กรุงเทพ--15 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 ม.ค.) เวลา 14.00 น. ฯพณฯ นาย Oscar Maurtua de Romana เอกอัครราชทูตเปรูประจำประเทศไทย และคณะ ประกอบด้วย ฯพณฯ นาย Patricio Zuquilanda เอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ (ถิ่นพำนัก ณ กรุงโซล) ฯพณฯ นาย Diego Valenzuela เอกอัครราชทูตชิลี ฯพณฯ นาย Carlos Faustino Garcia เอกอัครราชทูตอาร์เจนตินา นาย Fernando Jose Carvalho Lopes ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตบราซิล และนาย Eric Sandberg ที่ปรึกษา (ฝ่ายการเมือง) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ห้องเทววงศ์ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อมอบสำเนาข้อตกลงสันติภาพระหว่างเปรูกับเอกวาดอร์ ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2541 ซึ่งการมอบสำเนาข้อตกลงสันติภาพฯ มีลักษณะเป็นการดำเนินการทางการเมืองและการทูต เพื่อให้มิตรประเทศทราบถึงความตกลงสันติภาพดังกล่าว ภูมิหลัง
1. เปรูและเอกวาดอร์มีความขัดแย้งและสู้รบบริเวณชายแดนทางตอนเหนือของเปรูและทางตอนใต้ของเอกวาดอร์ตั้งแต่ปี 2484 และในปี 2485 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยสันติภาพ มิตรภาพ และพรมแดน (Protocol of Peace, Friendship and Boundaries) หรือ Protocol of Rio de Janeiro โดยมีอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี และสหรัฐฯ เป็นประเทศค้ำประกัน (guarantor) ของพิธีสารริโอเดอจาเนโร
2. ภายหลังจากการลงนามในพิธีสารดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้มีการปักปันเขตแดนประมาณร้อยละ 95 ของเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ส่วนเขตแดนที่เหลือ ได้มีการตกลงกันว่า บริเวณเขตแดนของเปรูจะอยู่ทางด้านตะวันออกของแนวเขา Cordillera del Condor และเขตแดนของเอกวาดอร์อยู่ทางด้านตะวันตกของแนวเขาดังกล่าว
3. ตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา รัฐสภาเอกวาดอร์ไม่ยอมรับข้อตกลงในการปักปันเขตแดนส่วนที่เหลืออยู่ดังกล่าว จึงทำให้มีความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองมาโดยตลอด จนกระทั่งได้มีการปะทะกันครั้งใหญ่ในปี 2524 โดยเปรูอ้างว่าเอกวาดอร์บุกเข้ายึดด่านรักษาการณ์ภายในเขตแดนของเปรู แต่เหตุการณ์ยุติลงหลังจากที่เปรูยึดดินแดนดังกล่าวกลับคืนได้ภายใน 2 วัน
4. กำลังทหารของทั้งสองประเทศมีการปะทะกันเป็นครั้งคราวตลอดมา และที่ร้ายแรงคือการปะทะกันในปี 2538 ซึ่งเป็นที่สนใจของนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บราซิล สหรัฐฯ อาร์เจนตินา และชิลีซึ่งเป็นประเทศค้ำประกันของพิธีสารริโอเดอจาเนโร ต่างเสนอที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศทั้งสอง
5. สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อนาย Jamil Mahuad Witt เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเอกวาดอร์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 และได้ประกาศความตั้งใจอย่างจริงจังที่จะแก้ไขข้อพิพาททางพรมแดนกับเปรูด้วยสันติวิธี และเรียกร้องให้ประธานาธิบดี Fujimori ของเปรูพยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงสันติภาพ ซึ่งได้นำไปสู่การจัดทำข้อตกลงจัดตั้งคณะผู้สังเกตการณ์ทางทหารระหว่างกัน (Missions of Military Observers Ecuador-Peru) เพื่อกำกับดูแลการถอนทหารเอกวาดอร์ออกจากบริเวณชายแดนเปรูเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2541 และการจัดทำข้อตกลงสันติภาพระหว่างกันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2541 ที่กรุงบราซิเลีย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
