นายจุรินทร์ ลักษณวิศิฏฐ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกรัฐสภา เจตนารมณ์สำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็คือ การที่จะเดินไปสู่เป้าหมายของการปฏิรูปบ้านเมือง นั่นก็คือการเปิดโอกาสให้มีหลักประกันในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากขึ้นเป็นประการที่ 1 และในประการที่ 2 ก็คือว่าเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น และในประการที่ 3 ก็คือ การออกแบบระบบรัฐสภาให้มีฝ่ายบริหารที่มีความเข้มแข็ง ในขณะเดียวกันก็มีประการที่ 4 นั่นคือการออกแบบให้มีระบบการตรวจสอบที่มีความเข้มข้นและมีประสิทธิภาพ
เพราะฉะนั้นระบบรัฐสภาใหม่ที่ออกแบบโดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ระบบรัฐสภานั้นยืนอยู่ได้ด้วย 2 ขาหลักขององคาพยพในระบอบประชาธิปไตย ขาหนึ่งก็คือฝ่ายบริหาร ขาที่สองก็คือฝ่ายนิติบัญญัติ แต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกแบบเพิ่มเติมให้เป็นระบบรัฐสภาแบบ 3 ขา นั่นคือ เพิ่มเติมจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ มาเป็นขาที่ 3 คือกำหนดให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่ในการคานอำนาจ
องค์กรอิสระที่สำคัญๆ ก็ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการเลือกตั้งแทนรัฐบาลในอดีต เพราะเห็นว่าจะไม่เป็นธรรมและจะทำให้ผู้ที่เป็นรัฐบาลได้เปรียบในการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งจึงถูกออกแบบมาเพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างสุจริตยุติธรรม หรือแม้แต่ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีการกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยความชอบหรือไม่ชอบโดยรัฐธรรมนูญของกฎหมายฉบับบต่างๆทั้งที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ในรูป พ.ร.ก. และโดยฝ่ายนิติบัญญัติในรูปแบบของ พ.ร.บ. นอกจากนั้นยังออกแบบให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยความขัดแย้งในเรื่องของอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญ เหล่านี้เป็นต้น
องค์กรอิสระที่มีความสำคัญยิ่งอีกองค์กรหนึ่งที่กำลังเป็นที่วิพากวิจารณ์อยู่ในขณะนี้คือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบให้ ป.ป.ช.ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งนักการเมือง ระบบรัฐสภาในปัจจุบันจึงเป็นระบบรัฐสภาแบบ 3 ขา มีฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และองค์กรอิสระ
องค์กรอิสระในระบบนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ถ้าองค์กรอิสระไม่มีความเป็นอิสระ ผลที่จะตามมาคือ 1. ผู้มีอำนาจก็สามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระ เพื่อประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ในที่สุดความเป็นอิสระและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญก็จะไม่สามารถเดินไปสู่จุดที่พวกเราต้องการเห็นและต้องการที่จะเป็น 2. ถ้าองค์กรอิสระถูกแทรกแซงได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ อำนาจทั้ง 3 อำนาจจะไปตกอยู่ในมือของคนๆเดียว สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือระบบรัฐสภาจะไม่เป็นระบบรัฐสภาของประชาชน นั่นหมายความว่าระบบรัฐสภาจะไปตกอยู่ในมือของคนๆเดียวหรือคนกลุ่มเดียวและจะอันตรายยิ่งขึ้นถ้าองค์กรอิสระไปตกอยู่ในมือของคนๆเดิม นั่นคือหายนะของระบบรัฐสภาของเรา และนั่นหมายความว่าจุดประสงค์ที่เราต้องการเห็นการปฏิรูปบ้านเมืองโดยออกแบบระบบรัฐสภามาในรูปแบบใหม่ก็จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
เพราะฉะนั้นทางหนึ่งที่ทำอย่างไรให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญบรรลุวัตถุประสงค์ ทางหนึ่งที่จะเป็นการป้องกันการแทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญได้ก็คือ จะต้องตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้งไป เพื่อสกัดกั้นการเข้าครอบงำแทรกแซงองค์กรอิสระตั้งแต่เบื้องต้นในขั้นตอนการสรรหา และเพื่อวัถุประสงค์ในการทำให้องค์กรอิสระปลอดจากการเป็นหนี้ที่จะต้องไปตอบแทนบุญคุณทางการเมืองในอนาคต
ร่างของพรรคฝ่ายค้านที่นำเสนอถือหลัก 4 ข้อ คือ
