วันนี้ (11 ม.ค. 48) เวลา 13.45 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค พร้อมด้วยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคฯ แถลงข่าวร่วมถึงสถานการณ์การหาเสียงเลือกตั้ง
นายประดิษฐ์ แถลงว่า ขณะนี้ได้มีความพยายามในการสร้างความสับสนและความเข้าใจผิดให้กับประชาชนว่าพรรคประชาธิปัตย์หลอกลวงประชาชนในการหาเสียง ไปเสนอตัวเป็นรัฐบาลในการหาเสียงกับพี่น้องต่างจังหวัด และเสนอตัวเป็นฝ่ายค้านกับพี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร ตนขอเรียนว่านั่นเป็นความพยายามของพรรคการเมืองที่ไม่หวังดีใช้วิธีการบิดเบือน และสร้างความสับสนให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของพรรคตนเอง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศมาโดยตลอดในทุกเวทีปราศรัย หรือการแถลงต่อสาธารณะชน ว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะเป็นรัฐบาล และพร้อมที่จะทำหน้าที่ฝ่ายค้าน โดยการทำหน้าที่ใดนั้นประชาชนจะเป็นผู้กำหนดพรรค มิใช่พรรคเป็นผู้กำหนด และหากประชาชนสนับสนุนพรรคและผู้สมัครของพรรคมากเพียงพอ เราก็พร้อมที่จะจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ ด้วยนโยบายและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ที่สำคัญมีความซื่อสัตย์ ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน จึงมั่นใจว่าหากเป็นรัฐบาลก็จะสามารถเป็นรัฐบาลที่ดีและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ และหากประชาชนกำหนดให้พรรคประชาธิปัตย์ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน เราก็จะทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างเต็มใจ เพื่อที่จะถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาล และทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนอย่างสุดความสามารถ แต่การจะทำหน้าที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญจะสัมฤทธิ์ผลอย่างสมบูรณ์ได้นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 200 เสียง เพื่อที่จะอภิปรายได้ทั้งรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี
‘ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยควบรวมพรรคการเมือง หรือกวาดต้อนนักการเมืองเข้าพรรคด้วยวิธีการหลอกลวงประชาชน เพื่อเป้าหมายอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จ โดยคิดว่าจะได้ 400 ที่นั่ง ดังที่พรรคการเมืองบางพรรคได้ประกาศไป เพราะการประกาศเช่นนั้นถือเป็นการดูถูกการตัดสินใจของประชาชน หน้าที่ของพรรคการเมืองในระหว่างการเลือกตั้งคือ การนำเสนอนโยบายและผู้สมัครให้ประชาชนได้รับรู้ ส่วนการจะได้มากี่ที่นั่ง รวมทั้งการจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านนั้นเป็นหน้าที่ที่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน การแถลงในวันนี้ก็เพื่อสร้างความชัดเจน และความเข้าใจที่ถูกต้องว่าการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยเป็นการหลอกลวงพี่น้องประชาชนอย่างที่บางพรรคการเมืองและบุคคลบางคนพยายามสร้างความสับสนอยู่ในเวลานี้’ นายประดิษฐ์กล่าว
