โดย
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ นายนพดล ปัทมะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2541 ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการประชุมส.ส.พรรค และได้จัดแถลงข่าว โดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และ นายนพดล ปัทมะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ถึงผลการประชุม พรรคในวันนี้ ดังนี้
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
"สำหรับการประชุมในวันนี้ได้มีการพิจารณาซึ่งสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ได้ 5-6 ประเด็น ประเด็นแรก ได้มีการหารือกับสมาชิกพรรคต่อคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล ว่าด้วย เรื่องการจัดระเบียบวาระการประชุมสภาทุกวันพุธโดยมีสมาชิกเสนอว่าในการจัด วาระ หรือลำดับ ของกฎหมายของสภาที่เป็นอยู่นั้นยังมีกฎหมายที่จำเป็นเร่งด่วนอยู่หลายฉบับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมาย ฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งรู้จักกันดีในนามกฎหมาย 11 ฉบับ ว่ากฎหมายเหล่านั้น ยังจัดลำดับ อยู่กระจัด กระจายถ้ามีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาก็ล่าช้าออกไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อความเชื่อมั่น ต่อกฎหมาย ที่เป็นสากลของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจต่ อการมาลงทุนทั้งจาก ต่างประเทศและในประเทศ ประกอบกับได้มีการอภิปรายกันว่าในการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ผ่าน มา นั้น เหตุผลประการหนึ่งในหลาย ๆ ประการที่ทำให้การประมูลไม่มีราคาตามที่คาดหมาย ได้ก็เพราะ ยังขาดหลักประกันกับนักลงทุนต่างชาติในเรื่องของกฎหมายที่เป็นสากล เพราะฉะนั้น ในการประชุม พรรค ในวันนี้ได้หยิบยกเรื่องระเบียบวาระการประชุมเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ดังนั้นในที่ประชุมจึงมีมติให้คณะกรรมการ ประสานงาน ไปประสานงานกับคณะกรรมการพรรคอื่น เพื่อเลื่อนระเบียบวาระการประชุมโดยนำเอากฎหมายสำคัญ ๆ ทั้งสิ้น 9 ฉบับขึ้นมาต่อหลังจาก พ.ร.บ.ควบคุมยาง ที่ยังพิจารณาอยู่ในขณะนี้ ทั้ง 9 ฉบับ นั้นได้ผ่าน การ พิจารณาของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น กฎหมายล้มละลาย พ.ร.บ. ทุน รัฐวิสาหกิจ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ดิน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องเรื่องอาคารชุด พ.ร.บ.ในการแก้ไข กฎหมาย แพ่งคดีมโนสาเร่ รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ โดยรองประธานกรรมการ ประสานงาน พรรคร่วมรัฐ ดร.เจริญ คันธวงศ์ จะได้นำไปประสานงานกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่นอีกต่อไป ซึ่งคิดว่าถ้ามีการเลื่อนการ พิจารณา ขึ้นมาแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อการสร้างความเชื่อมั่นในการที่จะมี กฎหมายที่จะเข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจ เสริมกับ นโยบาย และมาตรการของรัฐบาลที่ได้ทำอยู่แล้ว ประเด็นที่ 2 ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับวาระในวันพฤหัส ที่จะต้องแถลงการดำเนินการตามนโยบายครบรอบ 1ปี ของรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชุม ในวันนี้ ได้หยิบยกวาระนี้ขึ้นมาว่าทางพรรคควรที่จะมีการเตรียมการรับมืออย่างไรหรื อไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ มีการ อภิปรายอย่างกว้างขวาง