สหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป Economic and Monetary Union (EMU) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของแผนการรวมยุโรปเป็นหนึ่งเดียว มีรากฐานมาจากสนธิสัญญากรุงโรมปี 1957 โดยประเทศในยุโรป 6 ประเทศได้แก่ เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ได้ร่วมกันก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการร่วมส่งเสริมการค้าแบบเสรีภายในกลุ่ม นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรปได้ทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มมากขึ้น จวบจนปัจจุบันสหภาพยุโรป (European Union : EU) มีประเทศสมาชิกรวม 15 ประเทศ ทั้งยังได้มีการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศสมาชิกให้แน่นแฟ้นขึ้นเป็นลำดับ โดยการเปิดเสรีทางการค้า การท่องเที่ยว การเคลื่อนย้ายเงินทุน ตลอดจนการตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างกัน (Exchange Rate Mechanism : ERM)
ดั้งนั้นสนธิสัญญามาสทริซท์ (Maastricht) ในปี 1992 จึงได้กำหนดเป้าหมายที่จะรวมเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปเป็นหนึ่งเดียว (EMU) พร้อมทั้งการใช้เงินสกุลเดียวกัน (Euro) ภายในปี 2000ช่วงเวลาการจัดตั้ง EMU และการใช้เงิน EURO
2-3 พฤษภาคม 1998 -ประกาศรายชื่อประเทศที่เข้าร่วม EMU ซึ่งปรากฏว่ามี 11 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม สเปน
ลักเซมเบิร์ก ออสเตรีย ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี โปรตุเกส ฟินแลนด์ และเยอรมันนี
-แต่งตั้งประธานธนาคารกลางยุโรป European Central Bank (ECB) ได้แก่ นาย Wim Duisenburg จากเนเธอร์แลนด์
-ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนแต่ละสกุลเงินเทียบกันเองภายในกลุ่ม EMU
1 มกราคม 1999 -กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนตายตัวถาวรระหว่างเงินแต่ละสกุลเทียบกับ Euro
-ECB เริ่มดำเนินนโยบายการเงินเดียวสำหรับทั้ง EMU โดยใช้เงิน Euro
-เริ่มระบบการก่อหนี้สาธารณะใหม่ในรูปของเงิน Euro และคาดว่าจะมีการแปลงหนี้เก่าเป็นเงิน Euro ด้วย
1 มกราคม 2002 -เริ่มใช้ธนบัตรเงิน Euro และทยอยถอนธนบัตรสกุลเงินประจำชาติ ออกจากระบบ
1 กรกฎาคม 2002 -ยกเลิกธนบัตรสกุลเงินประจำชาตินโยบายการเงินและการคลังภายหลังการรวม EMU
นับตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นไป ประเทศในกลุ่ม EMU จะต้องดำเนินมาตรการร่วมกันทางด้านการเงิน และการคลังหลายประการ ประเด็นที่น่าสนใจบางประการ ได้แก่
- อัตราดอกเบี้ยในทุกประเทศสมาชิกจะถูกกำหนดโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB)
- วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินนโยบายทางการเงินของ ECB คือการรักษาเสถียรภาพของราคาและคงใช้ เครื่องมือและวิธีการดำเนินนโยบายการเงินคล้ายคลึงกับที่ธนาคารกลางเยอรมนีใช้ในปัจจุบัน
- ประเทศสมาชิกจะต้องรักษาวินัยทางการคลังอย่างต่อเนื่องสืบไป ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังเป็น
เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของตนเองได้ผลกระทบของเงินยูโรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย
1. ในระยะแรกของการใช้เงินยูโร (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2542) คาดว่าค่าเงินยูโร จะไม่แข็งตัวเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ เพราะนอกจากผลจากความไม่แน่นอนของค่าเงินรูเบิลแล้ว ยังมีสาเหตุจากที่เศรษฐกิจประเทศ Euro Zone ไม่แจ่มใสนัก ปรากฎว่ามีหลายประเทศสามารถเข้าเป็นสมาชิก Euro Zone ได้ทั้งที่ภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ 5 ประการ ที่กำหนดในสนธิสัญญามาสทริซท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิตาลี ที่มีเศรษฐกิจอ่อนมาก เมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์ 5 ประการดังกล่าว อีกทั้ง เยอรมัน ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่มาก และมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจรวมใน Euro Zone ต่างก็มีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระดับการว่างงานที่ยังมากกว่าร้อยละ 10 ดังนั้นในช่วงแรก ๆ ของการใช้เงินยูโร จึงกล่าวได้ว่าค่าเงินยูโรจะไม่แข็งเท่ากับที่คาดหวังกันไว้
ในกรณีเงินยูโรอ่อนค่าลง ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยเข้าอียู โดยการส่งออกจะไม่เพิ่มขึ้นจากปี 2541 แต่ในอนาคต หากเงินยูโรแข็งตัว และมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นก็จะมีส่วนช่วยให้ตลาดอียูที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยขยายตัวมากขึ้น
2. บริษัทใน Euro Zone ที่จะเข้าร่วมใช้เงินยูโร ส่วนใหญ่ยังเป็นบริษัทธุรกิจที่ประกอบการภายในเขตเงินยูโรเป็นสำคัญ ส่วนการใช้เงินยูโรกับประเทศนอก Euro Zone หรือประเทศที่สามนั้นจะได้แก่บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนบริษัทธุรกิจขนาดกลางและเล็กนั้น คาดว่าในระยะแรกๆ ก็จะยังคงเลื่อนการใช้เงินยูโรออกไปนานกว่าบริษัทใหญ่ ซึ่งมีระบบด้านการบัญชีที่ดีกว่า นอกจากนี้ บริษัทขนาดเล็กและกลางยังมีความกังวลมากกว่า และมีความรู้น้อยกว่าในด้านความเสี่ยงจากการผันผวนของค่าเงินยูโร
ดังนั้น ในกรณีการส่งออกสินค้ากับไทย ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเป็นจำนวนมากของ Euro Zone ก็จะดำเนินธุรกิจโดยใช้เงินที่มิใช่ยูโรต่อไปอีกระยะหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกที่ค่าเงินยูโรยังไม่มีเสถียรภาพพอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากค่าเงินผันผวนดังกล่าว
ในกรณีนี้ ผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกสินค้าไทยเข้าอียูเนื่องจากการหันไปใช้เงินยูโรก็จะมีไม่มากเท่ากับสัดส่วนการค้าและการส่งออกของไทยในตลาดอียูช่วงก่อนการใช้เงินยูโร
3. บริษัทธุรกิจใน Euro Zone สามารถประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นช่วยลดต้นทุนการดำเนินการลงได้ ตัวอย่างเช่น สามารถลดค่าใช้จ่ายการทำธุรกรรมการค้าผ่านเงินตราหลายสกุล เช่น การใช้เงินดอลลาร์เป็นเงินมาร์ก การใช้เงินยูโรโดยตรงสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าว และนอกจากนี้ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผันผวน และการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนจากการประกอบธุรกรรมทางการค้าได้ด้วย การลดค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการย่อมช่วยให้ฐานะการแข่งขันของผู้ประกอบการในอียูดีขึ้น และมีผลให้ผู้ส่งออกของไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดอียูลำบากขึ้น
นอกจากนี้ มีแนวโน้มว่าประเทศยุโรปตะวันออก และประเทศในแอฟริกาเหนือจะหันไปใช้เงินยูโรกันมากขึ้นตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาดอียูต่อไทยมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่งประเทศสมาชิกอียูได้หันไปลงทุนผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศเหล่านี้อยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะการใช้เงินยูโรในประเทศเหล่านี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วย
