สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--26 พ.ค.--บิสนิวส์
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ปาล์มน้ำมัน : มาตรการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
ปี 2542 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าผลปาล์มมีประมาณ 2.69 ล้านตัน คิดเทียบเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 430,764 ตัน โดยช่วงที่ออกมากคือเดือนเมษายน-ตุลาคม 2542 เฉลี่ยเดือนละ 250,000 ตัน หรือ 42,500 ตันน้ำมันปาล์มดิบ เมื่อเทียบกับความต้องการเฉลี่ยเดือนละ 31,000 ตัน ดังนั้นในแต่ละเดือนมีผลผลิตเหลือจำนวนหนึ่ง สถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ราคาผลปาล์มลดลงอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 4.68 บาทในเดือนกุมภาพันธ์ เหลือกิโลกรัมละ 2.75 บาทในเดือนมีนาคม และกิโลกรัมละ 1.93 บาทในเดือนเมษายน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาผลปาล์มมีราคาตกต่ำ คชก. ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542 อนุมัติให้กรมการค้าภายในดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบ ปี 2542 เพื่อดึงผลผลิตส่วนเกินออกนอกระบบ และเกษตรกรขายผลปาล์มได้ในราคาที่สูงขึ้นและเหมาะสม โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
1. ให้ อคส. ยืมเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย วงเงิน 600 ล้านบาท เพื่อรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบที่เข้าโครงการในราคากิโลกรัมละ 19.50 บาท และให้โรงงานสกัดฯ ที่เข้าร่วมโครงการรับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรรายย่อย พื้นที่ปลูกไม่เกิน 100 ไร่ในราคากิโลกรัมละ 2.72 บาท (16% น้ำมัน) ระยะเวลาดำเนินการโครงการ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2542
2. ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กำกับดูแลการจำหน่ายผลปาล์มของเกษตรกรตามโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2542
อนึ่ง เพื่อระบายผลผลิตน้ำมันปาล์มส่วนเกินที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และดึงราคาผลปาล์มไม่ให้ตกต่ำลงไปอีก กระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออกน้ำมันปาล์มในอัตราร้อยละ 10 ของราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการขอความคิดเห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นหากมีการอนุมัติยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมฯ ดังกล่าว จะช่วยให้น้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
เงาะ : คชก. อนุมัติเงิน 100 ล้านบาท ยกระดับราคาเงาะ
จากที่ประมาณการผลผลิตเงาะในปี 2542 ของภาคตะวันออกว่าจะมีจำนวน 487,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2540 ซึ่งราคาตกต่ำร้อยละ 12 และเพิ่มขึ้นจากปี 2541 ซึ่งผลผลิตน้อยกว่าปกติ ร้อยละ 23 โดยเป็นผลผลิตของจังหวัดจันทบุรี ประมาณร้อยละ 64 (312,000 ตัน) ตราดร้อยละ 31 (150,000 ตัน) และระยองร้อยละ 5 (25,000 ตัน) การเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมากนี้คาดว่าอาจส่งผลให้ราคาเงาะที่เกษตรกรขายได้ตกต่ำ โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม | ปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดสูงถึงร้อยละ 50 ของผลผลิตทั้งหมดหรือประมาณ 243,500 ตัน
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2542 วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2542 จึงมีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 100 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในใช้ดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดเงาะภาคตะวันออก ปี 2542 ด้วยการนำเงินที่ได้รับไปจัดสรรให้โรงงานผลไม้กระป๋องยืมเป็นทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยใช้หมุนเวียนรับซื้อเงาะจากกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรจากแหล่งผลิตในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ในปริมาณประมาณ 10,000-11,000 ตัน ในราคานำตลาด ณ แหล่งผลิต ทั้งนี้กำหนดราคาเป้าหมายนำกิโลกรัมละ 9.40 บาท และให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของส่วนราชการตามที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ กำหนดระยะเวลารับซื้อพฤษภาคม-กรกฎาคม 2542 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2542-กุมภาพันธ์ 2543
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
น้ำนมดิบ : การแก้ไขปัญหาการรับซื้อน้ำนมดิบในส่วนของ อ.ส.ค.