1.ให้ตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปทั้งหมด ทั้ง 3 องค์กรที่ระบุให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าไปเป็นกรรมการสรรหา
2. เมื่อถอดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปทั้งหมดแล้ว ก็ให้เอาตัวแทนภาคประชาชนเข้ามาแทนที่พรรคการเมือง โดยให้เอาสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเข้ามาแทนตามจำนวนเท่าที่ปรากฏอยู่ในรายละเอียด เพื่อแทนที่พรรคการเมืองทั้งหมด
3. สำหรับคณะกรรมการสรรหาที่เป็นองค์กรอื่น เช่น ศาลฏีกา ประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นต้น ฝ่ายค้านเห็นควรคงไว้ ตัวแทนอธิการบดีก็คงไว้ และ
4. ฝ่ายค้านเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระควรจะแก้ไปพร้อมๆกันทั้งหมด
สำหรับร่างของรัฐบาลที่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะ
1. ร่างของรัฐบาลไม่ได้ตัดตัวแทนของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นความประสงค์ของสังคมในขณะนี้ออกไป
2. ร่างของรัฐบาลแก้ปัญหาไม่หมด แก้เฉพาะ ป.ป.ช. แต่ไม่แก้ กกต. และ ศาลรัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นองค์กรอิสระอย่างเดียวกัน เหตุผลที่พวกเราเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้งไป แต่รัฐบาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตัดตัวแทนพรรคการเมือง ผมคิดว่ารัฐบาลก็มีความสับสน เบื้องต้นนายกฯได้ให้สัมภาษณ์ด้วยตัวเองว่าเห้นควรให้ตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไป แต่ต่อมาไม่กี่วันนายกฯกลับลำให้ยังคงตัวแทนของพรรคการเมืองอยู่ในคณะกรรมการสรรหาป.ป.ช. ซึ่งองค์ประกอบส่วนอื่นฝ่ายค้านไม่ได้ติดใจ
แต่ประเด็นที่ฝ่ายค้านติดใจก็คือการกำหนดบุคคลอีก 2 ท่าน ระบุบัญญัติเข้ามาในร่างของรัฐบาลให้เป็นตัวแทนในคณะกรรมการสรรหาด้วย นั่นคือการกำหนดตำแหน่งขึ้นมาใหม่ ซึ่งยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย โดยกำหนดให้มีผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทน 1 ท่าน ผมเรียนรัฐศาสตร์มา เคยได้ยินผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนเฉพาะในระบบประธานาธิบดี แต่ในระบบรัฐสภายังเป็นคำถามว่ามีจริงหรือไม่ เลยทำให้เกิดความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าการบัญญัติให้มีผู้นำเสียงข้างมากขึ้นมาเป็นกรรมการสรรหานั้นเหมือนการบัญญัติขึ้นมาโดยกระทันหันและมีเจตนาเร้นลับเป็นพิเศษ
มีคนตั้งคำถามว่าผู้นำเสียงข้างมากในสภาที่รัฐบาลระบุให้มาเป็นกรรมการสรรหานั้นที่สุดแล้วเข้ามาเป็นร่างทรงของพรรคการเมืองซีกรัฐบาลหรือไม่ และมีวัตถุประสงค์ต้องการให้เข้ามาบงการการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในอนาคตหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง และแน่นอนจะทำให้เกิดคำถามนี้โดยการหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านนายกฯในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ให้สัมภาษณ์ระบุชื่อว่าคนที่จะมาเป็นผู้นำเสียงข้างมากในสภาในการสรรหาชื่ออะไร ที่สุดก็เลยเป็นที่มาของคำตอบว่าผู้นำเสียงข้างมากในสภา ซึ่งจะเป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติที่รัฐบาลอ้าง เพื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นกรรมการสรรหา คือคนที่รับใบสั่งหรือมีใบสั่งระบุชื่อมาจากหัวหน้าฝ่ายบริหาร นี่คือสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผมคิดว่ารัฐสภาจะต้องขบคิดว่า เราจะเห็นด้วยกับสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่
ผมกราบเรียนท่านประธานว่า ผมไม่รังเกียจตัวบุคคล ผมไม่วิพากษ์วิจารณ์ตัวบุคคล ท่านผู้นำฝ่ายค้านแน่นอนครับ ถ้าท่านไปเป็นกรรมการสรรหา ฝ่ายค้านก็ได้ประโยชน์อย่างน้อยที่สุดก็มีตัวแทนเข้าไปนั่ง แต่ทำไมพวกเราไม่เห็นด้วย เพราะเราไม่ได้ดูที่ตัวบุคคล และเราไม่ได้ดูที่ผลประโยชน์ของตัวเอง แต่เราดูว่าความถูกความควรคืออะไร หลักที่ควรจะเป็นคืออะไร ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ที่จะต้องมีตัวแทนพรรคการเมืองเข้ามานั่งอยู่ในคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพราะไม่เช่นนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็จะไร้ซึ่งความเป็นอิสระ นี่คือเหตุผลที่ผมต้องกราบเรียนท่านประธานว่า ทำไมเราไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐบาล เพราะไม่ได้ตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้งไปโดยสิ้นเชิงอย่างแท้จริง
