คำนำ
อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมประกอบ ยานยนต์ ทั้งนี้เพราะการที่จะประกอบรถยนต์หนึ่งคันจะต้องใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบกันไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ชิ้น แบ่งออกเป็นชิ้นส่วนสำหรับการขับเคลื่อน ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ชิ้นส่วนที่เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวก รวมทั้งชิ้นส่วนประกอบการตกแต่งเพื่อความสวยงาม เป็นต้น
การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ชนิดต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกหลายสาขา เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง ยาง กระจกและพลาสติก เป็นต้น มีผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการนำเอาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงขึ้นรวมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
การผลิต
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เกิดขึ้น เมื่อประเทศไทยเริ่มนำเข้ารถยนต์มาใช้ในประเทศมีผลให้มีความต้องการชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อซ่อมแซมหรือทดแทนชิ้นส่วนบางอย่างที่ชำรุด โดยในระยะแรกเป็นการผลิตโดยโรงซ่อมแซมและโรงกลึงเล็ก ๆ ด้วยการนำเอาวัตถุดิบที่สามารถหาได้จากภายในประเทศ มาผลิตตามแบบชิ้นส่วนของต่างประเทศซึ่งเป็นการผลิตชิ้นต่อชิ้นตามลูกค้าต้องการ ต่อมา เมื่อการใช้รถยนต์มีปริมาณมากขึ้นจึงมีผู้ประกอบการลงทุนผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ออกจำหน่ายในลักษณะอะหลั่ยเทียมโดยมิได้คำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานมากนัก จนกระทั่งหลังจากปี 2504 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สนใจเข้ามาลงทุนดำเนินกิจการประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ด้วยการนำเข้าสิ้นส่วนและอุปกรณ์จากบริษัทแม่ในต่างประเทศ เข้ามาประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูป ต่อมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้สิทธิพิเศษเพื่อจูงใจมากขึ้น ด้วยการลดหย่อนภาษีนำเข้าชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และภาษีการค้าแก่ผู้ประกอบการรถยนต์ มีผลให้มีนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานประกอบรถยนต์เพิ่มขึ้น
ในปี 2514 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศนโยบายกำหนดให้รถยนต์ที่ประกอบภายในประเทศต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้จากภายในประเทศในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าส่วนประกอบทั้งคันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2526 ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อป้อนให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ นอกจากนี้ รัฐบาลได้พยายามคุ้มครองอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ด้วยมาตรการต่าง ๆ มาตามลำดับ โดยในปี 2521 ได้ประกาศห้ามนำเข้ารถยนต์นั่งสำเร็จรูปทุกประเภท (ในปี 2528 อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์นั่งสำเร็จรูปที่มีขนาดเกิน 2,300 ซี.ซี. ได้ และต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 200) การบังคับใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 50 ภายใน 5 ปี โดยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35 ใน 2 ปี แรก และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจนครบภายในเดือนสิงหาคม 2526 ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการจำกัดรุ่นและแบบของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศอีก เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนไม่ต้องผลิตชิ้นส่วนมากแบบและสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ทำให้ราคาชิ้นส่วนถูกลง
ในปี 2532 กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ประสบปัญหาการผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาดเนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องกำลังการผลิตและการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ไม่ทันกับความต้องการของโรงงานประกอบรถยนต์ส่งผลให้ราคาจำหน่ายรถยนต์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2534 รัฐบาลได้นำนโยบายการนำเข้ารถยนต์โดยเสรี มาใช้ด้วยการยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้ารถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 2,300 ซี.ซี. และลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากร้อยละ 112 ลดเหลือร้อยละ 20 ทำให้ผู้ประกอบรถยนต์บางรายหันมานำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปแทนการประกอบภายในประเทศส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ในประเทศโดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยและผู้ที่ไม่มีสายสัมพันธ์กับโรงงานประกอบรถยนต์
