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ของชิลี โดยภาพรวมจะค่อนข้างทรงตัวหรือชะลอตัวลง อันมีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยก็ตาม แต่แนวโน้มการนำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าวของชิลีจากภูมิภาคในเอเซีย รวมทั้ง จากไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับเพราะในแต่ละปีชิลียังมีการนำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้วเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี จึงทำให้มีความจำเป็นต้องนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ต่าง ๆ เพื่อไปเปลี่ยนของเดิมที่ใช้แล้วเสื่อมสภาพหรือชำรุดสึกหรอ สินค้าดังกล่าวแต่เดิมนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและบราซิลเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้นำเข้าชิลีได้หันมาให้ความสนใจนำเข้าจากแหล่งผลิตประเทศในแถบเอเชียโดยตาง ไม่เฉพาะเพียงญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เท่านั้น แต่สนใจนำเข้าจากประเทศในเอเซียอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่นจาก ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น
การค้าสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ยานยนต์ในชิลีมีการแข่งขันสูง แต่สินค้าของไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับทั้งราคาและคุณภาพและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ปัจจุบันไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก จึงยังมีโอกาสที่จะขยายตลาดในชิลีได้อีก หากผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยจะได้หันไปให้ความสนใจกับตลาดนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่การเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคแถบลาตินอเมริกาอาจจะต้องใช้ความพยายามและอดทนพอสมควร เพราะการสั่งซื้อแต่ละครั้งมักจะจำนวนน้อย และอุปนิสัยเป็นคนง่าย ๆ สบาย ๆ จนทำให้รู้สึกไม่กระตือรือร้น ประกอบกับปัญหาด้านภาษาที่ส่วนใหญ่ใช้ภาษาสเปน และระยะทางที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะเป็นอุปสรรคทำให้นักธุรกิจไทยเกิดความท้อถอยหรือเบื่อหน่ายได้
อย่างไรก็ดี ในการหาลู่ทางขยายตลาดชิลีและภูมิภาคลาตินอเมริกาอื่น หากผู้ผลิตผู้ส่งออกของไทยจะหาโอกาสเดินทางไปหาตลาดด้วยตนเอง หรือเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะทำให้ได้รับทราบถึงรสนิยมและความต้องการของตลาดที่ถูกต้องแท้จริงแล้ว ยังทำให้มีโอกาสได้พบปะทำความรู้จักคุ้นเคยสร้างความสนิทสนมกับผู้นำเข้า ซึ่งจะทำให้การติดต่อเจรจา การค้ากับนักธุรกิจในแถบลาตินอเมริกาเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายขึ้นกว่าเดิม
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซานติอาโก
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 13/15 กรกฎาคม 2542--
การนำเข้าและแหล่งนำเข้าที่สำคัญ
ในปี 2541 ชิลีนำเข้าสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ชนิดต่าง ๆ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 151.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2540 ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า 154.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้วจะลดลงร้อยละ 1.8
สำหรับในระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) ของปี 2542 ชิลีนำเข้ามีมูลค่า 36.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2541 ซึ่งมีมูลค่า 61.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 40.6
แหล่งนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ที่สำคัญของชิลี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าหลัก แหล่งนำเข้ารอง ๆ ลงมาได้แก่ ประเทศสำคัญซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ คือ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ สวีเดน และเกาหลีใต้ นอกจากนั้น ยังมีการนำเข้าจากแหล่งอื่น ๆ อีกเช่น สเปน แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา โคลัมเบีย ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น
การนำเข้าจากไทย
สินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ยานยนต์ที่ชิลีนำเข้าจากไทย ในปี 2541 มูลค่า 727 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2540 ซึ่งมีมูลค่า 606 พันเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 20.0 สำหรับในช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) ของปี 2542 ชิลีนำเข้าจากไทย มีมูลค่า 560 พันเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2541 ซึ่งมีมูลค่า 231 พันเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 142.4
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ที่ชิลีนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเบรค ผ้าเบรค และส่วนประกอบที่เกี่ยวกับเบรค ส่วนชิ้นส่วนอะไหล่ประเภทอื่น ๆ ยังมีการนำเข้าจากไทยจำนวนน้อย อันได้แก่ กันชน โช้คอัพ หม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น
ระเบียบการนำเข้าและอัตราภาษี
สินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ยานยนต์นำเข้าชิลีได้โดยเสรี โดยมีอัตราภาษีขาเข้าเท่ากับสินค้าอื่น ๆ โดยทั่วไปคือ ในปี 2542 ชิลีเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 10 และจะลดลงปีละ 1% จนถึงปี 2546 จะมีภาษีนำเข้าเหลือเพียงร้อยละ 6 สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราร้อยละ 18
ลู่ทางในการขยายตลาดสินค้าของไทย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันความต้องการสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ของชิลี โดยภาพรวมจะค่อนข้างทรงตัวหรือชะลอตัวลง อันมีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยก็ตาม แต่แนวโน้มการนำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าวของชิลีจากภูมิภาคในเอเซีย รวมทั้ง จากไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับเพราะในแต่ละปีชิลียังมีการนำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้วเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี จึงทำให้มีความจำเป็นต้องนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ต่าง ๆ เพื่อไปเปลี่ยนของเดิมที่ใช้แล้วเสื่อมสภาพหรือชำรุดสึกหรอ สินค้าดังกล่าวแต่เดิมนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและบราซิลเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้นำเข้าชิลีได้หันมาให้ความสนใจนำเข้าจากแหล่งผลิตประเทศในแถบเอเชียโดยตาง ไม่เฉพาะเพียงญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เท่านั้น แต่สนใจนำเข้าจากประเทศในเอเซียอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่นจาก ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น
การค้าสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ยานยนต์ในชิลีมีการแข่งขันสูง แต่สินค้าของไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับทั้งราคาและคุณภาพและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ปัจจุบันไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก จึงยังมีโอกาสที่จะขยายตลาดในชิลีได้อีก หากผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยจะได้หันไปให้ความสนใจกับตลาดนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่การเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคแถบลาตินอเมริกาอาจจะต้องใช้ความพยายามและอดทนพอสมควร เพราะการสั่งซื้อแต่ละครั้งมักจะจำนวนน้อย และอุปนิสัยเป็นคนง่าย ๆ สบาย ๆ จนทำให้รู้สึกไม่กระตือรือร้น ประกอบกับปัญหาด้านภาษาที่ส่วนใหญ่ใช้ภาษาสเปน และระยะทางที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะเป็นอุปสรรคทำให้นักธุรกิจไทยเกิดความท้อถอยหรือเบื่อหน่ายได้
อย่างไรก็ดี ในการหาลู่ทางขยายตลาดชิลีและภูมิภาคลาตินอเมริกาอื่น หากผู้ผลิตผู้ส่งออกของไทยจะหาโอกาสเดินทางไปหาตลาดด้วยตนเอง หรือเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะทำให้ได้รับทราบถึงรสนิยมและความต้องการของตลาดที่ถูกต้องแท้จริงแล้ว ยังทำให้มีโอกาสได้พบปะทำความรู้จักคุ้นเคยสร้างความสนิทสนมกับผู้นำเข้า ซึ่งจะทำให้การติดต่อเจรจา การค้ากับนักธุรกิจในแถบลาตินอเมริกาเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายขึ้นกว่าเดิม
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซานติอาโก
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 13/15 กรกฎาคม 2542--