และมีข้อสรุปว่าโดยที่การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ซึงรัฐธรรมนูญ ได้ เขียนเอาไว้นั้น เป็นงานที่รัฐมนตรีทุกท่านดำเนินการอยู่แล้ว ประกอบกับการดำเนินการ นั้นก็ได้มีการ ติด ตามการดำเนินการในแต่ละเรื่องมาโดยตลอด ไม่ว่าจากการตรวจสอบในที ่ประชุมพรรคทุกวันอังคาร ตรวจสอบ โดยการตั้งกระทู้ หรือโดยสื่อมวลชน โดยประชาชนก็ดี รัฐมนตรีแต่ละท่าน ก็สามารถตอบ ข้อ ซักถาม ข้อชี้แจ้งของสมาชิกในสภาได้ และก็เป็นโอกาสที่ดีที่รัฐมนตรีแต่ละกระทรวง จะได้ถือเอาโอกาส นี้ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสดทางวิทยุโทรทัศน์ จะได้มีโอกาสชี้แจ้งข้อเท็จจริง ที่ผ่านมาประชาชน อาจจะไม่มี ความเข้าใจ รู้เข้าใจบิดเบือนต่อการดำเนินการเหล่านั้น ดังนั้นพรรคจึงไม่มีการเตรียมการ อะไรในวัน พฤหัส เป็นพิเศษ นอกจากจะให้รัฐมนตรีและคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยที่ปรึกษา และเลขาฯ รมต. แต่ ละ กระทรวง จะต้องเตรียมการที่จะตอบข้อซักถามในสภา ซึ่งก็ทราบว่าทางฝ่ายค้าน เองก็ได้มี การ ตั้งทีมในการที่จะอภิปรายการแถลงในครั้งนี้ด้วยเหมือนกัน แต่รัฐบาลก็ไม่ได้วิตกกังวล ในเรื่องนี้ แต่ประการใด นอกจากนั้นแล้วอีก 2 เรื่องสำคัญที่ได้มีการหารือเช่นเดียวกัน ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับข้อ ที่มี ความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องการที่จะระบุผู้รักษาการณ์ตามกฏหมายโดยเฉพาะอย่ างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการ จัดตั้งเป็นองค์กรอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาได้มีข้อวิพากวิจารณ์จาก 2 ฝ่ายสำคัญ ๆ คือ จะ ให้ นายกรัฐมนตรีรักษาการณ์ หรือจะให้ประธานจากองค์กรอิสระเหล่านั้นเป็นผู้รักษาการณ์ ซึ่ง ท่าน รองนพดล จะเป็นผู้แถลงในรายละเอียด อีกเรื่องซึ่งในวันนี้ได้มีการประชุมในพรรคด้วย ท่านรัฐมนตรี ประจำสำนักฯ ซึ่งกำกับดูแลด้านพลังงาน รมต.สาวิตต์ โพธิวิหค ได้ของที่ประชุมเข้าชี้แจง เรื่อง โรง ไฟฟ้าที่ประจวบฯ ซึ่งมีปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจของพี่น้องประชาชน และมีการประท้วงเกิดขึ้นที่ จ.ประจวบฯ เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา รายละเอียดท่านรองนพดล จะได้ชี้แจงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ท่านรองนพดลจะได้ชี้แจงนั้น ผมมีอีกหนึ่งประเด็นที่อยากจะกราบเรียนเอาไว้ก็คือ ก่อนการ ประชุมพรรคในวันนี้ได้มีการประชุมของส.ส.จากภาคใต้ เพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ปัญหาราคายาง การมีมาตรการในการแก้ปัญหาราคายาง ซึ่งทางพรรคได้เชิญผู้บริหารระดับสู งของสำนักงานกองทุน สงเคราะห์สวนยาง (สกย.) ได้เข้ามาชี้แจงต่อที่ประชุมโดยสรุปประเด็นคร่าว ๆในการประชุมวันนี้ ก็คือ ทางสกย.เองก็ได้เหตุผลในการที่ราคายางตกต่ำในขณะนี้ โดยเหตุผลหลัก ๆ ที่มีการชี้แจงนั้น ได้อ้างอิง ถึงการต่อสู้ราคาในตลาดโลก โดยที่ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นคู่แข่งของประเทศไทยได้มีการทุ่มตลาด และดั๊มราคาเป็นอย่างมากโดยอินโดนีเซียจะได้เปรียบเรื่องของอัตราแลกเปลี่ ยนซึ่งอ่อนกว่า ประกอบ กับอัตราความอ่อนตัว ความต้องการยางของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ และ อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องทำ ให้ราคายางตกต่ำ ทั้งยังมีผลจากสต๊อกยางที่เกิดขึ้นภายในประเทศเป็นจำนวนมาก อันมีผลจากการดำเนิน การแทรกแซงราคายางในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เสนอต่อท่านประธานที่ประชุมว่า ในสัปดาห์ หน้าหรือสัปดาห์ถัดไปน่าจะเชิญฝ่ายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยางมาชี้แ จงต่อ ส.ส.ในพรรคอีก ซึ่ง ท่านประธานก็รับไปดำเนินการครับก็ขอเชิญท่านรองนพดลได้ชี้แจงประเด็นอื่นๆ ต่อไปนะครับ"
