ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.รวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการออกมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อบุคคล
ของสถาบันการเงินทั้งระบบ ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหาร ธพ.ไทย ธ.ต่างประเทศ และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ ธพ.
(นอนแบงก์) ว่า เป็นการขอข้อมูลการปล่อยสินเชื่อ และยอดคงค้างของสินเชื่อบุคคลทั้งระบบ เพื่อประเมิน
สถานการณ์ เนื่องจากที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากผู้บริโภคจำนวนมากว่าถูกเอาเปรียบ เรียกค่าธรรมเนียมในอัตรา
ที่สูงมากอย่างไม่เป็นธรรม และหลายแห่งใช้อัตราดอกเบี้ยที่สูงจนน่าตกใจ ซึ่ง ธปท.จะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาอีก
ครั้งว่ามีความจำเป็นจะต้องออกมาตรการเพิ่มเติมมาควบคุมการปล่อยสินเชื่อบุคคลของสถาบันการเงินทั้งหมดหรือ
ไม่ (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. ธปท.ปฏิเสธกระแสข่าวการนำทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ในโครงการลงทุน ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่านายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้าน
นโยบายนายกรัฐมนตรี แสดงความคิดเห็นให้ลดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลงว่า ได้สอบถามไปยังนายพันศักดิ์
แล้ว ได้รับคำตอบว่า สิ่งที่เสนอแนวคิดนั้นไม่ใช่การนำเงินสำรองไปใช้ แต่เป็นการเสนอว่าขณะนี้ทุนสำรองมีความ
แข็งแกร่งมาก ดังนั้นการลงทุนในโครงสร้างที่สำคัญต่างๆ ของประเทศที่จะต้องมีการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่
ต้องใช้เงินดอลลาร์ ด้วยการหาเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จาก ธปท. อาจทำให้ทุนสำรองลดลงได้ ซึ่งผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวว่า วิธีการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามปกติ ไม่ได้เกิดผลเสียหายแต่อย่างใด (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ม.ค.48 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ผู้อำนวยการศูนย์
พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.
ค.48 ว่า ดัชนีฯ ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ เนื่องจากผู้บริโภคคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่
สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ และการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทั้งนี้ ดัชนีความ
เชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 90.9 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.47 ที่อยู่ที่ 89.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ
โอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 87.8 เพิ่มขึ้นจาก 86.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 105.1
เพิ่มขึ้นจาก 103.1 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 94.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.47 ซึ่งอยู่ที่
92.8 (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
4. หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 3.27 พัน ล.บาท ผู้อำนวยการ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก.คลัง เปิดเผยตัวเลขหนี้สาธารณะว่า ณ วันที่ 30 พ.ย.47 มียอดหนี้สาธารณะคง
ค้างจำนวน 3.107 ล้านล้านบาท คิดเป็น 47.63% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
หน้า 3.27 พัน ล.บาท แยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1.805 ล.บาท เพิ่มขึ้น 6.4 พัน ล.บาท เป็นหนี้ของรัฐ
วิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 9.15 แสน ล.บาท ลดลง 847 ล.บาท และเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ 385,705
ล.บาท ลดลง 2.3 พัน ล.บาท ทั้งนี้ หนี้สาธารณะดังกล่าวแยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 6.4 แสน ล.บาท คิดเป็น
20.61% และเป็นหนี้ในประเทศ 2.466 ล้านล้านบาท คิดเป็น 79.39% โดยแบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 2.483 ล.
