สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--17 ธ.ค.--บิสนิวส์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 กาแฟ : ราคากาแฟมีแนวโน้มสูงขึ้น
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดคะเนผลผลิตกาแฟโลก ปี 2540/41 จะมีประมาณ 5.92 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 3 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตที่สำคัญแถบอเมริกาใต้ ได้แก่ โคลัมเบีย แถบอาฟริกา ได้แก่ เคนยา อูกันดา บุรุนดี และเอธิโอเปีย รวมทั้งอินโดนีเซีย ต่างได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์ เอล-นีโน ส่งผลให้ราคากาแฟในขณะนี้ได้พุ่งสูงขึ้น กล่าวคือ ราคากาแฟซื้อขายล่วงหน้าตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2541 ในสัปดาห์นี้อยู่ที่ระดับ 1,796 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน(75.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (63.29 บาท/กก.) ของเดือนก่อนร้อยละ 12.25 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2539) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1,254.42 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (31.93 บาท/กก.)
สำหรับประเทศไทย ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดคะเนผลผลิตกาแฟ ปี 2540/41 จะมีประมาณ 79,974 ตัน ผลผลิตลดลงจาก 83,897 ตัน ของปีก่อนร้อยละ 4.67 โดยผลผลิตประมาณร้อยละ 98 อยู่ในแหล่งผลิตภาคใต้ ซึ่งขณะนี้เกษตรกรในแหล่งผลิตภาคใต้ได้เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกสู่ตลาดบ้างแล้ว โดยราคาที่เกษตรกรได้รับอยู่ที่ระดับกิโลกรัมละ 44.00 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับ 24.54 บาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 79.29
จากการประชุมร่วมระหว่างผู้แทนส่วนราชการและภาคเอกชน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 ได้มีความเห็นว่า นโยบายกาแฟในปีนี้ควรเป็นไปอย่างเสรี โดยไม่มีการแทรกแซงตลาดดังเช่นในปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาที่เกษตรกรได้รับสูงกว่าราคาเป้าหมายนำเฉลี่ย 3 ปี (2538-2540) ที่กิโลกรัมละ 31.03 บาท และคาดว่าราคามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก
ข้อคิดเห็น
เนื่องจากราคากาแฟของไทยจะผันผวนตามปริมาณ และราคากาแฟในตลาดโลก ดังนั้นจึงควรดำเนินการจดทะเบียนผู้ปลูกกาแฟ เพื่อให้ได้ข้อมูลปริมาณการผลิตที่ถูกต้องยิ่งขึ้น รวมทั้งเร่งรัดให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตรกรเพื่อดำเนินธุรกิจในด้านการจัดหาปัจจัยและการตลาดอย่างจริงจัง
2.2 การเปิดตลาดสินค้าเกษตร กระเทียม หอมหัวใหญ่ และเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ตามพันธกรณี WTO ปี 2541
คณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง และหอมหัวใหญ่ ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) เป็นประธาน ได้มีการประชุมครั้งที่ 2/2540 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 เพื่อพิจารณาเรื่องการเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรกระเทียม หอมหัวใหญ่และเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ตามพันธกรณีข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ปี 2541 ซึ่งที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้
1. กระเทียม
1) เปิดตลาดนำเข้าในโควตาจำนวน 63.0 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 27 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 60.60
2) ให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า
2. หอมหัวใหญ่
1) เปิดตลาดนำเข้าในโควตา จำนวน 353.67 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 27 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 151.60
2) ให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทยจำกัด เป็นผู้นำเข้า
3. เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่
1) เปิดตลาดนำเข้าในโควตาจำนวน 6.758 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 0 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 232.40
2) ให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า
สำหรับปริมาณการนำเข้าในโควตาเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่มากกว่าปริมาณที่ผูกพันไว้ที่ 3.05 ตัน เนื่องจากความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราภาษีในโควตาลดลงจากที่ผูกพันไว้ที่ร้อยละ 30 เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 8-14 ธันวาคม 2540--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 กาแฟ : ราคากาแฟมีแนวโน้มสูงขึ้น
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดคะเนผลผลิตกาแฟโลก ปี 2540/41 จะมีประมาณ 5.92 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 3 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตที่สำคัญแถบอเมริกาใต้ ได้แก่ โคลัมเบีย แถบอาฟริกา ได้แก่ เคนยา อูกันดา บุรุนดี และเอธิโอเปีย รวมทั้งอินโดนีเซีย ต่างได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์ เอล-นีโน ส่งผลให้ราคากาแฟในขณะนี้ได้พุ่งสูงขึ้น กล่าวคือ ราคากาแฟซื้อขายล่วงหน้าตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2541 ในสัปดาห์นี้อยู่ที่ระดับ 1,796 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน(75.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (63.29 บาท/กก.) ของเดือนก่อนร้อยละ 12.25 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2539) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1,254.42 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (31.93 บาท/กก.)
