แท็ก
ปักกิ่ง
"เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน หรือ TEDA (The Tianjin Economic - Technological Development Area)" เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีน ตั้งอยู่ในเทศบาลนครเทียนจินหรือเทียนสิน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และห่างจากกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีนเพียง 130 กิโลเมตร TEDA จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 ตามนโยบายของรัฐบาลจีนที่มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ของประเทศ โดยอาศัยเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นเครื่องมือในการดึงดูดเงินทุน เทคโนโลยี ความรู้ทางวิชาการ และการบริหารจัดการจากต่างประเทศมาพัฒนาจีนให้ทันสมัย รวมทั้งเน้นส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออกซึ่งจะเป็นที่มาของรายได้เงินตราต่างประเทศด้วย จากนโยบายดังกล่าว ส่งผลให้ TEDA เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากพื้นที่เพียง 40 ตารางกิโลเมตร ตอนเริ่มก่อตั้ง ได้ขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 88 ตารางกิโลเมตร ในปี 2546 โดย TEDA เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีผลตอบแทน จากการลงทุนสูงที่สุดในจีน ปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าใน TEDA เกือบ 4,000 บริษัท มีมูลค่า เงินลงทุนจากต่างประเทศสะสมรวมกว่า 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (เกือบ 40% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศสะสมใน TEDA) โดย TEDA เป็นฐานการผลิตโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดในจีน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมเครื่องจักร อาหาร เคมีภัณฑ์ และยา นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐฯ ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนใน TEDA ได้แก่
1. ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานครบครัน ในช่วงที่ผ่านมาจีนมีนโยบายมุ่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานใน TEDA อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติ อาทิ ไฟฟ้า ประปา ระบบกำจัดของเสียระบบโทรคมนาคม และระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
2. แรงงานมีคุณภาพและค่าจ้างแรงงงานต่ำ แรงงานส่วนใหญ่มีการศึกษาดี เนื่องจากเทศบาลนครเทียนจินให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยเปิดสอนในเทศบาลนครเทียนจินมากถึง 37 แห่ง นอกจากนี้อัตราค่าจ้างแรงงานยังค่อนข้างต่ำเพียง 700-800 หยวนต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าค่าจ้างในเมืองสำคัญหลายเมือง อาทิ เทศบาลนครปักกิ่ง เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ และเมืองกว่างโจว ราว 30%
3. นโยบายส่งเสริมการลงทุน
- สิทธิพิเศษทางภาษี อาทิ บริษัทต่างชาติที่ส่งออกสินค้ามากกว่า 70% ของมูลค่าผลผลิตทั้งหมด ของบริษัท และบริษัทต่างชาติที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 15% (จากอัตราปกติ 30%) โครงการลงทุนต่างชาติที่มีระยะเวลาดำเนินกิจการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ฯ ในช่วง 2 ปีแรกที่กิจการมีกำไร และจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ฯ เหลือ 7.5% ในช่วง 3 ปีถัดไป และลดหย่อนเหลือ 15% หลังจากนั้น นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังได้รับการยกเว้นภาษีการโอนผลกำไรกลับประเทศ ภาษีนำเข้าชิ้นส่วน อุตสาหกรรมบางชนิด และภาษีส่งออกสินค้า อีกด้วย
- อำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน โดยมีศูนย์ส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Center) ตั้งอยู่ใน TEDA เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนอย่างครบวงจร (One-Stop Service) ตั้งแต่ขั้นตอนการสำรวจการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน การจดทะเบียนโครงการลงทุน การจัดตั้งโรงงานและจัดหาพนักงานตลอดจนให้คำแนะนำเมื่อผู้ลงทุนประสบปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต
4. ระบบคมนาคมขนส่งสะดวก
- ทางบก TEDA ตั้งอยู่ใกล้กับทางหลวงและทางด่วนที่สามารถเชื่อมไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ ของจีน อาทิ เทศบาลนครปักกิ่ง เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ เมืองเฉิ่นหยาง (เมืองหลวงของมณฑลเหลียวหนิง) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเมืองกว่างโจว ทางตอนใต้ของจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายเส้นทางรถไฟถึง 9 สาย สายที่สำคัญคือ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่าง TEDA กับเทศบาลนครปักกิ่ง
- ทางน้ำ TEDA ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือเทียนจิน หรือ Tianjin New Port (เป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน รองจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้) เพียง 5 กิโลเมตร ท่าเรือดังกล่าวมีเส้นทางเดินเรือที่สามารถเชื่อมกับท่าเรือทั่วโลกกว่า 300 ท่ารวมทั้งยังรองรับสินค้าได้มากกว่าปีละ 100 ล้านตัน และรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ปีละ 2 ล้าน TEUs (Twenty Feet --Equivalent Units : หน่วยเทียบเท่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) ปัจจุบันทางการจีนอยู่ระหว่างการปรับปรุงท่าเรือเทียนจินให้สามารถรองรับสินค้าได้มากขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ถึงปีละ 5 ล้าน TEUs ภายในปี 2553
