ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มขยายวงกว้างปลายปี 2539 จนก่อให้เกิดผลกระทบกับธุรกิจต่างๆ แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ บริษัทที่เริ่มก่อตั้งในจังหวัดนครราชสีมา ผู้ผลิตถุงมือพลาสติกส่งออก ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในีนั้นจึงพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เริ่มตั้งแต่การซื้อเม็ดพลาสติก วัตถุดิบภายในประเทศที่ต้องชำระด้วยเงินสดเท่านั้น แผนการสร้างโรงงานจึงเปลี่ยนแปลงโดยการสร้างเรือขนาดเล็กไว้เป็นที่ตั้งของเครื่องจักร พร้อมทั้งสอนคนงานให้รู้วิธีใช้เครื่อง และยังต้องยอมรับความสูญเสียที่เกิดจากความชำนาญในการผลิตอีกด้วย
แต่จากประสบการณ์ในการทำธูรกิจถุงและถุงเมือพลาสติกทำให้คุณเทพศักดิ์ กรรมการผู้จัดการมองเห็นลู่ทางที่จะหาตลาดและเริ่มติดต่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศที่ต้องการจะฉีกแนวผลิตภัณฑ์พลาสติกแนะนำให้เห็นข้อดีของสินค้าของบริษัทว่ามีความสะอาดมากกว่าถุงมือประเภทอื่น เพราะใช้ครั้งเดียวทิ้ง ราคาไม่แพง เมื่อลูกค้านำผลิตภัณฑ์ไปลองตลาด ปรากฎว่าได้รับการตอบรับดีมาก จึงเริ่มติดต่อเป็นคู่ค้ากัน โดยในปีแรก แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ มีเงื่อนไขว่า ต้องสั่งซื้อสินค้าต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี ส่วนปีต่อไปจึงเริ่มหาตลาดอื่นเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ากระจายอยู่ในทุกทวีป ทั้ง ออสเตรเลีย อเมริกา ยุโรป เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในกรณีที่ทวีปใดทวีปหนึ่งต้องประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
เมื่อบริษัทเริ่มมีรายได้ก็เริ่มก่อสร้างโรงงานและเพิ่มจำนวนเครื่องจักรโดยซื้อจากภายในประเทศ และต่อเติมให้ผลิตได้ตามที่ต้องการ ต้นทุนด้านเครื่องจักรจึงไม่สูงนัก คุณเทพศักดิ์ให้มุมมองว่า การที่เราจะได้รับผลผลิตที่ดีไม่จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรทันสมัยจากต่างประเทศ ซึ่งยุ่งยากทั้งในการศึกษา กระบวนการผลิตและการซ่อมบำรุง การใช้เครื่องจักรภายในประเทศที่คุ้นเคยและดัดแปลงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
การผลิตถุงมือพลาสติกเพื่อใช้ในการทำงานเบา เช่น ทำความสะอาดสิ่งของ คัดผลไม้ มีขั้นตอนสั้นๆ คือ นำเม็ดพลาสติกที่สั่งซื้อภายในประเทศมาหลอมแล้วเป่า นำมาเข้าเครื่องปั๊มถุงมือเป็นอันเสร็จกระบวนการ ถึงแม้ขั้นตอนจะสั้นแต่ก็ไม่ง่ายนัก เนื่องจากคนงานต้องอาศัยทักษะในการแกะถุงมือออกจากแม่พิมพ์ ซึ่งหากแกะไม่ดีถุงมือจะขาดออกจากกัน ในทางตรงกันข้ามหากคนงานมีความชำนาญแล้วจะทำได้รวดเร็วและสินค้าไม่เสียหาย ขณะนี้บริษัทมีกำลังการผลิตสูงถึง 60 ล้านชิ้นต่อเดือน ด้วยคนงานเพียง 30 คน
แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ เป็นที่รู้จักของผู้ซื้อมากขึ้น มีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น โรงงานที่มีอยู่แห่งเดียวก็เริ่มคับแคบ คุณเทพศักดิ์จึงมีแผนที่จะขยายโรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งในบริเวณใกล้เคียง แต่คงต้องรอสักระยะหนึ่งให้เศรษฐกิจดีขึ้นถึงจะเริ่มโครงการดังกล่าวได้
