ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เสนอร่างหลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่มของ ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงนามในร่างหลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่มของ ธพ. โดยมีรายละเอียด
ในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่ม ทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ความเพียงพอ
ของการดำรงเงินกองทุน การกำกับความเสี่ยง และการกำหนดอัตราส่วนในการให้สินเชื่อ หรือลงทุนระหว่างบริษัท
ในเครือ โดยให้สถาบันการเงินได้ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างและเตรียมความพร้อม เพื่อให้สอด
คล้องกับหลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่ม โดยร่างหลักเกณฑ์นี้นำเสนอให้สถาบันการเงินแสดงความเห็นและข้อเสนอ
แนะก่อนที่ ธปท. จะนำไปปรับปรุง และให้มีการทดลองใช้ 1 ปี ก่อนที่จะนำออกใช้บังคับต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ,
ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, แนวหน้า)
2. ธปท.ระบุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดนไทย น.ส.จิตติมา คุปตานนท์ เศรษฐกรอาวุโส
ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นำเสนอบทความเกี่ยวกับการค้าชายแดนของไทยกับ
มาเลเซีย พม่า จีนตอนใต้ ลาวและกัมพูชา โดยระบุถึงปัญหาด้านการค้าและการชำระเงินในการค้าขายชายแดน
ของไทย ดังนี้ 1) เรื่องความไม่สะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการคมนาคมระหว่างประเทศที่สภาพของ
เส้นทางคับแคบ และไม่สะดวก รวมทั้งต้องใช้เวลาในการขนส่งนาน และมีต้นทุนค่าขนส่งสูง 2) ปัญหากฎระเบียบ
ประเทศคู่ค้าไม่เอื้อต่อการค้าขาย เพราะประเทศคู่ค้ายังมีปัญหาด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ และมีเงินสำรองระหว่าง
ประเทศระดับต่ำ ทำให้ประเทศมีกฎการนำเข้าสินค้าเข้มงวดเพื่อปกป้องดุลการค้าของตน 3) ปัญหาความไม่สงบ
ทางการเมืองของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะพม่าและกัมพูชา 4) ปัญหาการชำระเงินของไทยกับประเทศคู่ค้าชาย
แดน 4 ประเทศ คือ พม่า ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ ไทยมีปํญหาเรื่องกฎของประเทศคู่ค้าและปัญหาด้านสถาบัน
การเงินของประเทศคู่ค้าในทุกประเทศที่ค้าขายด้วย 5) ปัญหาเสถียรภาพค่าเงินปัจจุบัน (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ดัชนีอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 48 ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบต่อไตรมาส รองผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.จัดทำรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตร
มาส 2 ปี 48 พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมอยู่ที่ 140.03 ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบกับไตรมาสแรกที่อยู่ที่ 141.85
เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาภัยแล้ง โดยดัชนีอุตสาหกรรมที่ลดลงได้แก่ อุตสาหกรรม
น้ำตาล สิ่งทอ ปิโตรเคมี ขณะที่ดัชนีที่เพิ่มขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์ยาง แปรรูปอาหาร เหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก นอกจาก
นี้ ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมไตรมาส 3 และช่วงครึ่งปีหลัง ดัชนีอุตสาหกรรมจะกระเตื้องขึ้น เนื่องจาก
การปรับเพิ่มของค่าเงินหยวนจีน ทำให้มีโอกาสส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์
ของรัฐบาล ทำให้ผู้ผลิตต้องผลิตสินค้าเตรียมไว้ ตลอดจนนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่กระตุ้นการส่งออกเพิ่มขึ้น คาด
ว่าจะเห็นทิศทางการปรับตัวดีขึ้นในเดือน ก.ย.นี้ และทำให้มั่นใจว่า ช่วงครึ่งปีหลังภาคอุตสาหกรรมไทยจะขยายตัว
กว่าช่วงครึ่งปีแรก (กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง, แนวหน้า)
4. ก.ล.ต.สั่งแก้ไขงบการเงิน 8 บริษัทในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ จากการสำรวจข้อมูลของสำนัก
งานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ พบว่า ก.ล.ต.สั่งแก้ไขงบการ