- ทางอากาศ TEDA ตั้งอยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติเทียนจิน (Tianjin International Airport) ซึ่งเป็นสนามบินที่รองรับการขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีนตอนเหนือ และสนามบินนานาชาติปักกิ่ง (Beijing International Airport) ราว 40 กิโลเมตร และ 180 กิโลเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังได้มีการลงนามใน Transfer Agreement ระหว่างTEDA กับศุลกากรประจำสนามบินนานาชาติเทียนจินและสนามบินนานาชาติปักกิ่ง ทำให้ผู้ประกอบการใน TEDA ที่ต้องการส่งออกหรือนำเข้าสินค้าผ่านสนามบินนานาชาติเทียนจินและปักกิ่ง สามารถผ่านกระบวนการศุลกากรภายใน TEDA ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศุลกากรที่สนามบินทั้ง 2 แห่งนี้อีก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2548--
-พห-
1. ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานครบครัน ในช่วงที่ผ่านมาจีนมีนโยบายมุ่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานใน TEDA อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติ อาทิ ไฟฟ้า ประปา ระบบกำจัดของเสียระบบโทรคมนาคม และระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
2. แรงงานมีคุณภาพและค่าจ้างแรงงงานต่ำ แรงงานส่วนใหญ่มีการศึกษาดี เนื่องจากเทศบาลนครเทียนจินให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยเปิดสอนในเทศบาลนครเทียนจินมากถึง 37 แห่ง นอกจากนี้อัตราค่าจ้างแรงงานยังค่อนข้างต่ำเพียง 700-800 หยวนต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าค่าจ้างในเมืองสำคัญหลายเมือง อาทิ เทศบาลนครปักกิ่ง เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ และเมืองกว่างโจว ราว 30%
3. นโยบายส่งเสริมการลงทุน
- สิทธิพิเศษทางภาษี อาทิ บริษัทต่างชาติที่ส่งออกสินค้ามากกว่า 70% ของมูลค่าผลผลิตทั้งหมด ของบริษัท และบริษัทต่างชาติที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 15% (จากอัตราปกติ 30%) โครงการลงทุนต่างชาติที่มีระยะเวลาดำเนินกิจการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ฯ ในช่วง 2 ปีแรกที่กิจการมีกำไร และจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ฯ เหลือ 7.5% ในช่วง 3 ปีถัดไป และลดหย่อนเหลือ 15% หลังจากนั้น นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังได้รับการยกเว้นภาษีการโอนผลกำไรกลับประเทศ ภาษีนำเข้าชิ้นส่วน อุตสาหกรรมบางชนิด และภาษีส่งออกสินค้า อีกด้วย
- อำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน โดยมีศูนย์ส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Center) ตั้งอยู่ใน TEDA เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนอย่างครบวงจร (One-Stop Service) ตั้งแต่ขั้นตอนการสำรวจการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน การจดทะเบียนโครงการลงทุน การจัดตั้งโรงงานและจัดหาพนักงานตลอดจนให้คำแนะนำเมื่อผู้ลงทุนประสบปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต
4. ระบบคมนาคมขนส่งสะดวก
- ทางบก TEDA ตั้งอยู่ใกล้กับทางหลวงและทางด่วนที่สามารถเชื่อมไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ ของจีน อาทิ เทศบาลนครปักกิ่ง เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ เมืองเฉิ่นหยาง (เมืองหลวงของมณฑลเหลียวหนิง) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเมืองกว่างโจว ทางตอนใต้ของจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายเส้นทางรถไฟถึง 9 สาย สายที่สำคัญคือ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่าง TEDA กับเทศบาลนครปักกิ่ง
- ทางน้ำ TEDA ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือเทียนจิน หรือ Tianjin New Port (เป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน รองจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้) เพียง 5 กิโลเมตร ท่าเรือดังกล่าวมีเส้นทางเดินเรือที่สามารถเชื่อมกับท่าเรือทั่วโลกกว่า 300 ท่ารวมทั้งยังรองรับสินค้าได้มากกว่าปีละ 100 ล้านตัน และรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ปีละ 2 ล้าน TEUs (Twenty Feet --Equivalent Units : หน่วยเทียบเท่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) ปัจจุบันทางการจีนอยู่ระหว่างการปรับปรุงท่าเรือเทียนจินให้สามารถรองรับสินค้าได้มากขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ถึงปีละ 5 ล้าน TEUs ภายในปี 2553
- ทางอากาศ TEDA ตั้งอยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติเทียนจิน (Tianjin International Airport) ซึ่งเป็นสนามบินที่รองรับการขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีนตอนเหนือ และสนามบินนานาชาติปักกิ่ง (Beijing International Airport) ราว 40 กิโลเมตร และ 180 กิโลเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังได้มีการลงนามใน Transfer Agreement ระหว่างTEDA กับศุลกากรประจำสนามบินนานาชาติเทียนจินและสนามบินนานาชาติปักกิ่ง ทำให้ผู้ประกอบการใน TEDA ที่ต้องการส่งออกหรือนำเข้าสินค้าผ่านสนามบินนานาชาติเทียนจินและปักกิ่ง สามารถผ่านกระบวนการศุลกากรภายใน TEDA ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศุลกากรที่สนามบินทั้ง 2 แห่งนี้อีก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2548--
-พห-