4. ในปี 2540 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีสัดส่วนการค้ารวมกับสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 15.8 และมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งทำให้สหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดสำคัญอันดับสองของไทยรออองจากตลาดสหรัฐฯ หากเงินยูโรมีเสถียรภาพเป็นที่ยอมรับมากขึ้น แนวโน้มการทำธุรกรรมทางการค้าโดยการใช้เงินยูโรก็จะขยายตัวมากขึ้นด้วย
ืที่มา : กองพาณิชยกิจต่างประเทศ, กรมการค้าต่างประเทศ และธนาคารแห่งประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11/15 พฤศจิกายน 2541--
ดั้งนั้นสนธิสัญญามาสทริซท์ (Maastricht) ในปี 1992 จึงได้กำหนดเป้าหมายที่จะรวมเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปเป็นหนึ่งเดียว (EMU) พร้อมทั้งการใช้เงินสกุลเดียวกัน (Euro) ภายในปี 2000ช่วงเวลาการจัดตั้ง EMU และการใช้เงิน EURO
2-3 พฤษภาคม 1998 -ประกาศรายชื่อประเทศที่เข้าร่วม EMU ซึ่งปรากฏว่ามี 11 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม สเปน
ลักเซมเบิร์ก ออสเตรีย ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี โปรตุเกส ฟินแลนด์ และเยอรมันนี
-แต่งตั้งประธานธนาคารกลางยุโรป European Central Bank (ECB) ได้แก่ นาย Wim Duisenburg จากเนเธอร์แลนด์
-ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนแต่ละสกุลเงินเทียบกันเองภายในกลุ่ม EMU
1 มกราคม 1999 -กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนตายตัวถาวรระหว่างเงินแต่ละสกุลเทียบกับ Euro
-ECB เริ่มดำเนินนโยบายการเงินเดียวสำหรับทั้ง EMU โดยใช้เงิน Euro
-เริ่มระบบการก่อหนี้สาธารณะใหม่ในรูปของเงิน Euro และคาดว่าจะมีการแปลงหนี้เก่าเป็นเงิน Euro ด้วย
1 มกราคม 2002 -เริ่มใช้ธนบัตรเงิน Euro และทยอยถอนธนบัตรสกุลเงินประจำชาติ ออกจากระบบ
1 กรกฎาคม 2002 -ยกเลิกธนบัตรสกุลเงินประจำชาตินโยบายการเงินและการคลังภายหลังการรวม EMU
นับตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นไป ประเทศในกลุ่ม EMU จะต้องดำเนินมาตรการร่วมกันทางด้านการเงิน และการคลังหลายประการ ประเด็นที่น่าสนใจบางประการ ได้แก่
- อัตราดอกเบี้ยในทุกประเทศสมาชิกจะถูกกำหนดโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB)
- วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินนโยบายทางการเงินของ ECB คือการรักษาเสถียรภาพของราคาและคงใช้ เครื่องมือและวิธีการดำเนินนโยบายการเงินคล้ายคลึงกับที่ธนาคารกลางเยอรมนีใช้ในปัจจุบัน
- ประเทศสมาชิกจะต้องรักษาวินัยทางการคลังอย่างต่อเนื่องสืบไป ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังเป็น
เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของตนเองได้ผลกระทบของเงินยูโรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย
1. ในระยะแรกของการใช้เงินยูโร (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2542) คาดว่าค่าเงินยูโร จะไม่แข็งตัวเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ เพราะนอกจากผลจากความไม่แน่นอนของค่าเงินรูเบิลแล้ว ยังมีสาเหตุจากที่เศรษฐกิจประเทศ Euro Zone ไม่แจ่มใสนัก ปรากฎว่ามีหลายประเทศสามารถเข้าเป็นสมาชิก Euro Zone ได้ทั้งที่ภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ 5 ประการ ที่กำหนดในสนธิสัญญามาสทริซท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิตาลี ที่มีเศรษฐกิจอ่อนมาก เมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์ 5 ประการดังกล่าว อีกทั้ง เยอรมัน ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่มาก และมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจรวมใน Euro Zone ต่างก็มีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระดับการว่างงานที่ยังมากกว่าร้อยละ 10 ดังนั้นในช่วงแรก ๆ ของการใช้เงินยูโร จึงกล่าวได้ว่าค่าเงินยูโรจะไม่แข็งเท่ากับที่คาดหวังกันไว้