ึถึงแม้จะเริ่มต้นด้วยอุปสรรคมากมาย แต่คุณเทพศักดิ์ก็ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างงานให้กับคนในพื้นที่จังหวัดโคราช รวมทั้งได้ช่วยหางานให้กับโรงงานผลิตถุงพลาสติกเพื่อไม่ให้ต้องปิดโรงงาน ซึ่งการหางานให้นั้นยังต้องหาเงินทุนซื้อวัตถุดิบให้ด้วย ทำให้เครียดและกังวลบ้าง แต่เมื่อหันกลับไปมองผลที่ได้รับก็ต้องตอกย้ำกับตนเองว่าคงต้องทำต่อไป คุณเทพศักดิ์เล่าว่า "หลังจากที่ผมไปที่โรงงานนั้นบ่อยๆ เขาจะรู้ว่าผมหางานให้พวกเขา บางครั้งคนงานก็เข้ามาหาผม ถามว่าเมื่อไหร่คำสั่งซื้อจะมา เขาอยากทำงาน ให้ผมช่วยหางานป้อนบริษัทเยอะๆ เพราะถ้าไม่มีงานทำ เขาจะไม่มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้รู้สึกว่าถ้าไม่เดือดร้อนจริงๆ เขาคงไม่กล้ามาพูดกับเรา ผมจึงตัดสินใจไม่ทิ้งโรงงานผลิตถุงพลาสติก"
ปัจจุบันแบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ ใช้บริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกเป็นสกุลเงินบาทกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เมื่อมาใช้บริการแล้วรู้สึกประทับใจมาก โดยคุณอาภรณ์ได้ถ่ายทอดให้ทีมงานโฟกัสผู้ส่งออกฟังว่า "พนักงาน ธสน. น่ารัก บางครั้งเราทำผิดขั้นตอนก็ช่วยแนะนำว่าต้องทำอย่างไร หรือแนะนำผู้รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ ให้ ไม่มีอารมณ์เสียเลย อยากให้ทุกคนรักษาจุดนี้ไว้เพราะเป็นจุดที่มีเสน่ห์มากสำหรับพนักงานที่นี่" ซึ่งคำชมดังกล่าว ธสน. ขอน้อมรับไว้ด้วยความขอบคุณและจะพัฒนาคุณภาพของบริการให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" ทำให้ แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ ก้าวอย่างช้าๆ แต่เปี่ยมไปด้วยความหนักแน่นและมั่นคงในทุกย่างก้าวภาพของพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความกระตือรือร้น ยิ้มแย้มแจ่มใส และสวมเสื้อที่เหมือนกันในวันที่ทีมงานโฟกัสผู้ส่งออกไปสัมภาษณ์ยังเป็นภาพที่น่ารัก และอยู่ในความทรงจำของทีมงานอย่างไม่รู้ลืม ธสน. หวังว่าเมื่อพายุเศรษฐกิจหยุดโหมกระหน่ำแล้ว แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ จะสานต่อความฝันและสร้างความก้าวหน้าเพื่อสร้างงานและความเจริญเติบโตให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาต่อไป
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 4 ฉบับ 11 ประจำเดือน พฤศจิกายน--
แต่จากประสบการณ์ในการทำธูรกิจถุงและถุงเมือพลาสติกทำให้คุณเทพศักดิ์ กรรมการผู้จัดการมองเห็นลู่ทางที่จะหาตลาดและเริ่มติดต่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศที่ต้องการจะฉีกแนวผลิตภัณฑ์พลาสติกแนะนำให้เห็นข้อดีของสินค้าของบริษัทว่ามีความสะอาดมากกว่าถุงมือประเภทอื่น เพราะใช้ครั้งเดียวทิ้ง ราคาไม่แพง เมื่อลูกค้านำผลิตภัณฑ์ไปลองตลาด ปรากฎว่าได้รับการตอบรับดีมาก จึงเริ่มติดต่อเป็นคู่ค้ากัน โดยในปีแรก แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ มีเงื่อนไขว่า ต้องสั่งซื้อสินค้าต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี ส่วนปีต่อไปจึงเริ่มหาตลาดอื่นเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ากระจายอยู่ในทุกทวีป ทั้ง ออสเตรเลีย อเมริกา ยุโรป เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในกรณีที่ทวีปใดทวีปหนึ่งต้องประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
เมื่อบริษัทเริ่มมีรายได้ก็เริ่มก่อสร้างโรงงานและเพิ่มจำนวนเครื่องจักรโดยซื้อจากภายในประเทศ และต่อเติมให้ผลิตได้ตามที่ต้องการ ต้นทุนด้านเครื่องจักรจึงไม่สูงนัก คุณเทพศักดิ์ให้มุมมองว่า การที่เราจะได้รับผลผลิตที่ดีไม่จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรทันสมัยจากต่างประเทศ ซึ่งยุ่งยากทั้งในการศึกษา กระบวนการผลิตและการซ่อมบำรุง การใช้เครื่องจักรภายในประเทศที่คุ้นเคยและดัดแปลงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