เหตุผลประการที่ 2 ที่พวกกระผมไม่เห็นด้วยกับร่างของรัฐบาล ก็เพราะเห็นว่าท่านแก้ประเด็นเดียว ท่านแก้เฉพาะกรรมการสรรหา ป.ป.ช. แต่ไม่แก้กรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญ และ กกต. เหตุผลที่ท่านให้กับสาธารณะก็คือว่า ท่านอ้างว่ากลัวช้า และกลัวเสียเวลา ถ้าจะไปแก้พร้อมกันทีเดียวทั้ง 3 ประเด็น แต่ผมกราบเรียนกับท่านประธานเลยว่า เหตุผลที่บอกว่ากลัวเสียเวลาและกลัวจะไม่ทันที่รัฐธรรมนูญระบุว่า จะต้องสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่มีเหตุนั้น และบอกว่าไม่แก้ 3 ประเด็นมันฟังไม่ขึ้น และที่บอกว่าฟังไม่ขึ้น เพราะว่ารัฐบาลเองได้ปลดล็อกปัญหานี้ออกไปแล้วโดยสิ้นเชิง เรียบร้อยครับ ไม่ต้องไปเป็นห่วงเรื่อง 30 วันตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอีกต่อไปแล้วว่ากลัวจะทำไม่ทัน เพราะในร่างของรัฐบาลเองที่เสนอต่อสภา รัฐบาลมีร่างในมาตรา 4 ระบุไว้ชัดเจนในการปลดล็อกแก้ปัญหาไม่ทัน 30 วันตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
นั่นก็คือมาตรา 4 ของร่างรัฐบาลเขียนไว้อย่างนี้ครับท่านประธานครับ มาตร 4 เขียนว่า ในกรณีที่มีเหตุทำให้ต้องมีการสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ แต่วุฒิสภายังไม่มีมติเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แปลว่าถ้าทำไม่ทันให้ยกเลิกการสรรหาและการเลือกตั้งดังกล่าว และให้คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามมาตรา 297 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ แปลว่าให้คณะกรรมการสรรหาชุดใหม่ที่ระบุไว้ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เราจะเปลี่ยนนี้เป็นผู้ดำเนินการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้บังคับใช้ ก็แปลว่าร่างของรัฐบาลปลดล็อกในเรื่องความล่าช้าของเวลา 30 วันเรียบร้อยแล้ว แปลว่า 30 วันต่อไปนี้ถ้าร่างของรัฐบาลผ่านให้นับ 1 นับจากวันที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ไป 30 วัน การสรรหาก็จะไม่เกิดปัญหาความล่าช้าเรื่อง 30 วันตามรัฐธรรมนูญเดิม
การอ้างว่าแก้หลายประเด็นจะทำให้ล่าช้าเสียเวลาจึงไม่ใช้ข้ออ้างที่แท้จริง และไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ท่านนายกฯให้เหตุผลเพิ่มเติมบอกว่า ท่านถือหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้หลักว่าเสียตรงไหน ก็ซ่อมตรงนั้น ฟังแล้วเหมือนใช่ครับ แต่จริงๆไม่ใช่ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่วิทยุ ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ ที่เสียตรงไหนแล้วซ่อมตรงนั้น แต่รัฐธรรมนูญคือกติกาสูงสุดของประเทศที่จะต้องใช้บังคับกับทุกคนและต้องีหลักมีเกณฑ์อย่างเดียวกัน ในเรื่องที่สอดคล้องต้องกัน ไม่ใช่ปล่อยให้ลักลั่นกัน ป.ป.ช. อย่าง กรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญอย่าง กรรมการสรรหา กกต.อย่าง ถ้าอย่างนั้นมันก็จะเกิดความลักลั่น และหลายมาตรฐานขึ้นมาในรัฐธรรมนูญในตัวของมันเอง
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ผมขออนุญาตที่จะกราบเรียนท่านประธาน เพราะฉะนั้นการแก้รัฐธรรมนูญเที่ยวนี้ของรัฐบาลจึงเหมือนกับเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และแก้แบบขอไปทีให้พ้นๆไปเฉพาะประเด็น เหมือนกล้าๆกลัวๆ แล้วก็ไม่ได้มองไปในอนาคตเหมือนผู้ที่ควรจะมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดกติกาบ้านเมืองในหลักที่มันควรจะเป็นให้สอดคล้องต้องกัน ถ้ารัฐธรรมนูญเที่ยวนี้แก้ไม่หมด คือแก้เฉพาะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วยังปล่อยให้คณะกรรมการสรรหา กกต. และคณะกรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญมีตัวแทนพรรคการเมืองหลงเหลืออยู่ อะไรจะเกิดขึ้นครับ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างน้อย 4 ประการ 1. สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือถ้าตราบใดยังมีตัวแทนพรรคการเมืองในกรรมการสรรหา จะต้องมีการบล็อคโหวตในกรรมการสรรหาที่เป็นตัวแทนพรรคการเมืองเกิดขึ้นอีกต่อไป เพราะในอดีตต้องยอมรับความจริงว่า 4 ปีที่ผ่านมากรรมการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระหลายครั้งมีการบล็อคโหวต ผมเป็นคนหนึ่งครับที่บังเอิญได้มีโอกาสเข้าไปเป็นกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช.ครั้งหนึ่ง เป็นฝ่ายค้านเกือบจะเรียกได้ว่าคนเดียวที่หลุดไปได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีการบล็อคโหวต และการบล็อคโหวตมันน่ากลัวอย่างไรครับ ที่บอกว่าการบล็อคโหวตมันน่ากลัวเพราะว่ายกตัวอย่างคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่ผ่านมามีกรรมการสรรหา 15 คน 15 คนประกอบด้วย 1.ประธานศาลฏีกา 2.ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 3.ประธานศาลปกครองสูงสุด แล้วก็อีก 7 ท่านมาจากตัวแทนอธิการบดีรวมแล้วเป็น 10 อีก 5 เป็นตัวแทนพรรคการเมือง รวมแล้วเป็น 15 คน
ใครก็ตามจะสมัครเป็นสมาชิก ป.ป.ช. จะผ่านการสรรหาไปได้ท่านต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 แปลว่าท่านจะได้อย่างน้อย 12 ใน 15 คะแนน แปลว่าท่านมีคนค้านได้ไม่เกิน 3 คน เพื่อให้ท่านได้ 12 คะแนน ถ้าเมื่อไหร่ท่านมีคนค้าน 4 คน ท่านจะเหลือ 11 คะแนน และท่านไม่มีวันหลุดรอดได้เป็นกรรมการป.ป.ช. แต่ขณะเดียวกันมีตัวแทนพรรคการเมือง 5 คนครับ ถ้าตัวแทนพรรคการเมืองทั้ง 5 คนบล็อคโหวต ฮั้วกัน 5 คนนี้ใช้แค่ 4 เสียง ก็สามารถสะกัดคนดีไม่ให้มีโอกาสเข้าไปเป็นคณะกรรมการป.ป.ช.ได้เลย ที่สุดใครจะหลุดรอดเข้าไปเป็นกรรมการองค์กรอิสระจะเป็นได้ก็ต่อเมื่อพรรคการเมืองที่รวมหัวกันบล็อคโหวตชี้ให้เป็น หรือไม่ให้เป็นเท่านั้น นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น เราจึงบอกว่าทำอย่างไร เราควรจะตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้งไป ถ้าไม่ตัดบล็อคโหวตจะเกิดขึ้นอีกแน่นอน และจะมีกลุ่มอำนาจทางการเมืองจะเป็นผู้ชี้ว่าใครควรได้เป็น ใครไม่ควรได้เป็น
ประการที่ 2 ผลที่จะเกิดขึ้นก็คือว่า พรรคการเมืองก็จะเป็นผู้ชี้นำต่อไป
และในประการที่ 3 จะมีใบสั่งทางการเมืองปลิวว่อนเหมือนกับที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไปยังคณะกรรมการองค์กรอิสระ ผมไม่วิจารณ์คณะกรรมการองค์กรอิสระนะครับ ผมไม่ไปตำหนิท่าน หรือไปวิจารณ์ท่าน หรือให้ร้ายท่านแต่อย่างใดทั้งสิ้นว่าท่านไม่อิสระ ท่านไปรับใบสั่ง แต่ผมพูดผมหมายถึงคนนอกกรรมการองค์กรอิสระที่จะเกิดใบสั่งทางการเมืองขึ้นมาได้ และสิ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นอีกต่อไปถ้ายังไม่ตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้ง
และในประการสุดท้าย ท่านประธานเชื่อมั้ยครับ ถ้ายังปล่อยให้มีตัวแทนพรรคการเมืองเข้าไปเป็นกรรมการสรรหาองค์กรอิสระในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นคืออะไรครับ จะเกิดการซุก ส.ส.ไว้กับพรรคการเมืองเล็กๆบางพรรค เพื่ออะไรครับ เพื่อให้พรรคการเมืองนั้นมีผู้แทนสัก 1 คนก็พอครับ เพราะตัวแทนพรรคการเมืองแค่ 1 คนเขาสามารถมีสิทธิ มี 1 เสียงในกรรมการสรรหา หรือมี 1 เสียงในการที่ตัวแทนพรรคการเมืองที่มี ส.ส.สามารถไปเลือกกันเองให้เหลือ4 คน หรือ 5 คนได้ สิทธิเท่ากับพรรค 100 เสียง อาจจะเกิดการเมืองซุกผู้แทนไว้ในพรรคการเมืองบางพรรคในอนาคต นี่คือสิ่งที่เป็นอันตรายที่ผมขออนุญาตชี้ให้ท่านประธานเห็น เพราะฉะนั้นเหตุผลที่กระผมกราบเรียนมาทั้งหมด จึงเป็นเหตุผลที่บอกว่าทำไมฝ่ายค้านจึงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐบาล เพราะเราต้องการให้แก้พร้อมกันไปทุกประเด็น และตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปอย่างแท้จริง
สุดท้ายท่านประธานครับ กระผมทราบดีครับว่าเสียงของฝ่ายค้านมีน้อย แต่ในความเป็นจริงก็คือ แม้ฝ่ายค้านทุกคนบวกกับมือของวุฒิสมาชิกทุกคนอีก 200 คน รวมกัน ถ้ารัฐบาลไม่ฟังเสียงจากพวกเราหรือเสียงจากประชาชน การแก้รัฐธรรมนูญก็จะเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล 100% เพราะวันนี้รัฐสภาแห่งนี้มีสมาชิก 700 คน เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งอยู่ในมือของรัฐบาลแต่เพียงผู้เดียว คือมีเกิน 350 ไปเป็น 377 วาระ 1 ใช้แค่ 350 วาระ 3 ใช้แค่ 351 แต่รัฐบาลมี 377 ทั้งหมดคนชี้เป็นชี้ตายคือรัฐบาล บ้านเมืองอนาคตจะเดินไปทางไหน ระบบรัฐสภาของเราต่อไปในอนาคตจะมีหน้าตาอย่างไร จึงขึ้นอยู่กับสำนึกความรับผิดชอบของรัฐบาลว่าท่านมีความรับผิดชอบต่ออนาคตของระบอบประชาธิปไตยอย่างไร และมีสำนึกความรับผิดชอบต่อประโยชน์ของบ้านเมืองมากกว่าผลประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ อย่างไร กระผมสนับสนุนร่างของฝ่ายค้านด้วยเหตุผลที่ได้อธิบายมาทั้งหมด และไม่เห็นด้วยกับร่างของรัฐบาลด้วยเหตุผลที่ได้กราบเรียนต่อท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-