ด้านนายองอาจ กล่าวว่า เราพบความรุนแรงในการเลือกตั้งปี 2548 โดยทันทีที่มีการสมัครรับเลือกตั้ง ก็มีการเปิดฉากใช้ความรุนแรงในการเลือกตั้ง อาทิเช่น กรณีการลอบฆ่าหัวคะแนนของ ส.ส.พรรคไทยรักไทย ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือ กรณีนายกฯอบจ.พังงา ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ถูกลอบฆ่าเสียชีวิต เป็นต้น ซึ่งถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการจัดการ ติดตามนำคนผิดมาลงโทษ และตนเห็นว่าพฤติกรรมเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้น ในการเลือกตั้งในประเทศไทย ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงอยากให้รัฐบาลดำเนินการป้องกันการลอบฆ่า หรือลอบทำร้าย ผู้สนับสนุนผู้สมัคร ส.ส. รวมทั้งผู้สมัคร ส.ส. ไม่ว่าจะสังกัดพรรคการเมืองใดก็ตาม
อย่างไรก็ดีนายกฯแสดงท่าทีเอาจริงเอาจังกับเหตุการณ์ที่จังหวัดอยุธยา ถึงขนาดกล่าวในที่ประชุม ครม. ด้วยความเกลี้ยวกราด และขอให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่าเป็นการทำงาน 2 มาตรฐานของนายกฯ กล่าวคือหากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับพรรคไทยรักไทยนายกฯจะวางเฉย หรือ บอกว่าไม่ใช่เรื่องทางการเมือง แต่หากเกิดขึ้นกับ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักไทย ถึงขนาดนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม ครม. ตนเห็นว่านายกฯไม่จำเป็นต้องไปสั่งการให้กระทรวงอื่น แต่นายกฯควรสั่งการตัวเอง เพราะในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารประเทศ ควรหาทางดำเนินการไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองดังกล่าวน่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า
นายองอาจ กล่าวต่อว่า ได้มีความพยายามเข้าไปแทรกแซงสื่อ จะเห็นได้ว่าเมื่อวาน(10 ม.ค. 48) ก่อนที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น ได้มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ซึ่งเรื่องราวการถ่ายทอดสดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประชุม ครม. แต่อย่างใด แต่รัฐบาลนี้ได้ใช้อำนาจรัฐที่ตนเองมีอยู่ สั่งการให้มีการถ่ายทอดสด เพื่อที่จะหาเสียงสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง เพิ่มคะแนนเสียงในการเลือกตั้งมากกว่าที่จะเผยแพร่ผลงานของรัฐบาลตามปกติ จะสังเกตเห็นได้ว่าการถ่ายทอดสดเมื่อวานแทบจะไม่รู้เลยว่าเป็นงานอะไร เพราะป้ายมีขนาดเล็กนิดเดียว แต่ป้ายต้อนรับนายกรัฐมนตรี ซึ่งแสดงตัวเหมือนเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ใหญ่กว่าป้ายงานเสียอีก เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า นายกฯพยายามเอารัดเอาเปรียบทุกวิถีทาง ในการที่จะให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ 400 เสียง อย่างที่พรรคไทยรักไทยเคยตั้งเป้าหมายไว้อยู่ตลอดเวลา
นายองอาจกล่าวว่า ไม่ว่ารัฐบาลจะปฏิเสธหรือไม่ก็ตาม แต่ขณะนี้ผู้ดำเนินรายการทางวิทยุหลายคน โดยเฉพาะรายการทางคลื่นวิทยุ 96.5 ซึ่งย้ายมาเป็น 94.0 เอฟเอ็ม ของจีจีนิวส์ ทั้งคุณดนัย เอกมหาสวัสดิ์ และคุณอัญชลี ไพรีรักษ์ ไม่สามารถที่จะดำเนินรายการได้อีกต่อไป เพราะพูดความจริงมากเกินไป และหลายครั้งได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง รายการเหล่านี้จึงถูกยกเลิกไป ‘นี่คือการแทรกแซงสื่ออีกอย่างหนึ่งในช่วงการเลือกตั้งพอดี กว่าจะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งรัฐบาลก็คงจะใช้อำนาจรัฐของตัวเองเข้าไปแทรกแซงองค์กรต่างๆ ไม่เฉพาะแค่สื่อเท่านั้น พรรคประชาธิปัตย์เราไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะมาทำให้พี่น้องประชาชนเข้าใจเรา ได้มากเท่ากับสื่อสารมวลชนที่มีอยู่โดยทั่วไป ซึ่งก็เป็นสื่อของรัฐเป็นส่วนมาก เราจึงขอให้พี่น้องประชาชนช่วยติดตามข้อมูลข่าวสารเหล่านี้อย่างใกล้ชิด และช่วยกันตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาล ที่พยายามใช้อำนาจหาเสียงอยู่ตลอดเวลา’ นายองอาจกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ม.ค.2548--จบ--