เงิน 8 บริษัท ประกอบด้วย บ.ไทยฟิล์ม อินดัสตรี (TFI) บ.ปิกนิก คอร์ปอเรชั่น (PICNI) บ.พันธุ์สุกรไทย-
เดนมาร์ค (D-Mark) บ.ดาต้าแมท (DTM) บ.กฤษดามหานคร (KMC) บ.เซอร์คิท อีเลคโทรนิคส์ อินดัสตรีส์
(CIRKIT) บ.บางกอกแลนด์ (BLAND) ทั้งนี้ หลังจากที่ ก.ล.ต.สั่งแก้ไขงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชี
ของ ก.ล.ต.แล้ว พบว่า คณะกรรมการของบริษัทที่ถูกสั่งให้แก้ไขงบลาออกอย่างต่อเนื่อง โดย บริษัทที่ผู้บริหารลา
ออกมากที่สุด 5 ราย คือ บ.ดาต้าแมท (กรุงเทพธุรกิจ)
5. กรมธนารักษ์จะนำเหรียญ 2 บาทออกจ่ายแลก 400 ล้านเหรียญในวันที่ 26 ก.ย.นี้ อธิบดีกรม
ธนารักษ์ ก.คลัง เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์จะนำเหรียญ 2 บาทออกมาจ่ายแลกให้ครบ 400 ล้านเหรียญ ตาม
จำนวนการผลิตโดยในวันที่ 26 ก.ย.นี้ จะนำออกมาจ่ายแลกจำนวน 20 ล้านเหรียญ ซึ่งจากการประเมินแล้วว่า
การผลิตเหรียญดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน การผลิตเหรียญดังกล่าวก็เพื่อให้โครงสร้าง
ของการผลิตเหรียญที่ใช้ปัจจุบันสมดุลมากขึ้น โดยเฉพาะระหว่างเหรียญ 1 บาท และ 5 บาท ยังมีช่องว่างของ
ราคาเหรียญที่ใช้ทำให้จำนวนเหรียญบาทถูกใช้มากถึงร้อยละ 57.17 ของจำนวนเหรียญทั้งหมด ส่งผลให้เหรียญ
เสื่อมสภาพเร็ว ขาดความสวยงาม และมีความเสี่ยงในการบริหารการผลิต ทำให้ต้นทุนสูง นอกจากนี้ ยังมีแผนจะ
ผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกในปีงบประมาณ 49 จำนวน 8 เหรียญ (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ที่ประชุมผู้ว่าการธนาคารกลางเป็นห่วงราคาน้ำมันอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโลก รายงานจากบา
เซิล สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ 11 ก.ย.48 ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงกว่า 70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ก่อนที่จะอ่อนตัวลงมาปิดที่ 64 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนแคทริ
นาใน สรอ.และการรับมือกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นร้อยละ 60 ในช่วงปีที่ผ่านมาจากความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นของ
ประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้กลายเป็นหัวข้อสำคัญในการสัมมนาของผู้
ว่าการธนาคารกลางจากทั่วโลกในขณะนี้ โดย รมต.คลังของประเทศในสหภาพยุโรปและผู้ว่าการธนาคารกลาง
ยุโรปได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องราคาน้ำมันในระยะยาว โดยกระตุ้นให้ประเทศผู้ผลิตเพิ่มกำลังการผลิต
น้ำมัน นำรายได้ส่วนเกินมาลงทุนในการสำรวจหาแหล่งน้ำมันใหม่ เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันต่อตลาดและลงทุน
เพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นรวมถึงการสำรวจหาแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ รมต.คลังของประเทศในสหภาพ
ยุโรปคาดว่าปริมาณความต้องการน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 ในอีก 20 ปีข้างหน้าและราคาน้ำมันอาจสูงขึ้นถึง
100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันเริ่มส่งผลกระทบทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลงซึ่งจะส่งผล
กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในที่สุด (รอยเตอร์)
2. รายได้จากภาษีของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือน ส.ค.48 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ
10 ก.ย.48 ก.คลัง เปิดเผยว่า รายได้จากภาษีของรัฐบาลเยอรมนีในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เทียบ
ต่อปี ซึ่งโฆษก ก.คลังได้เปิดเผยใน The Handelsblatt business daily ว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้ดัง
กล่าวเป็นการปรับตัวดีขึ้นในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้ที่
ทำให้สรุปได้ว่าภาวะเศรษฐกิจของเยอรมนีกำลังปรับตัวดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 2/48 ขยายตัวร้อยละ 0.8 รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศ
ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 12 ก.ย.48 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 48 ขยายตัวร้อยละ 0.8 สูงกว่าที่ประมาณการ
