นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปรายฯว่า การอภิปรายวันนี้เป็นไปเพื่อให้การใช้จ่ายเงินภาษีทุกบาท ส่งผลประโยชน์ ต่อประชาชนโดยรวมมากที่สุด
โดยพรรคเห็นด้วยกับนโยบายการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคของรัฐบาล แต่เป็นที่เสียใจที่รัฐบาลไม่ได้ลงทุนในโครงการต่างๆ ในช่วง4 ปีที่ ผ่านมา อย่างไรก็ตามเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งรัดการลงทุนในส่วนสาธารณูปโภคต่างๆ แต่ยังมีส่งที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือแง่ผลกระทบในภาคเศรษฐกิจโดยรวม ที่จะเกิดขึ้นจากการระดมทุนมหาศาล เพื่อนำมาลงทุนในโครงการต่างๆ
ซึ่งขณะนี้รัฐเก็บภาษีได้เพิ่มขื้น จนนำมาสู่การเสนอใช้ในงบใช้จ่ายเพิ่มเติม จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวลว่าการนำมาใช้ตามข้อเสนอของรัฐบาลนั้น มีความเหมาะสมหรือไม่ จึงขอตั้งขอสังเกตุ 3 ประการ ประการแรก ในส่วนของที่มาของภาษีที่รัฐเก็บได้เพิ่ม ประการที่ 2 ในส่วนของสมมติฐานสำคัญของรัฐบาล ที่นำมาสู่การใช้งบเพิ่มเติม และสุดท้ายคือความหละหลวมในรูปแบบของการเสนอโครงการและความละหลวมของการวัดผลของการใช้เงินตามข้อเสนอของรัฐบาล
นายกรณ์ กล่าวว่าการก็บภาษีเพิ่มของรัฐบาลประมาณ 5 หมื่นล้านในปี 2548 ซึ่งเป็นการจัดเก็บในช่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ลดลง จากประมาณการเดิม จึงมีความกังวลว่าภาษีที่เก็บได้เพิ่มในช่วงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น หมายถึงภาระของประชาชนต้องเสียภาษีมากขึ้น จึงนำไปสู่ความข้องใจว่าในขณะที่ภาษีของกรมสรรพากรเก็บได้เพิ่ม เกือบ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มกว่า 3 หมื่นล้าน นายกรณ์ กล่าวต่อว่า อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องมาจากการขยายตัวของการบริโภค แต่กรมสรรพสามิตไม่สามารถเก็บภาษีได้เกินเป้าเลย ตรงนี้จึงเห็นได้ว่าไม่มีความสอดคล้องกัน
ส.ส.กทม. กล่าวว่า ส่วนความกังวลในเรื่องสมมุติฐานของรัฐบาล เบื้องต้นตนขอย้ำในเรื่องการใช้ภาษีที่เก็บได้เกินเป้ามาชำระหนี้ของกองทุนน้ำมัน จึงขอย้ำในหลักการว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากราคาต่ำกว่าความเป็นจริงไม่ควรผลักภาระ ให้กับผู้ที่ต้องเสียภาษีในอนาคต และถ้ารัฐบาลไม่นำภาษีในส่วนที่เก็บได้เพิ่มเติมนั้น ไปใช้ในการชำระหนี้กองทุนน้ำมัน ก็เสมือนกับว่างบประมาณปี 48 ขาดดุล ในระดับที่สูงถึง 6 หมื่นบาท หรือ 0.7% ของจีดีพี
ส.ส.กทม. กล่าวต่อว่าสมมุติฐานที่สำคัญของรัฐบาล คืออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ถึงแม้ว่ามีการปรับลดลงแล้ว ก็ยังอยู่ในระดับที่สูง สูงกว่าประมาณการของสำนักวิจัยทั่วไป ที่มองการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย การอัดฉีดเงิน 5 หมื่นล้านบาทเข้าไปในระบบย่อมมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทาง สสค. ประเมิณว่าจะมีผลถึง 04 % ของจีดีพี ซึ่งกรณีนี้อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งของเหตุผลของรัฐบาล ที่เร่งรัดให้มีการจัดงบประมาณเพิ่มในส่วนนี้ เพราะเกรงว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจะต่ำกว่าประมาณการเดิมมากเกินไป
