‘สาทิตย์ วงศ์หนองเตย’ ระบุเตรียมหารือกับประธานสภาฯ เรื่องการกำหนดสัดส่วนการอภิปราย ย้ำต้องชัดเจนและเป็นธรรม พร้อมเผยแนวอภิปรายจะเน้นปัญหาสะสมและนโยบายที่ผิดพลาด
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์กรณีการเตรียมการอภิปรายการแถลงนโยบายรัฐบาลว่า ยังไม่ได้ประสานงานกับวิปรัฐบาล ซึ่งตั้งใจว่าจะโทรศัพท์ไปหารือกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่มีข่าวว่าจะได้เป็นประธานวิปรัฐบาล เพื่อจะคุยเรื่องสัดส่วนว่าฝ่ายรัฐบาลจะกำหนดอย่างไร และฝ่ายเราจะเสนออย่างไร แต่เห็นฝ่ายวิปรัฐบาลยังยุ่งๆกันอยู่ ก็คิดว่าคงจะต้องรอ แต่ตั้งใจจะหารือกับท่านนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก่อนในวันนี้ แต่ในส่วนของฝ่ายค้านเท่าที่พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีหลายวิธีคือ แบบกำหนดสัดส่วนผู้อภิปราย และแบบเวลา โดยเห็นว่าแบบเวลาดีที่สุด คือ จัดสรรมาเลยว่าฝ่ายรัฐบาลได้กี่ชั่วโมง ส.ว.กี่ชั่วโมง และฝ่ายค้านกี่ชั่วโมง หากเป็นอย่างนี้จะทำให้ฝ่ายค้านบริหารเวลาผู้อภิปรายได้ดีกว่า และทำให้เกิดความยุติธรรม แต่ต้องดูต่อไปว่ากรณีแบ่งเป็นเวลาแล้วใครควรได้ระยะเวลาเท่าไหร่
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากกำหนดเวลาในการอภิปรายแถลงนโยบายรัฐบาลทั้งหมด 20 ชั่วโมงเพียงพอสำหรับฝ่ายค้านหรือไม่ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ต้องดูว่ารัฐบาลได้กี่ชั่วโมง ส.ว.ได้กี่ชั่วโมง ซึ่งภาพรวมต้องดูก่อนว่าทั้งหมดให้เวลาเท่าไร โดยเบื้องต้นต้องดูจำนวนผู้อภิปรายแต่ละฝ่าย ว่าสอดคล้องกับเวลาที่ได้หรือไม่ เช่น หากไปตั้งล่วงหน้าว่า 20ชั่วโมงแต่ผู้อภิปรายมีน้อยก็ไม่ลงตัว ซึ่งขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงที่จะอภิปรายในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ มีประมาณเกือบ 50 คน โดยในช่วงบ่ายจะมีการจัดกลุ่มและตกลงประเด็นกัน ซึ่งจำนวนผู้อภิปรายจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ‘มันก็ลำบากนะเที่ยวนี้ เพราะสัดส่วนของคนในสภาเปลี่ยนแปลง และเราไม่รู้ว่าฝ่ายรัฐบาลอยากจะพูดกี่คน แต่ของฝ่ายค้านโดยเฉลี่ยเที่ยวที่แล้วเราได้พูด 47 คน เมื่อปี 2544 เฉลี่ยคนละประมาณ 15 นาที เที่ยวนี้ถ้ามีผู้แสดงความจำนงอภิปรายตัวเลขเท่าที่มีอยู่ 37 และอาจบวกลบ 10 คือ 47 ก็จะเป็นเวลาที่พอดีกับคราวที่แล้ว เพราะฉะนั้นจำนวนเวลาถ้าจะได้ก็น่าจะใกล้เคียงกับครั้งที่แล้ว ก็จะดี’ นายสาทิตย์กล่าว