บาท คิดเป็น 79.93% และหนี้ระยะสั้น 6.23 แสน ล.บาท คิดเป็น 20.07% (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ไทย
โพสต์)
5. เดือน ม.ค.48 กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าประมาณการ 5.31% อธิบดีกรมสรรพากร
เปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีอากรเดือน ม.ค.48 ว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้รวมทั้งสิ้น 59,483 ล.บาท สูงกว่าปี
ก่อน 6,260 ล.บาท หรือคิดเป็น 11.76% และสูงกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ 3,001 ล.บาท หรือคิดเป็น
5.31% ส่วนผลการจัดเก็บในช่วง 4 เดือนแรกของปี งปม. จัดเก็บได้ 229,172 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปี
ก่อน 34,262 ล.บาทหรือ 17.58% และสูงกว่าประมาณการ 23,364 ล.บาทหรือ 11.35% (โลกวันนี้, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าลดลงในเดือนธ.ค. แต่ยังคงใกล้สถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ในเดือนพ.ย. 47
รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 48 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนธ.ค. 47 สรอ.ขาดดุลการค้า
ทั้งสิ้น 56.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่นักวิเคราะห์จากวอลสตรีทคาดไว้เล็กน้อยและลดลงจากยอด
ขาดดุลการค้าจำนวน 59.3 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.ในเดือนพ.ย. 47 ซึ่งถือเป็นยอดขาดดุลที่สูงเป็นประวัติการณ์
ในขณะที่ยอดขาดดุลในเดือนธ.ค. 47 นับเป็นยอดขาดดุลที่สูงเป็นอันดับ 2 ส่งผลให้ยอดขาดดุลการาค้าของทั้งปี
47 มียอดเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์คือมากกว่าร้อยละ 24 คิดเป็นจำนวน 617.7 พัน ล. พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. สำหรับสาเหตุที่ทำให้ยอดขาดดุลการค้าของเดือนธ.ค. ลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันนำเข้าลดลงอย่างมากใน
รอบ 14 ปี โดยการส่งออกสินค้าและบริการของสรอ. ในเดือนธ.ค. อยู่ในภาวะสดใสทำสถิติสูงถึง 100.2 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. และเช่นเดียวกับเมื่อนับรวมทั้งปีการส่งออกก็ทำสถิติสูงสุดที่ระดับ1.15 ล้าน ล้าน ดอลลาร์
สรอ. แต่ก็ยังน้อยกว่าการนำเข้าที่สูงถึง 1.76 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. และมากกว่าร้อยละ 25 ของการขาด
ดุลการค้าของสรอ. เป็นการขาดดุลการค้ากับจีน โดยมีสถิติสูงสุดถึง162 พัน ล. สรอ. ในปี 47 จากจำนวน
124 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ในปี 46 (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน รายงาน
จากลอนดอน เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 48 ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่
6 ติดต่อกันในการประชุมเมื่อวันที่ 10 ก.พ.48 ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 50
คนที่มีความเห็นตรงกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนกว่าจะมองเห็นภาพเศรษฐกิจที่ชัดเจนกว่านี้
เนื่องจากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวชี้ไปในทิศทางที่ขัดแย้งกัน โดยดัชนีชี้วัดราคาบ้าน
เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินความคาดหมายในเดือน ม.ค.48 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ในขณะที่จำนวนคำขอกู้ซื้อบ้าน
ที่ได้รับอนุมัติกลับเพิ่มขึ้นไม่มากนักซึ่งนักเศรษฐศาสตร์อ้างเป็นสัญญาณว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง เช่นเดียว
กับการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจาการแข็งค่าของเงินปอนด์และความต้องการที่ชะลอตัวลงของผู้บริโภคในเขต
เศรษฐกิจยุโรป นอกจากนี้ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวอังกฤษในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ก็ชะลอตัวลง
เช่นเดียวกัน นักวิเคราะห์กำลังรอดูรายงานเงินเฟ้อรายไตรมาสของ ธ.กลางอังกฤษในวันที่ 16 ก.พ.48 นี้ซึ่งจะ
ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดล่าสุดเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางอังกฤษ (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของเยอรมนีเดือน ธ.ค.47 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน รายงานจากกรุง
เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 ก.พ.48 สนง.สถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า ตัวเลขเบื้องต้นแสดง
ให้เห็นว่ามูลค่าการส่งออกของเยอรมนีที่มีการปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน ธ.ค.47 ลดลงร้อยละ 4.0 จาก
เดือน พ.ย.47 นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 ส่วนการนำเข้าลดลงร้อยละ
6.4 ทำให้การได้เปรียบดุลการค้าที่ปรับตัวเลขแล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 12.5 พันล้านยูโร (16 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับ 11.7 พันล้านยูโร ในเดือน พ.ย.47 ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่า ยอด