นายกรณ์ กล่าวว่า นโยบายการอัดฉีดอันตรายต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการใช้งบประมาณที่ไม่ได้นำมาสู่การเสริมสร้างทรัพย์สินเพื่อนำมาซึ่งรายได้ในอนาคต แต่เป็นเพียงการใช้งบเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเหมือน4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นทีทราบดีว่าตามทฤษฎีนั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจมีน้อยกว่าการกระตุ้นการบริโภค แทนที่นำเงินส่วนนั้นลงทุนในระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะการกระตุ้นการบริโภคในช่วงที่ราคาน้ำมันค่อนข้างสูงนั้น มีความเสี่ยงต่อดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด ตราลำดับ ซึ่งตนเชื่อว่าคณะรัฐมนตรีตระหนักดีถึงปัญหาบัญชีเดินสะพัดที่ประเทศกำลังประสบ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ย้ำให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ให้รักษาจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งการเน้นกับกระทรวงพาณิชย์ และผู้ส่งออก ให้ปรับเป้าหมายการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 13-15 % เป็น 20 %
ตนเคยตั้งข้อสังเกตุว่าอัตรการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ในช่วงปี 2547 ในระดับ 3.8 %นั้น เป็นอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลานั้นการค้าระหว่างประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 10 % ส่งผลโดยตรงต่อการส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 22% ในปี2547 แต่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีประเมิณว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 3.1 % ในปีนี้ ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศโดยรวมที่จะขยายตัวเพียงแค่ 7 % เพราะฉะนั้นการตั้งเป้าการขยายอัตราการส่งออกของประเทศไทยที่ 20 % จึงเป็นเป้าหมายที่ไม่ง่าย
เพราะ 20 % ก็เท่ากับการขยายตัวของจีดีพีสูงถึง 1.25 % และหากรัฐบาลสามารถผลักดันให้การขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 20 % จริงก็จะทำให้ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องดูลบัญชีเดินสะพัด นอกจากนั้นจะทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สำคัญมากในการที่จะนำไปลงทุนในโครงการในหลายปีข้างหน้า
ในเมื่อสมมติฐานที่สำคัญทั้ง 2 ประเด็นในแง่ของความสมดุลย์ของงบประมาณ และในแง่การขยายตัวของเศรษฐกิจ มีความคาดเคลื่อนก็น่าส่งผลให้ข้อสนอทั้งหมดมีความคาดเคลื่อนไปด้วย
ในความกังวลส่วนสุดท้ายคือความหละหลวมในรายละเอียดของดครงการตามที่เสนอ โดยเฉพาะตัวชี้วัดหรือวิธีการประเมินผล ของการใช้เงินของประชาชน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบ ในแง่ของการตอบแทนของการใช้งบประมาณของรัฐบาลว่าส่งผลต่อประชาชนตามที่คาดหวังหรือไม่
‘สรุปคืออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนไป ทำให้สมมุติฐานในแง่ของการขยายตัวของเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนไปด้วย สืบเนื่องจากตรงนั้น สมมุติฐานในแง่ของเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ในแง่ขอภาษีที่จะเก็บได้ในอนาคตก็สมควร จะเปลี่ยนแปลงตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นในส่วนของรายละเอียดของโครงการไม่สามารถทำให้เราประเมิณได้ ในแง่ของผลตอบแทนที่ประชาชนจะได้รับจากการใช้เงินส่วนนี้และตัวชี้วัดที่เสนอไม่มีความชัดเจน ทำให้การตรวจสอบทำได้ไม่เต็มที่ ว่าหลังจากการอนุมัตงบดังกล่าวไปแล้ว จะมีผลตามที่รัฐบาลให้คำมั่นสัญญาได้หรือไม่’ นายกรณ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-