ในกรณีเงินยูโรอ่อนค่าลง ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยเข้าอียู โดยการส่งออกจะไม่เพิ่มขึ้นจากปี 2541 แต่ในอนาคต หากเงินยูโรแข็งตัว และมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นก็จะมีส่วนช่วยให้ตลาดอียูที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยขยายตัวมากขึ้น
2. บริษัทใน Euro Zone ที่จะเข้าร่วมใช้เงินยูโร ส่วนใหญ่ยังเป็นบริษัทธุรกิจที่ประกอบการภายในเขตเงินยูโรเป็นสำคัญ ส่วนการใช้เงินยูโรกับประเทศนอก Euro Zone หรือประเทศที่สามนั้นจะได้แก่บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนบริษัทธุรกิจขนาดกลางและเล็กนั้น คาดว่าในระยะแรกๆ ก็จะยังคงเลื่อนการใช้เงินยูโรออกไปนานกว่าบริษัทใหญ่ ซึ่งมีระบบด้านการบัญชีที่ดีกว่า นอกจากนี้ บริษัทขนาดเล็กและกลางยังมีความกังวลมากกว่า และมีความรู้น้อยกว่าในด้านความเสี่ยงจากการผันผวนของค่าเงินยูโร
ดังนั้น ในกรณีการส่งออกสินค้ากับไทย ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเป็นจำนวนมากของ Euro Zone ก็จะดำเนินธุรกิจโดยใช้เงินที่มิใช่ยูโรต่อไปอีกระยะหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกที่ค่าเงินยูโรยังไม่มีเสถียรภาพพอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากค่าเงินผันผวนดังกล่าว
ในกรณีนี้ ผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกสินค้าไทยเข้าอียูเนื่องจากการหันไปใช้เงินยูโรก็จะมีไม่มากเท่ากับสัดส่วนการค้าและการส่งออกของไทยในตลาดอียูช่วงก่อนการใช้เงินยูโร
3. บริษัทธุรกิจใน Euro Zone สามารถประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นช่วยลดต้นทุนการดำเนินการลงได้ ตัวอย่างเช่น สามารถลดค่าใช้จ่ายการทำธุรกรรมการค้าผ่านเงินตราหลายสกุล เช่น การใช้เงินดอลลาร์เป็นเงินมาร์ก การใช้เงินยูโรโดยตรงสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าว และนอกจากนี้ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผันผวน และการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนจากการประกอบธุรกรรมทางการค้าได้ด้วย การลดค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการย่อมช่วยให้ฐานะการแข่งขันของผู้ประกอบการในอียูดีขึ้น และมีผลให้ผู้ส่งออกของไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดอียูลำบากขึ้น
นอกจากนี้ มีแนวโน้มว่าประเทศยุโรปตะวันออก และประเทศในแอฟริกาเหนือจะหันไปใช้เงินยูโรกันมากขึ้นตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาดอียูต่อไทยมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่งประเทศสมาชิกอียูได้หันไปลงทุนผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศเหล่านี้อยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะการใช้เงินยูโรในประเทศเหล่านี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วย
4. ในปี 2540 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีสัดส่วนการค้ารวมกับสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 15.8 และมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งทำให้สหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดสำคัญอันดับสองของไทยรออองจากตลาดสหรัฐฯ หากเงินยูโรมีเสถียรภาพเป็นที่ยอมรับมากขึ้น แนวโน้มการทำธุรกรรมทางการค้าโดยการใช้เงินยูโรก็จะขยายตัวมากขึ้นด้วย
ืที่มา : กองพาณิชยกิจต่างประเทศ, กรมการค้าต่างประเทศ และธนาคารแห่งประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11/15 พฤศจิกายน 2541--