เพราะฉะนั้นระบบรัฐสภาใหม่ที่ออกแบบโดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ระบบรัฐสภานั้นยืนอยู่ได้ด้วย 2 ขาหลักขององคาพยพในระบอบประชาธิปไตย ขาหนึ่งก็คือฝ่ายบริหาร ขาที่สองก็คือฝ่ายนิติบัญญัติ แต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกแบบเพิ่มเติมให้เป็นระบบรัฐสภาแบบ 3 ขา นั่นคือ เพิ่มเติมจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ มาเป็นขาที่ 3 คือกำหนดให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่ในการคานอำนาจ
องค์กรอิสระที่สำคัญๆ ก็ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการเลือกตั้งแทนรัฐบาลในอดีต เพราะเห็นว่าจะไม่เป็นธรรมและจะทำให้ผู้ที่เป็นรัฐบาลได้เปรียบในการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งจึงถูกออกแบบมาเพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างสุจริตยุติธรรม หรือแม้แต่ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีการกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยความชอบหรือไม่ชอบโดยรัฐธรรมนูญของกฎหมายฉบับบต่างๆทั้งที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ในรูป พ.ร.ก. และโดยฝ่ายนิติบัญญัติในรูปแบบของ พ.ร.บ. นอกจากนั้นยังออกแบบให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยความขัดแย้งในเรื่องของอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญ เหล่านี้เป็นต้น
องค์กรอิสระที่มีความสำคัญยิ่งอีกองค์กรหนึ่งที่กำลังเป็นที่วิพากวิจารณ์อยู่ในขณะนี้คือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบให้ ป.ป.ช.ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งนักการเมือง ระบบรัฐสภาในปัจจุบันจึงเป็นระบบรัฐสภาแบบ 3 ขา มีฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และองค์กรอิสระ
องค์กรอิสระในระบบนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ถ้าองค์กรอิสระไม่มีความเป็นอิสระ ผลที่จะตามมาคือ 1. ผู้มีอำนาจก็สามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระ เพื่อประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ในที่สุดความเป็นอิสระและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญก็จะไม่สามารถเดินไปสู่จุดที่พวกเราต้องการเห็นและต้องการที่จะเป็น 2. ถ้าองค์กรอิสระถูกแทรกแซงได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ อำนาจทั้ง 3 อำนาจจะไปตกอยู่ในมือของคนๆเดียว สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือระบบรัฐสภาจะไม่เป็นระบบรัฐสภาของประชาชน นั่นหมายความว่าระบบรัฐสภาจะไปตกอยู่ในมือของคนๆเดียวหรือคนกลุ่มเดียวและจะอันตรายยิ่งขึ้นถ้าองค์กรอิสระไปตกอยู่ในมือของคนๆเดิม นั่นคือหายนะของระบบรัฐสภาของเรา และนั่นหมายความว่าจุดประสงค์ที่เราต้องการเห็นการปฏิรูปบ้านเมืองโดยออกแบบระบบรัฐสภามาในรูปแบบใหม่ก็จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
เพราะฉะนั้นทางหนึ่งที่ทำอย่างไรให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญบรรลุวัตถุประสงค์ ทางหนึ่งที่จะเป็นการป้องกันการแทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญได้ก็คือ จะต้องตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้งไป เพื่อสกัดกั้นการเข้าครอบงำแทรกแซงองค์กรอิสระตั้งแต่เบื้องต้นในขั้นตอนการสรรหา และเพื่อวัถุประสงค์ในการทำให้องค์กรอิสระปลอดจากการเป็นหนี้ที่จะต้องไปตอบแทนบุญคุณทางการเมืองในอนาคต
ร่างของพรรคฝ่ายค้านที่นำเสนอถือหลัก 4 ข้อ คือ
1.ให้ตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปทั้งหมด ทั้ง 3 องค์กรที่ระบุให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าไปเป็นกรรมการสรรหา
2. เมื่อถอดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปทั้งหมดแล้ว ก็ให้เอาตัวแทนภาคประชาชนเข้ามาแทนที่พรรคการเมือง โดยให้เอาสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเข้ามาแทนตามจำนวนเท่าที่ปรากฏอยู่ในรายละเอียด เพื่อแทนที่พรรคการเมืองทั้งหมด