-ดท-
นายประดิษฐ์ แถลงว่า ขณะนี้ได้มีความพยายามในการสร้างความสับสนและความเข้าใจผิดให้กับประชาชนว่าพรรคประชาธิปัตย์หลอกลวงประชาชนในการหาเสียง ไปเสนอตัวเป็นรัฐบาลในการหาเสียงกับพี่น้องต่างจังหวัด และเสนอตัวเป็นฝ่ายค้านกับพี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร ตนขอเรียนว่านั่นเป็นความพยายามของพรรคการเมืองที่ไม่หวังดีใช้วิธีการบิดเบือน และสร้างความสับสนให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของพรรคตนเอง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศมาโดยตลอดในทุกเวทีปราศรัย หรือการแถลงต่อสาธารณะชน ว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะเป็นรัฐบาล และพร้อมที่จะทำหน้าที่ฝ่ายค้าน โดยการทำหน้าที่ใดนั้นประชาชนจะเป็นผู้กำหนดพรรค มิใช่พรรคเป็นผู้กำหนด และหากประชาชนสนับสนุนพรรคและผู้สมัครของพรรคมากเพียงพอ เราก็พร้อมที่จะจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ ด้วยนโยบายและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ที่สำคัญมีความซื่อสัตย์ ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน จึงมั่นใจว่าหากเป็นรัฐบาลก็จะสามารถเป็นรัฐบาลที่ดีและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ และหากประชาชนกำหนดให้พรรคประชาธิปัตย์ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน เราก็จะทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างเต็มใจ เพื่อที่จะถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาล และทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนอย่างสุดความสามารถ แต่การจะทำหน้าที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญจะสัมฤทธิ์ผลอย่างสมบูรณ์ได้นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 200 เสียง เพื่อที่จะอภิปรายได้ทั้งรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี
‘ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยควบรวมพรรคการเมือง หรือกวาดต้อนนักการเมืองเข้าพรรคด้วยวิธีการหลอกลวงประชาชน เพื่อเป้าหมายอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จ โดยคิดว่าจะได้ 400 ที่นั่ง ดังที่พรรคการเมืองบางพรรคได้ประกาศไป เพราะการประกาศเช่นนั้นถือเป็นการดูถูกการตัดสินใจของประชาชน หน้าที่ของพรรคการเมืองในระหว่างการเลือกตั้งคือ การนำเสนอนโยบายและผู้สมัครให้ประชาชนได้รับรู้ ส่วนการจะได้มากี่ที่นั่ง รวมทั้งการจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านนั้นเป็นหน้าที่ที่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน การแถลงในวันนี้ก็เพื่อสร้างความชัดเจน และความเข้าใจที่ถูกต้องว่าการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยเป็นการหลอกลวงพี่น้องประชาชนอย่างที่บางพรรคการเมืองและบุคคลบางคนพยายามสร้างความสับสนอยู่ในเวลานี้’ นายประดิษฐ์กล่าว
ด้านนายองอาจ กล่าวว่า เราพบความรุนแรงในการเลือกตั้งปี 2548 โดยทันทีที่มีการสมัครรับเลือกตั้ง ก็มีการเปิดฉากใช้ความรุนแรงในการเลือกตั้ง อาทิเช่น กรณีการลอบฆ่าหัวคะแนนของ ส.ส.พรรคไทยรักไทย ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือ กรณีนายกฯอบจ.พังงา ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ถูกลอบฆ่าเสียชีวิต เป็นต้น ซึ่งถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการจัดการ ติดตามนำคนผิดมาลงโทษ และตนเห็นว่าพฤติกรรมเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้น ในการเลือกตั้งในประเทศไทย ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงอยากให้รัฐบาลดำเนินการป้องกันการลอบฆ่า หรือลอบทำร้าย ผู้สนับสนุนผู้สมัคร ส.ส. รวมทั้งผู้สมัคร ส.ส. ไม่ว่าจะสังกัดพรรคการเมืองใดก็ตาม
