แท็ก
ธปท.
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธนาคารขนาดเล็กควรรวมตัวกันเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดเงินได้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในการปาฐกถา เรื่อง แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจไทยอย่างไร
ว่า ธ.พาณิชย์ที่มีขนาดเล็กควรรวมตัวกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดเงินในภูมิภาคได้ เพราะ
หากธนาคารต้องการทำกิจกรรมในภูมิภาคขนาดกิจการจะเป็นสิ่งสำคัญมาก อีกทั้ง ธ.พาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่จะเป็น
ประโยชน์ต่อประเทศชาติในการช่วยให้เงินทุนไหลเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอำนาจต่อรองมากกว่าธนาคาร
ขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันมี ธ.พาณิชย์ไทยบางแห่งมีขนาดใหญ่พอที่จะไปแข่งขันในตลาดภูมิภาคแล้ว เพียงแต่ต้องพัฒนา
ศักยภาพอีกเล็กน้อย ทั้งนี้ ไม่มีการบังคับให้ธนาคารขนาดเล็กรวมตัวกัน แต่ถ้ามีความพร้อมด้านบริหารจัดการ
อยากสู้ได้ในตลาดเงินภูมิภาคก็ต้องมีขนาดใหญ่ถึงจะสู้ได้ ในส่วนของธนาคารที่มีขนาดใหญ่อยู่แล้วก็ควรพัฒนา
ประสิทธิภาพให้มากขึ้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาเสนอให้กับลูกค้า แต่ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์ธนาคารจะต้องเตรียม
เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงไว้ก่อน โดยหากธนาคารเข้าไปเป็นสมาชิกทำธุรกรรมในตลาดภูมิภาคอย่างจริงจัง
ได้แก่ การทำธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงิน หรือธุรกรรมในตลาดตราสารหนี้ จะทำให้เงินไหลเข้ามาในประเทศ
ได้มากขึ้น ปัจจุบัน ธ.พาณิชย์ไทยมีความแข็งแกร่งในด้านการทำกำไรได้มากขึ้น และในปลายปีหน้า ธ.พาณิชย์
ต้องสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างเข้มงวดที่สุดตามมาตรฐานสากลคือ กันสำรองเต็ม 100% โดยไม่นับรวม
เอาหลักประกันมาคำนวณ หากธนาคารจะรักษาความแข็งแกร่งเอาไว้จะต้องพัฒนาการบริหารความเสี่ยงให้มี
ประสิทธิภาพ ส่วนการนำธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร มา
ควบรวมกันนั้น ธปท. ไม่มีนโยบายดังกล่าว แต่มีนโยบายชัดเจนว่าจะต้องกระจายหุ้นที่ถืออยู่ให้กับประชาชนส่วน
ใหญ่ ส่วนจะกระจายเมื่อไหร่นั้นต้องรอดูจังหวะเวลาที่เหมาะสม (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม. อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนตลาดเงิน ดร.วิษณุ เครืองาม
รอง นรม. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอเรื่องต่อ ครม. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา
มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนตลาดเงินตามที่ ก.คลังเสนอ โดยร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว กำหนดให้ลดภาษีธุรกิจเฉพาะ
จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 0.01 ให้แก่การประกอบกิจการธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ เครดิต
ฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยง ธ.พาณิชย์ ซึ่งมีการโอนเงินเข้าและออก โดยมาตรการดังกล่าว
จะกระตุ้นให้การทำธุรกรรมเหล่านี้เข้าสู่ระบบมากขึ้น เพราะปัจจุบันมักทำกันใต้ดินและออกนอกระบบมากเกินไป
โดยเฉพาะการส่ง “โพยก๊วน” นอกระบบ ส่วนเรื่องผลกระทบต่อรายได้ของรัฐ กรมสรรพากรชี้แจงว่า ก.คลังจะ
สูญเสียรายได้ไม่มากนัก เทียบกับเงินที่ได้กลับมาจะมากกว่า เพราะมีการทำธุรกรรมในระบบมากขึ้น แต่หาก
มาตรการนี้ไม่จูงใจให้มีการทำธุรกรรมเข้าระบบมากขึ้นก็คงยกเลิกหรือแก้ไขให้มาเก็บตามเดิม (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังคาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะเติบโตร้อยละ 5 นายทนง พิทยะ รมว.คลัง กล่าวว่า จีดีพีในปี
นี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ส่วนปีหน้าจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5 แม้ว่าการกระจายหุ้นของบริษัท กฟผ.