3. สำหรับคณะกรรมการสรรหาที่เป็นองค์กรอื่น เช่น ศาลฏีกา ประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นต้น ฝ่ายค้านเห็นควรคงไว้ ตัวแทนอธิการบดีก็คงไว้ และ
4. ฝ่ายค้านเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระควรจะแก้ไปพร้อมๆกันทั้งหมด
สำหรับร่างของรัฐบาลที่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะ
1. ร่างของรัฐบาลไม่ได้ตัดตัวแทนของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นความประสงค์ของสังคมในขณะนี้ออกไป
2. ร่างของรัฐบาลแก้ปัญหาไม่หมด แก้เฉพาะ ป.ป.ช. แต่ไม่แก้ กกต. และ ศาลรัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นองค์กรอิสระอย่างเดียวกัน เหตุผลที่พวกเราเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้งไป แต่รัฐบาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตัดตัวแทนพรรคการเมือง ผมคิดว่ารัฐบาลก็มีความสับสน เบื้องต้นนายกฯได้ให้สัมภาษณ์ด้วยตัวเองว่าเห้นควรให้ตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไป แต่ต่อมาไม่กี่วันนายกฯกลับลำให้ยังคงตัวแทนของพรรคการเมืองอยู่ในคณะกรรมการสรรหาป.ป.ช. ซึ่งองค์ประกอบส่วนอื่นฝ่ายค้านไม่ได้ติดใจ
แต่ประเด็นที่ฝ่ายค้านติดใจก็คือการกำหนดบุคคลอีก 2 ท่าน ระบุบัญญัติเข้ามาในร่างของรัฐบาลให้เป็นตัวแทนในคณะกรรมการสรรหาด้วย นั่นคือการกำหนดตำแหน่งขึ้นมาใหม่ ซึ่งยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย โดยกำหนดให้มีผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทน 1 ท่าน ผมเรียนรัฐศาสตร์มา เคยได้ยินผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนเฉพาะในระบบประธานาธิบดี แต่ในระบบรัฐสภายังเป็นคำถามว่ามีจริงหรือไม่ เลยทำให้เกิดความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าการบัญญัติให้มีผู้นำเสียงข้างมากขึ้นมาเป็นกรรมการสรรหานั้นเหมือนการบัญญัติขึ้นมาโดยกระทันหันและมีเจตนาเร้นลับเป็นพิเศษ
มีคนตั้งคำถามว่าผู้นำเสียงข้างมากในสภาที่รัฐบาลระบุให้มาเป็นกรรมการสรรหานั้นที่สุดแล้วเข้ามาเป็นร่างทรงของพรรคการเมืองซีกรัฐบาลหรือไม่ และมีวัตถุประสงค์ต้องการให้เข้ามาบงการการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในอนาคตหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง และแน่นอนจะทำให้เกิดคำถามนี้โดยการหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านนายกฯในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ให้สัมภาษณ์ระบุชื่อว่าคนที่จะมาเป็นผู้นำเสียงข้างมากในสภาในการสรรหาชื่ออะไร ที่สุดก็เลยเป็นที่มาของคำตอบว่าผู้นำเสียงข้างมากในสภา ซึ่งจะเป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติที่รัฐบาลอ้าง เพื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นกรรมการสรรหา คือคนที่รับใบสั่งหรือมีใบสั่งระบุชื่อมาจากหัวหน้าฝ่ายบริหาร นี่คือสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผมคิดว่ารัฐสภาจะต้องขบคิดว่า เราจะเห็นด้วยกับสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่
ผมกราบเรียนท่านประธานว่า ผมไม่รังเกียจตัวบุคคล ผมไม่วิพากษ์วิจารณ์ตัวบุคคล ท่านผู้นำฝ่ายค้านแน่นอนครับ ถ้าท่านไปเป็นกรรมการสรรหา ฝ่ายค้านก็ได้ประโยชน์อย่างน้อยที่สุดก็มีตัวแทนเข้าไปนั่ง แต่ทำไมพวกเราไม่เห็นด้วย เพราะเราไม่ได้ดูที่ตัวบุคคล และเราไม่ได้ดูที่ผลประโยชน์ของตัวเอง แต่เราดูว่าความถูกความควรคืออะไร หลักที่ควรจะเป็นคืออะไร ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ที่จะต้องมีตัวแทนพรรคการเมืองเข้ามานั่งอยู่ในคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพราะไม่เช่นนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็จะไร้ซึ่งความเป็นอิสระ นี่คือเหตุผลที่ผมต้องกราบเรียนท่านประธานว่า ทำไมเราไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐบาล เพราะไม่ได้ตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้งไปโดยสิ้นเชิงอย่างแท้จริง