โดยพรรคเห็นด้วยกับนโยบายการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคของรัฐบาล แต่เป็นที่เสียใจที่รัฐบาลไม่ได้ลงทุนในโครงการต่างๆ ในช่วง4 ปีที่ ผ่านมา อย่างไรก็ตามเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งรัดการลงทุนในส่วนสาธารณูปโภคต่างๆ แต่ยังมีส่งที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือแง่ผลกระทบในภาคเศรษฐกิจโดยรวม ที่จะเกิดขึ้นจากการระดมทุนมหาศาล เพื่อนำมาลงทุนในโครงการต่างๆ
ซึ่งขณะนี้รัฐเก็บภาษีได้เพิ่มขื้น จนนำมาสู่การเสนอใช้ในงบใช้จ่ายเพิ่มเติม จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวลว่าการนำมาใช้ตามข้อเสนอของรัฐบาลนั้น มีความเหมาะสมหรือไม่ จึงขอตั้งขอสังเกตุ 3 ประการ ประการแรก ในส่วนของที่มาของภาษีที่รัฐเก็บได้เพิ่ม ประการที่ 2 ในส่วนของสมมติฐานสำคัญของรัฐบาล ที่นำมาสู่การใช้งบเพิ่มเติม และสุดท้ายคือความหละหลวมในรูปแบบของการเสนอโครงการและความละหลวมของการวัดผลของการใช้เงินตามข้อเสนอของรัฐบาล
นายกรณ์ กล่าวว่าการก็บภาษีเพิ่มของรัฐบาลประมาณ 5 หมื่นล้านในปี 2548 ซึ่งเป็นการจัดเก็บในช่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ลดลง จากประมาณการเดิม จึงมีความกังวลว่าภาษีที่เก็บได้เพิ่มในช่วงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น หมายถึงภาระของประชาชนต้องเสียภาษีมากขึ้น จึงนำไปสู่ความข้องใจว่าในขณะที่ภาษีของกรมสรรพากรเก็บได้เพิ่ม เกือบ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มกว่า 3 หมื่นล้าน นายกรณ์ กล่าวต่อว่า อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องมาจากการขยายตัวของการบริโภค แต่กรมสรรพสามิตไม่สามารถเก็บภาษีได้เกินเป้าเลย ตรงนี้จึงเห็นได้ว่าไม่มีความสอดคล้องกัน
ส.ส.กทม. กล่าวว่า ส่วนความกังวลในเรื่องสมมุติฐานของรัฐบาล เบื้องต้นตนขอย้ำในเรื่องการใช้ภาษีที่เก็บได้เกินเป้ามาชำระหนี้ของกองทุนน้ำมัน จึงขอย้ำในหลักการว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากราคาต่ำกว่าความเป็นจริงไม่ควรผลักภาระ ให้กับผู้ที่ต้องเสียภาษีในอนาคต และถ้ารัฐบาลไม่นำภาษีในส่วนที่เก็บได้เพิ่มเติมนั้น ไปใช้ในการชำระหนี้กองทุนน้ำมัน ก็เสมือนกับว่างบประมาณปี 48 ขาดดุล ในระดับที่สูงถึง 6 หมื่นบาท หรือ 0.7% ของจีดีพี
ส.ส.กทม. กล่าวต่อว่าสมมุติฐานที่สำคัญของรัฐบาล คืออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ถึงแม้ว่ามีการปรับลดลงแล้ว ก็ยังอยู่ในระดับที่สูง สูงกว่าประมาณการของสำนักวิจัยทั่วไป ที่มองการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย การอัดฉีดเงิน 5 หมื่นล้านบาทเข้าไปในระบบย่อมมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทาง สสค. ประเมิณว่าจะมีผลถึง 04 % ของจีดีพี ซึ่งกรณีนี้อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งของเหตุผลของรัฐบาล ที่เร่งรัดให้มีการจัดงบประมาณเพิ่มในส่วนนี้ เพราะเกรงว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจะต่ำกว่าประมาณการเดิมมากเกินไป
