กรุงเทพ--25 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2541) มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจัดการแถลงข่าวผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2541 โดยมีศาสตราจารย์แพทย์หญิงชนิกา ตู้จินดา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิศิษฎ์ สิตปรีชา และนายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ เข้าร่วม ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปี 2541 นี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ รวมทั้งสิ้น 59 ราย จาก 31 ประเทศ
การพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กระทำโดยผ่านการกลั่นกรองของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการ (Scientfic Advisory Committee) ซึ่งมี ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ (International Award Committee) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นประธาน แล้วเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ โดยเสด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานตัดสินเป็นขั้นสุดท้าย
ผลการพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2541 ปรากฏดังนี้ สาขาการแพทย์
นายแพทย์ Rene Favaloro ศัลยแพทย์ชาวอาร์เจนตินา ซึ่งได้ศึกษาการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้กลับมีทางเดินไหลเวียนของกระแสโลหิตเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อีก นายแพทย์ Favaloro ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อทำงานที่ Cleveland Clinic ที่เมือง Cleveland รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา และต่อมาได้ไปตั้งมูลนิธิฟาวาโลโร เพื่อศึกษาโรคหัวใจที่เมืองบูเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา การผ่าตัด Cardiac Bypass Surgery ซึ่งนายแพทย์ Favaloro ได้ศึกษาและพัฒนาจนแสดงให้เห็นว่าสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ให้มีชีวิตยาวต่อไปโดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นอานิสงค์แก่ผู้ป่วยจำนวนมากมายในโลก
นายแพทย์ Harvey White เป็นอายุรแพทย์โรคหัวใจชาวนิวซีแลนด์ เป็นผู้ศึกษาและค้นคว้าการรักษาโรคหัวใจที่หลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด้วยวิธีฉีดเอ็นซัยม์ เช่น เสตรปโตไคเนส หรือพลาสมิโนเจนแอกติเวเตอร์ เข้าไปละลายลิ่มเลือดที่อุดหลอดเลือด และได้แสดงว่าการรักษาดังกล่าวช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตจำนวนมาก นายแพทย์ White ได้เผยแพร่ผลการศึกษาของท่านในรายงานในวารสารวิชาการชิบนา นอกจากนี้นายแพทย์ White ยังได้ เขียนตำราทางการแพทย์ และรับเชิญเป็นผู้บรรยายในที่ต่างๆ และทำให้มีการนำวิธีการรักษาโรคนี้มาใช้ในการรักษาโรคหัวใจขาดโลหิตแพร่หลายทั่วโลกสาขาสาธารณสุข
Prof. K.F. Shortridge ชาวออสเตรเลีย หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง และเป็นหัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยที่ศึกษาติดตามการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีการกลายพันธุ์ทำให้มีสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสเกิดแทบทุกปี วงวิชาการเชื่อว่าโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดแต่ละครั้งจะเริ่มที่ประเทศจีนตอนใต้ และระบาดผ่านฮ่องกงไปสู่ประเทศอื่น จึงมีการจัดตั้งโครงการนี้เพื่อศึกษาการระบาดในประเทศฮ่องกง Prof. Shortridge และคณะได้พบว่ามีการระบาดของเชื้ออินฟลูเอนซ่า H5N1 ในไก่ และเชื้อชนิดนี้ทำให้มีผู้ป่วย 18 คน ตาย 6 คน ซึ่งนับว่าเป็นอัตราตายที่สูงมาก และในวงการสาธารณสุขระดับโลกเกิดความกังวลว่า อาจจะเกิดการแพร่กระจายเชื้อชนิดนี้จากฮ่องกงไปยังประเทศอื่น ทำให้เกิดการระบาด ซึ่งอาจมีอัตราตายสูงมาก ข้อมูลที่ ดร. Shortridge ศึกษาเป็นความรู้สำคัญที่นำไปสู่การควบคุมโรค
แพทย์หญิง Margaret Chan เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุขของฮ่องกง และเป็นผู้ที่ใช้วิชาการป้องกันและควบคุมโรคดต่ออย่างมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส H5N1ในประเทศฮ่องกง แม้การควบคุมโรคจะต้องตัดสินใจทำลายไก่จำนวนนับล้านตัวอันมีผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก แต่แพทย์หญิง Chan ก็ดำเนินการลุล่วงไปได้ จนกระทั่งควบคุมโรคไม่ให้แพร่ในฮ่องกง และกระจายต่อไปในประเทศอื่น (ระบาดครั้งแรกประมาณมิถุนายน 1997 แล้วเงียบไป 6 เดือน จึงเกิดในเด็กอีก 1 ราย เด็กและผู้ใหญ่อีก 16 ราย ในระยะประมาณ 1 เดือนเศษ ตัดสินให้ทำลายไก่ เดือนธันวาคม 1997)
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระราชานุสรณ์ถวายแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยและองค์บิดาแห่งการสาธารณสุขของไทย ดำเนินการโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน มอบรางวัลแก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่น เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และลัทธิการเมืองทางการแพทย์ 1 รางวัล และทางสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 7 แต่ละรางวัลประกอบด้วยเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล 50,000 เหรียญสหรัฐ