เบื้องต้นไว้ที่ระดับร้อยละ 0.3 และสูงกว่าผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ
0.4 นับเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ในขณะที่จีดีพีเทียบต่อปีขยายตัวร้อยละ 3.3 เทียบกับตัวเลขที่
ประมาณการเบื้องต้นไว้ที่ระดับร้อยละ 1.1 และนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5 โดยมีปัจจัยสนับ
สนุนจากการใช้จ่ายเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากไตรมาสก่อน และการบริโภคภาคเอกชนที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อย
ละ 55 ของจีดีพี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อน รวมถึงการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวจากการชะลอตัวลงเมื่อปีก่อนจากการที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น
ช่วยชดเชยกับการส่งออกที่ชะลอตัวลงชั่วคราว โดยบริษัทญี่ปุ่นมีผลกำไรสูงขึ้นเป็นตัวเลขสองหลักและเพิ่มการลงทุน
มากขึ้น ทำให้มีการจ้างงานและการจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัย
เสี่ยงสำคัญประการหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นคือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อ
เนื่องจนส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของญี่ปุ่น อาทิ สรอ. (รอยเตอร์)
4. เดือน ก.ค.48 ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียวเมื่อ 12 ก.ย.48 ก.คลังเปิดเผยว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค.48 เกินดุลจำนวน
1.6498 ล้านล้านเยน (15.09 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อปี เหนือความคาดหมายของ
ตลาดซึ่งคาดว่าจะลดลงร้อยละ 3.5 เหลือจำนวน 1.5800 ล้านล้านเยน ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือน ดุลบัญชีเดิน
สะพัดเกินดุลลดลงร้อยละ 9.0 สำหรับยอดเกินดุลการค้าในเดือนเดียวกันมีจำนวน 1.0448 ล้านล้านเยน ลดลง
ร้อยละ 21.4 เทียบต่อปี โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 (รอยเตอร์)
5. การส่งออกในเดือนส.ค. ของจีนอาจจะแข็งแกร่งมากกว่าคาดไว้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่
10 ก.ย. 48 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่าในเดือนส.ค. การส่งออกของจีนมีมูลค่า 68.16 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยาย
ตัวจากระยะเดียวกันปีที่แล้วที่มีมูลค่าการส่งออก 51.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 32.6 มากกว่า
ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 7 คนของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงร้อยละ
27.5 ชะลอลงจากร้อยละ 28.7 ในเดือนก.ค. และร้อยละ 30.6 ในเดือนมิ.ย. ส่วนหนึ่งเป็นการส่งออกสินค้าที่
ใช้เทคโนโลยีสูง (high-tech) ที่มีสัดส่วนร้อยละ 27.1 ของมูลการการส่งออกสุทธิ โดยในช่วงเดือนม.ค.-ส.
ค.มีมูลค่าการส่งออก 129.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เพื่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 32.9 สำหรับการนำ
เข้าสินค้า high-tech มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 120.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่ทางการมิได้เปิดเผยสัดส่วนการนำ
เข้าสินค้าดังกล่าวต่อการนำเข้าสุทธิ ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ของจีนมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการนำเข้าของจีนในสัปดาห์
หน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ก.ย. 48 8 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.993 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8167/41.1063 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27361 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 715.08/ 23.69 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,600/8,700 8,600/8,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.92 55.93 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.94*/23.39 26.94*/23.39 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 4 ก.ย. 48