กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้ดำเนินการปรับปรุงการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปใหม่ โดยการปรับน้ำหนักและปีฐานจากปี 2533 เป็นปี 2537 และเริ่มคำนวณเผยแพร่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อให้ดัชนีราคาผู้บริโภคถูกต้อง ทันสมัย และสะท้อนค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นจริง จึงขอรายงาน ดังนี้
1. การปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้
1.1 ลักษณะของครัวเรือนดัชนี ขนาดครัวเรือนเล็กลง แต่รายได้สูงขึ้น
ปี 2533 ปี 2537
รายได้ครัวเรือน (บาท/เดือน) 4,000 - 15,000 6,000 - 36000
ขนาดครัวเรือน (คน) 2 - 9 2 - 6
รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน (ร้อยละ) < 35 < 30
1.2 สัดส่วนการบริโภค หมวดอาหารและเครื่องดื่มมีสัดส่วนลดลง
ปี 2533 ปี 2537
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 39.3 35.3
หมวดที่ไม่รวมอาหาร 60.7 64.7
1.3 รายการสินค้า ได้คัดเลือกรายการสินค้าตามน้ำหนักค่าใช้จ่ายและความนิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยสรุปจำนวนรายการสินค้าได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 248 รายการในปี 2533 เป็นประมาณ 260 รายการ ในปี 2537 เพิ่มขึ้นประมาณ 12 รายการ
2. ความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมกราคม 2541 สรุปได้ดังนี้
2.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนมกราคม 2541
ในปี 2537 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมกราคม 2541 เท่ากับ 124.2 สำหรับเดือนธันวาคม 2540 เท่ากับ 122.8
2.2 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนมกราคม 2541
2.2.1 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 1.1
2.2.2 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 8.6
2.3 เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2541 สูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2540 ร้อยละ 1.1 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 1.7 และสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.8
2.3.1 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง
- เนื้อหมู จากการที่ปริมาณหมูเข้าสู่ตลาดมีมาก เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูง ผู้เลี้ยงบางส่วนรับภาระไม่ไหวเร่งระบายหมูออกสู่ตลาด และความต้องการบริโภคลดลง
- ผักสด ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาวลุ้ย ผักชี ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา หน่อไม้ไผ่ตง และฟักทอง ผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต
2.3.2 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- สาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าน้ำประปา และค่ากระแสไฟฟ้า
- น้ำดื่มบริสุทธิ์
- ค่าโดยสารรถแท็กซี่ และค่าโดยสารรถประจำทาง
2.3.3 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ได้แก่ ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ เนื่องจากมีการส่งออกข้าวมากขึ้น และข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้มีจำนวนน้อย สินค้าอื่น ๆ ที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ ข้าวสารเหนียว เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งสาลี และขนมปังปอนด์
- ไก่สด จากภาวะการส่งออกที่แจ่มใส ประกอบกับมีช่วงเทศกาลตรุษจีน ทำให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน เนื่องจากในช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน เกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยวส้มเพื่อรอเก็บขายในช่วงเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้า และมะม่วง ราคาสูงขึ้นด้วย
- ผักบางชนิด ได้แก่ ผักบุ้งจีน แตงกวา มะเขือเจ้าพระยา พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะนาว หัวหอมแห้ง และกระเทียมแห้ง ตามปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลง
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป โจ๊ก ข้าวผัด ข้าวราดแกง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จากการปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนดำเนินการ
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
- วัสดุก่อสร้าง ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคา และปูนซิเมนต์ จากการปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่สูงขึ้น
- การบันเทิง ได้แก่ ค่าชมภาพยนต์ และค่าเช่าวีดีโอ ตามค่าใช้จ่ายดำเนินการที่สูงขึ้น
- อาหารที่ซื้อจากตลาด ได้แก่ น้ำมันพืช ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลมะพร้าว แยมผลไม้ และปลากระป๋อง ราคาสูงขึ้นด้วย
