1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.6 โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 14.0 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับร้อยละ 52.3 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 63.3 ลดลงร้อยละ 14.0 สำหรับปริมาณความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญในประเทศ จากข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าแม้ว่าจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวในจากไตรมาสที่ 1 เกือบทุกสินค้า
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 นี้ พบว่าการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 342,797.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสินค้าบางประเภทที่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง โดยสินค้าไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 143,033.5 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.3 ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 199,764.3 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 285,005.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการนำเข้า 101,471.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการนำเข้า 183,534.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นที่ลดลง โดยสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าจำหน่าย 54.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยได้แรงฉุดจากสินค้าในกลุ่มของ Wireless Handset, Personal Computers และ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 คาดว่ายังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากตลาดส่งออกหลักๆของไทยยังมีการขยายตัว และบริษัทข้ามชาติหลายรายได้ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆเพิ่มขึ้น แต่สำหรับภาวะการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในไตรมาสที่ 3 นั้นคาดว่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 1 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน แต่ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.0 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในช่วงฤดูร้อน โดยเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิตขยายตัวร้อยละ 40.1 และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยด์ยูนิตขยายตัวร้อยละ 14.3 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ ในขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์ก็มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน โดยเพิ่มมากในส่วนของโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆ ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงดังตารางที่ 1
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinery) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้า แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 1.5 ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่า ดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ เตาอบไมโครเวป โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 28.4 รองลงมา คือ เครื่องซักผ้า ลดลงร้อยละ 7.3 เนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศจีนที่มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยจอภาพ LCD มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.1 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 2
การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นมากจากสินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศและเครื่องรับโทรทัศน์เช่นเดียวกัน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงในตารางที่ 3
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.9 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จอภาพ LCD เช่นกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 4
ตลาดในประเทศ
ภาวะตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 พิจารณาจากปริมาณการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อขายในตลาดภายในประเทศของกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกสินค้า สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องซักผ้า และเครื่องรับโทรทัศน์สี โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และ 17.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า การจำหน่ายในประเทศ ยังคงชะลอตัว แตกต่างกันตามชนิดของสินค้า โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากได้แก่ หม้อหุงข้าว และตู้เย็น โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 20.8 และ 15.0 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่า 143,033.5 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.4 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 4.3 สินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบ และสินค้าในกลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง โดยมีมูลค่าการส่งออก 42,425.8 ล้านบาท และ 37,335.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.0 และ 25.0 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆแสดงในรูปที่ 1
2.2 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 101,471.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆที่สำคัญแสดงในรูปที่ 2
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 มีการปรับตัวดีขึ้นโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 14.0 โดยเป็นการลดลงทุกสินค้าโดยเฉพาะสินค้าหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีการเก็บสินค้าคงคลังไว้มากตั้งแต่ปีที่แล้วจึงทำให้มีการชะลอการผลิตในปีนี้ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือการลดลงในสินค้ากลุ่มอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด IC ซึ่งเป็นผลจากการย้ายคำสั่งซื้อสินค้าที่มีเทคโนโลยีต่ำจากไทยไปประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า
สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2548 โดยรวมพบว่าปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากการรายงานของ Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2548 มีการปรับตัวลดลงทั้ง 2 กลุ่ม โดย Electronic computers และ Electronic Parts and devices ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงโดย Electronic computers ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.8 และ Electronic parts and device ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.9 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 8)
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 มีการปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.8 แต่เมื่อเทียบกับปีช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 12.3
เมื่อพิจารณาจากดัชนีการส่งสินค้าในไตรมาส 2 ปี 2548 ของประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยจากรายงานสถิติดัชนีการส่งสินค้าของ METI เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า สินค้าในกลุ่มของ Electronic computers ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 และเมื่อเทียบกับปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 3.4 ส่วนสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 9 )
เมื่อพิจารณาจากสถิติการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาส 2 ปี 2548 ของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ามีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 54.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนพบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.0 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการสินค้าในกลุ่ม Personal Computer , Wireless Handsets , Automotive Applications ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นการเติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในภูมิภาค Asia Pacific ที่เป็นฐานการผลิตหนึ่งที่สำคัญของโลกทำให้มีอัตราการขยายตัวมากทั้งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออก
จากสถิติการส่งออกซึ่งรวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าสินค้าอิเล็ก ทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 มีมูลค่า 199,764.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนและขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวมากในไตรมาส 2 ปี 2548 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และวงจรพิมพ์ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 8.3 และ 6.0 ตามลำดับ ส่วนสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 3.9 และ 0.9 ตามลำดับ
สัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกมาก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองลงมาคือ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ตามลำดับ (ดังแสดงในรูปที่ 3)
เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องส่ง- เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 และ 18.9 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 11)
3.3 การนำเข้า
จากรายงานการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 พบว่ามีมูลค่ารวม 183,534.6 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้านำเข้าอิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูงที่มีการขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 13.3 และ 7.9 ตามลำดับ
ส่วนสินค้านำเข้าที่มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ Mobile Phoneปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 สัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) รองลงมาคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วน ประกอบ Mobile Phone วงจรพิมพ์ และไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ตามลำดับ (ดังแสดงในรูปที่ 4)
เมื่อพิจารณาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์นำเข้ามูลค่าสูงที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2548 เมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ และ Mobile Phone โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 23.5 และ 19.2 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 12)
ภาวะอุตสาหกรรมครึ่งแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2548
ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นการลดลงของสินค้าทั้ง 2 กลุ่มโดยสินค้ากลุ่มไฟฟ้าลดลง ร้อยละ 1.19 สินค้าไฟฟ้าที่มีการปรับตัวลดลงมาก ได้แก่ พัดลม ปรับตัวลดลงร้อยละ 54.14 สายไฟฟ้า และ TV ขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 20 นิ้ว โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 18.25 เท่ากัน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.77 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงมาก ได้แก่ Electric tubes Cathode for TV IC และ Semiconductor devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 35.83 11.21 และ 10.97 ตามลำดับ ส่วนดัชนีการส่งสินค้าของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในครึ่งปีแรกปี 2548 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีการปรับตัวลดลงเช่นกันโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 4.10 โดยเป็นการลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งลดลงร้อยละ 11.57 สินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากได้แก่ Electric tubes Cathode for TV IC และ Semiconductor devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 36.63 10.96 และ 9.59 ตามลำดับ ส่วนสินค้าไฟฟ้าในครึ่งแรกของปีมีการขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.30 สินค้าที่มีการขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ TV ขนาดจอเท่ากับ 21 นิ้วหรือมากกว่า เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต และ คอมเพรสเซอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.82 30.87 และ 19.88 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 พบว่ามีการขยายตัว ร้อยละ 6.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อพิจารณายอดการนำเข้าพบว่ามีการขยายตัว เพิ่มมากกว่าการส่งออกโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.48 โดยสินค้านำเข้าที่มีการขยายตัวมาก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรศัพท์ และวงจรพิมพ์ ขยายตัวร้อยละ 51.26 47.59 และ 40.25 ตามลำดับ
ส่วนความเคลื่อนไหวของอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ในตลาดญี่ปุ่นมีการปรับตัวลดลงทั้งกลุ่ม Electronic Computers และ Electronic part and devices ร้อยละ 1.8 และ 6.9 ตามลำดับ ในส่วนของ SIA ได้รายงานว่าภาวะอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 กลับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เป็นการขยายตัวทั้งกลุ่มสินค้าโดยสินค้าที่เป็นตัวนำในการขยายตัวก็จะเป็นสินค้าในกลุ่มเดิมซึ่งได้แก่ สินค้าประเภท Personal Computer , Wireless Handsets, Automotive Applications และ Wire Communications
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศในไตรมาส 3 ของ ปี 2548 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวเป็นผลจากการขึ้นราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อในประเทศหดตัวลง แต่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ได้อีกเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีการขยายตัวและมีการย้ายฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมาให้ไทยผลิตแทน
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่านอกจากจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลเนื่องจากเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออก เพื่อเตรียมผลิตสินค้าสำเร็จรูปในช่วงสิ้นปีแล้วยังสามารถขยายตัวได้ตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลก
สำหรับปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัว/ปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรม ดังนี้
1.ราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงซึ่งมีผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย
2. การปรับค่าเงินหยวนของจีนที่แข็งค่าขึ้น ในระยะยาวคาดว่าจะได้เห็นผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมในประเทศหากจีนยอมปล่อยลอยค่าเงินให้แข็งค่าขึ้นมากกว่านี้