นายนพดล ปัทมะ "ผมขออนุญาตเรียนให้ทราบเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ใครจะเป็นผู้รักษาการณ์ ตามองค์กรใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ทุกท่านก็คงจะทราบว่าผู้รักษาการณ์มีหน้าที่อยู่ 2-3 ประการคือ ประเด็นแรก จะเป็นผู้ที่จะตอบสภา ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ และ เรื่องที่ 2 จะเป็นผู้ที่จะดูแลงบประมาณ และ การบริหารงานบุคคล ในการที่จะดำเนินการ ตาม เจตนารมย์ของกฎหมายฉบับต่าง ๆ ทีนี้องค์กรอิสระของเราก็มีหลายองค์กร และกฎหมาย แต่ละฉบับ ที่เสนอมา เริ่มจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ ว่าด้วยพรรคการเมือง ให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นประธาน กฎหมาย ประกอบ รัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ ยกตัวอย่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของผู้ ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง รัฐบาลก็เสนอให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการณ์ ในการพิจารณาใน ชั้นกรรมาธิการวิสามัญก็ยังยืนยันหลักการนั้นอยู่ ไม่ได้มีการ แก้ไขให้นายกฯเป็นผู้รักษาการณ์ เพราะ การที่จะให้ใครเป็นผู้รักษาการณ์นั้นควรจะต้องเป็นผู้ที่ต้องมีความ รู้และรับผิดชอบต่อสภาได้ เพราะฉะนั้นการที่จะให้นายกฯในกรณ ี พ.ร.บ.ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองไปตอบในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้รับผิดชอบก็คงไม่เป็นประโยชน์ และ ไปกำหนดให้ท่าน จะต้อง รับผิดชอบในสิ่งที่ท่าน ไม่มีความรับผิดชอบตามกฎหมายก็เป็นสิ่งไม่พึงกระ ทำอยู่แล้ว หลายคนก็ตั้ง เป็นข้อสังเกตว่า แล้วประธานขององค์กรอิสระเหล่านั้นจะไปตอบสภาได้อย่างไ ร ไม่เคยมีประเพณี หรือข้อบังคับไม่เอื้ออำนวยให ้ ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีการถกเถียงกันในพรรคประชาธิปัตย์พอสมควรว่า แม้ว่าข้อบังคับก็สามารถแก้ไขได้ และเราก็ต้องดูในรัฐธรรมนูญด้วยว่าใครจะเป็นผู้ไปตอบสภา ใน กฎหมายรัฐธรรมนูญประกอบว่าด้วยวิธีการพิจารณาคดีอาญาที่เรียนไปสักครู่และ ตัดสินให้ประธาน ศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการณ์และท้ายที่สุดเราคิดว่ากฎหมายแต่ ละฉบับควรมีผู้รักษาการณ์ ไปในทำนอง เดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ทางวิปรัฐบาลจะเป็นผู้ไปประสานต่อไป ซึ่งพรุ่งนี้จะเชิญ รมต.สุทัศน์ เงินหมื่น ไปชี้แจงเพื่อหาข้อยุติในประเด็นนี้ ประเด็นที่ 2 ได้เชิญท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ท่านสาวิตต์ โพธิวิหค มาชี้แจงกรณีประชาชนประท้วงเรื่องโรงไฟฟ้าที่จ.ประจวบฯ ซึ่งมีสาระที่ผมสรุปเพื่อ ให้สื่อ มวลชนทราบ คือ ประเด็นแรก โครงการต่าง ๆเหล่านี้เป็นประโยชน์ในแง่ ของการจัดหา พลังงาน ของ ประเทศไทย ประเด็นที่สอง ใบอนุญาตจากกรมควบคุมมลพิษกระทรวงวิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการอนุญาตแล้ว ประเด็นที่สาม ใบอนุญาตจากกรมเจ้าท่าของกระทรวงคมนาคมในการสร้างท่าเรือ ออกไปในทะล ก็ได้มีการออกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งท้ายสุด ประเด็นที่สี่ การอนุญาตจากองค์การบริหารส่วน ตำบลหรือ (อบต.) ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่มาประท้วง ซึ่งท่านมีอำนาจในการจะอนุญาต หรือไม่ อนุญาตให้โครงการนี้ดำเนินต่อไปได้ ตราบใดที่ยังไม่มีการอนุญาตของ อบต. ก็จะไม่สามารถ ดำเนิน โครงการนี้ต่อไปได้ ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลเห็นว่าจะต้องมีการทำประชาพิจารณ์อย่างแน่นอน เพื่อที่จะให้ หน่วยงาน 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ มหาดไทย และท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ คือ รมต.สาวิตต์ โพธิวิหค ไปเป็นผู้รับผิดชอบการทำประชาพิจารณ์ และในที่สุดเมื่อมีการ ทำประชาพิจารณ์ ออกมาเป็นอย่างไรว่ามีผู้ทีเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยจากทุกฝ่ายรวมทั้งประช าชนในพื้นที่ ท้ายสุดก็จะสรุป ออก มาว่าเป็นอย่างไร โครงการนี้ไม่ใช่เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แต่เป็นโครงการระหว่างเอกชนที่จะมาลงทุนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ การขออนุญาตก็ต้องเป็นไปตามปกติ คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ มหาดไทย และ อบต. รมต.สาวิตต์ ได้ย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่อง ละเอียดอ่อน เป็นการ นำเงินมาลงทุนจากนักลงทุนจากต่างประเทศ ไม่ให้มีการส่งสัญญาณออกไปทางใดทางหนึ่งว่าจะไม่มี การดำเนิน การอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รัฐบาลและมติครม.เมื่อวันที่ 15 เดือนนี้ ก็ได้ยืนยันว่าจะมี การทำ ประชาพิจารณ์ต่อไป ครับสำหรับสาระสำคัญในการประชุมในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ครับ.--จบ--
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ นายนพดล ปัทมะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2541 ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการประชุมส.ส.พรรค และได้จัดแถลงข่าว โดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และ นายนพดล ปัทมะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ถึงผลการประชุม พรรคในวันนี้ ดังนี้
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
"สำหรับการประชุมในวันนี้ได้มีการพิจารณาซึ่งสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ได้ 5-6 ประเด็น ประเด็นแรก ได้มีการหารือกับสมาชิกพรรคต่อคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล ว่าด้วย เรื่องการจัดระเบียบวาระการประชุมสภาทุกวันพุธโดยมีสมาชิกเสนอว่าในการจัด วาระ หรือลำดับ ของกฎหมายของสภาที่เป็นอยู่นั้นยังมีกฎหมายที่จำเป็นเร่งด่วนอยู่หลายฉบับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมาย ฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งรู้จักกันดีในนามกฎหมาย 11 ฉบับ ว่ากฎหมายเหล่านั้น ยังจัดลำดับ อยู่กระจัด กระจายถ้ามีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาก็ล่าช้าออกไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อความเชื่อมั่น ต่อกฎหมาย ที่เป็นสากลของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจต่ อการมาลงทุนทั้งจาก ต่างประเทศและในประเทศ ประกอบกับได้มีการอภิปรายกันว่าในการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ผ่าน มา นั้น เหตุผลประการหนึ่งในหลาย ๆ ประการที่ทำให้การประมูลไม่มีราคาตามที่คาดหมาย ได้ก็เพราะ ยังขาดหลักประกันกับนักลงทุนต่างชาติในเรื่องของกฎหมายที่เป็นสากล เพราะฉะนั้น ในการประชุม พรรค ในวันนี้ได้หยิบยกเรื่องระเบียบวาระการประชุมเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ดังนั้นในที่ประชุมจึงมีมติให้คณะกรรมการ ประสานงาน ไปประสานงานกับคณะกรรมการพรรคอื่น เพื่อเลื่อนระเบียบวาระการประชุมโดยนำเอากฎหมายสำคัญ ๆ ทั้งสิ้น 9 ฉบับขึ้นมาต่อหลังจาก พ.