สำหรับประเทศไทย ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดคะเนผลผลิตกาแฟ ปี 2540/41 จะมีประมาณ 79,974 ตัน ผลผลิตลดลงจาก 83,897 ตัน ของปีก่อนร้อยละ 4.67 โดยผลผลิตประมาณร้อยละ 98 อยู่ในแหล่งผลิตภาคใต้ ซึ่งขณะนี้เกษตรกรในแหล่งผลิตภาคใต้ได้เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกสู่ตลาดบ้างแล้ว โดยราคาที่เกษตรกรได้รับอยู่ที่ระดับกิโลกรัมละ 44.00 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับ 24.54 บาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 79.29
จากการประชุมร่วมระหว่างผู้แทนส่วนราชการและภาคเอกชน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 ได้มีความเห็นว่า นโยบายกาแฟในปีนี้ควรเป็นไปอย่างเสรี โดยไม่มีการแทรกแซงตลาดดังเช่นในปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาที่เกษตรกรได้รับสูงกว่าราคาเป้าหมายนำเฉลี่ย 3 ปี (2538-2540) ที่กิโลกรัมละ 31.03 บาท และคาดว่าราคามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก
ข้อคิดเห็น
เนื่องจากราคากาแฟของไทยจะผันผวนตามปริมาณ และราคากาแฟในตลาดโลก ดังนั้นจึงควรดำเนินการจดทะเบียนผู้ปลูกกาแฟ เพื่อให้ได้ข้อมูลปริมาณการผลิตที่ถูกต้องยิ่งขึ้น รวมทั้งเร่งรัดให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตรกรเพื่อดำเนินธุรกิจในด้านการจัดหาปัจจัยและการตลาดอย่างจริงจัง
2.2 การเปิดตลาดสินค้าเกษตร กระเทียม หอมหัวใหญ่ และเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ตามพันธกรณี WTO ปี 2541
คณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง และหอมหัวใหญ่ ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) เป็นประธาน ได้มีการประชุมครั้งที่ 2/2540 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 เพื่อพิจารณาเรื่องการเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรกระเทียม หอมหัวใหญ่และเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ ตามพันธกรณีข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ปี 2541 ซึ่งที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้
1. กระเทียม
1) เปิดตลาดนำเข้าในโควตาจำนวน 63.0 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 27 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 60.60
2) ให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า
2. หอมหัวใหญ่
1) เปิดตลาดนำเข้าในโควตา จำนวน 353.67 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 27 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 151.60
2) ให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทยจำกัด เป็นผู้นำเข้า
3. เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่
1) เปิดตลาดนำเข้าในโควตาจำนวน 6.758 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 0 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 232.40
2) ให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า
สำหรับปริมาณการนำเข้าในโควตาเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่มากกว่าปริมาณที่ผูกพันไว้ที่ 3.05 ตัน เนื่องจากความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราภาษีในโควตาลดลงจากที่ผูกพันไว้ที่ร้อยละ 30 เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 8-14 ธันวาคม 2540--