3. ทิศทางการขยายตัวหรือการชะลอตัวของอิเล็กทรอนิกส์โลก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.6 โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 14.0 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับร้อยละ 52.3 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 63.3 ลดลงร้อยละ 14.0 สำหรับปริมาณความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญในประเทศ จากข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าแม้ว่าจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวในจากไตรมาสที่ 1 เกือบทุกสินค้า
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 นี้ พบว่าการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 342,797.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสินค้าบางประเภทที่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง โดยสินค้าไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 143,033.5 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.3 ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 199,764.3 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 285,005.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการนำเข้า 101,471.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการนำเข้า 183,534.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นที่ลดลง โดยสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าจำหน่าย 54.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยได้แรงฉุดจากสินค้าในกลุ่มของ Wireless Handset, Personal Computers และ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 คาดว่ายังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากตลาดส่งออกหลักๆของไทยยังมีการขยายตัว และบริษัทข้ามชาติหลายรายได้ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆเพิ่มขึ้น แต่สำหรับภาวะการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในไตรมาสที่ 3 นั้นคาดว่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 1 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน แต่ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.0 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในช่วงฤดูร้อน โดยเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิตขยายตัวร้อยละ 40.1 และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยด์ยูนิตขยายตัวร้อยละ 14.3 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ ในขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์ก็มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน โดยเพิ่มมากในส่วนของโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆ ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงดังตารางที่ 1
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinery) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้า แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 1.5 ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่า ดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ เตาอบไมโครเวป โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 28.4 รองลงมา คือ เครื่องซักผ้า ลดลงร้อยละ 7.3 เนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศจีนที่มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยจอภาพ LCD มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.1 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 2
การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นมากจากสินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศและเครื่องรับโทรทัศน์เช่นเดียวกัน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงในตารางที่ 3
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.9 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จอภาพ LCD เช่นกัน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 4
ตลาดในประเทศ
ภาวะตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 พิจารณาจากปริมาณการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อขายในตลาดภายในประเทศของกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกสินค้า สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องซักผ้า และเครื่องรับโทรทัศน์สี โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และ 17.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า การจำหน่ายในประเทศ ยังคงชะลอตัว แตกต่างกันตามชนิดของสินค้า โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากได้แก่ หม้อหุงข้าว และตู้เย็น โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 20.8 และ 15.0 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่า 143,033.5 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.4 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 4.3 สินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบ และสินค้าในกลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง โดยมีมูลค่าการส่งออก 42,425.8 ล้านบาท และ 37,335.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.0 และ 25.0 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆแสดงในรูปที่ 1
2.2 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 101,471.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆที่สำคัญแสดงในรูปที่ 2
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 มีการปรับตัวดีขึ้นโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 14.0 โดยเป็นการลดลงทุกสินค้าโดยเฉพาะสินค้าหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีการเก็บสินค้าคงคลังไว้มากตั้งแต่ปีที่แล้วจึงทำให้มีการชะลอการผลิตในปีนี้ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือการลดลงในสินค้ากลุ่มอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด IC ซึ่งเป็นผลจากการย้ายคำสั่งซื้อสินค้าที่มีเทคโนโลยีต่ำจากไทยไปประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า
สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2548 โดยรวมพบว่าปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากการรายงานของ Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2548 มีการปรับตัวลดลงทั้ง 2 กลุ่ม โดย Electronic computers และ Electronic Parts and devices ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงโดย Electronic computers ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.8 และ Electronic parts and device ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.9 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 8)
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 มีการปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.8 แต่เมื่อเทียบกับปีช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 12.3
เมื่อพิจารณาจากดัชนีการส่งสินค้าในไตรมาส 2 ปี 2548 ของประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยจากรายงานสถิติดัชนีการส่งสินค้าของ METI เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า สินค้าในกลุ่มของ Electronic computers ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 และเมื่อเทียบกับปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 3.4 ส่วนสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 9 )
เมื่อพิจารณาจากสถิติการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาส 2 ปี 2548 ของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ามีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 54.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนพบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.0 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการสินค้าในกลุ่ม Personal Computer , Wireless Handsets , Automotive Applications ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นการเติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในภูมิภาค Asia Pacific ที่เป็นฐานการผลิตหนึ่งที่สำคัญของโลกทำให้มีอัตราการขยายตัวมากทั้งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออก
จากสถิติการส่งออกซึ่งรวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าสินค้าอิเล็ก ทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 มีมูลค่า 199,764.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนและขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวมากในไตรมาส 2 ปี 2548 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และวงจรพิมพ์ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 8.3 และ 6.0 ตามลำดับ ส่วนสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 3.9 และ 0.9 ตามลำดับ
สัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกมาก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองลงมาคือ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ตามลำดับ (ดังแสดงในรูปที่ 3)
เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องส่ง- เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 และ 18.9 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 11)
3.3 การนำเข้า
จากรายงานการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2548 พบว่ามีมูลค่ารวม 183,534.6 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้านำเข้าอิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูงที่มีการขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 13.3 และ 7.9 ตามลำดับ
ส่วนสินค้านำเข้าที่มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ Mobile Phoneปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 สัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) รองลงมาคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วน ประกอบ Mobile Phone วงจรพิมพ์ และไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ตามลำดับ (ดังแสดงในรูปที่ 4)
เมื่อพิจารณาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์นำเข้ามูลค่าสูงที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2548 เมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ และ Mobile Phone โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 23.5 และ 19.2 ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 12)
ภาวะอุตสาหกรรมครึ่งแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2548
ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นการลดลงของสินค้าทั้ง 2 กลุ่มโดยสินค้ากลุ่มไฟฟ้าลดลง ร้อยละ 1.19 สินค้าไฟฟ้าที่มีการปรับตัวลดลงมาก ได้แก่ พัดลม ปรับตัวลดลงร้อยละ 54.14 สายไฟฟ้า และ TV ขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 20 นิ้ว โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 18.25 เท่ากัน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.77 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงมาก ได้แก่ Electric tubes Cathode for TV IC และ Semiconductor devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 35.83 11.21 และ 10.97 ตามลำดับ ส่วนดัชนีการส่งสินค้าของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในครึ่งปีแรกปี 2548 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีการปรับตัวลดลงเช่นกันโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 4.10 โดยเป็นการลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งลดลงร้อยละ 11.57 สินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากได้แก่ Electric tubes Cathode for TV IC และ Semiconductor devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 36.63 10.96 และ 9.59 ตามลำดับ ส่วนสินค้าไฟฟ้าในครึ่งแรกของปีมีการขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.30 สินค้าที่มีการขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ TV ขนาดจอเท่ากับ 21 นิ้วหรือมากกว่า เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต และ คอมเพรสเซอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.82 30.87 และ 19.88 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 พบว่ามีการขยายตัว ร้อยละ 6.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อพิจารณายอดการนำเข้าพบว่ามีการขยายตัว เพิ่มมากกว่าการส่งออกโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.48 โดยสินค้านำเข้าที่มีการขยายตัวมาก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรศัพท์ และวงจรพิมพ์ ขยายตัวร้อยละ 51.26 47.59 และ 40.25 ตามลำดับ
ส่วนความเคลื่อนไหวของอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ในตลาดญี่ปุ่นมีการปรับตัวลดลงทั้งกลุ่ม Electronic Computers และ Electronic part and devices ร้อยละ 1.8 และ 6.9 ตามลำดับ ในส่วนของ SIA ได้รายงานว่าภาวะอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 กลับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เป็นการขยายตัวทั้งกลุ่มสินค้าโดยสินค้าที่เป็นตัวนำในการขยายตัวก็จะเป็นสินค้าในกลุ่มเดิมซึ่งได้แก่ สินค้าประเภท Personal Computer , Wireless Handsets, Automotive Applications และ Wire Communications
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศในไตรมาส 3 ของ ปี 2548 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวเป็นผลจากการขึ้นราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อในประเทศหดตัวลง แต่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ได้อีกเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีการขยายตัวและมีการย้ายฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมาให้ไทยผลิตแทน
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่านอกจากจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลเนื่องจากเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออก เพื่อเตรียมผลิตสินค้าสำเร็จรูปในช่วงสิ้นปีแล้วยังสามารถขยายตัวได้ตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลก
สำหรับปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัว/ปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรม ดังนี้
1.ราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงซึ่งมีผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย
2. การปรับค่าเงินหยวนของจีนที่แข็งค่าขึ้น ในระยะยาวคาดว่าจะได้เห็นผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมในประเทศหากจีนยอมปล่อยลอยค่าเงินให้แข็งค่าขึ้นมากกว่านี้
3. ทิศทางการขยายตัวหรือการชะลอตัวของอิเล็กทรอนิกส์โลก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-