ร.บ.ควบคุมยาง ที่ยังพิจารณาอยู่ในขณะนี้ ทั้ง 9 ฉบับ นั้นได้ผ่าน การ พิจารณาของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น กฎหมายล้มละลาย พ.ร.บ. ทุน รัฐวิสาหกิจ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ดิน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องเรื่องอาคารชุด พ.ร.บ.ในการแก้ไข กฎหมาย แพ่งคดีมโนสาเร่ รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ โดยรองประธานกรรมการ ประสานงาน พรรคร่วมรัฐ ดร.เจริญ คันธวงศ์ จะได้นำไปประสานงานกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่นอีกต่อไป ซึ่งคิดว่าถ้ามีการเลื่อนการ พิจารณา ขึ้นมาแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อการสร้างความเชื่อมั่นในการที่จะมี กฎหมายที่จะเข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจ เสริมกับ นโยบาย และมาตรการของรัฐบาลที่ได้ทำอยู่แล้ว ประเด็นที่ 2 ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับวาระในวันพฤหัส ที่จะต้องแถลงการดำเนินการตามนโยบายครบรอบ 1ปี ของรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชุม ในวันนี้ ได้หยิบยกวาระนี้ขึ้นมาว่าทางพรรคควรที่จะมีการเตรียมการรับมืออย่างไรหรื อไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ มีการ อภิปรายอย่างกว้างขวาง และมีข้อสรุปว่าโดยที่การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ซึงรัฐธรรมนูญ ได้ เขียนเอาไว้นั้น เป็นงานที่รัฐมนตรีทุกท่านดำเนินการอยู่แล้ว ประกอบกับการดำเนินการ นั้นก็ได้มีการ ติด ตามการดำเนินการในแต่ละเรื่องมาโดยตลอด ไม่ว่าจากการตรวจสอบในที ่ประชุมพรรคทุกวันอังคาร ตรวจสอบ โดยการตั้งกระทู้ หรือโดยสื่อมวลชน โดยประชาชนก็ดี รัฐมนตรีแต่ละท่าน ก็สามารถตอบ ข้อ ซักถาม ข้อชี้แจ้งของสมาชิกในสภาได้ และก็เป็นโอกาสที่ดีที่รัฐมนตรีแต่ละกระทรวง จะได้ถือเอาโอกาส นี้ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสดทางวิทยุโทรทัศน์ จะได้มีโอกาสชี้แจ้งข้อเท็จจริง ที่ผ่านมาประชาชน อาจจะไม่มี ความเข้าใจ รู้เข้าใจบิดเบือนต่อการดำเนินการเหล่านั้น ดังนั้นพรรคจึงไม่มีการเตรียมการ อะไรในวัน พฤหัส เป็นพิเศษ นอกจากจะให้รัฐมนตรีและคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยที่ปรึกษา และเลขาฯ รมต. แต่ ละ กระทรวง จะต้องเตรียมการที่จะตอบข้อซักถามในสภา ซึ่งก็ทราบว่าทางฝ่ายค้าน เองก็ได้มี การ ตั้งทีมในการที่จะอภิปรายการแถลงในครั้งนี้ด้วยเหมือนกัน แต่รัฐบาลก็ไม่ได้วิตกกังวล ในเรื่องนี้ แต่ประการใด นอกจากนั้นแล้วอีก 2 เรื่องสำคัญที่ได้มีการหารือเช่นเดียวกัน ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับข้อ ที่มี ความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องการที่จะระบุผู้รักษาการณ์ตามกฏหมายโดยเฉพาะอย่ างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการ จัดตั้งเป็นองค์กรอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาได้มีข้อวิพากวิจารณ์จาก 2 ฝ่ายสำคัญ ๆ คือ จะ ให้ นายกรัฐมนตรีรักษาการณ์ หรือจะให้ประธานจากองค์กรอิสระเหล่านั้นเป็นผู้รักษาการณ์ ซึ่ง ท่าน รองนพดล จะเป็นผู้แถลงในรายละเอียด อีกเรื่องซึ่งในวันนี้ได้มีการประชุมในพรรคด้วย ท่านรัฐมนตรี ประจำสำนักฯ ซึ่งกำกับดูแลด้านพลังงาน รมต.