ในวันที่ 28 มกราคม 2542 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า มหิดลฯ ประจำปี 2541 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล พร้อมคู่สมรส และแขกผู้มีเกียรติในวันเดียวกัน เวลา 20.00 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2541) มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจัดการแถลงข่าวผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2541 โดยมีศาสตราจารย์แพทย์หญิงชนิกา ตู้จินดา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิศิษฎ์ สิตปรีชา และนายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ เข้าร่วม ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปี 2541 นี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ รวมทั้งสิ้น 59 ราย จาก 31 ประเทศ
การพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กระทำโดยผ่านการกลั่นกรองของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการ (Scientfic Advisory Committee) ซึ่งมี ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ (International Award Committee) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นประธาน แล้วเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ โดยเสด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานตัดสินเป็นขั้นสุดท้าย
ผลการพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2541 ปรากฏดังนี้ สาขาการแพทย์
นายแพทย์ Rene Favaloro ศัลยแพทย์ชาวอาร์เจนตินา ซึ่งได้ศึกษาการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้กลับมีทางเดินไหลเวียนของกระแสโลหิตเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อีก นายแพทย์ Favaloro ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อทำงานที่ Cleveland Clinic ที่เมือง Cleveland รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา และต่อมาได้ไปตั้งมูลนิธิฟาวาโลโร เพื่อศึกษาโรคหัวใจที่เมืองบูเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา การผ่าตัด Cardiac Bypass Surgery ซึ่งนายแพทย์ Favaloro ได้ศึกษาและพัฒนาจนแสดงให้เห็นว่าสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ให้มีชีวิตยาวต่อไปโดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นอานิสงค์แก่ผู้ป่วยจำนวนมากมายในโลก
นายแพทย์ Harvey White เป็นอายุรแพทย์โรคหัวใจชาวนิวซีแลนด์ เป็นผู้ศึกษาและค้นคว้าการรักษาโรคหัวใจที่หลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด้วยวิธีฉีดเอ็นซัยม์ เช่น เสตรปโตไคเนส หรือพลาสมิโนเจนแอกติเวเตอร์ เข้าไปละลายลิ่มเลือดที่อุดหลอดเลือด และได้แสดงว่าการรักษาดังกล่าวช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตจำนวนมาก นายแพทย์ White ได้เผยแพร่ผลการศึกษาของท่านในรายงานในวารสารวิชาการชิบนา นอกจากนี้นายแพทย์ White ยังได้ เขียนตำราทางการแพทย์ และรับเชิญเป็นผู้บรรยายในที่ต่างๆ และทำให้มีการนำวิธีการรักษาโรคนี้มาใช้ในการรักษาโรคหัวใจขาดโลหิตแพร่หลายทั่วโลกสาขาสาธารณสุข
Prof. K.F. Shortridge ชาวออสเตรเลีย หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง และเป็นหัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยที่ศึกษาติดตามการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีการกลายพันธุ์ทำให้มีสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสเกิดแทบทุกปี วงวิชาการเชื่อว่าโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดแต่ละครั้งจะเริ่มที่ประเทศจีนตอนใต้ และระบาดผ่านฮ่องกงไปสู่ประเทศอื่น จึงมีการจัดตั้งโครงการนี้เพื่อศึกษาการระบาดในประเทศฮ่องกง Prof. Shortridge และคณะได้พบว่ามีการระบาดของเชื้ออินฟลูเอนซ่า H5N1 ในไก่ และเชื้อชนิดนี้ทำให้มีผู้ป่วย 18 คน ตาย 6 คน ซึ่งนับว่าเป็นอัตราตายที่สูงมาก และในวงการสาธารณสุขระดับโลกเกิดความกังวลว่า อาจจะเกิดการแพร่กระจายเชื้อชนิดนี้จากฮ่องกงไปยังประเทศอื่น ทำให้เกิดการระบาด ซึ่งอาจมีอัตราตายสูงมาก ข้อมูลที่ ดร. Shortridge ศึกษาเป็นความรู้สำคัญที่นำไปสู่การควบคุมโรค
แพทย์หญิง Margaret Chan เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุขของฮ่องกง และเป็นผู้ที่ใช้วิชาการป้องกันและควบคุมโรคดต่ออย่างมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส H5N1ในประเทศฮ่องกง แม้การควบคุมโรคจะต้องตัดสินใจทำลายไก่จำนวนนับล้านตัวอันมีผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก แต่แพทย์หญิง Chan ก็ดำเนินการลุล่วงไปได้ จนกระทั่งควบคุมโรคไม่ให้แพร่ในฮ่องกง และกระจายต่อไปในประเทศอื่น (ระบาดครั้งแรกประมาณมิถุนายน 1997 แล้วเงียบไป 6 เดือน จึงเกิดในเด็กอีก 1 ราย เด็กและผู้ใหญ่อีก 16 ราย ในระยะประมาณ 1 เดือนเศษ ตัดสินให้ทำลายไก่ เดือนธันวาคม 1997)
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระราชานุสรณ์ถวายแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยและองค์บิดาแห่งการสาธารณสุขของไทย ดำเนินการโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน มอบรางวัลแก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่น เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และลัทธิการเมืองทางการแพทย์ 1 รางวัล และทางสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 7 แต่ละรางวัลประกอบด้วยเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล 50,000 เหรียญสหรัฐ
ในวันที่ 28 มกราคม 2542 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า มหิดลฯ ประจำปี 2541 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล พร้อมคู่สมรส และแขกผู้มีเกียรติในวันเดียวกัน เวลา 20.00 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--