จะต้องยืดเวลาออกไป เนื่องจากราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงกลับมาอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่ม
เป็นบวก การส่งออกเติบโตดี เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวเป็นปกติ แม้ไข้หวัดนกจะกลับมาแต่ก็สามารถควบคุมได้
สำหรับภาวะเงินเฟ้ออยู่ในช่วงที่ไม่น่าห่วงหลังจาก ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์
แม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่นักธุรกิจยังสามารถทำกำไรได้ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในภาวะที่เหมาะสมระหว่าง
40.5-41.0 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ด้านการจัดเก็บรายได้ของประเทศในปี 49 จะเกินเป้า 1.36 ล้านล้านบาท
โดยเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาสามารถจัดเก็บได้เกินเป้า ส่วนการเลื่อนโครงการเมกะโปรเจ็กต์บางโครงการออกไป
โดยเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนแบบเปิด เพื่อสร้างความโปร่งใสนั้น เชื่อว่าจะยิ่งทำให้เป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศมากขึ้น เพราะจะช่วยทำให้ประหยัดภาระ งปม.ของรัฐ รวมถึงเงินกู้ลดลงไปได้มาก แต่ไม่ได้
หมายความว่าจะทำให้จำนวนเงินลงทุน 1.8 ล้านล้านบาท เปลี่ยนแปลงไป (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
4. ก.คลังมีแนวคิดจะจัดตั้ง AMC แห่งใหม่ เพื่อดูแลเอ็นพีแอล นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิด
เผยว่า ก.คลังมีแนวคิดที่จะจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (AMC) แห่งใหม่ เพื่อดูแลหนี้ด้อยคุณภาพ (เอ็น
พีแอล) ของสถาบันการเงินของรัฐและสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีอยู่ 8 แห่ง เนื่องจาก ธปท. มีมาตรการที่จะ
แก้ไขปัญหาหนี้เอ็นพีแอลของทั้งระบบสถาบันการเงิน โดยตั้งเป้าลดลงให้เหลือร้อยละ 2 ภายในปี 2550 ก.คลังจึง
ต้องเตรียมแผนปรับลดหนี้เอ็นพีแอลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สอดคล้องกัน ปัจจุบันสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ทั้ง 8 แห่ง มีสินเชื่อรวมกันประมาณ 1 ล้านล้านบาท มีเอ็นพีแอลเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ของสินเชื่อรวม หรือ
กว่า 1 แสนล้านบาท ด้าน ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ในอนาคตจะต้องมี AMC ที่มีความสามารถ 2-3 แห่ง ทำ
หน้าที่รับซื้อคืนเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอออกจาก ธ.พาณิชย์เพื่อไปบริหารจัดการแทน ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้ ธ.พาณิชย์
สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเบื้องต้นมองว่า AMC ที่มีความสามารถคือ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชยการ จก.
และ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จก.(มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของ สรอ.ในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือนสูงกว่าที่คาด
ไว้จากราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 5 ปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 16 พ.ย.48 ก.แรงงานของ สรอ.
รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานของ สรอ.ในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
ต่อเดือน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน แม้ว่าราคาน้ำมันจะชะลอตัวแล้วก็ตาม โดยในเดือน
ต.ค.48 ราคาพลังงานลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือน อย่างไรก็ดี หากเทียบต่อปีแล้วดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากราคาบ้านที่สูงขึ้น
โดยราคาบ้านซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่อเดือน สูงสุด
นับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีแล้วราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อ
ปี นอกจากราคาบ้านแล้ว ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3, 0.5 และ 0.7 ต่อเดือน
ตามลำดับ ในขณะที่รายได้เฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนและ
เพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบต่อเดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของยูโรโซนในเดือน ต.ค.48 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 ใกล้เคียงระดับต่ำ
สุดในรอบ 4 ปี รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 16 พ.ย.48 The European Union’s statistical
office (Eurostat) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน
(Core inflation) ของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ต.ค.48 อยู่ที่
ระดับร้อยละ 1.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีที่ร้อยละ 1.4 เมื่อ 3
เดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเดียวกันอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ลดลงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ
2.6 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของยูโรโซนจะยัง
คงถูกจำกัดโดยการทยอยเพิ่มในอัตราพอประมาณของค่าแรงโดยรวมซึ่งอยู่ในระดับที่ดีพอประมาณ ท่ามกลางอัตรา
การว่างงานที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ Eurostat ได้เปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ต.ค. ว่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
3. สิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 5.0 รายงานจาก
สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 48 รมว.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มประมาณการณ์
การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 5.0 (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 3.5 —4.5)เนื่องจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต บริการทางการเงิน และการส่งออก ส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อย
ละ 7.1 (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) และสูงกว่าผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่า
เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.3 มากกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ถึง 2 เท่า (รัฐบาลคาดไว้ที่
ร้อยละ 3.2 ) ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และ 3 ดีขึ้นเกินกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงต้นปี 48 ที่ชะลอ
ลงเนื่องจากความเข้มแข็งของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้คาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในปีหน้าว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3 - 5 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธ.กลาง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ย. 48 16 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.187 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40. 9900/41.2860 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80611 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 675.31/ 12.43 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,250/9,350 9,100/9,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 50.93 48.84 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 50 สตางค์ เมื่อ 1 พ.ย. 48 25.64*/22.69** 25.64*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธนาคารขนาดเล็กควรรวมตัวกันเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดเงินได้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในการปาฐกถา เรื่อง แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจไทยอย่างไร
ว่า ธ.พาณิชย์ที่มีขนาดเล็กควรรวมตัวกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดเงินในภูมิภาคได้ เพราะ
หากธนาคารต้องการทำกิจกรรมในภูมิภาคขนาดกิจการจะเป็นสิ่งสำคัญมาก อีกทั้ง ธ.พาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่จะเป็น
ประโยชน์ต่อประเทศชาติในการช่วยให้เงินทุนไหลเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอำนาจต่อรองมากกว่าธนาคาร
ขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันมี ธ.พาณิชย์ไทยบางแห่งมีขนาดใหญ่พอที่จะไปแข่งขันในตลาดภูมิภาคแล้ว เพียงแต่ต้องพัฒนา
ศักยภาพอีกเล็กน้อย ทั้งนี้ ไม่มีการบังคับให้ธนาคารขนาดเล็กรวมตัวกัน แต่ถ้ามีความพร้อมด้านบริหารจัดการ