- ของใช้ส่วนบุคคล ได้แก่ สบู่ถูตัว ผ้าอนามัย กระดาษชำระ และยาสีฟัน ตามต้นทุนที่สูงขึ้น
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--
1. การปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้
1.1 ลักษณะของครัวเรือนดัชนี ขนาดครัวเรือนเล็กลง แต่รายได้สูงขึ้น
ปี 2533 ปี 2537
รายได้ครัวเรือน (บาท/เดือน) 4,000 - 15,000 6,000 - 36000
ขนาดครัวเรือน (คน) 2 - 9 2 - 6
รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน (ร้อยละ) < 35 < 30
1.2 สัดส่วนการบริโภค หมวดอาหารและเครื่องดื่มมีสัดส่วนลดลง
ปี 2533 ปี 2537
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 39.3 35.3
หมวดที่ไม่รวมอาหาร 60.7 64.7
1.3 รายการสินค้า ได้คัดเลือกรายการสินค้าตามน้ำหนักค่าใช้จ่ายและความนิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยสรุปจำนวนรายการสินค้าได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 248 รายการในปี 2533 เป็นประมาณ 260 รายการ ในปี 2537 เพิ่มขึ้นประมาณ 12 รายการ
2. ความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมกราคม 2541 สรุปได้ดังนี้
2.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนมกราคม 2541
ในปี 2537 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมกราคม 2541 เท่ากับ 124.2 สำหรับเดือนธันวาคม 2540 เท่ากับ 122.8
2.2 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนมกราคม 2541
2.2.1 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 1.1
2.2.2 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 8.6
2.3 เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2541 สูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2540 ร้อยละ 1.1 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 1.7 และสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.8
2.3.1 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง
- เนื้อหมู จากการที่ปริมาณหมูเข้าสู่ตลาดมีมาก เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูง ผู้เลี้ยงบางส่วนรับภาระไม่ไหวเร่งระบายหมูออกสู่ตลาด และความต้องการบริโภคลดลง
- ผักสด ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาวลุ้ย ผักชี ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา หน่อไม้ไผ่ตง และฟักทอง ผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต
2.3.2 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- สาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าน้ำประปา และค่ากระแสไฟฟ้า
- น้ำดื่มบริสุทธิ์
- ค่าโดยสารรถแท็กซี่ และค่าโดยสารรถประจำทาง
2.3.3 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ได้แก่ ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ เนื่องจากมีการส่งออกข้าวมากขึ้น และข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้มีจำนวนน้อย สินค้าอื่น ๆ ที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ ข้าวสารเหนียว เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งสาลี และขนมปังปอนด์
- ไก่สด จากภาวะการส่งออกที่แจ่มใส ประกอบกับมีช่วงเทศกาลตรุษจีน ทำให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน เนื่องจากในช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน เกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยวส้มเพื่อรอเก็บขายในช่วงเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้า และมะม่วง ราคาสูงขึ้นด้วย
- ผักบางชนิด ได้แก่ ผักบุ้งจีน แตงกวา มะเขือเจ้าพระยา พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะนาว หัวหอมแห้ง และกระเทียมแห้ง ตามปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลง
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป โจ๊ก ข้าวผัด ข้าวราดแกง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จากการปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนดำเนินการ
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
- วัสดุก่อสร้าง ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคา และปูนซิเมนต์ จากการปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่สูงขึ้น
- การบันเทิง ได้แก่ ค่าชมภาพยนต์ และค่าเช่าวีดีโอ ตามค่าใช้จ่ายดำเนินการที่สูงขึ้น
- อาหารที่ซื้อจากตลาด ได้แก่ น้ำมันพืช ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลมะพร้าว แยมผลไม้ และปลากระป๋อง ราคาสูงขึ้นด้วย
- ของใช้ส่วนบุคคล ได้แก่ สบู่ถูตัว ผ้าอนามัย กระดาษชำระ และยาสีฟัน ตามต้นทุนที่สูงขึ้น
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--