วันนี้ (15 ม.ค.) เวลา 14.00 น. ฯพณฯ นาย Oscar Maurtua de Romana เอกอัครราชทูตเปรูประจำประเทศไทย และคณะ ประกอบด้วย ฯพณฯ นาย Patricio Zuquilanda เอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ (ถิ่นพำนัก ณ กรุงโซล) ฯพณฯ นาย Diego Valenzuela เอกอัครราชทูตชิลี ฯพณฯ นาย Carlos Faustino Garcia เอกอัครราชทูตอาร์เจนตินา นาย Fernando Jose Carvalho Lopes ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตบราซิล และนาย Eric Sandberg ที่ปรึกษา (ฝ่ายการเมือง) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ห้องเทววงศ์ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อมอบสำเนาข้อตกลงสันติภาพระหว่างเปรูกับเอกวาดอร์ ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2541 ซึ่งการมอบสำเนาข้อตกลงสันติภาพฯ มีลักษณะเป็นการดำเนินการทางการเมืองและการทูต เพื่อให้มิตรประเทศทราบถึงความตกลงสันติภาพดังกล่าว ภูมิหลัง
1. เปรูและเอกวาดอร์มีความขัดแย้งและสู้รบบริเวณชายแดนทางตอนเหนือของเปรูและทางตอนใต้ของเอกวาดอร์ตั้งแต่ปี 2484 และในปี 2485 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยสันติภาพ มิตรภาพ และพรมแดน (Protocol of Peace, Friendship and Boundaries) หรือ Protocol of Rio de Janeiro โดยมีอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี และสหรัฐฯ เป็นประเทศค้ำประกัน (guarantor) ของพิธีสารริโอเดอจาเนโร
2. ภายหลังจากการลงนามในพิธีสารดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้มีการปักปันเขตแดนประมาณร้อยละ 95 ของเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ส่วนเขตแดนที่เหลือ ได้มีการตกลงกันว่า บริเวณเขตแดนของเปรูจะอยู่ทางด้านตะวันออกของแนวเขา Cordillera del Condor และเขตแดนของเอกวาดอร์อยู่ทางด้านตะวันตกของแนวเขาดังกล่าว
3. ตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา รัฐสภาเอกวาดอร์ไม่ยอมรับข้อตกลงในการปักปันเขตแดนส่วนที่เหลืออยู่ดังกล่าว จึงทำให้มีความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองมาโดยตลอด จนกระทั่งได้มีการปะทะกันครั้งใหญ่ในปี 2524 โดยเปรูอ้างว่าเอกวาดอร์บุกเข้ายึดด่านรักษาการณ์ภายในเขตแดนของเปรู แต่เหตุการณ์ยุติลงหลังจากที่เปรูยึดดินแดนดังกล่าวกลับคืนได้ภายใน 2 วัน
4. กำลังทหารของทั้งสองประเทศมีการปะทะกันเป็นครั้งคราวตลอดมา และที่ร้ายแรงคือการปะทะกันในปี 2538 ซึ่งเป็นที่สนใจของนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บราซิล สหรัฐฯ อาร์เจนตินา และชิลีซึ่งเป็นประเทศค้ำประกันของพิธีสารริโอเดอจาเนโร ต่างเสนอที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศทั้งสอง
5. สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อนาย Jamil Mahuad Witt เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเอกวาดอร์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 และได้ประกาศความตั้งใจอย่างจริงจังที่จะแก้ไขข้อพิพาททางพรมแดนกับเปรูด้วยสันติวิธี และเรียกร้องให้ประธานาธิบดี Fujimori ของเปรูพยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงสันติภาพ ซึ่งได้นำไปสู่การจัดทำข้อตกลงจัดตั้งคณะผู้สังเกตการณ์ทางทหารระหว่างกัน (Missions of Military Observers Ecuador-Peru) เพื่อกำกับดูแลการถอนทหารเอกวาดอร์ออกจากบริเวณชายแดนเปรูเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2541 และการจัดทำข้อตกลงสันติภาพระหว่างกันเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2541 ที่กรุงบราซิเลีย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--