จากการที่ อ.ส.ค. ประสบปัญหาทางด้านการเงินและการบริหารงานภายใน ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดโรงงานผลิตภัณฑ์นมได้ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2542 เป็นต้นมา ทำให้สมาชิกที่ส่งน้ำนมดิบให้ อ.ส.ค. ไม่สามารถจำหน่ายน้ำนมดิบของตน ซึ่งมีจำนวนประมาณ 200 ตัน/วันได้ รัฐบาลจึงเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 อนุมัติให้กรมส่งเสริม-สหกรณ์ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในวงเงิน 400 ล้านบาท เพื่อจัดสรรเงิน 100 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์นำไปชำระค่าน้ำนมดิบ ที่ อ.ส.ค. ค้างชำระสหกรณ์และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2542-28 กุมภาพันธ์ 2542 ส่วนวงเงินอีกประมาณ 300 ล้านบาทให้กรมส่งเสริมสหกรณ์นำไปจ่ายให้แก่สหกรณ์ต่าง ๆ สำหรับรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรในราคาที่เกษตรกรเคยได้รับ (ประมาณ 10.00 - 12.00 บาท/กก.) แล้วขายน้ำนมดิบให้บริษัทที่ใช้นมผงขาดมันเนย โดยขอร้องให้บริษัทเหล่านั้นใช้น้ำนมดิบแทนนมผงขาดมันเนยในราคากิโลกรัมละ 9 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับต้นทุนในการนำนมผงขาดมันเนยมาผลิตเป็นนมพร้อมดื่ม และให้ระยะการชำระหนี้ 6 เดือน สำหรับส่วนต่างระหว่างราคาเดิมและราคาใหม่นั้น อ.ส.ค.จะเป็นผู้จ่ายชดเชยให้แก่สหกรณ์ ทั้งนี้บริษัทเหล่านี้ยังคงรับซื้อน้ำนมดิบจากสหกรณ์ และเกษตรกรที่เป็นคู่ค้าในปริมาณและราคาเดิม
2. ในช่วงปิดเทอมความต้องการนมพร้อมดื่มจะลดลงค่อนข้างมากเนื่องจากไม่มีการบริโภคในส่วนของโครงการนมโรงเรียน ซึ่งตามที่เคยปฏิบัติในทุกปีบริษัทที่ผลิตนมโรงเรียนจะงดรับซื้อน้ำนมดิบในช่วงนี้ โดย อ.ส.ค. จะเป็นผู้รับซื้อแทน แต่ขณะนี้ อ.ส.ค. ไม่สามารถจะรับซื้อน้ำนมดิบได้จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้ไม่มีแหล่งรับซื้อน้ำนมดิบซึ่งมีอยู่จำนวนไม่ต่ำกว่าวันละ 50 ตัน รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขอร้องให้บริษัทที่ใช้นมผงขาดมันเนยหันมารับซื้อน้ำนมดิบในส่วนนี้เพื่อใช้แทนนมผงขาดมันเนยตามความเหมาะสมของแต่ละบริษัท
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 3 - 9 พ.ค. 2542--
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ปาล์มน้ำมัน : มาตรการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
ปี 2542 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าผลปาล์มมีประมาณ 2.69 ล้านตัน คิดเทียบเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 430,764 ตัน โดยช่วงที่ออกมากคือเดือนเมษายน-ตุลาคม 2542 เฉลี่ยเดือนละ 250,000 ตัน หรือ 42,500 ตันน้ำมันปาล์มดิบ เมื่อเทียบกับความต้องการเฉลี่ยเดือนละ 31,000 ตัน ดังนั้นในแต่ละเดือนมีผลผลิตเหลือจำนวนหนึ่ง สถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ราคาผลปาล์มลดลงอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 4.68 บาทในเดือนกุมภาพันธ์ เหลือกิโลกรัมละ 2.75 บาทในเดือนมีนาคม และกิโลกรัมละ 1.93 บาทในเดือนเมษายน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาผลปาล์มมีราคาตกต่ำ คชก. ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542 อนุมัติให้กรมการค้าภายในดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบ ปี 2542 เพื่อดึงผลผลิตส่วนเกินออกนอกระบบ และเกษตรกรขายผลปาล์มได้ในราคาที่สูงขึ้นและเหมาะสม โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
1. ให้ อคส. ยืมเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย วงเงิน 600 ล้านบาท เพื่อรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบที่เข้าโครงการในราคากิโลกรัมละ 19.50 บาท และให้โรงงานสกัดฯ ที่เข้าร่วมโครงการรับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรรายย่อย พื้นที่ปลูกไม่เกิน 100 ไร่ในราคากิโลกรัมละ 2.72 บาท (16% น้ำมัน) ระยะเวลาดำเนินการโครงการ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2542
2. ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กำกับดูแลการจำหน่ายผลปาล์มของเกษตรกรตามโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2542
