การนำเข้า
กัมพูชานำเข้ารถจักรยานยนต์ในปีที่ผ่านมา มูลค่ากว่า 17,157,162 เหรียญสหรัฐ เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2539 ซึ่งนำเข้า 15,271,134 เหรียญสหรัฐ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3
ประเทศที่ส่งรถจักรยานยนต์ไปจำหน่ายกัมพูชามีมูลค่าสูงได้แก่ เกาหลี ซึ่งในปี 2540 ได้ส่งรถจักรยานยนต์ไปจำหน่ายในกัมพูชา มีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 37.8 รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 28.9 และไทยส่งไปเป็นลำดับที่ 3 มีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 17.1 สำหรับไทยมีการส่งออกยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปจำหน่ายกัมพูชา ในช่วงปีที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 1,610.8 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ซึ่งส่งออกไปกัมพูชา มูลค่า 2,875.2 ล้านบาท มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 44.0
สำหรับในระยะเวลาครึ่งแรกของปี 2541 (มกราคม-มิถุนายน) ประเทศไทยส่งออกยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปจำหน่ายกัมพูชา มูลค่า 1,149.3 ล้านบาทเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2540 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3
สำหรับ ราคาการจำหน่ายปลีกของรถจักรยานยนต์ ในตลาดกรุงพนมเปญมีดังนี้ คือ (วันที่ 21 สิงหาคม 2541)
รถจักรยานยนต์ SUZUKI ROYAL 110CC ราคา 1,200 เหรียญสหรัฐ (จากไทย)
" SUZUKI VIVA 110CC ราคา 1,290 " "
" HONDA DREAM 110CC ราคา 1,700 " "
" MODEANS KRISS 110CC ราคา 1,170 " (จากมาเลเซีย)
" YAMAHA 105CC ราคา 1,100 " (จากญี่ปุ่น)
อัตราภาษี รถจักรยานยนต์ที่นำเข้ากัมพูชาจะเสียภาษีดังนี้
- รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 125CC เสียภาษีอัตราร้อยละ 35 บวกอากรการใช้ร้อยละ 4
- รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ ตั้งแต่ 125CC ขึ้นไป เสียภาษีอัตราร้อยละ 35 บวก อากรการใช้ร้อยละ 4 และอากรพิเศษอีกร้อยละ 10
ข้อสังเกต
1. ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศกัมพูชามีการแข่งขันกันสูงมาก ผู้นำเข้าพยายามลดต้นทุนการนำเข้าเพื่อให้มีราคาจำหน่ายต่ำอันเป็นเหตุจูงใจผู้ซื้อ การลดต้นทุนนำเข้าของผู้จำหน่ายในกัมพูชาที่ชัดเจน คือ การนำเข้านอกระบบโดยหลีกเลี่ยงภาษี
2. ตลาดสินค้ารถจักรยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในกัมพูชาคาดว่าจะดำเนินต่อไปด้วยดีถึงแม้ว่าจะมีการสร้างโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ในกัมพูชาขึ้นก็ตาม แต่ความต้องการอุปกรณ์และส่วนประกอบรถจักรยานยนต์จากไทยก็จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศฯ ณ กรุงพนมเปญ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10/31 ตุลาคม 2541--
กัมพูชานำเข้ารถจักรยานยนต์ในปีที่ผ่านมา มูลค่ากว่า 17,157,162 เหรียญสหรัฐ เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2539 ซึ่งนำเข้า 15,271,134 เหรียญสหรัฐ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3
ประเทศที่ส่งรถจักรยานยนต์ไปจำหน่ายกัมพูชามีมูลค่าสูงได้แก่ เกาหลี ซึ่งในปี 2540 ได้ส่งรถจักรยานยนต์ไปจำหน่ายในกัมพูชา มีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 37.8 รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 28.9 และไทยส่งไปเป็นลำดับที่ 3 มีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 17.1 สำหรับไทยมีการส่งออกยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปจำหน่ายกัมพูชา ในช่วงปีที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 1,610.8 ล้านบาท เทียบกับปี 2539 ซึ่งส่งออกไปกัมพูชา มูลค่า 2,875.2 ล้านบาท มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 44.0
สำหรับในระยะเวลาครึ่งแรกของปี 2541 (มกราคม-มิถุนายน) ประเทศไทยส่งออกยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปจำหน่ายกัมพูชา มูลค่า 1,149.3 ล้านบาทเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2540 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3
สำหรับ ราคาการจำหน่ายปลีกของรถจักรยานยนต์ ในตลาดกรุงพนมเปญมีดังนี้ คือ (วันที่ 21 สิงหาคม 2541)
รถจักรยานยนต์ SUZUKI ROYAL 110CC ราคา 1,200 เหรียญสหรัฐ (จากไทย)
" SUZUKI VIVA 110CC ราคา 1,290 " "
" HONDA DREAM 110CC ราคา 1,700 " "
" MODEANS KRISS 110CC ราคา 1,170 " (จากมาเลเซีย)
" YAMAHA 105CC ราคา 1,100 " (จากญี่ปุ่น)
อัตราภาษี รถจักรยานยนต์ที่นำเข้ากัมพูชาจะเสียภาษีดังนี้
- รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 125CC เสียภาษีอัตราร้อยละ 35 บวกอากรการใช้ร้อยละ 4
- รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ ตั้งแต่ 125CC ขึ้นไป เสียภาษีอัตราร้อยละ 35 บวก อากรการใช้ร้อยละ 4 และอากรพิเศษอีกร้อยละ 10
ข้อสังเกต
1. ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศกัมพูชามีการแข่งขันกันสูงมาก ผู้นำเข้าพยายามลดต้นทุนการนำเข้าเพื่อให้มีราคาจำหน่ายต่ำอันเป็นเหตุจูงใจผู้ซื้อ การลดต้นทุนนำเข้าของผู้จำหน่ายในกัมพูชาที่ชัดเจน คือ การนำเข้านอกระบบโดยหลีกเลี่ยงภาษี
2. ตลาดสินค้ารถจักรยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในกัมพูชาคาดว่าจะดำเนินต่อไปด้วยดีถึงแม้ว่าจะมีการสร้างโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ในกัมพูชาขึ้นก็ตาม แต่ความต้องการอุปกรณ์และส่วนประกอบรถจักรยานยนต์จากไทยก็จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศฯ ณ กรุงพนมเปญ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10/31 ตุลาคม 2541--