แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-18 ม.ค. 42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์กรสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,512.65 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,420.51 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,092.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.84 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.21 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 125.56 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 278.71 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 95.63 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กุ้งกุลาดำ ราคาโน้มสูงขึ้นเพราะประเทศคู่แข่งประสบปัญหาในการผลิต
ราคากุ้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2541 ได้ตกต่ำลงมาก สาเหตุมาจากช่วงต้นปีราคาอยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งกันมากขึ้น และมีการขยายแหล่งเพาะเลี้ยงไปยังพื้นที่น้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่นาข้าวและพื้นที่เกษตรดั้งเดิม จนเกิดปัญหาระหว่างเกษตรกร 2 ฝ่าย และรัฐบาลได้ประกาศห้ามทำการเลี้ยงในที่สุด เมื่อครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 120 วัน วันที่ 4 ธันวาคม 2541 เกษตรกรได้เร่งจับกุ้งทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าปกติ ขณะที่ตลาดส่งออกที่สำคัญ ทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้ลดปริมาณการนำเข้าจากไทยลงด้วย ส่งผลให้ราคาในประเทศตกต่ำลง กล่าวคือ ราคาที่เกษตรกรขายได้ กุ้งขนาด 31-40 ตัว/กก. จากที่เคยขายได้ กิโลกรัมละ 333.75-445.75 บาท ในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2541 ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นกิโลกรัมละ 202.40 บาท ในเดือนพฤศจิกายน
อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม ราคาได้ขยับตัวสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 230.00 บาท และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกในต้นปี 2542 ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้หันมานำเข้ากุ้งจากไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะสาเหตุคือ
1. สหรัฐอเมริกา แหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งที่สำคัญของประเทศ ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในช่วงไตรมาสแรกมีปริมาณลดลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับผู้นำเข้าของสหรัฐอเมริกามีความพอใจราคากุ้งที่ไทยเสนอขาย จึงมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ประเทศญี่ปุ่น ได้หันมาซื้อกุ้งไทยเพิ่มขึ้นแทนการซื้อจากอินเดีย เนื่องจากเห็นว่ากุ้งไทยราคาต่ำ เมื่อเทียบกับค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น
3. แหล่งผลิตที่สำคัญของโลก คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ขณะที่อินเดียลดปริมาณการเลี้ยง ประเทศผู้นำเข้าต่างๆ จึงหันมานำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.25 บาท สูงขึ้นจาก 34.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.07 บาท ลดลงจาก 52.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 301.00 บาท ลดลงจาก 313.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 265.00 บาท ลดลงจาก 270.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.63 บาท สูงขึ้นจาก 20.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจาก 29.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจาก 40.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท สูงขึ้นจาก 60.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.29 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.24 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 4.28 ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.30 บาท ลดลงจาก 17.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 18-24 ม.ค. 2542--
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-18 ม.ค. 42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์กรสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,512.65 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,420.51 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,092.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.84 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.21 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 125.56 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 278.71 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 95.63 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กุ้งกุลาดำ ราคาโน้มสูงขึ้นเพราะประเทศคู่แข่งประสบปัญหาในการผลิต
ราคากุ้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2541 ได้ตกต่ำลงมาก สาเหตุมาจากช่วงต้นปีราคาอยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งกันมากขึ้น และมีการขยายแหล่งเพาะเลี้ยงไปยังพื้นที่น้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่นาข้าวและพื้นที่เกษตรดั้งเดิม จนเกิดปัญหาระหว่างเกษตรกร 2 ฝ่าย และรัฐบาลได้ประกาศห้ามทำการเลี้ยงในที่สุด เมื่อครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 120 วัน วันที่ 4 ธันวาคม 2541 เกษตรกรได้เร่งจับกุ้งทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าปกติ ขณะที่ตลาดส่งออกที่สำคัญ ทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้ลดปริมาณการนำเข้าจากไทยลงด้วย ส่งผลให้ราคาในประเทศตกต่ำลง กล่าวคือ ราคาที่เกษตรกรขายได้ กุ้งขนาด 31-40 ตัว/กก. จากที่เคยขายได้ กิโลกรัมละ 333.75-445.75 บาท ในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2541 ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นกิโลกรัมละ 202.40 บาท ในเดือนพฤศจิกายน
อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม ราคาได้ขยับตัวสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 230.00 บาท และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกในต้นปี 2542 ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้หันมานำเข้ากุ้งจากไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะสาเหตุคือ
1. สหรัฐอเมริกา แหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งที่สำคัญของประเทศ ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในช่วงไตรมาสแรกมีปริมาณลดลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับผู้นำเข้าของสหรัฐอเมริกามีความพอใจราคากุ้งที่ไทยเสนอขาย จึงมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ประเทศญี่ปุ่น ได้หันมาซื้อกุ้งไทยเพิ่มขึ้นแทนการซื้อจากอินเดีย เนื่องจากเห็นว่ากุ้งไทยราคาต่ำ เมื่อเทียบกับค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น
3. แหล่งผลิตที่สำคัญของโลก คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ขณะที่อินเดียลดปริมาณการเลี้ยง ประเทศผู้นำเข้าต่างๆ จึงหันมานำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.25 บาท สูงขึ้นจาก 34.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.07 บาท ลดลงจาก 52.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 301.00 บาท ลดลงจาก 313.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 265.00 บาท ลดลงจาก 270.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.63 บาท สูงขึ้นจาก 20.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจาก 29.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจาก 40.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท สูงขึ้นจาก 60.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.29 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.24 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 4.28 ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.30 บาท ลดลงจาก 17.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 18-24 ม.ค. 2542--