เมื่อถามว่าจะมีการกำหนดประเด็นในการอภิปรายว่าควรให้น้ำหนักประเด็นใดหรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่า เท่าที่คุยกันเรานำปัญหาของประเทศ ของประชาชนเป็นตัวตั้ง โดยมี 3 ปัญหา คือ 1.ปัญหาสะสม 2.ปัญหาความผิดพลาดจากนโยบายของรัฐบาล และ 3.ปัญหาใหม่ซึ่งหลังจากที่ผู้นำฝ่ายค้านพูดจบแล้วจะหยิบปัญหาใดขึ้นมาอภิปรายก่อนก็จะนำกลุ่มปัญหานั้นอภิปรายก่อน ไม่ว่ากลุ่มปัญหานั้นจะเกี่ยวพันกับกี่กระทรวง และเท่าที่พูดคุยกับเบื้องต้นน่าจะนำปัญหาสะสมมาพูด เช่น ปัญหาความยากจน เพราะเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ซึ่งเราจะพยายามนำเสนอว่าปัญหาคืออะไร และตัวนโยบายเขียนไว้ครอบคลุมหรือไม่ มีแนวทางชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้หรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีหัวหน้าทีมในการอภิปรายแต่ละชุดหรือไม่ ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวว่า แน่นอน ซึ่งวันนี้ก็จะตั้งหัวหน้าทีมให้ครบ และจะไม่มีการกำหนดคุณสมบัติคนอภิปราย เพราะส.ส.ของพรรคทั้ง 96 คน ควรจะมีสิทธิอภิปรายทุกคน อย่างไรก็ตามคนที่มีประสบการณ์บริหารราชการแผ่นดิน หรือคนที่เคยตามประเด็นปัญหานั้นก็ควรจะอภิปราย แต่ขณะเดียวกันก็จะไม่ทิ้ง ส.ส.ใหม่ ที่เข้ามาและมีความตั้งใจ ซึ่งตั้งใจว่าจะให้ทุกวันที่อภิปรายมีความสมบูรณ์ในตัวมันเอง จะมีปัญหาที่นำเสนอ มีข้อเสนอแนะที่ดีให้กับสภา และที่สำคัญคือแนวทางในการอภิปรายต้องเป็นเอกภาพ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์กรณีการเตรียมการอภิปรายการแถลงนโยบายรัฐบาลว่า ยังไม่ได้ประสานงานกับวิปรัฐบาล ซึ่งตั้งใจว่าจะโทรศัพท์ไปหารือกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่มีข่าวว่าจะได้เป็นประธานวิปรัฐบาล เพื่อจะคุยเรื่องสัดส่วนว่าฝ่ายรัฐบาลจะกำหนดอย่างไร และฝ่ายเราจะเสนออย่างไร แต่เห็นฝ่ายวิปรัฐบาลยังยุ่งๆกันอยู่ ก็คิดว่าคงจะต้องรอ แต่ตั้งใจจะหารือกับท่านนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก่อนในวันนี้ แต่ในส่วนของฝ่ายค้านเท่าที่พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีหลายวิธีคือ แบบกำหนดสัดส่วนผู้อภิปราย และแบบเวลา โดยเห็นว่าแบบเวลาดีที่สุด คือ จัดสรรมาเลยว่าฝ่ายรัฐบาลได้กี่ชั่วโมง ส.ว.กี่ชั่วโมง และฝ่ายค้านกี่ชั่วโมง หากเป็นอย่างนี้จะทำให้ฝ่ายค้านบริหารเวลาผู้อภิปรายได้ดีกว่า และทำให้เกิดความยุติธรรม แต่ต้องดูต่อไปว่ากรณีแบ่งเป็นเวลาแล้วใครควรได้ระยะเวลาเท่าไหร่
