ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะเติบโตร้อยละ 4 และปีหน้าจะเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ม.ร.ว.
ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “รับมือกระแสเศรษฐกิจโลก” ว่า เศรษฐกิจโลกปี
นี้จะเติบโตลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 3.9 เหลือร้อยละ 2.9 ขณะที่เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะเติบโตร้อย
ละ 4 และปีหน้าจะเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 โดยราคาน้ำมันยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะ
ราคาน้ำมันจะยังทรงตัวในระดับสูงเกินกว่า 50-70 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ต่อเนื่องอีก 4-5 ปี จนถึงปี
2552-2553 จึงจะมีกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ราคาน้ำมันจึงจะ
มีการปรับลดลงต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลได้ ซึ่งในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังทรงตัวในระดับ
สูง ไทยจะต้องดูแลการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ให้ขาดดุลสูงเกินไปจนกระทบต่อความมั่นใจของต่างชาติ ซึ่งปีนี้คาด
ว่าจะไม่เกินร้อยละ 2.5-3 ของจีดีพี ซึ่งเป็นระดับที่สบายใจได้ ด้านการลงทุนเอกชนที่จะขยายตัวขึ้นในช่วงที่
กำลังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น รัฐบาลจะต้องบริหารไม่ให้กระทบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ และจำเป็นจะต้องนำ
เงินจากต่างประเทศมาชดเชยการขาดดุล แต่วิธีที่อันตรายที่สุดคือการกู้เงินจากต่างประเทศระยะสั้น แม้จะปฏิเสธ
การไม่ใช้ไม่ได้แต่ควรจะหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ ยังจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมการออมในประเทศ โดยเฉพาะการออม
ภาคครัวเรือนที่ปัจจุบันลดลงอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 4 จากเดิมร้อยละ 10-14 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับ
ต่ำ ธปท. จึงได้พยายามขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไล่ให้ทันเงินเฟ้อ จนกว่าดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเป็นบวกและสร้างแรงจูงใจใน
การออม สำหรับมาตรการระยะยาว ในฐานะที่ไทยพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 60 ของจีดีพี ควรจะพัฒนาขีดความ
สามารถในการแข่งขัน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และพัฒนาสินค้าและบริการเป็นแบบ
คลัสเตอร์เพื่อลดต้นทุน หาตลาดใหม่เพิ่มเติม โดยเฉพาะตลาดเอเชียที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในเดือน ส.ค.48 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน รายงานข่าวจาก
ธปท. แจงถึงภาวะการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตปรับตัวดี
ขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมียอดสินเชื่อบัตรเครดิตคงค้าง 130,558 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,522 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 1.96 ขณะที่เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.94 โดยบัตรเครดิตที่ออกโดย ธ.พาณิชย์มียอดสินเชื่อคงค้าง
45,964 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 บัตรที่ออกโดยสาขา ธ.พาณิชย์ต่างประเทศมียอดสินเชื่อคงค้าง 25,317
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.46 ส่วนบัตรที่ออกโดยนอนแบงก์มียอดคงค้าง 57,398.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.3 สำหรับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ออกโดยผู้ประกอบการทุกประเภทในเดือน ส.ค. มีจำนวนทั้งสิ้น
56,139 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,850 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.45 โดยเป็นการเบิกเงินสดล่วงหน้า 13,907 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01 โดยเฉพาะบัตรที่ออกโดยนอนแบงก์มีการเบิกสดล่วงหน้า 3,651 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 20.69 ขณะที่บัตรที่ออกโดย ธ.พาณิชย์มีการเบิกเงินสดล่วงหน้า 9,598 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
1.56 ทั้งนี้ ณ เดือน ส.ค.48 มีจำนวนบัตรเครดิตทั้งสิ้น 9,381,565 บัตร เพิ่มขึ้น 37,301 หรือร้อยละ
0.39 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 179,971 บัตร หรือร้อยละ 1.96 (มติชน,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. กลต. ชี้ว่าการตกแต่งบัญชีบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทำได้ยาก นายธีระชัย
ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ กลต. เปิดเผยถึงกรณีที่ ธปท. ขอให้ กลต. ตรวจสอบโบรกเกอร์ร่วมมือกับนักลงทุน
รายใหญ่หรือเจ้าของบริษัทที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น สร้างราคาหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนสูงเกินความ
เป็นจริงว่า ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่จะพิสูจน์ จะต้องหาความพอดีระหว่างผู้เสนอซื้อและผู้เสนอขาย เพราะหาก