สาวิตต์ โพธิวิหค ได้ของที่ประชุมเข้าชี้แจง เรื่อง โรง ไฟฟ้าที่ประจวบฯ ซึ่งมีปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจของพี่น้องประชาชน และมีการประท้วงเกิดขึ้นที่ จ.ประจวบฯ เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา รายละเอียดท่านรองนพดล จะได้ชี้แจงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ท่านรองนพดลจะได้ชี้แจงนั้น ผมมีอีกหนึ่งประเด็นที่อยากจะกราบเรียนเอาไว้ก็คือ ก่อนการ ประชุมพรรคในวันนี้ได้มีการประชุมของส.ส.จากภาคใต้ เพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ปัญหาราคายาง การมีมาตรการในการแก้ปัญหาราคายาง ซึ่งทางพรรคได้เชิญผู้บริหารระดับสู งของสำนักงานกองทุน สงเคราะห์สวนยาง (สกย.) ได้เข้ามาชี้แจงต่อที่ประชุมโดยสรุปประเด็นคร่าว ๆในการประชุมวันนี้ ก็คือ ทางสกย.เองก็ได้เหตุผลในการที่ราคายางตกต่ำในขณะนี้ โดยเหตุผลหลัก ๆ ที่มีการชี้แจงนั้น ได้อ้างอิง ถึงการต่อสู้ราคาในตลาดโลก โดยที่ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นคู่แข่งของประเทศไทยได้มีการทุ่มตลาด และดั๊มราคาเป็นอย่างมากโดยอินโดนีเซียจะได้เปรียบเรื่องของอัตราแลกเปลี่ ยนซึ่งอ่อนกว่า ประกอบ กับอัตราความอ่อนตัว ความต้องการยางของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ และ อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องทำ ให้ราคายางตกต่ำ ทั้งยังมีผลจากสต๊อกยางที่เกิดขึ้นภายในประเทศเป็นจำนวนมาก อันมีผลจากการดำเนิน การแทรกแซงราคายางในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เสนอต่อท่านประธานที่ประชุมว่า ในสัปดาห์ หน้าหรือสัปดาห์ถัดไปน่าจะเชิญฝ่ายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยางมาชี้แ จงต่อ ส.ส.ในพรรคอีก ซึ่ง ท่านประธานก็รับไปดำเนินการครับก็ขอเชิญท่านรองนพดลได้ชี้แจงประเด็นอื่นๆ ต่อไปนะครับ"
นายนพดล ปัทมะ "ผมขออนุญาตเรียนให้ทราบเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ใครจะเป็นผู้รักษาการณ์ ตามองค์กรใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ทุกท่านก็คงจะทราบว่าผู้รักษาการณ์มีหน้าที่อยู่ 2-3 ประการคือ ประเด็นแรก จะเป็นผู้ที่จะตอบสภา ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ และ เรื่องที่ 2 จะเป็นผู้ที่จะดูแลงบประมาณ และ การบริหารงานบุคคล ในการที่จะดำเนินการ ตาม เจตนารมย์ของกฎหมายฉบับต่าง ๆ ทีนี้องค์กรอิสระของเราก็มีหลายองค์กร และกฎหมาย แต่ละฉบับ ที่เสนอมา เริ่มจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ ว่าด้วยพรรคการเมือง ให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นประธาน กฎหมาย ประกอบ รัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ ยกตัวอย่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของผู้ ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง รัฐบาลก็เสนอให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการณ์ ในการพิจารณาใน ชั้นกรรมาธิการวิสามัญก็ยังยืนยันหลักการนั้นอยู่ ไม่ได้มีการ แก้ไขให้นายกฯเป็นผู้รักษาการณ์ เพราะ การที่จะให้ใครเป็นผู้รักษาการณ์นั้นควรจะต้องเป็นผู้ที่ต้องมีความ รู้และรับผิดชอบต่อสภาได้ เพราะฉะนั้นการที่จะให้นายกฯในกรณ ี พ.ร.บ.ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองไปตอบในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้รับผิดชอบก็คงไม่เป็นประโยชน์ และ ไปกำหนดให้ท่าน จะต้อง รับผิดชอบในสิ่งที่ท่าน ไม่มีความรับผิดชอบตามกฎหมายก็เป็นสิ่งไม่พึงกระ ทำอยู่แล้ว หลายคนก็ตั้ง เป็นข้อสังเกตว่า แล้วประธานขององค์กรอิสระเหล่านั้นจะไปตอบสภาได้อย่างไ ร ไม่เคยมีประเพณี หรือข้อบังคับไม่เอื้ออำนวยให ้ ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีการถกเถียงกันในพรรคประชาธิปัตย์พอสมควรว่า แม้ว่าข้อบังคับก็สามารถแก้ไขได้ และเราก็ต้องดูในรัฐธรรมนูญด้วยว่าใครจะเป็นผู้ไปตอบสภา ใน กฎหมายรัฐธรรมนูญประกอบว่าด้วยวิธีการพิจารณาคดีอาญาที่เรียนไปสักครู่และ ตัดสินให้ประธาน ศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการณ์และท้ายที่สุดเราคิดว่ากฎหมายแต่ ละฉบับควรมีผู้รักษาการณ์ ไปในทำนอง เดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ทางวิปรัฐบาลจะเป็นผู้ไปประสานต่อไป ซึ่งพรุ่งนี้จะเชิญ รมต.สุทัศน์ เงินหมื่น ไปชี้แจงเพื่อหาข้อยุติในประเด็นนี้ ประเด็นที่ 2 ได้เชิญท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ท่านสาวิตต์ โพธิวิหค มาชี้แจงกรณีประชาชนประท้วงเรื่องโรงไฟฟ้าที่จ.ประจวบฯ ซึ่งมีสาระที่ผมสรุปเพื่อ ให้สื่อ มวลชนทราบ คือ ประเด็นแรก โครงการต่าง ๆเหล่านี้เป็นประโยชน์ในแง่ ของการจัดหา พลังงาน ของ ประเทศไทย ประเด็นที่สอง ใบอนุญาตจากกรมควบคุมมลพิษกระทรวงวิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการอนุญาตแล้ว ประเด็นที่สาม ใบอนุญาตจากกรมเจ้าท่าของกระทรวงคมนาคมในการสร้างท่าเรือ ออกไปในทะล ก็ได้มีการออกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งท้ายสุด ประเด็นที่สี่ การอนุญาตจากองค์การบริหารส่วน ตำบลหรือ (อบต.) ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่มาประท้วง ซึ่งท่านมีอำนาจในการจะอนุญาต หรือไม่ อนุญาตให้โครงการนี้ดำเนินต่อไปได้ ตราบใดที่ยังไม่มีการอนุญาตของ อบต. ก็จะไม่สามารถ ดำเนิน โครงการนี้ต่อไปได้ ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลเห็นว่าจะต้องมีการทำประชาพิจารณ์อย่างแน่นอน เพื่อที่จะให้ หน่วยงาน 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ มหาดไทย และท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ คือ รมต.สาวิตต์ โพธิวิหค ไปเป็นผู้รับผิดชอบการทำประชาพิจารณ์ และในที่สุดเมื่อมีการ ทำประชาพิจารณ์ ออกมาเป็นอย่างไรว่ามีผู้ทีเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยจากทุกฝ่ายรวมทั้งประช าชนในพื้นที่ ท้ายสุดก็จะสรุป ออก มาว่าเป็นอย่างไร โครงการนี้ไม่ใช่เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แต่เป็นโครงการระหว่างเอกชนที่จะมาลงทุนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ การขออนุญาตก็ต้องเป็นไปตามปกติ คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ มหาดไทย และ อบต. รมต.สาวิตต์ ได้ย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่อง ละเอียดอ่อน เป็นการ นำเงินมาลงทุนจากนักลงทุนจากต่างประเทศ ไม่ให้มีการส่งสัญญาณออกไปทางใดทางหนึ่งว่าจะไม่มี การดำเนิน การอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รัฐบาลและมติครม.เมื่อวันที่ 15 เดือนนี้ ก็ได้ยืนยันว่าจะมี การทำ ประชาพิจารณ์ต่อไป ครับสำหรับสาระสำคัญในการประชุมในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ครับ.--จบ--