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากกำหนดเวลาในการอภิปรายแถลงนโยบายรัฐบาลทั้งหมด 20 ชั่วโมงเพียงพอสำหรับฝ่ายค้านหรือไม่ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ต้องดูว่ารัฐบาลได้กี่ชั่วโมง ส.ว.ได้กี่ชั่วโมง ซึ่งภาพรวมต้องดูก่อนว่าทั้งหมดให้เวลาเท่าไร โดยเบื้องต้นต้องดูจำนวนผู้อภิปรายแต่ละฝ่าย ว่าสอดคล้องกับเวลาที่ได้หรือไม่ เช่น หากไปตั้งล่วงหน้าว่า 20ชั่วโมงแต่ผู้อภิปรายมีน้อยก็ไม่ลงตัว ซึ่งขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงที่จะอภิปรายในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ มีประมาณเกือบ 50 คน โดยในช่วงบ่ายจะมีการจัดกลุ่มและตกลงประเด็นกัน ซึ่งจำนวนผู้อภิปรายจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ‘มันก็ลำบากนะเที่ยวนี้ เพราะสัดส่วนของคนในสภาเปลี่ยนแปลง และเราไม่รู้ว่าฝ่ายรัฐบาลอยากจะพูดกี่คน แต่ของฝ่ายค้านโดยเฉลี่ยเที่ยวที่แล้วเราได้พูด 47 คน เมื่อปี 2544 เฉลี่ยคนละประมาณ 15 นาที เที่ยวนี้ถ้ามีผู้แสดงความจำนงอภิปรายตัวเลขเท่าที่มีอยู่ 37 และอาจบวกลบ 10 คือ 47 ก็จะเป็นเวลาที่พอดีกับคราวที่แล้ว เพราะฉะนั้นจำนวนเวลาถ้าจะได้ก็น่าจะใกล้เคียงกับครั้งที่แล้ว ก็จะดี’ นายสาทิตย์กล่าว
เมื่อถามว่าจะมีการกำหนดประเด็นในการอภิปรายว่าควรให้น้ำหนักประเด็นใดหรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่า เท่าที่คุยกันเรานำปัญหาของประเทศ ของประชาชนเป็นตัวตั้ง โดยมี 3 ปัญหา คือ 1.ปัญหาสะสม 2.ปัญหาความผิดพลาดจากนโยบายของรัฐบาล และ 3.ปัญหาใหม่ซึ่งหลังจากที่ผู้นำฝ่ายค้านพูดจบแล้วจะหยิบปัญหาใดขึ้นมาอภิปรายก่อนก็จะนำกลุ่มปัญหานั้นอภิปรายก่อน ไม่ว่ากลุ่มปัญหานั้นจะเกี่ยวพันกับกี่กระทรวง และเท่าที่พูดคุยกับเบื้องต้นน่าจะนำปัญหาสะสมมาพูด เช่น ปัญหาความยากจน เพราะเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ซึ่งเราจะพยายามนำเสนอว่าปัญหาคืออะไร และตัวนโยบายเขียนไว้ครอบคลุมหรือไม่ มีแนวทางชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้หรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีหัวหน้าทีมในการอภิปรายแต่ละชุดหรือไม่ ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวว่า แน่นอน ซึ่งวันนี้ก็จะตั้งหัวหน้าทีมให้ครบ และจะไม่มีการกำหนดคุณสมบัติคนอภิปราย เพราะส.ส.ของพรรคทั้ง 96 คน ควรจะมีสิทธิอภิปรายทุกคน อย่างไรก็ตามคนที่มีประสบการณ์บริหารราชการแผ่นดิน หรือคนที่เคยตามประเด็นปัญหานั้นก็ควรจะอภิปราย แต่ขณะเดียวกันก็จะไม่ทิ้ง ส.ส.ใหม่ ที่เข้ามาและมีความตั้งใจ ซึ่งตั้งใจว่าจะให้ทุกวันที่อภิปรายมีความสมบูรณ์ในตัวมันเอง จะมีปัญหาที่นำเสนอ มีข้อเสนอแนะที่ดีให้กับสภา และที่สำคัญคือแนวทางในการอภิปรายต้องเป็นเอกภาพ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-