การค้าสุทธิอาจจะทำให้การเติบโตมีไม่มากนักในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 47 ทั้งนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของนัก
เศรษฐศาสตร์ 22 คน ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่าเยอรมนีจะได้เปรียบดุลการค้า 12.0 พันล้านยูโร
โดยการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในขณะที่การนำเข้าจะลดลงร้อยละ 0.4 สำหรับเหตุผลหลักที่ทำให้ศักยภาพ
ด้านการส่งออกลดลงมาจากวัฎจักรการลงทุนของเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวลงมาตั้งแต่กลางปี 47 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
10 ก.พ.48 สำนักข่าว Xinhua อ้างถึงผลสำรวจของ The cabinet’s Development and Research
Centre ที่คาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อปี โดย
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) อาจมีจำนวนสูงถึง 21 ล้านล้านหยวน (2.6 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) และในปี
2553 จีดีพีต่อคนจะมีจำนวน 1,900 ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ในปี 48 คาดว่าจะมีจีดีพีต่อคนจำนวน 1,400
ดอลลาร์ สรอ.ทั้งนี้ ผู้อำนวยการของ The cabinet’s Development and Research Centre (Wang
Mengkui) กล่าวว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้านับว่าเป็นช่วงเวลาทองสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน เนื่องจากวัตถุ
ดิบและเทคโนโลยีในประเทศมีความแข็งแกร่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดในประเทศขยายตัวมากขึ้น รวมทั้งด้านแรงงานที่มี
จำนวนมากและสังคมที่มีเสถียรภาพจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ นอกจากนี้ นาย Wang ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การว่าง
งาน ช่องว่างของรายได้ ปัญหาความปลอดภัยทางสังคม และการย้ายถิ่นฐานของประชากร เป็นปัญหาซ่อนเร้นและ
คุกคามต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศจีนในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม จีนกำลังเตรียมก้าวไปสู่ประเทศ
อุตสาหกรรมและเปลี่ยนจากความเป็นชนบทมาเป็นเมืองใหญ่ รวมทั้งพยายามค่อย ๆ ผสมกลมกลืนไปกับระบบ
เศรษฐกิจโลกทีละน้อย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ก.พ. 48 10 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.582 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.4233/38.7048 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.2 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 736.22/24.25 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 39.22 37.94 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.69*/14.59 19.69*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ม.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.รวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการออกมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อบุคคล
ของสถาบันการเงินทั้งระบบ ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหาร ธพ.ไทย ธ.ต่างประเทศ และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ ธพ.
(นอนแบงก์) ว่า เป็นการขอข้อมูลการปล่อยสินเชื่อ และยอดคงค้างของสินเชื่อบุคคลทั้งระบบ เพื่อประเมิน
สถานการณ์ เนื่องจากที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากผู้บริโภคจำนวนมากว่าถูกเอาเปรียบ เรียกค่าธรรมเนียมในอัตรา
ที่สูงมากอย่างไม่เป็นธรรม และหลายแห่งใช้อัตราดอกเบี้ยที่สูงจนน่าตกใจ ซึ่ง ธปท.จะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาอีก
ครั้งว่ามีความจำเป็นจะต้องออกมาตรการเพิ่มเติมมาควบคุมการปล่อยสินเชื่อบุคคลของสถาบันการเงินทั้งหมดหรือ
ไม่ (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. ธปท.ปฏิเสธกระแสข่าวการนำทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ในโครงการลงทุน ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่านายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้าน
นโยบายนายกรัฐมนตรี แสดงความคิดเห็นให้ลดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลงว่า ได้สอบถามไปยังนายพันศักดิ์
แล้ว ได้รับคำตอบว่า สิ่งที่เสนอแนวคิดนั้นไม่ใช่การนำเงินสำรองไปใช้ แต่เป็นการเสนอว่าขณะนี้ทุนสำรองมีความ
แข็งแกร่งมาก ดังนั้นการลงทุนในโครงสร้างที่สำคัญต่างๆ ของประเทศที่จะต้องมีการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่
ต้องใช้เงินดอลลาร์ ด้วยการหาเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จาก ธปท. อาจทำให้ทุนสำรองลดลงได้ ซึ่งผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวว่า วิธีการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามปกติ ไม่ได้เกิดผลเสียหายแต่อย่างใด (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ม.ค.48 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ผู้อำนวยการศูนย์
พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.
