นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ภาวะวิกฤติการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นมาก จนส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน โดยการกำหนดนโยบายส่งเสริมการผลิตเอทานอล และไบโอดีเซล จากพืชเกษตรสำคัญ ๆ ของไทย ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
ในส่วนของเอทานอล ซึ่งใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการผลิต อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้ดำเนินการแบบครบวงจร/เป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของการกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน รวมทั้งออกประกาศ ระเบียบ และ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ตลาด ราคาจำหน่าย ฯ ล ฯ มารองรับ และขณะนี้ได้อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงแล้ว 24 โรงงาน แยกเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ 6 โรง และใช้อ้อย/กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ18โรง มีกำลังการผลิตรวม 4,210,000 ลิตร/วัน นอกจากนี้ยังอนุญาตให้จัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง เพื่อการส่งออกอีก จำนวน 3 โรง กำลังการผลิตรวม 595,000 ลิตร/วัน ล่าสุดตามแผนยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง ระยะเวลา 4 ปี ( 2548-2551 ) ได้มีการกำหนดแผนความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อการผลิตเอทานอลไว้ที่ 4.90 ล้านตันในปี 2549 และเพิ่มขึ้น เป็น 7.54 และ 10.20 ล้านตัน ในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ
เป้าหมายของการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังตามแผนยุทธศาสตร์ ฯ ดังกล่าว นอกจากเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าจากการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิง สร้างอำนาจต่อรองและลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศที่มากเกินไปแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามันสำปะหลัง กระตุ้นให้ราคามันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหากคำนวณถอยกลับจากราคาขายเชื้อเพลิงเอทานอลที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ สำนักงานเอทานอลแห่งชาติ มีมติกำหนด เมื่อ 27 มิถุนายน 2548 ณ ราคา 15 บาท/ลิตร ตามแล้ว ราคาหัวมันสำปะหลังสดคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1.00 — 1.50 บาท / กก. ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นระดับราคาที่เกษตรกรได้รับผลตอบแทนคุ้มทุน และมีรายได้มากขึ้นด้วย
ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่งนับได้ว่าเป็นฐานสำคัญในการเชื่อมต่อดูดซับ/รองรับผลผลิตหัวมันสดของเกษตรกรในประเทศ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรก ปี 2548 (ม.ค.—มิ.ย.) การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นมูลค่ารวม 16,287.81 ล้านบาท แยกออกเป็นการส่งออกมันเส้น/มันอัดเม็ด 1.59 ล้านตัน มูลค่า 6,381.73 ล้านบาท ราคาส่งออกเฉลี่ย 3,995.50 บาท /ตัน สูงกว่าราคาส่งออกเฉลี่ยช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง 40.85% แป้งมันสำปะหลัง (ดิบ / แปรรูป) 0.75 ล้านตัน มูลค่า 9,330.33 ล้านบาท ราคาส่งออกเฉลี่ย 12,372.89 บาท/ตัน สูงกว่าราคาส่งออกเฉลี่ยช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง 24.65% และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอื่น ๆ อีก 0.21 ล้านตัน มูลค่า 575.74 ล้านบาท มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (รวมทุกชนิด) ปี ม.ค. — มิ.ย. 2548 ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 15.20 สาเหตุที่การส่งออกลดลงเป็นผลสืบเนื่องจากภาวะภัยแล้ง ผลผลิตหัวมันสดในฤดูการผลิตปี 2547/48 ลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้ภายในประเทศกลับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณมันสำปะหลังเพื่อการส่งออกลดลง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมของสถานการณ์การผลิต / การค้า ซึ่งราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นมากแล้ว สามารถสรุปได้ว่าต่อจากนี้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังไทยจะมีอนาคตที่สดใสขึ้น อีกทั้งจะมีทางเลือกใหม่ในการขายมันสำปะหลังที่จะทำให้ได้รับความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
ในส่วนของเอทานอล ซึ่งใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการผลิต อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้ดำเนินการแบบครบวงจร/เป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของการกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน รวมทั้งออกประกาศ ระเบียบ และ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ตลาด ราคาจำหน่าย ฯ ล ฯ มารองรับ และขณะนี้ได้อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงแล้ว 24 โรงงาน แยกเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ 6 โรง และใช้อ้อย/กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ18โรง มีกำลังการผลิตรวม 4,210,000 ลิตร/วัน นอกจากนี้ยังอนุญาตให้จัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง เพื่อการส่งออกอีก จำนวน 3 โรง กำลังการผลิตรวม 595,000 ลิตร/วัน ล่าสุดตามแผนยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง ระยะเวลา 4 ปี ( 2548-2551 ) ได้มีการกำหนดแผนความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อการผลิตเอทานอลไว้ที่ 4.90 ล้านตันในปี 2549 และเพิ่มขึ้น เป็น 7.54 และ 10.20 ล้านตัน ในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ
เป้าหมายของการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังตามแผนยุทธศาสตร์ ฯ ดังกล่าว นอกจากเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าจากการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิง สร้างอำนาจต่อรองและลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศที่มากเกินไปแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามันสำปะหลัง กระตุ้นให้ราคามันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหากคำนวณถอยกลับจากราคาขายเชื้อเพลิงเอทานอลที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ สำนักงานเอทานอลแห่งชาติ มีมติกำหนด เมื่อ 27 มิถุนายน 2548 ณ ราคา 15 บาท/ลิตร ตามแล้ว ราคาหัวมันสำปะหลังสดคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1.00 — 1.50 บาท / กก. ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นระดับราคาที่เกษตรกรได้รับผลตอบแทนคุ้มทุน และมีรายได้มากขึ้นด้วย
ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่งนับได้ว่าเป็นฐานสำคัญในการเชื่อมต่อดูดซับ/รองรับผลผลิตหัวมันสดของเกษตรกรในประเทศ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรก ปี 2548 (ม.ค.—มิ.ย.) การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นมูลค่ารวม 16,287.81 ล้านบาท แยกออกเป็นการส่งออกมันเส้น/มันอัดเม็ด 1.59 ล้านตัน มูลค่า 6,381.73 ล้านบาท ราคาส่งออกเฉลี่ย 3,995.50 บาท /ตัน สูงกว่าราคาส่งออกเฉลี่ยช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง 40.85% แป้งมันสำปะหลัง (ดิบ / แปรรูป) 0.75 ล้านตัน มูลค่า 9,330.33 ล้านบาท ราคาส่งออกเฉลี่ย 12,372.89 บาท/ตัน สูงกว่าราคาส่งออกเฉลี่ยช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง 24.65% และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอื่น ๆ อีก 0.21 ล้านตัน มูลค่า 575.74 ล้านบาท มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (รวมทุกชนิด) ปี ม.ค. — มิ.ย. 2548 ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 15.20 สาเหตุที่การส่งออกลดลงเป็นผลสืบเนื่องจากภาวะภัยแล้ง ผลผลิตหัวมันสดในฤดูการผลิตปี 2547/48 ลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้ภายในประเทศกลับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณมันสำปะหลังเพื่อการส่งออกลดลง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมของสถานการณ์การผลิต / การค้า ซึ่งราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นมากแล้ว สามารถสรุปได้ว่าต่อจากนี้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังไทยจะมีอนาคตที่สดใสขึ้น อีกทั้งจะมีทางเลือกใหม่ในการขายมันสำปะหลังที่จะทำให้ได้รับความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-