การผลิตถุงมือพลาสติกเพื่อใช้ในการทำงานเบา เช่น ทำความสะอาดสิ่งของ คัดผลไม้ มีขั้นตอนสั้นๆ คือ นำเม็ดพลาสติกที่สั่งซื้อภายในประเทศมาหลอมแล้วเป่า นำมาเข้าเครื่องปั๊มถุงมือเป็นอันเสร็จกระบวนการ ถึงแม้ขั้นตอนจะสั้นแต่ก็ไม่ง่ายนัก เนื่องจากคนงานต้องอาศัยทักษะในการแกะถุงมือออกจากแม่พิมพ์ ซึ่งหากแกะไม่ดีถุงมือจะขาดออกจากกัน ในทางตรงกันข้ามหากคนงานมีความชำนาญแล้วจะทำได้รวดเร็วและสินค้าไม่เสียหาย ขณะนี้บริษัทมีกำลังการผลิตสูงถึง 60 ล้านชิ้นต่อเดือน ด้วยคนงานเพียง 30 คน
แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ เป็นที่รู้จักของผู้ซื้อมากขึ้น มีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น โรงงานที่มีอยู่แห่งเดียวก็เริ่มคับแคบ คุณเทพศักดิ์จึงมีแผนที่จะขยายโรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งในบริเวณใกล้เคียง แต่คงต้องรอสักระยะหนึ่งให้เศรษฐกิจดีขึ้นถึงจะเริ่มโครงการดังกล่าวได้
ึถึงแม้จะเริ่มต้นด้วยอุปสรรคมากมาย แต่คุณเทพศักดิ์ก็ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างงานให้กับคนในพื้นที่จังหวัดโคราช รวมทั้งได้ช่วยหางานให้กับโรงงานผลิตถุงพลาสติกเพื่อไม่ให้ต้องปิดโรงงาน ซึ่งการหางานให้นั้นยังต้องหาเงินทุนซื้อวัตถุดิบให้ด้วย ทำให้เครียดและกังวลบ้าง แต่เมื่อหันกลับไปมองผลที่ได้รับก็ต้องตอกย้ำกับตนเองว่าคงต้องทำต่อไป คุณเทพศักดิ์เล่าว่า "หลังจากที่ผมไปที่โรงงานนั้นบ่อยๆ เขาจะรู้ว่าผมหางานให้พวกเขา บางครั้งคนงานก็เข้ามาหาผม ถามว่าเมื่อไหร่คำสั่งซื้อจะมา เขาอยากทำงาน ให้ผมช่วยหางานป้อนบริษัทเยอะๆ เพราะถ้าไม่มีงานทำ เขาจะไม่มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้รู้สึกว่าถ้าไม่เดือดร้อนจริงๆ เขาคงไม่กล้ามาพูดกับเรา ผมจึงตัดสินใจไม่ทิ้งโรงงานผลิตถุงพลาสติก"
ปัจจุบันแบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ ใช้บริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกเป็นสกุลเงินบาทกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เมื่อมาใช้บริการแล้วรู้สึกประทับใจมาก โดยคุณอาภรณ์ได้ถ่ายทอดให้ทีมงานโฟกัสผู้ส่งออกฟังว่า "พนักงาน ธสน. น่ารัก บางครั้งเราทำผิดขั้นตอนก็ช่วยแนะนำว่าต้องทำอย่างไร หรือแนะนำผู้รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ ให้ ไม่มีอารมณ์เสียเลย อยากให้ทุกคนรักษาจุดนี้ไว้เพราะเป็นจุดที่มีเสน่ห์มากสำหรับพนักงานที่นี่" ซึ่งคำชมดังกล่าว ธสน. ขอน้อมรับไว้ด้วยความขอบคุณและจะพัฒนาคุณภาพของบริการให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" ทำให้ แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ ก้าวอย่างช้าๆ แต่เปี่ยมไปด้วยความหนักแน่นและมั่นคงในทุกย่างก้าวภาพของพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความกระตือรือร้น ยิ้มแย้มแจ่มใส และสวมเสื้อที่เหมือนกันในวันที่ทีมงานโฟกัสผู้ส่งออกไปสัมภาษณ์ยังเป็นภาพที่น่ารัก และอยู่ในความทรงจำของทีมงานอย่างไม่รู้ลืม ธสน. หวังว่าเมื่อพายุเศรษฐกิจหยุดโหมกระหน่ำแล้ว แบ็กส์ แอนด์ โกล์ฟ จะสานต่อความฝันและสร้างความก้าวหน้าเพื่อสร้างงานและความเจริญเติบโตให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาต่อไป
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 4 ฉบับ 11 ประจำเดือน พฤศจิกายน--