อยากสู้ได้ในตลาดเงินภูมิภาคก็ต้องมีขนาดใหญ่ถึงจะสู้ได้ ในส่วนของธนาคารที่มีขนาดใหญ่อยู่แล้วก็ควรพัฒนา
ประสิทธิภาพให้มากขึ้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาเสนอให้กับลูกค้า แต่ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์ธนาคารจะต้องเตรียม
เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงไว้ก่อน โดยหากธนาคารเข้าไปเป็นสมาชิกทำธุรกรรมในตลาดภูมิภาคอย่างจริงจัง
ได้แก่ การทำธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงิน หรือธุรกรรมในตลาดตราสารหนี้ จะทำให้เงินไหลเข้ามาในประเทศ
ได้มากขึ้น ปัจจุบัน ธ.พาณิชย์ไทยมีความแข็งแกร่งในด้านการทำกำไรได้มากขึ้น และในปลายปีหน้า ธ.พาณิชย์
ต้องสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างเข้มงวดที่สุดตามมาตรฐานสากลคือ กันสำรองเต็ม 100% โดยไม่นับรวม
เอาหลักประกันมาคำนวณ หากธนาคารจะรักษาความแข็งแกร่งเอาไว้จะต้องพัฒนาการบริหารความเสี่ยงให้มี
ประสิทธิภาพ ส่วนการนำธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร มา
ควบรวมกันนั้น ธปท. ไม่มีนโยบายดังกล่าว แต่มีนโยบายชัดเจนว่าจะต้องกระจายหุ้นที่ถืออยู่ให้กับประชาชนส่วน
ใหญ่ ส่วนจะกระจายเมื่อไหร่นั้นต้องรอดูจังหวะเวลาที่เหมาะสม (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม. อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนตลาดเงิน ดร.วิษณุ เครืองาม
รอง นรม. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอเรื่องต่อ ครม. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา
มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนตลาดเงินตามที่ ก.คลังเสนอ โดยร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว กำหนดให้ลดภาษีธุรกิจเฉพาะ
จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 0.01 ให้แก่การประกอบกิจการธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ เครดิต
ฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยง ธ.พาณิชย์ ซึ่งมีการโอนเงินเข้าและออก โดยมาตรการดังกล่าว
จะกระตุ้นให้การทำธุรกรรมเหล่านี้เข้าสู่ระบบมากขึ้น เพราะปัจจุบันมักทำกันใต้ดินและออกนอกระบบมากเกินไป
โดยเฉพาะการส่ง “โพยก๊วน” นอกระบบ ส่วนเรื่องผลกระทบต่อรายได้ของรัฐ กรมสรรพากรชี้แจงว่า ก.คลังจะ
สูญเสียรายได้ไม่มากนัก เทียบกับเงินที่ได้กลับมาจะมากกว่า เพราะมีการทำธุรกรรมในระบบมากขึ้น แต่หาก
มาตรการนี้ไม่จูงใจให้มีการทำธุรกรรมเข้าระบบมากขึ้นก็คงยกเลิกหรือแก้ไขให้มาเก็บตามเดิม (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังคาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะเติบโตร้อยละ 5 นายทนง พิทยะ รมว.คลัง กล่าวว่า จีดีพีในปี
นี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ส่วนปีหน้าจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5 แม้ว่าการกระจายหุ้นของบริษัท กฟผ.
จะต้องยืดเวลาออกไป เนื่องจากราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงกลับมาอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่ม
เป็นบวก การส่งออกเติบโตดี เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวเป็นปกติ แม้ไข้หวัดนกจะกลับมาแต่ก็สามารถควบคุมได้
สำหรับภาวะเงินเฟ้ออยู่ในช่วงที่ไม่น่าห่วงหลังจาก ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์
แม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่นักธุรกิจยังสามารถทำกำไรได้ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในภาวะที่เหมาะสมระหว่าง
40.5-41.0 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ด้านการจัดเก็บรายได้ของประเทศในปี 49 จะเกินเป้า 1.36 ล้านล้านบาท
โดยเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาสามารถจัดเก็บได้เกินเป้า ส่วนการเลื่อนโครงการเมกะโปรเจ็กต์บางโครงการออกไป
โดยเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนแบบเปิด เพื่อสร้างความโปร่งใสนั้น เชื่อว่าจะยิ่งทำให้เป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศมากขึ้น เพราะจะช่วยทำให้ประหยัดภาระ งปม.ของรัฐ รวมถึงเงินกู้ลดลงไปได้มาก แต่ไม่ได้
หมายความว่าจะทำให้จำนวนเงินลงทุน 1.8 ล้านล้านบาท เปลี่ยนแปลงไป (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
4. ก.คลังมีแนวคิดจะจัดตั้ง AMC แห่งใหม่ เพื่อดูแลเอ็นพีแอล นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิด
เผยว่า ก.คลังมีแนวคิดที่จะจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (AMC) แห่งใหม่ เพื่อดูแลหนี้ด้อยคุณภาพ (เอ็น
พีแอล) ของสถาบันการเงินของรัฐและสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีอยู่ 8 แห่ง เนื่องจาก ธปท. มีมาตรการที่จะ
แก้ไขปัญหาหนี้เอ็นพีแอลของทั้งระบบสถาบันการเงิน โดยตั้งเป้าลดลงให้เหลือร้อยละ 2 ภายในปี 2550 ก.คลังจึง
ต้องเตรียมแผนปรับลดหนี้เอ็นพีแอลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สอดคล้องกัน ปัจจุบันสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ทั้ง 8 แห่ง มีสินเชื่อรวมกันประมาณ 1 ล้านล้านบาท มีเอ็นพีแอลเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ของสินเชื่อรวม หรือ