ค.48 ว่า ดัชนีฯ ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ เนื่องจากผู้บริโภคคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่
สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ และการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทั้งนี้ ดัชนีความ
เชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 90.9 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.47 ที่อยู่ที่ 89.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ
โอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 87.8 เพิ่มขึ้นจาก 86.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 105.1
เพิ่มขึ้นจาก 103.1 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 94.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.47 ซึ่งอยู่ที่
92.8 (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
4. หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 3.27 พัน ล.บาท ผู้อำนวยการ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก.คลัง เปิดเผยตัวเลขหนี้สาธารณะว่า ณ วันที่ 30 พ.ย.47 มียอดหนี้สาธารณะคง
ค้างจำนวน 3.107 ล้านล้านบาท คิดเป็น 47.63% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
หน้า 3.27 พัน ล.บาท แยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1.805 ล.บาท เพิ่มขึ้น 6.4 พัน ล.บาท เป็นหนี้ของรัฐ
วิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 9.15 แสน ล.บาท ลดลง 847 ล.บาท และเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ 385,705
ล.บาท ลดลง 2.3 พัน ล.บาท ทั้งนี้ หนี้สาธารณะดังกล่าวแยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 6.4 แสน ล.บาท คิดเป็น
20.61% และเป็นหนี้ในประเทศ 2.466 ล้านล้านบาท คิดเป็น 79.39% โดยแบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 2.483 ล.
บาท คิดเป็น 79.93% และหนี้ระยะสั้น 6.23 แสน ล.บาท คิดเป็น 20.07% (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ไทย
โพสต์)
5. เดือน ม.ค.48 กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าประมาณการ 5.31% อธิบดีกรมสรรพากร
เปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีอากรเดือน ม.ค.48 ว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้รวมทั้งสิ้น 59,483 ล.บาท สูงกว่าปี
ก่อน 6,260 ล.บาท หรือคิดเป็น 11.76% และสูงกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ 3,001 ล.บาท หรือคิดเป็น
5.31% ส่วนผลการจัดเก็บในช่วง 4 เดือนแรกของปี งปม. จัดเก็บได้ 229,172 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปี
ก่อน 34,262 ล.บาทหรือ 17.58% และสูงกว่าประมาณการ 23,364 ล.บาทหรือ 11.35% (โลกวันนี้, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าลดลงในเดือนธ.ค. แต่ยังคงใกล้สถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ในเดือนพ.ย. 47
รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 48 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนธ.ค. 47 สรอ.ขาดดุลการค้า
ทั้งสิ้น 56.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่นักวิเคราะห์จากวอลสตรีทคาดไว้เล็กน้อยและลดลงจากยอด
ขาดดุลการค้าจำนวน 59.3 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.ในเดือนพ.ย. 47 ซึ่งถือเป็นยอดขาดดุลที่สูงเป็นประวัติการณ์
ในขณะที่ยอดขาดดุลในเดือนธ.ค. 47 นับเป็นยอดขาดดุลที่สูงเป็นอันดับ 2 ส่งผลให้ยอดขาดดุลการาค้าของทั้งปี
47 มียอดเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์คือมากกว่าร้อยละ 24 คิดเป็นจำนวน 617.7 พัน ล. พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. สำหรับสาเหตุที่ทำให้ยอดขาดดุลการค้าของเดือนธ.ค. ลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันนำเข้าลดลงอย่างมากใน
รอบ 14 ปี โดยการส่งออกสินค้าและบริการของสรอ. ในเดือนธ.ค. อยู่ในภาวะสดใสทำสถิติสูงถึง 100.2 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. และเช่นเดียวกับเมื่อนับรวมทั้งปีการส่งออกก็ทำสถิติสูงสุดที่ระดับ1.15 ล้าน ล้าน ดอลลาร์
สรอ. แต่ก็ยังน้อยกว่าการนำเข้าที่สูงถึง 1.76 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. และมากกว่าร้อยละ 25 ของการขาด
ดุลการค้าของสรอ. เป็นการขาดดุลการค้ากับจีน โดยมีสถิติสูงสุดถึง162 พัน ล. สรอ. ในปี 47 จากจำนวน
124 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ในปี 46 (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน รายงาน
จากลอนดอน เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 48 ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่
6 ติดต่อกันในการประชุมเมื่อวันที่ 10 ก.พ.48 ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 50
คนที่มีความเห็นตรงกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนกว่าจะมองเห็นภาพเศรษฐกิจที่ชัดเจนกว่านี้