อนึ่ง เพื่อระบายผลผลิตน้ำมันปาล์มส่วนเกินที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และดึงราคาผลปาล์มไม่ให้ตกต่ำลงไปอีก กระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออกน้ำมันปาล์มในอัตราร้อยละ 10 ของราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการขอความคิดเห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นหากมีการอนุมัติยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมฯ ดังกล่าว จะช่วยให้น้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
เงาะ : คชก. อนุมัติเงิน 100 ล้านบาท ยกระดับราคาเงาะ
จากที่ประมาณการผลผลิตเงาะในปี 2542 ของภาคตะวันออกว่าจะมีจำนวน 487,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2540 ซึ่งราคาตกต่ำร้อยละ 12 และเพิ่มขึ้นจากปี 2541 ซึ่งผลผลิตน้อยกว่าปกติ ร้อยละ 23 โดยเป็นผลผลิตของจังหวัดจันทบุรี ประมาณร้อยละ 64 (312,000 ตัน) ตราดร้อยละ 31 (150,000 ตัน) และระยองร้อยละ 5 (25,000 ตัน) การเพิ่มขึ้นของผลผลิตอย่างมากนี้คาดว่าอาจส่งผลให้ราคาเงาะที่เกษตรกรขายได้ตกต่ำ โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม | ปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดสูงถึงร้อยละ 50 ของผลผลิตทั้งหมดหรือประมาณ 243,500 ตัน
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2542 วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2542 จึงมีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 100 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในใช้ดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดเงาะภาคตะวันออก ปี 2542 ด้วยการนำเงินที่ได้รับไปจัดสรรให้โรงงานผลไม้กระป๋องยืมเป็นทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยใช้หมุนเวียนรับซื้อเงาะจากกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรจากแหล่งผลิตในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ในปริมาณประมาณ 10,000-11,000 ตัน ในราคานำตลาด ณ แหล่งผลิต ทั้งนี้กำหนดราคาเป้าหมายนำกิโลกรัมละ 9.40 บาท และให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของส่วนราชการตามที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ กำหนดระยะเวลารับซื้อพฤษภาคม-กรกฎาคม 2542 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2542-กุมภาพันธ์ 2543
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
น้ำนมดิบ : การแก้ไขปัญหาการรับซื้อน้ำนมดิบในส่วนของ อ.ส.ค.
จากการที่ อ.ส.ค. ประสบปัญหาทางด้านการเงินและการบริหารงานภายใน ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดโรงงานผลิตภัณฑ์นมได้ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2542 เป็นต้นมา ทำให้สมาชิกที่ส่งน้ำนมดิบให้ อ.ส.ค. ไม่สามารถจำหน่ายน้ำนมดิบของตน ซึ่งมีจำนวนประมาณ 200 ตัน/วันได้ รัฐบาลจึงเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 อนุมัติให้กรมส่งเสริม-สหกรณ์ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในวงเงิน 400 ล้านบาท เพื่อจัดสรรเงิน 100 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์นำไปชำระค่าน้ำนมดิบ ที่ อ.ส.ค. ค้างชำระสหกรณ์และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2542-28 กุมภาพันธ์ 2542 ส่วนวงเงินอีกประมาณ 300 ล้านบาทให้กรมส่งเสริมสหกรณ์นำไปจ่ายให้แก่สหกรณ์ต่าง ๆ สำหรับรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรในราคาที่เกษตรกรเคยได้รับ (ประมาณ 10.00 - 12.00 บาท/กก.) แล้วขายน้ำนมดิบให้บริษัทที่ใช้นมผงขาดมันเนย โดยขอร้องให้บริษัทเหล่านั้นใช้น้ำนมดิบแทนนมผงขาดมันเนยในราคากิโลกรัมละ 9 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับต้นทุนในการนำนมผงขาดมันเนยมาผลิตเป็นนมพร้อมดื่ม และให้ระยะการชำระหนี้ 6 เดือน สำหรับส่วนต่างระหว่างราคาเดิมและราคาใหม่นั้น อ.ส.ค.จะเป็นผู้จ่ายชดเชยให้แก่สหกรณ์ ทั้งนี้บริษัทเหล่านี้ยังคงรับซื้อน้ำนมดิบจากสหกรณ์ และเกษตรกรที่เป็นคู่ค้าในปริมาณและราคาเดิม
2. ในช่วงปิดเทอมความต้องการนมพร้อมดื่มจะลดลงค่อนข้างมากเนื่องจากไม่มีการบริโภคในส่วนของโครงการนมโรงเรียน ซึ่งตามที่เคยปฏิบัติในทุกปีบริษัทที่ผลิตนมโรงเรียนจะงดรับซื้อน้ำนมดิบในช่วงนี้ โดย อ.ส.ค. จะเป็นผู้รับซื้อแทน แต่ขณะนี้ อ.ส.ค. ไม่สามารถจะรับซื้อน้ำนมดิบได้จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้ไม่มีแหล่งรับซื้อน้ำนมดิบซึ่งมีอยู่จำนวนไม่ต่ำกว่าวันละ 50 ตัน รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขอร้องให้บริษัทที่ใช้นมผงขาดมันเนยหันมารับซื้อน้ำนมดิบในส่วนนี้เพื่อใช้แทนนมผงขาดมันเนยตามความเหมาะสมของแต่ละบริษัท
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 3 - 9 พ.ค. 2542--