เหตุผลประการที่ 2 ที่พวกกระผมไม่เห็นด้วยกับร่างของรัฐบาล ก็เพราะเห็นว่าท่านแก้ประเด็นเดียว ท่านแก้เฉพาะกรรมการสรรหา ป.ป.ช. แต่ไม่แก้กรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญ และ กกต. เหตุผลที่ท่านให้กับสาธารณะก็คือว่า ท่านอ้างว่ากลัวช้า และกลัวเสียเวลา ถ้าจะไปแก้พร้อมกันทีเดียวทั้ง 3 ประเด็น แต่ผมกราบเรียนกับท่านประธานเลยว่า เหตุผลที่บอกว่ากลัวเสียเวลาและกลัวจะไม่ทันที่รัฐธรรมนูญระบุว่า จะต้องสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่มีเหตุนั้น และบอกว่าไม่แก้ 3 ประเด็นมันฟังไม่ขึ้น และที่บอกว่าฟังไม่ขึ้น เพราะว่ารัฐบาลเองได้ปลดล็อกปัญหานี้ออกไปแล้วโดยสิ้นเชิง เรียบร้อยครับ ไม่ต้องไปเป็นห่วงเรื่อง 30 วันตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอีกต่อไปแล้วว่ากลัวจะทำไม่ทัน เพราะในร่างของรัฐบาลเองที่เสนอต่อสภา รัฐบาลมีร่างในมาตรา 4 ระบุไว้ชัดเจนในการปลดล็อกแก้ปัญหาไม่ทัน 30 วันตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
นั่นก็คือมาตรา 4 ของร่างรัฐบาลเขียนไว้อย่างนี้ครับท่านประธานครับ มาตร 4 เขียนว่า ในกรณีที่มีเหตุทำให้ต้องมีการสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ แต่วุฒิสภายังไม่มีมติเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แปลว่าถ้าทำไม่ทันให้ยกเลิกการสรรหาและการเลือกตั้งดังกล่าว และให้คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามมาตรา 297 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ แปลว่าให้คณะกรรมการสรรหาชุดใหม่ที่ระบุไว้ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เราจะเปลี่ยนนี้เป็นผู้ดำเนินการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้บังคับใช้ ก็แปลว่าร่างของรัฐบาลปลดล็อกในเรื่องความล่าช้าของเวลา 30 วันเรียบร้อยแล้ว แปลว่า 30 วันต่อไปนี้ถ้าร่างของรัฐบาลผ่านให้นับ 1 นับจากวันที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ไป 30 วัน การสรรหาก็จะไม่เกิดปัญหาความล่าช้าเรื่อง 30 วันตามรัฐธรรมนูญเดิม
การอ้างว่าแก้หลายประเด็นจะทำให้ล่าช้าเสียเวลาจึงไม่ใช้ข้ออ้างที่แท้จริง และไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ท่านนายกฯให้เหตุผลเพิ่มเติมบอกว่า ท่านถือหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้หลักว่าเสียตรงไหน ก็ซ่อมตรงนั้น ฟังแล้วเหมือนใช่ครับ แต่จริงๆไม่ใช่ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่วิทยุ ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ ที่เสียตรงไหนแล้วซ่อมตรงนั้น แต่รัฐธรรมนูญคือกติกาสูงสุดของประเทศที่จะต้องใช้บังคับกับทุกคนและต้องีหลักมีเกณฑ์อย่างเดียวกัน ในเรื่องที่สอดคล้องต้องกัน ไม่ใช่ปล่อยให้ลักลั่นกัน ป.ป.ช. อย่าง กรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญอย่าง กรรมการสรรหา กกต.อย่าง ถ้าอย่างนั้นมันก็จะเกิดความลักลั่น และหลายมาตรฐานขึ้นมาในรัฐธรรมนูญในตัวของมันเอง
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ผมขออนุญาตที่จะกราบเรียนท่านประธาน เพราะฉะนั้นการแก้รัฐธรรมนูญเที่ยวนี้ของรัฐบาลจึงเหมือนกับเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และแก้แบบขอไปทีให้พ้นๆไปเฉพาะประเด็น เหมือนกล้าๆกลัวๆ แล้วก็ไม่ได้มองไปในอนาคตเหมือนผู้ที่ควรจะมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดกติกาบ้านเมืองในหลักที่มันควรจะเป็นให้สอดคล้องต้องกัน ถ้ารัฐธรรมนูญเที่ยวนี้แก้ไม่หมด คือแก้เฉพาะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วยังปล่อยให้คณะกรรมการสรรหา กกต. และคณะกรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญมีตัวแทนพรรคการเมืองหลงเหลืออยู่ อะไรจะเกิดขึ้นครับ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างน้อย 4 ประการ 1. สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือถ้าตราบใดยังมีตัวแทนพรรคการเมืองในกรรมการสรรหา จะต้องมีการบล็อคโหวตในกรรมการสรรหาที่เป็นตัวแทนพรรคการเมืองเกิดขึ้นอีกต่อไป เพราะในอดีตต้องยอมรับความจริงว่า 4 ปีที่ผ่านมากรรมการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระหลายครั้งมีการบล็อคโหวต ผมเป็นคนหนึ่งครับที่บังเอิญได้มีโอกาสเข้าไปเป็นกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช.ครั้งหนึ่ง เป็นฝ่ายค้านเกือบจะเรียกได้ว่าคนเดียวที่หลุดไปได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีการบล็อคโหวต และการบล็อคโหวตมันน่ากลัวอย่างไรครับ ที่บอกว่าการบล็อคโหวตมันน่ากลัวเพราะว่ายกตัวอย่างคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่ผ่านมามีกรรมการสรรหา 15 คน 15 คนประกอบด้วย 1.ประธานศาลฏีกา 2.ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 3.ประธานศาลปกครองสูงสุด แล้วก็อีก 7 ท่านมาจากตัวแทนอธิการบดีรวมแล้วเป็น 10 อีก 5 เป็นตัวแทนพรรคการเมือง รวมแล้วเป็น 15 คน