เนื่องจากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวชี้ไปในทิศทางที่ขัดแย้งกัน โดยดัชนีชี้วัดราคาบ้าน
เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินความคาดหมายในเดือน ม.ค.48 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ในขณะที่จำนวนคำขอกู้ซื้อบ้าน
ที่ได้รับอนุมัติกลับเพิ่มขึ้นไม่มากนักซึ่งนักเศรษฐศาสตร์อ้างเป็นสัญญาณว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง เช่นเดียว
กับการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจาการแข็งค่าของเงินปอนด์และความต้องการที่ชะลอตัวลงของผู้บริโภคในเขต
เศรษฐกิจยุโรป นอกจากนี้ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวอังกฤษในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ก็ชะลอตัวลง
เช่นเดียวกัน นักวิเคราะห์กำลังรอดูรายงานเงินเฟ้อรายไตรมาสของ ธ.กลางอังกฤษในวันที่ 16 ก.พ.48 นี้ซึ่งจะ
ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดล่าสุดเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางอังกฤษ (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของเยอรมนีเดือน ธ.ค.47 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน รายงานจากกรุง
เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 ก.พ.48 สนง.สถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า ตัวเลขเบื้องต้นแสดง
ให้เห็นว่ามูลค่าการส่งออกของเยอรมนีที่มีการปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน ธ.ค.47 ลดลงร้อยละ 4.0 จาก
เดือน พ.ย.47 นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 ส่วนการนำเข้าลดลงร้อยละ
6.4 ทำให้การได้เปรียบดุลการค้าที่ปรับตัวเลขแล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 12.5 พันล้านยูโร (16 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับ 11.7 พันล้านยูโร ในเดือน พ.ย.47 ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่า ยอด
การค้าสุทธิอาจจะทำให้การเติบโตมีไม่มากนักในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 47 ทั้งนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของนัก
เศรษฐศาสตร์ 22 คน ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่าเยอรมนีจะได้เปรียบดุลการค้า 12.0 พันล้านยูโร
โดยการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในขณะที่การนำเข้าจะลดลงร้อยละ 0.4 สำหรับเหตุผลหลักที่ทำให้ศักยภาพ
ด้านการส่งออกลดลงมาจากวัฎจักรการลงทุนของเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวลงมาตั้งแต่กลางปี 47 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
10 ก.พ.48 สำนักข่าว Xinhua อ้างถึงผลสำรวจของ The cabinet’s Development and Research
Centre ที่คาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อปี โดย
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) อาจมีจำนวนสูงถึง 21 ล้านล้านหยวน (2.6 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) และในปี
2553 จีดีพีต่อคนจะมีจำนวน 1,900 ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ในปี 48 คาดว่าจะมีจีดีพีต่อคนจำนวน 1,400
ดอลลาร์ สรอ.ทั้งนี้ ผู้อำนวยการของ The cabinet’s Development and Research Centre (Wang
Mengkui) กล่าวว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้านับว่าเป็นช่วงเวลาทองสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน เนื่องจากวัตถุ
ดิบและเทคโนโลยีในประเทศมีความแข็งแกร่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดในประเทศขยายตัวมากขึ้น รวมทั้งด้านแรงงานที่มี
จำนวนมากและสังคมที่มีเสถียรภาพจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ นอกจากนี้ นาย Wang ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การว่าง
งาน ช่องว่างของรายได้ ปัญหาความปลอดภัยทางสังคม และการย้ายถิ่นฐานของประชากร เป็นปัญหาซ่อนเร้นและ
คุกคามต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศจีนในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม จีนกำลังเตรียมก้าวไปสู่ประเทศ
อุตสาหกรรมและเปลี่ยนจากความเป็นชนบทมาเป็นเมืองใหญ่ รวมทั้งพยายามค่อย ๆ ผสมกลมกลืนไปกับระบบ
เศรษฐกิจโลกทีละน้อย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ก.พ. 48 10 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.582 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.4233/38.7048 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.2 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 736.22/24.25 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 39.22 37.94 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.69*/14.59 19.69*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ม.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--