สรุปการประชุมหารือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 28, 2005 15:55 —สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

                    สรุปการประชุมหารือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
และการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้า
ในกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐ
กระทรวงการต่างประเทศ กำหนดจัดประชุมหารือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าในกรอบเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ ในวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 14.00 น. ณ วิเทศสโมสร ส่วน 3 กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีคุณสุเมธ อมรจารุชิต และคุณมัลลิกา เล็กตระกูล เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม สรุปประเด็นหารือที่สำคัญได้ ดังนี้
1. การเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าภายใต้ FTA ไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 2
1) ไทยและสหรัฐฯมีความเห็นร่วมกันเบื้องต้นในเรื่อง โครงการความร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้า (Trade Capacity Building : TCB) โดยเน้นความสอดคล้องของแผนพัฒนาประเทศโดยรวม เช่น การส่งเสริมและเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ทั้งนี้ สามารถดำเนินการโครงการความร่วมมือทั้งในกรอบและนอกกรอบ FTA ไทย-สหรัฐ
2) สหรัฐฯ ต้องการให้ไทยมีการจัดลำดับความสำคัญในแต่ละโครงการความร่วมมือ โดยสหรัฐฯจะไม่มีการกำหนดจำนวนและขนาดของโครงการ โดยโครงการใดที่มีความพร้อมก็สามารถดำเนินการได้เลย
3) โครงการความร่วมมือ ควรเป็นโครงการที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถทางการค้าให้ SMEs ซึ่งเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 99 ของวิสาหกิจในไทย สามารถปรับตัวและเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการค้าเสรีได้อย่างราบรื่น และสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นโครงการที่ภาคเอกชนจะได้รับผลประโยชน์อย่างยั่งยืนและความเป็นหุ้นส่วนในระยะยาวระหว่างไทย-สหรัฐ
4) โครงการความร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้า (Trade Capacity Building : TCB) ควรจะอยู่บนพื้นฐานของ Needs Assessment ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะประมวลปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจทำให้ไทยไม่ได้รับประโยชน์จาก FTA กับสหรัฐฯได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งในเชิงรุก คือ การเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯของสินค้าและบริการของไทย และในเชิงรับ คือ การรับมือกับการแข่งขันจากสินค้าและบริการของสหรัฐฯในตลาดภายในประเทศ
5) Needs Assessment แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
Identification of Stakeholders เป็นกลุ่มบุคคล/หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้ส่วนเสียจากการทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นภาครัฐและภาคเอกชน
Identification of Needs แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ Public Sector Capacity Needs (ปัญหาและอุปสรรคในส่วนของสถาบันภาครัฐ) Law and Regulation Needs (ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับกฎหมาย/กฎระเบียบของไทยและสหรัฐฯ) Private Sector Capacity Needs (ปัญหาและอุปสรรคในส่วนของภาคเอกชน)
7) กรมบัญชีกลาง มกอช. สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรมศุลกากร สมอ. และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้นำเสนอโครงการความร่วมมือของไทยและสหรัฐฯจำนวนหลายโครงการทั้งที่มีรายละเอียดและยังไม่มีรายละเอียดของโครงการ เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยด้านอาหาร โครงการสร้างนักการตลาดและข้อมูลการตลาดเพื่อการเข้าถึงผู้นำเข้าโดยตรงด้วยการอบรมและปฏิบัติจริงในสหรัฐฯ โครงการแลกเปลี่ยนและฝึกงานบุคลากรด้านพัฒนา SMEs ระหว่างไทย-สหรัฐฯ โครงการศึกษาทำความเข้าใจกับกฎระเบียบของ
สหรัฐฯทั้งในระดับ State and Federal โดยการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านทางอีเมล์และ Video Conference และโครงการจัดหาซัพพลายเออร์ให้ผู้ผลิตเครื่องหนังขนาดย่อมในประเทศไทย เป็นต้น
8) กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะร่วมพิจารณาภาพรวมของโครงการการความร่วมมือโดยประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
9) สหรัฐฯจะพิจารณาความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันแก่ภาคธุรกิจ และ SMEs ของไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ทั้งในกรอบและนอกกรอบ FTA ไทย-สหรัฐ
2. ภาคเอกชนได้ให้ข้อคิดเห็น ดังนี้