กว่า 1 แสนล้านบาท ด้าน ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ในอนาคตจะต้องมี AMC ที่มีความสามารถ 2-3 แห่ง ทำ
หน้าที่รับซื้อคืนเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอออกจาก ธ.พาณิชย์เพื่อไปบริหารจัดการแทน ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้ ธ.พาณิชย์
สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเบื้องต้นมองว่า AMC ที่มีความสามารถคือ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชยการ จก.
และ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จก.(มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของ สรอ.ในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือนสูงกว่าที่คาด
ไว้จากราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 5 ปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 16 พ.ย.48 ก.แรงงานของ สรอ.
รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานของ สรอ.ในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
ต่อเดือน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน แม้ว่าราคาน้ำมันจะชะลอตัวแล้วก็ตาม โดยในเดือน
ต.ค.48 ราคาพลังงานลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือน อย่างไรก็ดี หากเทียบต่อปีแล้วดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากราคาบ้านที่สูงขึ้น
โดยราคาบ้านซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่อเดือน สูงสุด
นับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีแล้วราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อ
ปี นอกจากราคาบ้านแล้ว ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3, 0.5 และ 0.7 ต่อเดือน
ตามลำดับ ในขณะที่รายได้เฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนและ
เพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบต่อเดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของยูโรโซนในเดือน ต.ค.48 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 ใกล้เคียงระดับต่ำ
สุดในรอบ 4 ปี รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 16 พ.ย.48 The European Union’s statistical
office (Eurostat) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน
(Core inflation) ของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ต.ค.48 อยู่ที่
ระดับร้อยละ 1.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีที่ร้อยละ 1.4 เมื่อ 3
เดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเดียวกันอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ลดลงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ
2.6 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของยูโรโซนจะยัง
คงถูกจำกัดโดยการทยอยเพิ่มในอัตราพอประมาณของค่าแรงโดยรวมซึ่งอยู่ในระดับที่ดีพอประมาณ ท่ามกลางอัตรา
การว่างงานที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ Eurostat ได้เปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ต.ค. ว่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
3. สิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 5.0 รายงานจาก
สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 48 รมว.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มประมาณการณ์
การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 5.0 (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 3.5 —4.5)เนื่องจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต บริการทางการเงิน และการส่งออก ส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อย
ละ 7.1 (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) และสูงกว่าผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่า
เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.3 มากกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ถึง 2 เท่า (รัฐบาลคาดไว้ที่
ร้อยละ 3.2 ) ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และ 3 ดีขึ้นเกินกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงต้นปี 48 ที่ชะลอ
ลงเนื่องจากความเข้มแข็งของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้คาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในปีหน้าว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3 - 5 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธ.กลาง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ย. 48 16 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.187 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40. 9900/41.2860 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80611 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 675.31/ 12.43 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,250/9,350 9,100/9,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 50.93 48.84 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 50 สตางค์ เมื่อ 1 พ.ย. 48 25.64*/22.69** 25.64*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--