ตั้งราคาไอพีโอต่ำเกินไปเจ้าของบริษัทก็จะได้ประโยขน์น้อย แต่หากตั้งราคาสูงเกิน เมื่อเข้าตลาดราคาหุ้นก็จะปรับ
ลดลง ส่วนที่ ธปท. ตั้งข้อสังเกตว่ามีการตกแต่งบัญชีเพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนนั้น ปัจจุบัน กลต. มี
มาตรการควบคุมดูแลเรื่องการจัดทำงบดุลให้ถูกต้อง โดยมีผู้สอบบัญชีที่มีความชำนาญในการวิเคราะห์งบการเงินมา
เป็นผู้ตรวจสอบในระดับหนึ่ง ซึ่งเห็นว่าการตกแต่งบัญชีในปัจจุบันทำได้ยากกว่าในอดีต ส่วนข้อมูลที่เป็นงบการเงินใน
อดีตก็ไม่สามารถตกแต่งได้ ขณะที่การคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจในอนาคตมีการสร้างภาพที่ดีเกินความจริงหรือไม่ กล
ต. ก็มีการตรวจสอบหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียดว่าข้อมูลที่บริษัทแสดงในหนังสือชี้ชวนมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและ
ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่กับนักลงทุนหรือไม่ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน นายทนง พิท
ยะ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ในการ
แก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการที่ ก.คลังเสนอ โดยจะช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้สินเชื่อ
บุคคลที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ไม่รวมสินเชื่อการเกษตร การเคหะ และบัตรเครดิต โครงการดังกล่าว
จะเริ่มดำเนินการหลังจากที่ ครม. มีมติอนุมัติ ซึ่งลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-มิ.ย.49 โดยการ
ชำระหนี้จะต้องชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียว ส่วน ธ.พาณิชย์ตัดหนี้เงินต้นร้อยละ 50 และตัดดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้ง
หมด สำหรับลูกหนี้ที่ไม่มีเงินชำระเงินต้นที่ได้รับการตัดหนี้ร้อยละ 50 สามารถกู้เงินจาก ธ.ออมสินมาใช้หนี้ส่วนนี้
ได้ โดยธนาคารออมสินจะปล่อยสินเชื่อให้ระยะเวลาผ่อนชำระ 3 ปี แต่คิดอัตราดอกเบี้ยตามปรกติ ซึ่งคาดว่าลูกหนี้
แต่ละรายจะกู้เงินจาก ธ.ออมสินไม่เกินร้อยละ 35,000 บาท ถือเป็นการรีไฟแนนซ์มาอยู่ที่ธนาคารของรัฐแทน ซึ่ง
จะเป็นการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นที่ระดับ 59 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ส.ค.48 รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 13 ต.ค.48 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.8 สู่ระดับสูงสุดเป็นครั้งที่ 3 ที่ระดับ 59 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.8 เป็น
จำนวน 167.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.7 เป็นจำนวน 108.2 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ยอดขาดดุลการค้ายังคงต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่
ระดับ 59.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ยอดขาดดุลการค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีสาเหตุจากต้นทุนการนำเข้า
น้ำมันเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือนดังกล่าวการนำเข้าน้ำมันมีจำนวนสูงถึง 17.2 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. อันเป็นผลจากต้นทุนราคาน้ำมันซึ่งเพิ่มขึ้นสูงที่ระดับ 52.65 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สอดคล้อง
กับข้อมูลของ ก.แรงงาน ซึ่งรายงานว่า ต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าโดยรวมขยายตัวถึง
ร้อยละ 2.3 ในเดือน ก.ย.48 สูงสุดในรอบเกือบ 15 ปี (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นกระหว่างร้อยละ
0.4-0.8 รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 13 ต.ค.48 The European Commission คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของ
เขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาส 3 ปี 48 จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 0.2-0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วน
ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นระหว่างร้อยละ 0.4-0.8 ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ไม่เปลี่ยน
แปลงจากที่ประมาณการก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ส.ค.48 ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน The Commission กล่าวว่า ถ้าอัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในครึ่งหลังปี 48 ขยายตัวอยู่ในช่วงจุดกึ่งกลางของที่ประมาณการไว้ จะทำให้
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปี 48 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ลดลงอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 2.1 ในปี 47 อันเป็นผล
มาจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ รมว.คลังของเขตเศรษฐกิจยูโรป เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า เศรษฐกิจของ
เขตเศรษฐกิจยุโรปมีสัญญาณว่าจะฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงในระดับสูงก็ตาม โดยเห็นได้
จากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของอิตาลีในเดือน ส.ค.48 เพิ่มสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ
1.3 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จากผลของราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ส่งผล
ให้อัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศสในเดือน ก.ย.48 เพิ่มสูงกว่าที่คาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4 และ 2.4 เมื่อเทียบต่อเดือน
และต่อปีตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ย.อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 2.2 ในเดือน ส.ค.48 อนึ่ง ธ.กลางสหภาพยุโรปต้องการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำไม่
เกินร้อยละ 2.0 และเพื่อไม่ให้ประสบกับภาวะเงินเฟ้อ ธ.กลางจึงพร้อมที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
หากราคาน้ำมันพุ่งทะยานสูงกว่าระดับค่าจ้างแรงงาน แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังคงเชื่อว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ชะลอตัวในขณะนี้ จะทำให้ ธ.กลางคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมต่อไป
จนถึงปีหน้า (รอยเตอร์)
3. สมาคมธพ.ของเยอรมนีคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะฟื้นตัวในปี 49 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่
13 ต.ค. 48 สมาคมธพ.ของเยอรมนี - BDB banking association คาดว่าเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด
ในยุโรปเศรษฐกิจจะขยายตัวเร็วขึ้นในปีหน้าโดยคาดว่าในปีหน้า GDP จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.3 เพิ่มขึ้นจาก
ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ในปีนี้และร้อยละ 1.6 เมื่อปี 47 ซึ่งยังคงน้อยกว่า GDP ของ 12 ชาติในยูโรโซนที่คาด
ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 ในปีนี้และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 ในปีหน้า อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อ
ว่าธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำสุดร้อยละ 2.0 ในปีหน้าแต่ BDBคาดว่าธ.กลาง
เยอรมนีจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจนกว่าจะถึงปีหน้าเมื่อเศรษฐกิจมีการเติบโตที่ดี แม้ว่าธ.กลางต้อง
ควบคุมดูแลการขยายตัวของปริมาณเงินและสินเชื่อก็ตาม แต่ในสถานการณ์เช่นนี้BDBเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
ประมาณร้อยละ 1.0 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.5 มีสาเหตุจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดถึง บาร์เรลละ
70 ดอลลาร์ สรอ.เมื่อเดือนส.ค. ที่ผ่านมา แต่คาดว่าราคาน้ำมันจะลดลงอีกเนื่องจากภาวะตลาดน้ำมันเริ่มชะลอ
ตัว (รอยเตอร์)
4. ยอดขายของภาคการผลิตของอังกฤษในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ชะลอตัวลง ในขณะที่ยอดขายของ
ภาคบริการดีขึ้น รายงานจากลอนดอน เมื่อ 13 ต.ค.48 ผลสำรวจธุรกิจ 5,183 แห่งในอังกฤษซึ่งมีพนักงานรวม
ทั้งสิ้นมากกว่า 316,000 คนในระหว่างวันที่ 29 ส.ค.ถึง 19 ก.ย.48 โดยหอการค้าอังกฤษหรือ BCC พบว่ายอด
ขายบ้านสุทธิในภาคการผลิตลดลงเหลือร้อยละ 3 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จากร้อยละ 19 ในไตรมาสก่อน อยู่ในระดับ
ต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 46 อันเป็นผลจากคำสั่งซื้อบ้านลดลงในขณะที่ยอดขายและคำสั่งซื้อสินค้าจากต่าง
ประเทศอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบปี อย่างไรก็ดี ภาคบริการซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของผลผลิตในประเทศกลับมี
ยอดขายที่ดีกว่า โดยยอดขายบ้านสุทธิในภาคบริการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13 จากร้อยละ 12 ในไตรมาสก่อนเมื่อคำ
สั่งซื้อบ้านเพิ่มขึ้นชดเชยกับยอดขายและคำสั่งซื้อบริการจากต่างประเทศที่ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบปี แม้ว่าภาค
การผลิตที่ชะลอตัวลงจะทำให้ ธ.กลางอังกฤษมีเหตุผลในการลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษให้
สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 ต.ค.48 ที่ผ่านมาว่ารายงานเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงรายงานของ BCC ด้วยนั้นให้สัญญาณ
ที่ยังไม่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงแค่ไหน นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อย
ละ 4.5 ต่อปีอย่างน้อยจนถึงสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 ต.ค. 48 13 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.968 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7765/41.0665 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.49556 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 704.32/ 10.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,150/9,250 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.7 55.29 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะเติบโตร้อยละ 4 และปีหน้าจะเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ม.ร.ว.
ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “รับมือกระแสเศรษฐกิจโลก” ว่า เศรษฐกิจโลกปี
นี้จะเติบโตลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 3.9 เหลือร้อยละ 2.9 ขณะที่เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะเติบโตร้อย
ละ 4 และปีหน้าจะเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 โดยราคาน้ำมันยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะ
ราคาน้ำมันจะยังทรงตัวในระดับสูงเกินกว่า 50-70 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ต่อเนื่องอีก 4-5 ปี จนถึงปี
2552-2553 จึงจะมีกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ราคาน้ำมันจึงจะ
มีการปรับลดลงต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลได้ ซึ่งในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังทรงตัวในระดับ
สูง ไทยจะต้องดูแลการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ให้ขาดดุลสูงเกินไปจนกระทบต่อความมั่นใจของต่างชาติ ซึ่งปีนี้คาด
ว่าจะไม่เกินร้อยละ 2.5-3 ของจีดีพี ซึ่งเป็นระดับที่สบายใจได้ ด้านการลงทุนเอกชนที่จะขยายตัวขึ้นในช่วงที่
กำลังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น รัฐบาลจะต้องบริหารไม่ให้กระทบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ และจำเป็นจะต้องนำ
เงินจากต่างประเทศมาชดเชยการขาดดุล แต่วิธีที่อันตรายที่สุดคือการกู้เงินจากต่างประเทศระยะสั้น แม้จะปฏิเสธ
การไม่ใช้ไม่ได้แต่ควรจะหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ ยังจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมการออมในประเทศ โดยเฉพาะการออม
ภาคครัวเรือนที่ปัจจุบันลดลงอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 4 จากเดิมร้อยละ 10-14 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับ
ต่ำ ธปท. จึงได้พยายามขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไล่ให้ทันเงินเฟ้อ จนกว่าดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเป็นบวกและสร้างแรงจูงใจใน
การออม สำหรับมาตรการระยะยาว ในฐานะที่ไทยพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 60 ของจีดีพี ควรจะพัฒนาขีดความ
สามารถในการแข่งขัน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และพัฒนาสินค้าและบริการเป็นแบบ
คลัสเตอร์เพื่อลดต้นทุน หาตลาดใหม่เพิ่มเติม โดยเฉพาะตลาดเอเชียที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในเดือน ส.ค.48 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน รายงานข่าวจาก
ธปท. แจงถึงภาวะการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตปรับตัวดี
ขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมียอดสินเชื่อบัตรเครดิตคงค้าง 130,558 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,522 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 1.96 ขณะที่เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.94 โดยบัตรเครดิตที่ออกโดย ธ.พาณิชย์มียอดสินเชื่อคงค้าง
45,964 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 บัตรที่ออกโดยสาขา ธ.พาณิชย์ต่างประเทศมียอดสินเชื่อคงค้าง 25,317
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.46 ส่วนบัตรที่ออกโดยนอนแบงก์มียอดคงค้าง 57,398.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.3 สำหรับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ออกโดยผู้ประกอบการทุกประเภทในเดือน ส.ค. มีจำนวนทั้งสิ้น
56,139 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,850 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.45 โดยเป็นการเบิกเงินสดล่วงหน้า 13,907 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01 โดยเฉพาะบัตรที่ออกโดยนอนแบงก์มีการเบิกสดล่วงหน้า 3,651 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 20.69 ขณะที่บัตรที่ออกโดย ธ.พาณิชย์มีการเบิกเงินสดล่วงหน้า 9,598 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
1.56 ทั้งนี้ ณ เดือน ส.ค.48 มีจำนวนบัตรเครดิตทั้งสิ้น 9,381,565 บัตร เพิ่มขึ้น 37,301 หรือร้อยละ
0.39 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 179,971 บัตร หรือร้อยละ 1.96 (มติชน,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. กลต. ชี้ว่าการตกแต่งบัญชีบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทำได้ยาก นายธีระชัย
ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ กลต. เปิดเผยถึงกรณีที่ ธปท. ขอให้ กลต. ตรวจสอบโบรกเกอร์ร่วมมือกับนักลงทุน
รายใหญ่หรือเจ้าของบริษัทที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น สร้างราคาหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนสูงเกินความ
เป็นจริงว่า ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่จะพิสูจน์ จะต้องหาความพอดีระหว่างผู้เสนอซื้อและผู้เสนอขาย เพราะหาก
ตั้งราคาไอพีโอต่ำเกินไปเจ้าของบริษัทก็จะได้ประโยขน์น้อย แต่หากตั้งราคาสูงเกิน เมื่อเข้าตลาดราคาหุ้นก็จะปรับ