การที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ด้วยมาตรการ ต่าง ๆ ประกอบกับความต้องการใช้รถยนต์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมีผลให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนรวมทั้งการลงทุนของชาวไทยด้วย
การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ในประเทศไทย ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการร่วมลงทุนกับนักลงทุนต่างประเทศ ส่วนการลงทุนของคนไทยมีเป็นจำนวนน้อย ทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้กันมากขึ้น รวมทั้งมีการส่งวิศวกรและช่างฝีมือไปฝึกอบรมและดูงานด้านการผลิตในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง การที่มีนักลงทุนจากต่างประเทศขยายฐานการผลิตเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้นย่อมเป็นผลดีต่อประเทศไทย ทั้งในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการซื้อขายและขยายการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศกว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นต้น การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. ผู้ผลิตที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อป้อนตลาดโรงงานประกอบยานยนต์ หรือตลาด OEM (Original Equipment Manufacturer) ปัจจุบันมีผู้ผลิตในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 148 รายหรือประมาณร้อยละ 40 ของจำนวนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด
2. ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อป้อนตลาดอะหลั่ยโดยตรง (ตลาด REM : Replacement Equipment Manufacturer) มีจำนวนผู้ประกอบการประมาณ 76 ราย หรือประมาณร้อยละ 20 ซึ่งชิ้นส่วนยานยนต์เหล่านี้จะมียี่ห้อที่เป็นของตนเอง
3. ผู้ผลิตชิ้นส่วนซึ่งส่งต่อให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนอื่น ๆ เพื่อนำไปประกอบอีกทอดหนึ่ง ไม่ได้ขายให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์โดยตรง ปัจจุบันมีผู้ผลิตทั้งสิ้น 124 รายหรือประมาณร้อยละ 33
4. ชิ้นส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกโดยตรงมีผู้ประกอบการประมาณ 26 ราย หรือประมาณ ร้อยละ 7
การตลาด
ตลาดภายในประเทศ
การจำหน่ายชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ในประเทศแบ่งออกเป็นสองตลาดคือ
- ตลาดสำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ เป็นตลาดขนาดใหญ่ซึ่งจะมีอัตราการขยายตัวตามการเติบโตของตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและตลาดส่งออก
- ตลาดสำหรับการทดแทน โดยใช้เป็นชิ้นส่วนแทนที่ชิ้นส่วนที่มีการสึกหรอตามอายุการใช้งาน ซึ่งแต่ละชิ้นมีอายุการใช้งานต่างกันไป จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ตลาดต่างประเทศ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยได้พัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพสินค้าเป็นที่ ยอมรับในตลาดโลก ทำให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศได้เป็นมูลค่าสูงในแต่ละปีโดยชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ส่งออกของไทยแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ด้วยกันดังนี้
- ยางยานพาหนะ ประกอบด้วยยางนอกชนิดอัดลมทั้งที่เป็นของใหม่และหล่อดอกใหม่ รวมทั้งยางในสำหรับยานพาหนะต่าง ๆ มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่า 4,191.9 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 4,843.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และปี 2539 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 6,320.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ตลาดส่งออกสำคัญตามสัดส่วนการส่งออกในปี 2539 ได้แก่ สหภาพยุโรป ร้อยละ 30.3 สหรัฐ-อเมริกา ร้อยละ 11 อาเซียน ร้อยละ 9.6 ญี่ปุ่น ร้อยละ 2.8 พม่า ร้อยละ 6.1 ปากีสถาน ร้อยละ 3.6 และตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 36.6 เช่น ออสเตรเลีย ไต้หวัน ลาว กัมพูชา และสหรัฐอาหรับอิมิเรต
- ชุดสายไฟรถยนต์ ในช่วงปี 2537-2539 มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันในบางปี คือในปี 2537 มีมูลค่าส่งออก 6,967.8 ล้านบาท ปี 2538 ลดลงเล็กน้อย 6,826 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2 และปี 2539 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 7,599.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ตลาดส่งออกที่สำคัญตามลำดับสัดส่วนการส่งออกในปี 2539 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 61.4 เบลเยี่ยม ร้อยละ 33.5 ญี่ปุ่น ร้อยละ 3.3 ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 1.8 เป็นตลาดอื่น ๆ
- ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ชนิดต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่ กันชน เข็มขัดนิรภัย เบรค ผ้าเบรก กระปุกเกียร์ เพลา พวงมาลัย โช๊กอับ และหม้อน้ำ เป็นต้น ในช่วงปี 2537-2539 มีมูลค่าการส่งออกลดลงตามลำดับ ในปี 2537 มีมูลค่า 9,630.9 ล้านบาท ปี 2538 ลดลงเหลือเพียง 3,461.5 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 64.1 และปี 2539 ส่งออกลดลงอีกเล็กน้อยเป็นมูลค่า 3,128.5 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.6 ตลาดส่งออกที่สำคัญตามลำดับ สัดส่วนการส่งออกในปี 2539 ได้แก่ อาเซียน ร้อยละ 28.1 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 26.2 ญี่ปุ่น ร้อยละ 14.2 และสหภาพยุโรป ร้อยละ 11.7 และตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 19.8
ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออก
- ต้องแข่งขัน กับประเทศคู่แข่งขันที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงกว่า
- การส่งออก ไปยังตลาดต่าง ๆ นั้น ถูกกำหนดโดยบริษัทแม่ที่มาร่วมทุนในประเทศไทย หากบริษัทแม่นั้นย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ ไทยก็ต้องเสียตลาดส่งออกดังกล่าวไป
แนวโน้มการส่งออก
แนวโน้มการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับความต้องการใน สินค้านี้ยังคงมีเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นส่วนหนึ่งของการใช้รถยนต์ ต้องมีการเปลี่ยนใหม่เมื่อหมดอายุการใช้งาน นอกจากนี้กรมส่งเสริมการส่งออกยังได้พยายามผลักดันให้สามารถส่งออกได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกจัดงานแสดงสินค้าในประเทศและให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ ในงานแสดงสินค้าดังกล่าวในต่างประเทศ (Information Stand) เป็นต้น
บทบาทของรัฐกับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้เจริญเติบโตทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถสรุปได้เป็น 3 ส่วนคือ
1. การกำหนดการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมีข้อกำหนด การใช้ Local Content ของรถยนต์ชนิดต่าง ๆ ดังนี้คือ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 54
- รถยนต์บรรทุกเล็ก ต้องใช้ชิ้นส่วนตามรายการที่กำหนด และต้องใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตในประเทศ
- รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ ต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 40-50 แล้วแต่ชนิดของรถ
- รถจักรยานยนต์ ต้องใช้ชิ้นส่วนตามรายการที่กำหนดและต้องใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตในประเทศ
2. นโยบายการส่งเสริมการลงทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุนกำหนดให้อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมที่ให้การส่งเสริม โดยได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรทั้งทางด้านภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้กิจการที่ได้รับส่งเสริมต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศด้วย เช่นการผลิตเครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ
3. นโยบายทางด้านภาษีอากรโดยกำหนดให้อัตราอากรขาเข้าสำหรับการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป มีอัตราสูงกว่า อัตรานำเข้าชิ้นส่วนเข้ามาประกอบ โดยอัตรานำเข้า รถยนต์สำเร็จรูปมีอัตราระหว่างร้อยละ 40-68.5 ขึ้นอยู่กับชนิดของรถ ส่วนอัตราการนำเข้า ชิ้นส่วนมีอัตราประมาณร้อยละ 20
นอกจากนี้รัฐบาลได้มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของอาเซียน โดยพยายามส่งเสริมและชักจูงให้ผู้ประกอบการรถยนต์จากประเทศต่าง ๆ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เพราะต้นทุนการผลิตในประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ค่อนข้างสูงและขาดแคลนแรงงาน ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์จากต่างประเทศย้ายฐานการผลิตมายังกลุ่มอาเซียนมากขึ้น และประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเพราะมีความพร้อมกว่าประเทศอื่น ๆ จึงคาดว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยมากขึ้น และจะทำให้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยมีศักยภาพสูง สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ--จบ
ที่มา : กองข้อมูลการค้า
กรมส่งเสริมการส่งออก
มีนาคม 2540
อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมประกอบ ยานยนต์ ทั้งนี้เพราะการที่จะประกอบรถยนต์หนึ่งคันจะต้องใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบกันไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ชิ้น แบ่งออกเป็นชิ้นส่วนสำหรับการขับเคลื่อน ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ชิ้นส่วนที่เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวก รวมทั้งชิ้นส่วนประกอบการตกแต่งเพื่อความสวยงาม เป็นต้น
การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ชนิดต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกหลายสาขา เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง ยาง กระจกและพลาสติก เป็นต้น มีผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการนำเอาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงขึ้นรวมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
การผลิต
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เกิดขึ้น เมื่อประเทศไทยเริ่มนำเข้ารถยนต์มาใช้ในประเทศมีผลให้มีความต้องการชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อซ่อมแซมหรือทดแทนชิ้นส่วนบางอย่างที่ชำรุด โดยในระยะแรกเป็นการผลิตโดยโรงซ่อมแซมและโรงกลึงเล็ก ๆ ด้วยการนำเอาวัตถุดิบที่สามารถหาได้จากภายในประเทศ มาผลิตตามแบบชิ้นส่วนของต่างประเทศซึ่งเป็นการผลิตชิ้นต่อชิ้นตามลูกค้าต้องการ ต่อมา เมื่อการใช้รถยนต์มีปริมาณมากขึ้นจึงมีผู้ประกอบการลงทุนผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ออกจำหน่ายในลักษณะอะหลั่ยเทียมโดยมิได้คำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานมากนัก จนกระทั่งหลังจากปี 2504 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สนใจเข้ามาลงทุนดำเนินกิจการประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ด้วยการนำเข้าสิ้นส่วนและอุปกรณ์จากบริษัทแม่ในต่างประเทศ เข้ามาประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูป ต่อมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้สิทธิพิเศษเพื่อจูงใจมากขึ้น ด้วยการลดหย่อนภาษีนำเข้าชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และภาษีการค้าแก่ผู้ประกอบการรถยนต์ มีผลให้มีนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานประกอบรถยนต์เพิ่มขึ้น
ในปี 2514 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศนโยบายกำหนดให้รถยนต์ที่ประกอบภายในประเทศต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้จากภายในประเทศในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าส่วนประกอบทั้งคันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2526 ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อป้อนให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ นอกจากนี้ รัฐบาลได้พยายามคุ้มครองอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ด้วยมาตรการต่าง ๆ มาตามลำดับ โดยในปี 2521 ได้ประกาศห้ามนำเข้ารถยนต์นั่งสำเร็จรูปทุกประเภท (ในปี 2528 อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์นั่งสำเร็จรูปที่มีขนาดเกิน 2,300 ซี.ซี. ได้ และต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 200) การบังคับใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 50 ภายใน 5 ปี โดยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35 ใน 2 ปี แรก และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจนครบภายในเดือนสิงหาคม 2526 ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการจำกัดรุ่นและแบบของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศอีก เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนไม่ต้องผลิตชิ้นส่วนมากแบบและสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ทำให้ราคาชิ้นส่วนถูกลง
ในปี 2532 กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ประสบปัญหาการผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาดเนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องกำลังการผลิตและการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ไม่ทันกับความต้องการของโรงงานประกอบรถยนต์ส่งผลให้ราคาจำหน่ายรถยนต์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2534 รัฐบาลได้นำนโยบายการนำเข้ารถยนต์โดยเสรี มาใช้ด้วยการยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้ารถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 2,300 ซี.ซี. และลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากร้อยละ 112 ลดเหลือร้อยละ 20 ทำให้ผู้ประกอบรถยนต์บางรายหันมานำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปแทนการประกอบภายในประเทศส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ในประเทศโดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยและผู้ที่ไม่มีสายสัมพันธ์กับโรงงานประกอบรถยนต์