1) ประเด็นเรื่องแรงงาน สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นกลุ่มเจรจาที่สามารถพิจารณาในโครงการ TCB ได้เอง โดยให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง TCB จำนวน 3 สถาบัน เข้าร่วมการประชุมด้วย
2) หกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และโครงการที่ผ่านหลักเกณฑ์ของ BOI เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการส่งออกของไทย ซึ่งอาจจะดำเนินการจัดตั้งโครงการความร่วมมือได้ทันที
3) กรมบัญชีกลาง สภาพัฒน์ฯ และกรมเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและสถิติการค้าภาคบริการของไทย ซึ่งยังไม่สามารถแบ่งแยกประเภทกลุ่มการค้าภาคบริการตามศักยภาพการส่งออกของไทย เนื่องจากระบบการรวบรวมสถิติการค้าภาคบริการของไทยยังไม่สามารถสู้ต่างประเทศได้ ยกเว้นการค้าบริการสาขาสปา ซึ่งเป็นการบริการที่มีชื่อเสียงของไทย ทั้งนี้ สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงสุดในเรื่องการเก็บสถิติการค้าภาคบริการ
4) โครงการจัดหาซัพพลายเออร์ให้ผู้ผลิตเครื่องหนังขนาดย่อมในประเทศไทย เป็นโครงการที่ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน แต่มีโอกาสที่จะสามารถจัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างกันได้
5) ประเด็นเรื่อง Government Procurement และ Small Business Act ยังคงมีในสหรัฐฯซึ่งทำให้รัฐต้องสั่งซื้อสินค้าของบริษัท ดังนั้น กรมบัญชีกลางจึงควรศึกษากฎหมายและข้อกำหนดของสหรัฐฯอย่างละเอียด และควรพิจารณากลุ่มสินค้าและสาขาบริการของ SMEs ไทยที่มีศักยภาพและโอกาสในการส่งออกไปยังสหรัฐ
6) ในกรณีที่มีโครงการ TCB จำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดการละเมิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้น
7) สหรัฐฯ มีงบประมาณช่วยเหลือในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ SMEs ของไทย ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเงินให้เปล่า (grant) และ Joint Venture โดยการรับเงินช่วยเหลือของสหรัฐฯในการจัดทำโครงการความร่วมมือ จะต้องไม่ทำให้ไทยเสียสิทธิในการเจรจาต่อรองการทำ FTA กับสหรัฐฯ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยต้องการให้สหรัฐฯช่วยเหลือในเรื่องการฝึกอบรม/ประสบการณ์และพัฒนาบุคลากรของไทย หรือเงินช่วยเหลือในรูปแบบ Share cost
8) หน่วยงานทางการศึกษาและการสาธารณสุข เสนอให้มีโครงการการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาระหว่างไทยและสหรัฐฯ เพื่อการพัฒนาความสามารถของบุคลากรของไทย
9) การเรียกร้องให้สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ไทย มีโอกาสน้อยมากที่จะผ่านการพิจารณาของสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯได้มีการจัดตั้งโครงการ Technology spring off ซึ่งก่อให้เกิดเทคโนโลยีและ SMEs ที่มีความใหม่ออกมาเป็นประจำ ทั้งนี้ สหรัฐฯจะสามารถให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ เช่น Market Access เช่น ข้อมูลทางการตลาดหรือลูกค้า และเรื่องการจัดระบบ Cluster & Main Working
10) เสนอให้จัดตั้งโครงการหลักสูตรอบรมและฝึกงานบุคคลากรของ SMEs ไทยในระบบการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐฯแล้ว SMEs ของไทยจึงจะมีความพร้อมและศักยภาพที่จะทำธุรกิจแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดระดับ domestic ซึ่งมีความยากในการที่จะเข้าสู่ตลาดในระดับนี้ และเสนอให้มีโครงการการจัดทำ Work Shop และโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานต่าง ๆ
11) การจัดตั้งกลุ่ม Suenami Committee ระหว่างไทยและสหรัฐฯ เพื่อฟื้นฟูความสามารทางการแข่งขัน และการจัดตั้งโครงการความร่วมมือในการเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าของ SMEs ของไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ โดยจะเน้นความสำคัญในจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ให้เงินช่วยเหลือระดับหมู่บ้านที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้ว เช่น การสร้างโรงเรียน และโรงพยาบาล เป็นต้น
12) แผนฟื้นฟูความสามารถทางการแข่งขันแก่ SMEs ของไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แผนระยะสั้นและแผนระยะยาว โดยแผนระยะสั้นประกอบด้วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ SMEs ด้วยกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย (หากได้รับความเสียหายมากก็อาจให้เปลี่ยนประเภทการทำธุรกิจ) การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และการฟื้นฟู SMEs ในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น โครงการศูนย์ต่อเรือ
ที่มา: หอการค้าไทย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ www.thaiechamber.com
-ดท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