นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงข่าวผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2548 ว่าในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญ ต่อวัตถุประสงค์ในการเจรจาในรอบโดฮาที่จะให้มีการเปิดตลาดทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นในระดับที่สมดุลกัน และให้มีวิธีปฏิบัติที่พิเศษและแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนา สำหรับผลการประชุมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง มีดังนี้
1. การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ผลการเจรจาเรื่องดังกล่าวเป็นที่น่าพอใจสำหรับประเทศไทย ในเรื่องต่างๆ เช่น สูตรการลดภาษี (Formula) ที่ประชุมยอมรับที่จะใช้ Swiss Formula โดยให้มีค่าสัมประสิทธิ์มากกว่า 1 ค่า โดยประเทศกำลังพัฒนาได้รับความยืดหยุ่นในการลดอัตราภาษีได้ และให้นำสินค้าที่ยังไม่ได้ผูกพันการลดภาษี (Unbound items) มาผูกพันในอัตราภาษีที่คำนวณโดยใช้วิธีการเพิ่มค่าจากอัตราภาษีที่เก็บจริงในปัจจุบัน ทั้งนี้ จะต้องมีการเจรจาในรายละเอียดเพื่อให้ได้ข้อสรุปในเรื่องสูตรและรูปแบบการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมภายในวันที่ 30 เมษายน 2549 และประเทศสมาชิกจะต้องยื่นร่างตารางการลดภาษีตามรูปแบบดังกล่าวภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549
3. การเจรจาสินค้าเกษตร แบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลักได้แก่ (1) การเปิดตลาด (Market Access) วิธีการลดภาษี การกำหนดให้มีรายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Product) รายการสินค้าพิเศษ (Special Product) และมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure) และจะต้องมีการเจรจากำหนดคำนิยามและรายละเอียดในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในวันที่ 30 เมษายน 2549 และประเทศสมาชิกต้องยื่นร่างตารางการลดภาษีภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 ต่อไป (2) ให้กำหนดการลดการอุดหนุนภายใน (Domestic Support) ตามระดับการอุดหนุน โดยจะกำหนดอัตราการลดที่ชัดเจนในรายละเอียดต่อไป และ (3) ให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก (Export Subsidy) ภายในปี 2556 (ค.ศ. 2013)
4. การเจรจาการค้าบริการ มีสาระสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การกำหนดเป้าประสงค์รวม (Objectives) รายสาขาและรายรูปแบบ (Mode) การให้บริการ (Sectoral and modal objectives) ในการเปิดตลาด (2) การกำหนดวิธีการเจรจาในรูปแบบพหุภาคีเป็นทางเลือกพิ่มเติม (Complementary Approach) และการกำหนดวิธีการเจรจาเป็นพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs Modalities) (3) การกำหนดกฎเกณฑ์ของ GATS ด้านกฎระเบียบภายใน (Rule-Making in Domestic Regulation) ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (4) การระบุเงื่อนเวลา (Timelines) กำหนดกรอบระยะเวลาการจัดทำตารางข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการตามขั้นตอนต่างๆ โดยจะต้องยื่นร่างตารางข้อผูกพันฉบับสมบูรณ์ (final draft schedules of commitments) ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2549
4. การให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีและไม่มีการกำหนดโควตาแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
(Least- Developed Countries: LDCs) ที่ประชุมมีมติให้ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาที่ประกาศตัวจะเข้าร่วมต้องให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีและโควตาสำหรับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการกำหนดกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าต้องปฏิบัติได้ง่ายด้วย สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ประสงค์จะให้สิทธิพิเศษดังกล่าวนี้ สามารถทยอยดำเนินการและได้รับความยืดหยุ่นในการพิจารณารายการสินค้าที่จะให้สิทธิพิเศษ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำชับให้กระทรวงการคลังเร่งดำเนินการใน เรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
1. ในเรื่องการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร กระทรวงการคลังจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดท่าทีและเข้าร่วมการเจรจาในเรื่องสูตรและรูปแบบการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร เพื่อให้ได้ข้อสรุป ภายในวันที่ 30 เมษายน 2549 และจัดเตรียมตารางการลดภาษีตามรูปแบบดังกล่าวเพื่อยื่นต่อองค์การการค้าโลกภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 ต่อไป
2. ในส่วนของการค้าบริการ คาดว่าสาขาบริการด้านการเงินจะเป็นหนึ่งในสาขาที่ประเทศพัฒนาแล้วใช้เวทีองค์การการค้าโลก เพื่อเรียกร้องให้ไทยเปิดเสรีบริการด้านการเงินในระดับที่มากขึ้น ดังนั้น กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาการค้าบริการด้านการเงินจะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับแนวทางการเจรจาในลักษณะพหุภาคี ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ และเตรียมพร้อมรับมือกับข้อเรียกร้องให้เปิดตลาดบริการการเงินภายใต้องค์การการค้าโลก โดยกำหนดท่าทีร่วมกันกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางรองรับที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาและความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศภายในเงื่อนเวลาวันที่ 31 ตุลาคม 2549 ต่อไป
3.ในเรื่องการให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีและไม่มีกำหนดโควตาแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดนั้น จะต้องทำการศึกษารายละเอียดและวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการให้สิทธิพิเศษดังกล่าว เพื่อนำเสนอต่อไป
4. นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำชับให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีในภาพรวม ทั้งภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และอื่นๆ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในเดือนมกราคม 2549 ด้วย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 122/2548 29 ธันวาคม 48--
1. การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ผลการเจรจาเรื่องดังกล่าวเป็นที่น่าพอใจสำหรับประเทศไทย ในเรื่องต่างๆ เช่น สูตรการลดภาษี (Formula) ที่ประชุมยอมรับที่จะใช้ Swiss Formula โดยให้มีค่าสัมประสิทธิ์มากกว่า 1 ค่า โดยประเทศกำลังพัฒนาได้รับความยืดหยุ่นในการลดอัตราภาษีได้ และให้นำสินค้าที่ยังไม่ได้ผูกพันการลดภาษี (Unbound items) มาผูกพันในอัตราภาษีที่คำนวณโดยใช้วิธีการเพิ่มค่าจากอัตราภาษีที่เก็บจริงในปัจจุบัน ทั้งนี้ จะต้องมีการเจรจาในรายละเอียดเพื่อให้ได้ข้อสรุปในเรื่องสูตรและรูปแบบการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมภายในวันที่ 30 เมษายน 2549 และประเทศสมาชิกจะต้องยื่นร่างตารางการลดภาษีตามรูปแบบดังกล่าวภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549
3. การเจรจาสินค้าเกษตร แบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลักได้แก่ (1) การเปิดตลาด (Market Access) วิธีการลดภาษี การกำหนดให้มีรายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Product) รายการสินค้าพิเศษ (Special Product) และมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure) และจะต้องมีการเจรจากำหนดคำนิยามและรายละเอียดในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในวันที่ 30 เมษายน 2549 และประเทศสมาชิกต้องยื่นร่างตารางการลดภาษีภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 ต่อไป (2) ให้กำหนดการลดการอุดหนุนภายใน (Domestic Support) ตามระดับการอุดหนุน โดยจะกำหนดอัตราการลดที่ชัดเจนในรายละเอียดต่อไป และ (3) ให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก (Export Subsidy) ภายในปี 2556 (ค.ศ. 2013)
4. การเจรจาการค้าบริการ มีสาระสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การกำหนดเป้าประสงค์รวม (Objectives) รายสาขาและรายรูปแบบ (Mode) การให้บริการ (Sectoral and modal objectives) ในการเปิดตลาด (2) การกำหนดวิธีการเจรจาในรูปแบบพหุภาคีเป็นทางเลือกพิ่มเติม (Complementary Approach) และการกำหนดวิธีการเจรจาเป็นพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs Modalities) (3) การกำหนดกฎเกณฑ์ของ GATS ด้านกฎระเบียบภายใน (Rule-Making in Domestic Regulation) ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (4) การระบุเงื่อนเวลา (Timelines) กำหนดกรอบระยะเวลาการจัดทำตารางข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการตามขั้นตอนต่างๆ โดยจะต้องยื่นร่างตารางข้อผูกพันฉบับสมบูรณ์ (final draft schedules of commitments) ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2549
4. การให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีและไม่มีการกำหนดโควตาแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
(Least- Developed Countries: LDCs) ที่ประชุมมีมติให้ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาที่ประกาศตัวจะเข้าร่วมต้องให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีและโควตาสำหรับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการกำหนดกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าต้องปฏิบัติได้ง่ายด้วย สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ประสงค์จะให้สิทธิพิเศษดังกล่าวนี้ สามารถทยอยดำเนินการและได้รับความยืดหยุ่นในการพิจารณารายการสินค้าที่จะให้สิทธิพิเศษ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำชับให้กระทรวงการคลังเร่งดำเนินการใน เรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
1. ในเรื่องการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร กระทรวงการคลังจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดท่าทีและเข้าร่วมการเจรจาในเรื่องสูตรและรูปแบบการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร เพื่อให้ได้ข้อสรุป ภายในวันที่ 30 เมษายน 2549 และจัดเตรียมตารางการลดภาษีตามรูปแบบดังกล่าวเพื่อยื่นต่อองค์การการค้าโลกภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 ต่อไป
2. ในส่วนของการค้าบริการ คาดว่าสาขาบริการด้านการเงินจะเป็นหนึ่งในสาขาที่ประเทศพัฒนาแล้วใช้เวทีองค์การการค้าโลก เพื่อเรียกร้องให้ไทยเปิดเสรีบริการด้านการเงินในระดับที่มากขึ้น ดังนั้น กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาการค้าบริการด้านการเงินจะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับแนวทางการเจรจาในลักษณะพหุภาคี ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ และเตรียมพร้อมรับมือกับข้อเรียกร้องให้เปิดตลาดบริการการเงินภายใต้องค์การการค้าโลก โดยกำหนดท่าทีร่วมกันกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางรองรับที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาและความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศภายในเงื่อนเวลาวันที่ 31 ตุลาคม 2549 ต่อไป
3.ในเรื่องการให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีและไม่มีกำหนดโควตาแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดนั้น จะต้องทำการศึกษารายละเอียดและวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการให้สิทธิพิเศษดังกล่าว เพื่อนำเสนอต่อไป
4. นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำชับให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีในภาพรวม ทั้งภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และอื่นๆ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในเดือนมกราคม 2549 ด้วย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 122/2548 29 ธันวาคม 48--