อย่างไรก็ดีนายกฯแสดงท่าทีเอาจริงเอาจังกับเหตุการณ์ที่จังหวัดอยุธยา ถึงขนาดกล่าวในที่ประชุม ครม. ด้วยความเกลี้ยวกราด และขอให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่าเป็นการทำงาน 2 มาตรฐานของนายกฯ กล่าวคือหากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับพรรคไทยรักไทยนายกฯจะวางเฉย หรือ บอกว่าไม่ใช่เรื่องทางการเมือง แต่หากเกิดขึ้นกับ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักไทย ถึงขนาดนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม ครม. ตนเห็นว่านายกฯไม่จำเป็นต้องไปสั่งการให้กระทรวงอื่น แต่นายกฯควรสั่งการตัวเอง เพราะในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารประเทศ ควรหาทางดำเนินการไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองดังกล่าวน่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า
นายองอาจ กล่าวต่อว่า ได้มีความพยายามเข้าไปแทรกแซงสื่อ จะเห็นได้ว่าเมื่อวาน(10 ม.ค. 48) ก่อนที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น ได้มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ซึ่งเรื่องราวการถ่ายทอดสดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประชุม ครม. แต่อย่างใด แต่รัฐบาลนี้ได้ใช้อำนาจรัฐที่ตนเองมีอยู่ สั่งการให้มีการถ่ายทอดสด เพื่อที่จะหาเสียงสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง เพิ่มคะแนนเสียงในการเลือกตั้งมากกว่าที่จะเผยแพร่ผลงานของรัฐบาลตามปกติ จะสังเกตเห็นได้ว่าการถ่ายทอดสดเมื่อวานแทบจะไม่รู้เลยว่าเป็นงานอะไร เพราะป้ายมีขนาดเล็กนิดเดียว แต่ป้ายต้อนรับนายกรัฐมนตรี ซึ่งแสดงตัวเหมือนเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ใหญ่กว่าป้ายงานเสียอีก เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า นายกฯพยายามเอารัดเอาเปรียบทุกวิถีทาง ในการที่จะให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ 400 เสียง อย่างที่พรรคไทยรักไทยเคยตั้งเป้าหมายไว้อยู่ตลอดเวลา
นายองอาจกล่าวว่า ไม่ว่ารัฐบาลจะปฏิเสธหรือไม่ก็ตาม แต่ขณะนี้ผู้ดำเนินรายการทางวิทยุหลายคน โดยเฉพาะรายการทางคลื่นวิทยุ 96.5 ซึ่งย้ายมาเป็น 94.0 เอฟเอ็ม ของจีจีนิวส์ ทั้งคุณดนัย เอกมหาสวัสดิ์ และคุณอัญชลี ไพรีรักษ์ ไม่สามารถที่จะดำเนินรายการได้อีกต่อไป เพราะพูดความจริงมากเกินไป และหลายครั้งได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง รายการเหล่านี้จึงถูกยกเลิกไป ‘นี่คือการแทรกแซงสื่ออีกอย่างหนึ่งในช่วงการเลือกตั้งพอดี กว่าจะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งรัฐบาลก็คงจะใช้อำนาจรัฐของตัวเองเข้าไปแทรกแซงองค์กรต่างๆ ไม่เฉพาะแค่สื่อเท่านั้น พรรคประชาธิปัตย์เราไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะมาทำให้พี่น้องประชาชนเข้าใจเรา ได้มากเท่ากับสื่อสารมวลชนที่มีอยู่โดยทั่วไป ซึ่งก็เป็นสื่อของรัฐเป็นส่วนมาก เราจึงขอให้พี่น้องประชาชนช่วยติดตามข้อมูลข่าวสารเหล่านี้อย่างใกล้ชิด และช่วยกันตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาล ที่พยายามใช้อำนาจหาเสียงอยู่ตลอดเวลา’ นายองอาจกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ม.ค.2548--จบ--
-ดท-