แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 — 20 ต.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 943.91 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 539.37 ตัน สัตว์น้ำจืด 404.54 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.46 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.88 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.37 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.87 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 31.04 ตัน
การตลาด
เตรียมเจรจาโคเด็กซ์ขอเพิ่มค่าแคดเมียมปนเปื้อนในปลาหมึก
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติเปิดเผยว่า มกอช.ได้ดำเนินการยื่นขอเพิ่มค่าปริมาณสูงสุดของสารแคดเมียมที่ปนเปื้อนในปลาหมึกจากเดิมกำหนดไว้ที่ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเป็น 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าปลาหมึกที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทย บางครั้งมีสารแคดเมียมปนเปื้อนอยู่กว่า 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ประเทศ คู่ค้าตีกลับสินค้าบ่อยๆ สร้างความเสียหายให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทยมาก ดังนั้น เพื่อลดปัญหา ดังกล่าว มกอช.ได้เสนอขอเพิ่มค่าแคดเมียมที่ปนเปิ้อนในปลาหมึกกับกรรมการวิชาการของโคเด็กซ์ และได้ รวบรวมข้อมูลการปนเปื้อนของแคดเมียมในปลาหมึกให้คณะผู้เชี่ยวชาญของโคเด็กซ์ประเมินความเสี่ยงของสารแคดเมียมที่ปนเปื้อนในปลาหมึก โดยใช้ข้อมูลจากหลายประเทศว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคหรือไม่ และการประเมินสรุปผลว่าระดับการปนเปื้อนที่ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นระดับที่ปลอดภัย แต่หลายประเทศยังคัดค้านอยู่จึงจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูล เพื่อชี้แจงเพิ่มเติมในการประชุมครั้งต่อไป ขณะนี้ มกอช.ได้ขอความร่วมมือไปยังกรมประมงและภาคเอกชนที่ประกอบกิจการด้านการประมง เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจพบสารปนเปื้อนในสัตว์น้ำที่เป็นปัจจุบันที่สุด โดย มกอช.จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เพื่อเสนอเรื่องการขอเพิ่มปริมาณ สูงสุดของแคดเมียมในปลาหมึกเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวิชาการอีกครั้ง เพื่อขอมติและ เสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอย่างเป็นเอกฉันท์ ซึ่งจะมีการประชุมที่ประเทศเนเธอแลนด์ โดยไทยจะเสนอให้ที่ประชุมยึดหลัก ALARA Principle ที่กำหนดไว้ว่าการกำหนดค่าที่ต่ำที่สุดจะต้องอยู่ภายใต้การประเมินแล้วว่าสามารถปฏิบัติได้และอยู่ในระดับที่ปลอดภัย คาดว่าข้อเสนอดังกล่าวของไทยจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากหลายๆ ประเทศเห็นด้วยและให้การสนับสนุน เช่น ประเทศมาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ ชิลี คิวบา อินเดีย แอฟริกาใต้ เวเนซุเอลา และสหรัฐอเมริกา มีเพียงสหภาพยุโรปเท่านั้นที่ยังมีการคัดค้านและยืนยันว่าหากมีการปนเปื้อนสารแคดเมียมในปลาหมึกมากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะยังคงปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากสหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ลดลงกิโลกรัมละ 28.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 151.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 149.48 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.23 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.80 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.33 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 17 - 21 ต.ค. 2548) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.40 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 24-30 ต.ค.2548--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 — 20 ต.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 943.91 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 539.37 ตัน สัตว์น้ำจืด 404.54 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.46 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.88 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.37 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.87 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 31.04 ตัน
การตลาด
เตรียมเจรจาโคเด็กซ์ขอเพิ่มค่าแคดเมียมปนเปื้อนในปลาหมึก
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติเปิดเผยว่า มกอช.ได้ดำเนินการยื่นขอเพิ่มค่าปริมาณสูงสุดของสารแคดเมียมที่ปนเปื้อนในปลาหมึกจากเดิมกำหนดไว้ที่ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเป็น 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าปลาหมึกที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทย บางครั้งมีสารแคดเมียมปนเปื้อนอยู่กว่า 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ประเทศ คู่ค้าตีกลับสินค้าบ่อยๆ สร้างความเสียหายให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทยมาก ดังนั้น เพื่อลดปัญหา ดังกล่าว มกอช.ได้เสนอขอเพิ่มค่าแคดเมียมที่ปนเปิ้อนในปลาหมึกกับกรรมการวิชาการของโคเด็กซ์ และได้ รวบรวมข้อมูลการปนเปื้อนของแคดเมียมในปลาหมึกให้คณะผู้เชี่ยวชาญของโคเด็กซ์ประเมินความเสี่ยงของสารแคดเมียมที่ปนเปื้อนในปลาหมึก โดยใช้ข้อมูลจากหลายประเทศว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคหรือไม่ และการประเมินสรุปผลว่าระดับการปนเปื้อนที่ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นระดับที่ปลอดภัย แต่หลายประเทศยังคัดค้านอยู่จึงจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูล เพื่อชี้แจงเพิ่มเติมในการประชุมครั้งต่อไป ขณะนี้ มกอช.ได้ขอความร่วมมือไปยังกรมประมงและภาคเอกชนที่ประกอบกิจการด้านการประมง เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจพบสารปนเปื้อนในสัตว์น้ำที่เป็นปัจจุบันที่สุด โดย มกอช.จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เพื่อเสนอเรื่องการขอเพิ่มปริมาณ สูงสุดของแคดเมียมในปลาหมึกเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวิชาการอีกครั้ง เพื่อขอมติและ เสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอย่างเป็นเอกฉันท์ ซึ่งจะมีการประชุมที่ประเทศเนเธอแลนด์ โดยไทยจะเสนอให้ที่ประชุมยึดหลัก ALARA Principle ที่กำหนดไว้ว่าการกำหนดค่าที่ต่ำที่สุดจะต้องอยู่ภายใต้การประเมินแล้วว่าสามารถปฏิบัติได้และอยู่ในระดับที่ปลอดภัย คาดว่าข้อเสนอดังกล่าวของไทยจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากหลายๆ ประเทศเห็นด้วยและให้การสนับสนุน เช่น ประเทศมาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ ชิลี คิวบา อินเดีย แอฟริกาใต้ เวเนซุเอลา และสหรัฐอเมริกา มีเพียงสหภาพยุโรปเท่านั้นที่ยังมีการคัดค้านและยืนยันว่าหากมีการปนเปื้อนสารแคดเมียมในปลาหมึกมากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะยังคงปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากสหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ลดลงกิโลกรัมละ 28.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 151.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 149.48 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.23 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.80 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.33 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 17 - 21 ต.ค. 2548) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.40 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 24-30 ต.ค.2548--
-พห-