ใครก็ตามจะสมัครเป็นสมาชิก ป.ป.ช. จะผ่านการสรรหาไปได้ท่านต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 แปลว่าท่านจะได้อย่างน้อย 12 ใน 15 คะแนน แปลว่าท่านมีคนค้านได้ไม่เกิน 3 คน เพื่อให้ท่านได้ 12 คะแนน ถ้าเมื่อไหร่ท่านมีคนค้าน 4 คน ท่านจะเหลือ 11 คะแนน และท่านไม่มีวันหลุดรอดได้เป็นกรรมการป.ป.ช. แต่ขณะเดียวกันมีตัวแทนพรรคการเมือง 5 คนครับ ถ้าตัวแทนพรรคการเมืองทั้ง 5 คนบล็อคโหวต ฮั้วกัน 5 คนนี้ใช้แค่ 4 เสียง ก็สามารถสะกัดคนดีไม่ให้มีโอกาสเข้าไปเป็นคณะกรรมการป.ป.ช.ได้เลย ที่สุดใครจะหลุดรอดเข้าไปเป็นกรรมการองค์กรอิสระจะเป็นได้ก็ต่อเมื่อพรรคการเมืองที่รวมหัวกันบล็อคโหวตชี้ให้เป็น หรือไม่ให้เป็นเท่านั้น นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น เราจึงบอกว่าทำอย่างไร เราควรจะตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้งไป ถ้าไม่ตัดบล็อคโหวตจะเกิดขึ้นอีกแน่นอน และจะมีกลุ่มอำนาจทางการเมืองจะเป็นผู้ชี้ว่าใครควรได้เป็น ใครไม่ควรได้เป็น
ประการที่ 2 ผลที่จะเกิดขึ้นก็คือว่า พรรคการเมืองก็จะเป็นผู้ชี้นำต่อไป
และในประการที่ 3 จะมีใบสั่งทางการเมืองปลิวว่อนเหมือนกับที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไปยังคณะกรรมการองค์กรอิสระ ผมไม่วิจารณ์คณะกรรมการองค์กรอิสระนะครับ ผมไม่ไปตำหนิท่าน หรือไปวิจารณ์ท่าน หรือให้ร้ายท่านแต่อย่างใดทั้งสิ้นว่าท่านไม่อิสระ ท่านไปรับใบสั่ง แต่ผมพูดผมหมายถึงคนนอกกรรมการองค์กรอิสระที่จะเกิดใบสั่งทางการเมืองขึ้นมาได้ และสิ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นอีกต่อไปถ้ายังไม่ตัดตัวแทนพรรคการเมืองทิ้ง
และในประการสุดท้าย ท่านประธานเชื่อมั้ยครับ ถ้ายังปล่อยให้มีตัวแทนพรรคการเมืองเข้าไปเป็นกรรมการสรรหาองค์กรอิสระในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นคืออะไรครับ จะเกิดการซุก ส.ส.ไว้กับพรรคการเมืองเล็กๆบางพรรค เพื่ออะไรครับ เพื่อให้พรรคการเมืองนั้นมีผู้แทนสัก 1 คนก็พอครับ เพราะตัวแทนพรรคการเมืองแค่ 1 คนเขาสามารถมีสิทธิ มี 1 เสียงในกรรมการสรรหา หรือมี 1 เสียงในการที่ตัวแทนพรรคการเมืองที่มี ส.ส.สามารถไปเลือกกันเองให้เหลือ4 คน หรือ 5 คนได้ สิทธิเท่ากับพรรค 100 เสียง อาจจะเกิดการเมืองซุกผู้แทนไว้ในพรรคการเมืองบางพรรคในอนาคต นี่คือสิ่งที่เป็นอันตรายที่ผมขออนุญาตชี้ให้ท่านประธานเห็น เพราะฉะนั้นเหตุผลที่กระผมกราบเรียนมาทั้งหมด จึงเป็นเหตุผลที่บอกว่าทำไมฝ่ายค้านจึงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐบาล เพราะเราต้องการให้แก้พร้อมกันไปทุกประเด็น และตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปอย่างแท้จริง
สุดท้ายท่านประธานครับ กระผมทราบดีครับว่าเสียงของฝ่ายค้านมีน้อย แต่ในความเป็นจริงก็คือ แม้ฝ่ายค้านทุกคนบวกกับมือของวุฒิสมาชิกทุกคนอีก 200 คน รวมกัน ถ้ารัฐบาลไม่ฟังเสียงจากพวกเราหรือเสียงจากประชาชน การแก้รัฐธรรมนูญก็จะเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล 100% เพราะวันนี้รัฐสภาแห่งนี้มีสมาชิก 700 คน เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งอยู่ในมือของรัฐบาลแต่เพียงผู้เดียว คือมีเกิน 350 ไปเป็น 377 วาระ 1 ใช้แค่ 350 วาระ 3 ใช้แค่ 351 แต่รัฐบาลมี 377 ทั้งหมดคนชี้เป็นชี้ตายคือรัฐบาล บ้านเมืองอนาคตจะเดินไปทางไหน ระบบรัฐสภาของเราต่อไปในอนาคตจะมีหน้าตาอย่างไร จึงขึ้นอยู่กับสำนึกความรับผิดชอบของรัฐบาลว่าท่านมีความรับผิดชอบต่ออนาคตของระบอบประชาธิปไตยอย่างไร และมีสำนึกความรับผิดชอบต่อประโยชน์ของบ้านเมืองมากกว่าผลประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ อย่างไร กระผมสนับสนุนร่างของฝ่ายค้านด้วยเหตุผลที่ได้อธิบายมาทั้งหมด และไม่เห็นด้วยกับร่างของรัฐบาลด้วยเหตุผลที่ได้กราบเรียนต่อท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-