ลดลง ส่วนที่ ธปท. ตั้งข้อสังเกตว่ามีการตกแต่งบัญชีเพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนนั้น ปัจจุบัน กลต. มี
มาตรการควบคุมดูแลเรื่องการจัดทำงบดุลให้ถูกต้อง โดยมีผู้สอบบัญชีที่มีความชำนาญในการวิเคราะห์งบการเงินมา
เป็นผู้ตรวจสอบในระดับหนึ่ง ซึ่งเห็นว่าการตกแต่งบัญชีในปัจจุบันทำได้ยากกว่าในอดีต ส่วนข้อมูลที่เป็นงบการเงินใน
อดีตก็ไม่สามารถตกแต่งได้ ขณะที่การคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจในอนาคตมีการสร้างภาพที่ดีเกินความจริงหรือไม่ กล
ต. ก็มีการตรวจสอบหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียดว่าข้อมูลที่บริษัทแสดงในหนังสือชี้ชวนมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและ
ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่กับนักลงทุนหรือไม่ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน นายทนง พิท
ยะ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ในการ
แก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการที่ ก.คลังเสนอ โดยจะช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้สินเชื่อ
บุคคลที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ไม่รวมสินเชื่อการเกษตร การเคหะ และบัตรเครดิต โครงการดังกล่าว
จะเริ่มดำเนินการหลังจากที่ ครม. มีมติอนุมัติ ซึ่งลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-มิ.ย.49 โดยการ
ชำระหนี้จะต้องชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียว ส่วน ธ.พาณิชย์ตัดหนี้เงินต้นร้อยละ 50 และตัดดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้ง
หมด สำหรับลูกหนี้ที่ไม่มีเงินชำระเงินต้นที่ได้รับการตัดหนี้ร้อยละ 50 สามารถกู้เงินจาก ธ.ออมสินมาใช้หนี้ส่วนนี้
ได้ โดยธนาคารออมสินจะปล่อยสินเชื่อให้ระยะเวลาผ่อนชำระ 3 ปี แต่คิดอัตราดอกเบี้ยตามปรกติ ซึ่งคาดว่าลูกหนี้
แต่ละรายจะกู้เงินจาก ธ.ออมสินไม่เกินร้อยละ 35,000 บาท ถือเป็นการรีไฟแนนซ์มาอยู่ที่ธนาคารของรัฐแทน ซึ่ง
จะเป็นการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นที่ระดับ 59 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ส.ค.48 รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 13 ต.ค.48 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.8 สู่ระดับสูงสุดเป็นครั้งที่ 3 ที่ระดับ 59 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.8 เป็น
จำนวน 167.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.7 เป็นจำนวน 108.2 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ยอดขาดดุลการค้ายังคงต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่
ระดับ 59.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ยอดขาดดุลการค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีสาเหตุจากต้นทุนการนำเข้า
น้ำมันเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือนดังกล่าวการนำเข้าน้ำมันมีจำนวนสูงถึง 17.2 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. อันเป็นผลจากต้นทุนราคาน้ำมันซึ่งเพิ่มขึ้นสูงที่ระดับ 52.65 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สอดคล้อง
กับข้อมูลของ ก.แรงงาน ซึ่งรายงานว่า ต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าโดยรวมขยายตัวถึง
ร้อยละ 2.3 ในเดือน ก.ย.48 สูงสุดในรอบเกือบ 15 ปี (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นกระหว่างร้อยละ
0.4-0.8 รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 13 ต.ค.48 The European Commission คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของ
เขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาส 3 ปี 48 จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 0.2-0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วน
ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นระหว่างร้อยละ 0.4-0.8 ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ไม่เปลี่ยน
แปลงจากที่ประมาณการก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ส.ค.48 ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน The Commission กล่าวว่า ถ้าอัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในครึ่งหลังปี 48 ขยายตัวอยู่ในช่วงจุดกึ่งกลางของที่ประมาณการไว้ จะทำให้
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปี 48 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ลดลงอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 2.1 ในปี 47 อันเป็นผล
มาจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ รมว.คลังของเขตเศรษฐกิจยูโรป เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า เศรษฐกิจของ
เขตเศรษฐกิจยุโรปมีสัญญาณว่าจะฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงในระดับสูงก็ตาม โดยเห็นได้
จากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของอิตาลีในเดือน ส.ค.48 เพิ่มสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ
1.3 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จากผลของราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ส่งผล
ให้อัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศสในเดือน ก.ย.48 เพิ่มสูงกว่าที่คาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4 และ 2.4 เมื่อเทียบต่อเดือน
และต่อปีตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ย.อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 2.2 ในเดือน ส.ค.48 อนึ่ง ธ.กลางสหภาพยุโรปต้องการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำไม่
เกินร้อยละ 2.0 และเพื่อไม่ให้ประสบกับภาวะเงินเฟ้อ ธ.กลางจึงพร้อมที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
หากราคาน้ำมันพุ่งทะยานสูงกว่าระดับค่าจ้างแรงงาน แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังคงเชื่อว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ชะลอตัวในขณะนี้ จะทำให้ ธ.กลางคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมต่อไป
จนถึงปีหน้า (รอยเตอร์)
3. สมาคมธพ.ของเยอรมนีคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะฟื้นตัวในปี 49 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่
13 ต.ค. 48 สมาคมธพ.ของเยอรมนี - BDB banking association คาดว่าเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด
ในยุโรปเศรษฐกิจจะขยายตัวเร็วขึ้นในปีหน้าโดยคาดว่าในปีหน้า GDP จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.3 เพิ่มขึ้นจาก
ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ในปีนี้และร้อยละ 1.6 เมื่อปี 47 ซึ่งยังคงน้อยกว่า GDP ของ 12 ชาติในยูโรโซนที่คาด
ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 ในปีนี้และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 ในปีหน้า อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อ
ว่าธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำสุดร้อยละ 2.0 ในปีหน้าแต่ BDBคาดว่าธ.กลาง
เยอรมนีจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจนกว่าจะถึงปีหน้าเมื่อเศรษฐกิจมีการเติบโตที่ดี แม้ว่าธ.กลางต้อง
ควบคุมดูแลการขยายตัวของปริมาณเงินและสินเชื่อก็ตาม แต่ในสถานการณ์เช่นนี้BDBเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
ประมาณร้อยละ 1.0 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.5 มีสาเหตุจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดถึง บาร์เรลละ
70 ดอลลาร์ สรอ.เมื่อเดือนส.ค. ที่ผ่านมา แต่คาดว่าราคาน้ำมันจะลดลงอีกเนื่องจากภาวะตลาดน้ำมันเริ่มชะลอ
ตัว (รอยเตอร์)
4. ยอดขายของภาคการผลิตของอังกฤษในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ชะลอตัวลง ในขณะที่ยอดขายของ
ภาคบริการดีขึ้น รายงานจากลอนดอน เมื่อ 13 ต.ค.48 ผลสำรวจธุรกิจ 5,183 แห่งในอังกฤษซึ่งมีพนักงานรวม
ทั้งสิ้นมากกว่า 316,000 คนในระหว่างวันที่ 29 ส.ค.ถึง 19 ก.ย.48 โดยหอการค้าอังกฤษหรือ BCC พบว่ายอด
ขายบ้านสุทธิในภาคการผลิตลดลงเหลือร้อยละ 3 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จากร้อยละ 19 ในไตรมาสก่อน อยู่ในระดับ
ต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 46 อันเป็นผลจากคำสั่งซื้อบ้านลดลงในขณะที่ยอดขายและคำสั่งซื้อสินค้าจากต่าง
ประเทศอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบปี อย่างไรก็ดี ภาคบริการซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของผลผลิตในประเทศกลับมี
ยอดขายที่ดีกว่า โดยยอดขายบ้านสุทธิในภาคบริการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13 จากร้อยละ 12 ในไตรมาสก่อนเมื่อคำ
สั่งซื้อบ้านเพิ่มขึ้นชดเชยกับยอดขายและคำสั่งซื้อบริการจากต่างประเทศที่ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบปี แม้ว่าภาค
การผลิตที่ชะลอตัวลงจะทำให้ ธ.กลางอังกฤษมีเหตุผลในการลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษให้
สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 ต.ค.48 ที่ผ่านมาว่ารายงานเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงรายงานของ BCC ด้วยนั้นให้สัญญาณ
ที่ยังไม่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงแค่ไหน นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อย
ละ 4.5 ต่อปีอย่างน้อยจนถึงสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 ต.ค. 48 13 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.968 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7765/41.0665 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.49556 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 704.32/ 10.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,150/9,250 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.7 55.29 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--