การที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ด้วยมาตรการ ต่าง ๆ ประกอบกับความต้องการใช้รถยนต์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมีผลให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนรวมทั้งการลงทุนของชาวไทยด้วย
การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ในประเทศไทย ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการร่วมลงทุนกับนักลงทุนต่างประเทศ ส่วนการลงทุนของคนไทยมีเป็นจำนวนน้อย ทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้กันมากขึ้น รวมทั้งมีการส่งวิศวกรและช่างฝีมือไปฝึกอบรมและดูงานด้านการผลิตในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง การที่มีนักลงทุนจากต่างประเทศขยายฐานการผลิตเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้นย่อมเป็นผลดีต่อประเทศไทย ทั้งในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการซื้อขายและขยายการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศกว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นต้น การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. ผู้ผลิตที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อป้อนตลาดโรงงานประกอบยานยนต์ หรือตลาด OEM (Original Equipment Manufacturer) ปัจจุบันมีผู้ผลิตในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 148 รายหรือประมาณร้อยละ 40 ของจำนวนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด
2. ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อป้อนตลาดอะหลั่ยโดยตรง (ตลาด REM : Replacement Equipment Manufacturer) มีจำนวนผู้ประกอบการประมาณ 76 ราย หรือประมาณร้อยละ 20 ซึ่งชิ้นส่วนยานยนต์เหล่านี้จะมียี่ห้อที่เป็นของตนเอง
3. ผู้ผลิตชิ้นส่วนซึ่งส่งต่อให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนอื่น ๆ เพื่อนำไปประกอบอีกทอดหนึ่ง ไม่ได้ขายให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์โดยตรง ปัจจุบันมีผู้ผลิตทั้งสิ้น 124 รายหรือประมาณร้อยละ 33
4. ชิ้นส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกโดยตรงมีผู้ประกอบการประมาณ 26 ราย หรือประมาณ ร้อยละ 7
การตลาด
ตลาดภายในประเทศ
การจำหน่ายชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ในประเทศแบ่งออกเป็นสองตลาดคือ
- ตลาดสำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ เป็นตลาดขนาดใหญ่ซึ่งจะมีอัตราการขยายตัวตามการเติบโตของตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและตลาดส่งออก
- ตลาดสำหรับการทดแทน โดยใช้เป็นชิ้นส่วนแทนที่ชิ้นส่วนที่มีการสึกหรอตามอายุการใช้งาน ซึ่งแต่ละชิ้นมีอายุการใช้งานต่างกันไป จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ตลาดต่างประเทศ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยได้พัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพสินค้าเป็นที่ ยอมรับในตลาดโลก ทำให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศได้เป็นมูลค่าสูงในแต่ละปีโดยชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ส่งออกของไทยแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ด้วยกันดังนี้
- ยางยานพาหนะ ประกอบด้วยยางนอกชนิดอัดลมทั้งที่เป็นของใหม่และหล่อดอกใหม่ รวมทั้งยางในสำหรับยานพาหนะต่าง ๆ มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในปี 2537 ส่งออกได้มูลค่า 4,191.9 ล้านบาท ปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 4,843.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และปี 2539 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 6,320.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ตลาดส่งออกสำคัญตามสัดส่วนการส่งออกในปี 2539 ได้แก่ สหภาพยุโรป ร้อยละ 30.3 สหรัฐ-อเมริกา ร้อยละ 11 อาเซียน ร้อยละ 9.6 ญี่ปุ่น ร้อยละ 2.8 พม่า ร้อยละ 6.1 ปากีสถาน ร้อยละ 3.6 และตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 36.6 เช่น ออสเตรเลีย ไต้หวัน ลาว กัมพูชา และสหรัฐอาหรับอิมิเรต
- ชุดสายไฟรถยนต์ ในช่วงปี 2537-2539 มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันในบางปี คือในปี 2537 มีมูลค่าส่งออก 6,967.8 ล้านบาท ปี 2538 ลดลงเล็กน้อย 6,826 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2 และปี 2539 เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 7,599.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ตลาดส่งออกที่สำคัญตามลำดับสัดส่วนการส่งออกในปี 2539 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 61.4 เบลเยี่ยม ร้อยละ 33.5 ญี่ปุ่น ร้อยละ 3.3 ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 1.8 เป็นตลาดอื่น ๆ
- ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ชนิดต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่ กันชน เข็มขัดนิรภัย เบรค ผ้าเบรก กระปุกเกียร์ เพลา พวงมาลัย โช๊กอับ และหม้อน้ำ เป็นต้น ในช่วงปี 2537-2539 มีมูลค่าการส่งออกลดลงตามลำดับ ในปี 2537 มีมูลค่า 9,630.9 ล้านบาท ปี 2538 ลดลงเหลือเพียง 3,461.5 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 64.1 และปี 2539 ส่งออกลดลงอีกเล็กน้อยเป็นมูลค่า 3,128.5 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.6 ตลาดส่งออกที่สำคัญตามลำดับ สัดส่วนการส่งออกในปี 2539 ได้แก่ อาเซียน ร้อยละ 28.1 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 26.2 ญี่ปุ่น ร้อยละ 14.2 และสหภาพยุโรป ร้อยละ 11.7 และตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 19.8
ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออก
- ต้องแข่งขัน กับประเทศคู่แข่งขันที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงกว่า
- การส่งออก ไปยังตลาดต่าง ๆ นั้น ถูกกำหนดโดยบริษัทแม่ที่มาร่วมทุนในประเทศไทย หากบริษัทแม่นั้นย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ ไทยก็ต้องเสียตลาดส่งออกดังกล่าวไป
แนวโน้มการส่งออก
แนวโน้มการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับความต้องการใน สินค้านี้ยังคงมีเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นส่วนหนึ่งของการใช้รถยนต์ ต้องมีการเปลี่ยนใหม่เมื่อหมดอายุการใช้งาน นอกจากนี้กรมส่งเสริมการส่งออกยังได้พยายามผลักดันให้สามารถส่งออกได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกจัดงานแสดงสินค้าในประเทศและให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ ในงานแสดงสินค้าดังกล่าวในต่างประเทศ (Information Stand) เป็นต้น
บทบาทของรัฐกับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้เจริญเติบโตทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถสรุปได้เป็น 3 ส่วนคือ
1. การกำหนดการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมีข้อกำหนด การใช้ Local Content ของรถยนต์ชนิดต่าง ๆ ดังนี้คือ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 54
- รถยนต์บรรทุกเล็ก ต้องใช้ชิ้นส่วนตามรายการที่กำหนด และต้องใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตในประเทศ
- รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ ต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 40-50 แล้วแต่ชนิดของรถ
- รถจักรยานยนต์ ต้องใช้ชิ้นส่วนตามรายการที่กำหนดและต้องใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตในประเทศ
2. นโยบายการส่งเสริมการลงทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุนกำหนดให้อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมที่ให้การส่งเสริม โดยได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรทั้งทางด้านภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้กิจการที่ได้รับส่งเสริมต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศด้วย เช่นการผลิตเครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ
3. นโยบายทางด้านภาษีอากรโดยกำหนดให้อัตราอากรขาเข้าสำหรับการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป มีอัตราสูงกว่า อัตรานำเข้าชิ้นส่วนเข้ามาประกอบ โดยอัตรานำเข้า รถยนต์สำเร็จรูปมีอัตราระหว่างร้อยละ 40-68.5 ขึ้นอยู่กับชนิดของรถ ส่วนอัตราการนำเข้า ชิ้นส่วนมีอัตราประมาณร้อยละ 20
นอกจากนี้รัฐบาลได้มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของอาเซียน โดยพยายามส่งเสริมและชักจูงให้ผู้ประกอบการรถยนต์จากประเทศต่าง ๆ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เพราะต้นทุนการผลิตในประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ค่อนข้างสูงและขาดแคลนแรงงาน ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์จากต่างประเทศย้ายฐานการผลิตมายังกลุ่มอาเซียนมากขึ้น และประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเพราะมีความพร้อมกว่าประเทศอื่น ๆ จึงคาดว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยมากขึ้น และจะทำให้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยมีศักยภาพสูง สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ--จบ
ที่มา : กองข้อมูลการค้า
กรมส่งเสริมการส่งออก
มีนาคม 2540