นายกรณ์ กล่าวว่า นโยบายการอัดฉีดอันตรายต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการใช้งบประมาณที่ไม่ได้นำมาสู่การเสริมสร้างทรัพย์สินเพื่อนำมาซึ่งรายได้ในอนาคต แต่เป็นเพียงการใช้งบเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเหมือน4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นทีทราบดีว่าตามทฤษฎีนั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจมีน้อยกว่าการกระตุ้นการบริโภค แทนที่นำเงินส่วนนั้นลงทุนในระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะการกระตุ้นการบริโภคในช่วงที่ราคาน้ำมันค่อนข้างสูงนั้น มีความเสี่ยงต่อดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด ตราลำดับ ซึ่งตนเชื่อว่าคณะรัฐมนตรีตระหนักดีถึงปัญหาบัญชีเดินสะพัดที่ประเทศกำลังประสบ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ย้ำให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ให้รักษาจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งการเน้นกับกระทรวงพาณิชย์ และผู้ส่งออก ให้ปรับเป้าหมายการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 13-15 % เป็น 20 %
ตนเคยตั้งข้อสังเกตุว่าอัตรการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ในช่วงปี 2547 ในระดับ 3.8 %นั้น เป็นอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลานั้นการค้าระหว่างประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 10 % ส่งผลโดยตรงต่อการส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 22% ในปี2547 แต่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีประเมิณว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 3.1 % ในปีนี้ ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศโดยรวมที่จะขยายตัวเพียงแค่ 7 % เพราะฉะนั้นการตั้งเป้าการขยายอัตราการส่งออกของประเทศไทยที่ 20 % จึงเป็นเป้าหมายที่ไม่ง่าย
เพราะ 20 % ก็เท่ากับการขยายตัวของจีดีพีสูงถึง 1.25 % และหากรัฐบาลสามารถผลักดันให้การขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 20 % จริงก็จะทำให้ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องดูลบัญชีเดินสะพัด นอกจากนั้นจะทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สำคัญมากในการที่จะนำไปลงทุนในโครงการในหลายปีข้างหน้า
ในเมื่อสมมติฐานที่สำคัญทั้ง 2 ประเด็นในแง่ของความสมดุลย์ของงบประมาณ และในแง่การขยายตัวของเศรษฐกิจ มีความคาดเคลื่อนก็น่าส่งผลให้ข้อสนอทั้งหมดมีความคาดเคลื่อนไปด้วย
ในความกังวลส่วนสุดท้ายคือความหละหลวมในรายละเอียดของดครงการตามที่เสนอ โดยเฉพาะตัวชี้วัดหรือวิธีการประเมินผล ของการใช้เงินของประชาชน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบ ในแง่ของการตอบแทนของการใช้งบประมาณของรัฐบาลว่าส่งผลต่อประชาชนตามที่คาดหวังหรือไม่
‘สรุปคืออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนไป ทำให้สมมุติฐานในแง่ของการขยายตัวของเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนไปด้วย สืบเนื่องจากตรงนั้น สมมุติฐานในแง่ของเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ในแง่ขอภาษีที่จะเก็บได้ในอนาคตก็สมควร จะเปลี่ยนแปลงตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นในส่วนของรายละเอียดของโครงการไม่สามารถทำให้เราประเมิณได้ ในแง่ของผลตอบแทนที่ประชาชนจะได้รับจากการใช้เงินส่วนนี้และตัวชี้วัดที่เสนอไม่มีความชัดเจน ทำให้การตรวจสอบทำได้ไม่เต็มที่ ว่าหลังจากการอนุมัตงบดังกล่าวไปแล้ว จะมีผลตามที่รัฐบาลให้คำมั่นสัญญาได้หรือไม่’ นายกรณ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-