1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ไม่มีรายงานจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ญี่ปุ่นขึ้นภาษีปลาทูน่าขัดต่อข้อตกลงขององค์การการค้าโลก(WTO)
กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่สถานฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าพบและแจ้งกรมการค้าต่างประเทศของไทยว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะมีการทบทวนและปรับเพิ่มภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องของไทย 2 พิกัด คือ ทูน่าในน้ำเกลือและทูน่าในน้ำมันพืชอีกร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 7.2 เป็นร้อยละ 9.6 โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบันไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเข้าตลาดญี่ปุ่นสูง มีสัดส่วนถึงร้อยละ 68 ของการนำเข้าทั้งหมด เกรงว่าจะเป็นการผูกขาดตลาดและมีอิทธิพลต่อตลาดภายในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ไทยค้านว่าไม่เป็นการถูกต้องเพราะจะกระทบต่อต้นทุนและราคาขาย ทำให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นต้องซื้อของแพงขึ้น ที่สำคัญไทยกับญี่ปุ่นกำลังเจรจาเอฟทีเอ เพื่อลดภาษีนำเข้าระหว่างกันจะเป็นการทำลายบรรยากาศและส่งผลให้การเจรจายุ่งยากมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์จะหารือร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อรวบรวมข้อมูลและแจ้งไปยังรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากไทยเพียงประเทศเดียวหรือไม่ และการกระทำของญี่ปุ่นขัดต่อข้อตกลงขององค์การการค้าโลก(WTO) เพราะเท่ากับญี่ปุ่นได้ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) กับไทย
หลักการให้จีเอสพีของญี่ปุ่นสำหรับทูน่ากระป่องนำเข้าจะกำหนดว่าเก็บอัตราภาษีร้อยละ 7.2 ถ้าปริมาณการนำเข้ายังอยู่ในโควตา 10,000 ตัน หากเกินจำนวนนี้จะเก็บอัตราภาษีร้อยละ 9.6 ช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค. 47 ไทยส่งออกทูน่ากระป๋อง 23,746.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.25 ส่งออกไปญี่ปุ่น 2,126.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.65 ขยายตัวสูงสุด แต่เป็นตลาดที่มีมูลค่าอันดับ 4 ตลาดอันดับ 1 คือ สหรัฐฯ 6,375.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.37 แคนาดา 2,268.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 และออสเตรเลีย 2,244 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.17 เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.05 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 142.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 136.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.21
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27-30 ธ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 27 ธ.ค.-2 ม.ค. 2548--
-สก-
การผลิต
ไม่มีรายงานจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ญี่ปุ่นขึ้นภาษีปลาทูน่าขัดต่อข้อตกลงขององค์การการค้าโลก(WTO)
กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่สถานฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าพบและแจ้งกรมการค้าต่างประเทศของไทยว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะมีการทบทวนและปรับเพิ่มภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องของไทย 2 พิกัด คือ ทูน่าในน้ำเกลือและทูน่าในน้ำมันพืชอีกร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 7.2 เป็นร้อยละ 9.6 โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบันไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเข้าตลาดญี่ปุ่นสูง มีสัดส่วนถึงร้อยละ 68 ของการนำเข้าทั้งหมด เกรงว่าจะเป็นการผูกขาดตลาดและมีอิทธิพลต่อตลาดภายในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ไทยค้านว่าไม่เป็นการถูกต้องเพราะจะกระทบต่อต้นทุนและราคาขาย ทำให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นต้องซื้อของแพงขึ้น ที่สำคัญไทยกับญี่ปุ่นกำลังเจรจาเอฟทีเอ เพื่อลดภาษีนำเข้าระหว่างกันจะเป็นการทำลายบรรยากาศและส่งผลให้การเจรจายุ่งยากมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์จะหารือร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อรวบรวมข้อมูลและแจ้งไปยังรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากไทยเพียงประเทศเดียวหรือไม่ และการกระทำของญี่ปุ่นขัดต่อข้อตกลงขององค์การการค้าโลก(WTO) เพราะเท่ากับญี่ปุ่นได้ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) กับไทย
หลักการให้จีเอสพีของญี่ปุ่นสำหรับทูน่ากระป่องนำเข้าจะกำหนดว่าเก็บอัตราภาษีร้อยละ 7.2 ถ้าปริมาณการนำเข้ายังอยู่ในโควตา 10,000 ตัน หากเกินจำนวนนี้จะเก็บอัตราภาษีร้อยละ 9.6 ช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค. 47 ไทยส่งออกทูน่ากระป๋อง 23,746.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.25 ส่งออกไปญี่ปุ่น 2,126.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.65 ขยายตัวสูงสุด แต่เป็นตลาดที่มีมูลค่าอันดับ 4 ตลาดอันดับ 1 คือ สหรัฐฯ 6,375.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.37 แคนาดา 2,268.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 และออสเตรเลีย 2,244 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.17 เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.05 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 142.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 136.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.21
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27-30 ธ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 27 ธ.ค.-2 ม.ค. 2548--
-สก-